January 22, 2025

ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดงานสัมมนา “Digital Marketing Trends 2024 เจาะลึก AI ช่วยการตลาดธุรกิจ SME” ณ ศูนย์ฝึกอบรมตะวันรอน จ.ชลบุรี เพื่อสานต่อภารกิจเสริมแกร่งเอสเอ็มอีด้วยการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า กลุ่ม ลูกค้า Supply chain ให้เริ่มเตรียมพร้อมปรับตัวใช้นำปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยธุรกิจ SME พร้อมกับแนะเคล็ดลับการเลือกใช้ AI อย่างเหมาะสมและทันสถานการณ์ ตอบสนองความสนใจของผู้บริโภคได้อย่างแม่นยำ ขยายโอกาสในการเพิ่มยอดขายให้ปัง และสร้างแต้มต่อในการแข่งขัน โดยมี นางกนกวรรณ ใจศรี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน SME Upcountry 1 ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้การต้อนรับ

ภายในงานสัมมนา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร่วมรับฟังการบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญที่มาวิเคราะห์เจาะลึกภาพรวมธุรกิจในปีนี้ จาก นางสาวชญานิศ สมสุข และ นางสาววรรณโกมล สุภาชาติ นักวิเคราะห์ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ในหัวข้อ “เจาะลึก Trends ธุรกิจในปี 2024” พร้อมทั้งเรียนรู้การตลาดดิจิทัลและการใช้ AI ช่วยในเรื่องการตลาดเพื่อให้ธุรกิจไปได้ในยุคปัจจุบัน จาก ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และการใช้เครื่องมือ AI ด้าน Digital Marketing เพิ่มยอดขายอย่างไรให้ปัง จาก นายชนกานต์ ชินชัชวาล CEO และ Founder บริษัท โรโบลิงโก้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ AI Chatbot และ Automation Platform สำหรับการตลาดใน Social Media นายอดิศักดิ์ จิระกิตติดุลย์ Business Development Manager บริษัท ช็อคโก้ คาร์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้าน CRM และการตลาดดิจิทัล นอกจากนี้ยังได้รับฟังประสบการณ์ตรงจาก ดร.พงศ์ศักดิ์ ตฤณธวัช Head of Robinhood Academy บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ที่มาบอกเล่ากรณีศึกษา แบรนด์ที่ใช้ Digital Marketing จนประสบความสำเร็จ

สำนักงาน กขค. ร่วมกับ สสว. จัดพิธีเอ็มโอยูเพื่อส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าของเอสเอ็มอี

ธนาคารไทยพาณิชย์ เดินหน้าส่งมอบความยั่งยืนสู่กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ด้วยโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) จับมือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ นำร่องโครงการสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันพีทีที สเตชั่น (PTT Station) วงเงินสูงสุด 100% ของเงินลงทุน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี รวมปลอดเงินต้น 1 ปี และอัตราดอกเบี้ยปีแรกคงที่ 3.99% ต่อปี

ทั้งยังตอกย้ำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน Net Zero ที่สอดคล้องกันกับโออาร์ รณรงค์ให้สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายในสถานีฯ เพื่อเป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาดและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับจุดยืนการดำเนินธุรกิจที่ พีทีที สเตชั่น เป็น “สถานีที่เติมเต็มทุกความสุข” ที่พร้อมเติบโตไปพร้อมกับผู้คน สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมตั้งเป้า พีทีที สเตชั่น 200 สาขาแรกให้เป็นสถานีรักษ์โลกด้วยสินเชื่อโซลาร์รูฟท็อปภายในสิ้นปี 2566

นางพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย โดยเฉพาะในประเด็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกระบวนการผลิต ซึ่งในระยะข้างหน้า หากธุรกิจเอสเอ็มอีไม่รีบปรับตัวในเรื่องดังกล่าว โอกาสในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันจะยิ่งลดน้อยถอยลง การพาเอสเอ็มอีก้าวข้ามความท้าทายนั้น เป็นความจำเป็นที่ธนาคารและธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความเข้าใจการปรับปรุงกระบวนการทำงานไปสู่ Net Zero ต้องร่วมมือกันพาเอสเอ็มอีเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นวิธีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ธนาคารจึงจัดเตรียมโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) ซึ่งเป็นวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจและสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการลงทุนใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการต้นทุนให้แก่เอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมต่างๆ สอดคล้องกับพันธกิจหลักของธนาคารในการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2030 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2050

“เราเห็นความต้องการในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในกลุ่มธุรกิจผู้ประกอบการสถานีน้ำมันพีทีที สเตชั่น ประกอบกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ มีเป้าหมายสนับสนุนให้ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ธนาคารจึงนำร่อง SCB SME Green Finance ด้วย สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น นำสินเชื่อดังกล่าวไปติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เพื่อประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนฯ และมีส่วนช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศ โดยให้วงเงินสินเชื่อตั้งแต่ 2 - 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 10 ปี ทั้งนี้ ผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น แห่งแรกที่ใช้สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป คือ พีทีที สเตชั่น จ.ชลบุรี ภายใต้การบริหารของบริษัท เลิศประเสริฐ ออยล์ จำกัด ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่า จะมีผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น จำนวน 200 แห่ง สมัครใช้สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป ภายในสิ้นปี 2566 นี้” นางพิกุล กล่าว

