November 21, 2024

SAP NEWSBYTE — กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2567วันนี้ SAP ได้ประกาศว่า บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Taulia เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเงินทุนหมุนเวียนภายใต้โครงการของบริษัทฯ ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้านการผลิตทั่วโลก ลดต้นทุน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย Taulia ซึ่งถูก SAP เข้าซื้อกิจการในปี พ.ศ. 2565 เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการจัดการเงินทุนหมุนเวียนชั้นนำ และมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ลูกค้าของ SAP สร้างกระแสเงินสดอิสระมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ และปรับปรุงความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน 

 

อินโดรามา เวนเจอร์ส มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก โดยมีโรงงานผลิตประมาณ 140 แห่งใน 5 ทวีป ในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเปลี่ยนแปลง IVL 2.0 และ Procurement 4.0 กระแสเงินสดอิสระถือเป็นเป็นเป้าหมายหลักของบริษัท ภายใต้โปรแกรมชำระเงินล่วงหน้าของ Taulia ซึ่งได้เริ่มใช้งานในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา อินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถเสนอตัวเลือกการชำระเงินล่วงหน้าแก่ซัพพลายเออร์ในอัตราพิเศษ โดยมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงสภาพคล่องของห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มประสิทธิภาพเงินทุนหมุนเวียน พร้อมทั้งสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจผ่านโซลูชันระดับโลกที่เป็นหนึ่งเดียว และคาดว่าซัพพลายเออร์ทั่วโลกของบริษัทฯ จะได้รับประโยชน์อย่างต่อเนื่องจากโปรแกรมนี้ 

การนำ Taulia มาใช้จะช่วยทำให้อินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถลดระยะเวลาในการชำระเงินให้กับซัพพลายเออร์ได้ ช่วยทำให้สถานะทางการเงินของอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ในเอเชียดีขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วการชำระเงินจะเกิดขึ้นภายใน 60 ถึง 90 วัน โมเดล ‘multifunder’ ของ Taulia จะช่วยทำให้อินโดรามา เวนเจอร์ส สามารถเข้าถึงระบบนิเวศของสถาบันการเงินต่างๆ ได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นและลดความเสี่ยงผ่านแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย ขณะที่ซัพพลายเออร์ก็สามารถเข้าถึงแหล่งสภาพคล่องที่มั่นคงสำหรับใบแจ้งหนี้ค้างชำระได้ การบูรณาการนี้จะช่วยให้ทีมการเงินและจัดซื้อของบริษัทฯ สามารถเปรียบเทียบเงินทุนหมุนเวียนกับคู่แข่งระดับโลกได้ พร้อมทั้งขับเคลื่อนประสิทธิภาพและการทำงานอัตโนมัติในกระบวนการจัดการเงินทุนหมุนเวียน 

 

อินโดรามา เวนเจอร์ส เริ่มต้นเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลในปี พ.ศ. 2563 โดยนำเครื่องมือต่างๆ รวมถึงแพลตฟอร์ม SAP S/4HANA ERP มาใช้ โดยในขั้นตอนต่อไปของการเปลี่ยนแปลงนี้ บริษัทกำลังเปิดตัวโซลูชันดิจิทัลและ AI มากมายที่สามารถสร้างมูลค่าและประสิทธิภาพในด้านปฏิบัติการหลักๆ รวมถึงการผลิต การพาณิชย์ การจัดซื้อ การขาย ห่วงโซ่อุปทาน และด้านการเงิน 

คุณซันเจย์ อาฮูจา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงองค์กร อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า "อินโดรามา เวนเจอร์ส เลือกที่จะใช้ Taulia เนื่องจาก Taulia มีประสบการณ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์พิเศษ รวมถึงการบูรณาการเข้ากับ SAP ให้เป็นหนึ่งเดียว ระบบนิเวศของธนาคารหลายแห่ง การรับซัพพลายเออร์เข้าทำงานอย่างรวกเร็วภายใน 90 วินาที และเครือข่ายซัพพลายเออร์หลายล้านรายที่กว้างขวาง ซึ่งความร่วมมือกับ SAP และการนำ Taulia มาใช้จะช่วยปรับปรุงกระบวนการทางการเงินของเรา และปรับปรุงเป้าหมายด้านไอทีและการจัดการกระแสเงินสดของเราได้ โครงการริเริ่มนี้มุ่งหวังที่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ของเราโดยการรับรองการชำระเงินที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตและความมั่นคงของซัพพลายเออร์" 

คุณกุลวิภา ปิยวัฒนเมธา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดจีน บริษัท SAP กล่าวว่า “การใช้ Taulia ของ อินโดรามา เวนเจอร์ส ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับธุรกิจในประเทศไทย การเร่งกระบวนการชำระเงินและปรับปรุงกระบวนการทางการเงินจะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดหาสภาพคล่องที่จำเป็นต่อการเติบโตและก้าวหน้าให้แก่ซัพพลายเออร์ในประเทศได้ นอกจากนี้ ความคิดริเริ่มนี้ยังสอดคล้องกับพันธกิจของเราในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศไทยและของรัฐบาลที่มุ่งเสริมสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานของประเทศ ซึ่งเราจะร่วมกันสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับอนาคต” 

คุณ Rene Ho ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ Taulia กล่าวว่าเรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ อินโดรามา เวนเจอร์ส ในการบรรลุเป้าหมายกระแสเงินสดอิสระภายใต้โครงการ IVL 2.0 เราเข้าใจถึงบทบาทสำคัญที่ห่วงโซ่อุปทานมีต่อความสำเร็จของบริษัท ผ่านโปรแกรมการชำระเงินล่วงหน้าของ Taulia เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ซัพพลายเออร์ทุกขนาดสามารถเข้าถึงสภาพคล่องที่ต้องการ ผ่านกลยุทธ์และกรอบการทำงานที่ได้รับการออกแบบมาอย่างรอบคอบ โครงการนี้ยังถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องของเราทั่วเอเชีย ซึ่งเราจะยังคงสนับสนุนบริษัทในเอเชียในการเติบโตและเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานในท้องถิ่นให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป” 

อีริคสันประเทศไทยเปิดตัว 5G Innovation & Experience Studio ในโครงการ Thailand Digital Valley ยกระดับนวัตกรรม 5G และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย

อีริคสันประเทศไทย เปิดตัว 5G Innovation & Experience Studio ภายในโครงการ Thailand Digital Valley อย่างเป็นทางการ โดยสตูดิโอนี้ถูกออกแบบเพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี 5G ร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างกรณีศึกษายูสเคสใหม่ ๆ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ด้วยเครือข่าย 5G ที่ทันสมัยและยั่งยืน

ความร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นี้จะเป็นหมุดหมายสำคัญในการพัฒนาโซลูชันที่ล้ำสมัย อาทิ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) และเทคโนโลยีกล้อง CCTV 360 องศา เพื่อแสดงศักยภาพของ 5G ที่จะเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต

มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานอีริคสันประเทศไทย กล่าวถึงความสำคัญของ 5G ในการสร้างสรรค์บริการใหม่ ๆ สำหรับทั้งผู้บริโภคและองค์กร โดยมุ่งมั่นทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากโครงข่าย 5G

ทั้งนี้ อีริคสันยังคาดการณ์ว่าในปี 2572 ผู้ใช้ 5G จะเติบโตถึง 60% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลก พร้อมกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง

LINE ประเทศไทย ปักธงครบรอบ 12 ปี ตั้งเป้าขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country ด้วย LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชั่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 54 ล้านคน มุ่งผลักดันการพัฒนาและทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างภาคเทคโนโลยีและภาคส่วนผู้ใช้งานต่าง ๆ บน 4 กลยุทธ์ ได้แก่

(1) ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน (2) ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country (3) สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล และ (4) ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

 

ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “LINE ก้าวสู่ปีที่ 12 เราเติบโตจากแอปพลิเคชั่นสื่อสารมาเป็นแพลตฟอร์มสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่สำคัญของผู้ใช้งานกว่า 54 ล้านคนในปัจจุบัน (ณ มิถุนายน 2566) โดยมีประชากรผู้ใช้หลากหลายภาคส่วน ธุรกิจ พันธมิตร คอมมูนิตี้ ที่ทำงานร่วมกันกับบริการและโซลูชันส์ต่าง ๆ บนระบบนิเวศจนเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE (LINE Economy) นำไปสู่โจทย์ทางธุรกิจข้อถัดไปของเราในการสร้างความยั่งยืนบนแพลตฟอร์มที่เติบโตนี้ โดยมีหมุดหมายสำคัญคือการผลักดันแพลตฟอร์ม LINE ด้วยบทบาทในระดับมหภาค บนความมุ่งมั่นของเราที่อยากจะเห็นแอปพลิเคชั่น LINE มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็น Smart Country กล่าวคือ การที่เทคโนโลยีของ LINE มีบทบาท

สำคัญในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สอดประสานเข้าด้วยกัน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย”

4 กลยุทธ์สร้าง LINE Economy ระบบเศรษฐกิจบนแอป LINE ให้ยั่งยืน

1. ผสานจุดแกร่งระบบนิเวศเพิ่มขีดการแข่งขัน

หลังเสริมทัพแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงและจัดกลุ่มธุรกิจใหม่เพื่อปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม, กลุ่มธุรกิจ Consumer Business, กลุ่มธุรกิจ LINE For Business, กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์และบริการใหม่ และกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริษัทฯ เดินหน้าสร้างพันธมิตร ไปพร้อมกับการผสานจุดแกร่งระหว่างบริการ – โซลูชันส์บนระบบนิเวศ เพื่อนำเสนอโซลูชันส์ในรูปแบบใหม่ ๆ ไปสู่การเพิ่มขีดการแข่งขันให้แก่ลูกค้าธุรกิจในทุกระดับ เป็นการดึงข้อได้เปรียบจากการเป็นแพลตฟอร์มที่มีโซลูชันส์ครบครัน สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

2. ชูการเป็น Smart Platform ขับเคลื่อน Smart Country

หมุดหมายสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Country คือการที่ทุกภาคส่วนในประเทศประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาเพื่อยกระดับการดำเนินการในส่วนต่าง ๆ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่ง LINE มุ่งหวังให้เทคโนโลยีบนแพลตฟอร์มเป็นส่วนช่วยผลักดันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาครัฐ ที่นำเสนอบริการ e-Service ให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าถึงและตรวจสอบการดำเนินการผ่านบัญชีทางการ LINE ได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ภาคเอกชน ที่นำโซลูชันส์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม LINE มาสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจที่ต้องการแข่งขัน อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า และภาคประชาชน ด้วยประสบการณ์การใช้งานแอป LINE ในชีวิตประจำวันผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การสื่อสาร โซเชียลมีเดีย ช้อปปิ้ง คอนเทนต์ข่าวสาร สั่งอาหาร ฯลฯ มากไปกว่านั้น คือการส่งเสริมให้ผู้ใช้สามารถเป็นได้หลากหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน ทั้งครีเอเตอร์ แอดมินของคอมมูนิตี้ ผู้ประกอบการ โดยมี LINE เป็นแพลตฟอร์มรองรับ

3. สร้างคุณภาพชีวิต Life on LINE ที่ดีบนโลกดิจิทัล

นอกจากบริการต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ บริษัทฯ ได้ริเริ่มแนวคิด LINE Digital Well-being ที่ต้องการปักหมุดในระยะยาวเพื่อให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่บนโลกดิจิทัล โดยที่ผ่านมาได้ทำแคมเปญรณรงค์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการบริหารเวลาเพื่อลดความเหนื่อยล้าบนโลกออนไลน์ ความเห็นอกเห็นใจและทัศนคติเชิงบวกบนโลกออนไลน์ การดูแลความสัมพันธ์รอบตัว ซึ่ง LINE ประเทศไทย ก็ได้หยิบยกแง่มุมใหม่ ๆ มานำเสนอเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในประชากรผู้ใช้เพื่อสุขภาวะที่ดีบนโลกดิจิทัล

4. ส่งเสริมการเติบโตยั่งยืนของเทคคอมพานี

การดูแล Well-being ของพนักงาน ไปพร้อม ๆ กับการสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้แก่บริษัทฯ จึงเดินหน้าพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ผ่านโครงการ LINE ROOKIE เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้ามาฝึกงานในโลกของการทำงานจริง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นจำนวนมากกว่าพันรายในแต่ละปี เพื่อสร้าง New Talent ให้กับตลาดงานและแลกเปลี่ยนแนวคิดจากคนรุ่นใหม่เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีแผนความร่วมมือที่จะนำความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาพัฒนาหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศเพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพป้อนสู่ตลาดงานในประเทศภายในปี 2566 อีกด้วย

SAP (เอสเอพี) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศเปิดตัว GROW with SAP โซลูชันและบริการใหม่ที่จะช่วยให้องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อประโยชน์สูงสุดจาก Cloud ERP ทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว คาดการณ์ธุรกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง

การเปิดตัวดังกล่าวจัดขึ้นภายในงานการประชุม SEA Partner Success Summit 2023 ซึ่งมีพาร์ทเนอร์กว่า 300 รายทั่วภูมิภาคเข้าร่วม

โซลูชัน GROW with SAP ได้รวบรวมแพลตฟอร์มเพื่อตอบสนองการขยายธุรกิจอย่าง SAP Business Technology Platform เข้าไว้ในบริการนี้เพื่อให้องค์กรสามารถปรับใช้และกำหนดแนวทางซอฟต์แวร์ในแบบคลาวด์เนทีฟผ่าน SAP Build ด้วยโซลูชัน SAP Build ผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชันภายในองค์กร สร้างกระบวนการทำงานอัตโนมัติ และออกแบบเว็บไซต์ธุรกิจได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจผ่านการสร้างสรรค์โซลูชันที่ตอบโจทย์

งานวิจัยของ SAP study พบว่า มากกว่า 2 ใน 3 ขององค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก มองเห็นว่าการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น มีความสำคัญต่อองค์กรและความอยู่รอดในอนาคตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน องค์กรมีความจำเป็นที่จะต้อง

อาศัยผู้เชี่ยวชาญและพาร์ทเนอร์ที่สามารถให้คำแนะนำพวกเขาตลอดกระบวนการดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัวและคุ้มค่ากับการลงทุน

องค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 99% ของธุรกิจทั้งหมด ก่อให้เกิดการจ้างงาน 90% และคิดเป็นเกือบ 60% ของจีดีพีในหลายประเทศในอาเซียน การร่วมมือประสานกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรธุรกิจของ SAP และพาร์ทเนอร์ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการใช้ประโยชน์จากโซลูชัน GROW with SAP จะช่วยส่งเสริมศักยภาพขององค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล กระตุ้นให้องค์กรเกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยังส่งเสริมศักยภาพเพื่อโอกาสการเติบโตทางธุรกิจระหว่างประเทศใหม่ ๆอีกด้วย” เวเรน่า เซียว ประธานและกรรมการผู้จัดการ เอสเอพี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

“T-PRIDE ก่อตั้งขึ้นเเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนชุมชนในการสร้างความร่วมมือและความยืดหยุ่นเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการระบาดใหญ่ของโควิด 19 แม้ว่าปัจจุบันเราจะอยู่ในยุคหลังการระบาด แต่ T-PRIDE ยังคงเดินหน้าป้องกันและเตรียมความพร้อมขององค์กรอยู่เสมอ ซึ่งการย้ายการทำงานขององค์กรไปยังระบบคลาวด์และใช้งาน GROW with SAP ที่เปรียบเสมือนศูนย์กลางการทำงานระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรสามารถยกระดับกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นและเป็นไปตามหลักธรรมภิบาลมากยิ่งขึ้น การมีตัวช่วยที่ครบครันจะช่วยให้เราสามารถควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้แนวทางการทำงานและการบริหารสอดคล้องกัน ด้วยแนวคิดการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูลที่รวมเป็นหนึ่งช่วยให้การประมวลผลและการตัดสินใจถูกต้องและม่นยำ ทำให้ T-PRIDE สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ” จูดี้ เฮย ประธานกรรมการบริหาร Temasek Public Resilience Infectious Disease Emergency (T-PRIDE) กล่าว

“ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเอสเอพีที่มากกว่า 50 ปี ในการช่วยบริษัททุกขนาดในหลากหลายองค์กรให้กลายเป็นองค์กรอัจฉริยะที่ยั่งยืน เราเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าและแนวทางเพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากการนำ Cloud ERP มาใช้ รวมถึงทำอย่างไรลูกค้าจึงสามารถนำเอาโซลูชันคลาวจากเอสเอพีมาใช้เพื่อขยับขยายและสนับสนุนธุรกิจ พร้อมทั้งนำเสนอบริการที่ซับซ้อนให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถเตรียมความพร้อมสู่เป้าหมายความยั่งยืนขององค์กรในอนาคต” เวเรน่า เซียว กล่าวเสริม

“ธุรกิจต่างๆทราบดีว่าการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นและการย้ายไปยังระบบคลาวด์มีประโยชน์อย่างมาก แต่ความกังวลและไม่มั่นใจทำให้หลายองค์กรยังคงลังเล” คริสตอฟ เดอร์เดน หุ้นส่วนและผู้อำนวยการบริษัท Delaware ประเทศสิงคโปร์ และDelaware นานาชาติ กล่าว “GROW with SAP แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าโซลูชันดังกล่าวสามารถตอบสนองความต้องการด้านงบประมาณและธุรกิจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เมื่อลูกค้าเข้าใจรายละเอียดขององค์ประกอบและบริการอย่างชัดเจน การย้ายไปยังระบบคลาวด์จึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป แต่ทุกกระบวนการจะอยู่ภายใต้การควบคุมที่เป็นขั้นเป็นตอน นอกจากนี้ยังรับประกันได้ว่า SAP และกลุ่มบริษัทพาร์ทเนอร์ พร้อมดูแลลูกค้าเป็นอย่างดีเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับธุรกิจ”

“SAP ผนึก 3 องค์ประกอบสำคัญที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเข้าด้วยกันในโซลูชันครบวงจร เพื่อช่วยให้ลูกค้าย้ายไปยังระบบคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" กริช วิโรจน์สายลี ประธานกรรมการ บริษัท ไอแอม คอนซัลติ้ง จำกัด กล่าว “ลูกค้าของเราสามารถพัฒนาธุรกิจผ่านการใช้งานบนระบบ SAP S/4HANA® Cloud ตลอดจนสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆผ่าน SAP Business Technology Platform ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากการประสบการณ์ในการช่วยเหลือลูกค้ามายาวนานกว่า 50 ปีของเอสเอพี ยิ่งเรานำเทคโนโลยีและโซลูชันดังกล่าวมาใช้งานเร็วเท่าไหร่ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรยิ่งมีมากเท่านั้น

นอกจากนี้ SAP ยังได้มีการประกาศผู้ชนะรางวัล SAP SEA Partner Awards 2023 ซึ่งให้ความสำคัญกับพาร์ทเนอร์ดีเด่นในด้านการขาย นวัตกรรม เทคโนโลยี บริการ และโซลูชันอีกด้วย

 

 

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click