นายพิมาน พูลศรี รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ กล่าวว่า การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปภายในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น นั้นเป็นหนึ่งใน โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่่ผลักดันให้ พีทีที สเตชั่น เป็น “สถานีที่เติมเต็มทุกความสุข” ที่เติบโตไปพร้อมกับผู้คน สังคมชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวคิด SDG ตามแบบฉบับของโออาร์ ในเรื่อง G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด โดย โออาร์ มีความมุ่งมั่นที่จะให้ พีทีที สเตชั่น ทั่วประเทศจำนวนกว่า 2,000 แห่ง ทั้งที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ โออาร์ และผู้แทนจำหน่ายจำนวนกว่า 1,600 แห่ง ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพื่อเป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการ SAVE ต้นทุนให้ธุรกิจด้วย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ โออาร์ ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดจากโซลาร์รูฟท็อปให้ครบ 18 เมกะวัตต์ในปี 2573 ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินธุรกิจ เพื่อมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon-Neutrality) ภายในปี 2573 และบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2593 ดังนั้น การที่ได้ธนาคารไทยพาณิชย์ เข้ามาร่วมมอบโซลูชั่นทางการเงินให้แก่ผู้แทนจำหน่ายสถานีในครั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญให้พีทีที สเตชั่น เป็นผู้นำสถานีบริการที่มีการใช้พลังงานสะอาด และผลักดันให้โออาร์ประสบความสำเร็จในเป้าหมายที่วางไว้

นางสาวกรสินี ไวว่อง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิศประเสริฐ ออยล์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการพีทีที สเตชั่น จำนวน 2 แห่ง สาขาหนองใหญ่ และสาขาหนองใหญ่-วังจันทร์ NY344 Stationจังหวัดชลบุรี ซึ่งทำเลที่ตั้งของสถานีน้ำมันอยู่ในพื้นที่ชุมชน ใกล้โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และภาคตะวันออก นั้นเป็นประตูสู่การท่องเที่ยว ดังนั้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในสถานีฯ น้ำมันจึงอยู่ในอัตราที่สูง บริษัท จึงมีความตั้งใจจะบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประจวบกับทางโออาร์มีโครงการสนับสนุน ให้สถานีบริการน้ำมันดีลเลอร์ใช้โซลาร์รูฟ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าให้กับสถานี และธนาคารไทยพาณิชย์นำเสนอสินเชื่อโซลาร์รูฟ ที่ให้เงื่อนไขพิเศษ สร้างความยืดหยุ่น ให้กับการบริหารจัดการสภาพคล่องให้แก่บริษัทเป็นอย่างมาก บริษัทจึงใช้บริการสินเชื่อดังกล่าวเพื่อติดตั้งแผง โซลาร์รูฟภายในสถานีฯ น้ำมัน ซึ่งช่วยให้บริษัทประหยัดต้นทุนค่าไฟได้มากกว่า 20% นอกจากนี้ บริษัทฯมีความ ภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับ ประเทศ”

สินเชื่อโซลาร์รูฟท็อป เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นเพื่อธุรกิจรักษ์โลก (SCB SME Green Finance) โดยให้วงเงินสูงสุด 100% ของเงินลงทุน ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี (รวมระยะเวลาปลอดเงินต้น 1ปี) ด้วยอัตราดอกเบี้ยปีแรกคงที่ 3.99% ต่อปี ผู้ประกอบการที่สนใจสมัครสินเชื่อ สามารถติดต่อยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2566 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2566 สอบถามเพิ่มเติม SCB SME Call Center โทร 02 722 2222 หรือ เจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ที่ดูแลแต่ละพื้นที่

· บริการจัดส่งต้นไม้ประเภทที่เน่าเสียได้ยากไปยังสหรัฐอเมริกาในเวลารวดเร็วเพียง 3-5 วัน ช่วยให้ผู้ประกอบการในไทยสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในตลาดต่างประเทศ

· ปัจจุบัน ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย ให้บริการส่งออกแคคตัสหรือกระบองเพชรจากไทยไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชาถึงในวันถัดไป (Next-Day Delivery)

· ผู้ค้าในประเทศสามารถส่งออกต้นไม้ประเภทที่เน่าเสียได้ยาก เช่น กระบองเพชรและไม้ใบจากไทยไปยังสหรัฐฯ ได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยความช่วยเหลือจากฝ่ายบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง และความเชี่ยวชาญด้านพิธีการศุลกากรของดีเอชแอล

กรุงเทพฯ 21 มิถุนายน 2566: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เปิดให้บริการขนส่งด่วนสำหรับต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยาก เช่น กระบองเพชร (แคคตัส) และไม้ใบจากประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา โดยเพิ่มประเทศในการให้บริการปัจจุบันที่ส่งแคคตัส และไม้ใบบางประเภทไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา การให้บริการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถมีโอกาสในการทำธุรกิจจากความต้องการต้นไม้ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในตลาดสหรัฐฯ

ผู้ประกอบการส่งออกต้นไม้ประเภทที่เน่าเสียได้ยาก (non-perishable plant) เช่น กระบองเพชร (แคคตัส) และไม้ใบในประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงลูกค้าในสหรัฐอเมริกาผ่านการจัดส่งด่วนของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ภายในระยะเวลา 3-5 วันโดยผู้ส่งสามารถติดตามสถานะการจัดส่งในกระบวนการซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางผู้รับ ผ่านเครือข่ายการขนส่งด่วนทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน และบริการด้านลอจิสติกส์ที่ครอบคลุมของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส

ระยะเวลาในการขนส่งขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์และครบถ้วนของเอกสารสำคัญที่ผู้ส่งต้องเตรียม รวมถึงกระบวนการตรวจสอบและพิธีการศุลกากรในประเทศที่เป็นทางผ่านและประเทศปลายทาง

เฮอร์เบิต วงษ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “เรายินดีที่จะประกาศให้ทราบเกี่ยวกับการขยายความสามารถในการให้บริการขนส่งด่วนข้ามประเทศเพื่อการค้าระหว่างประเทศสำหรับต้นไม้ประเภทที่เน่าเสียได้ยาก เช่น กระบองเพชรและไม้ใบ จากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯ ความก้าวหน้าครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำเทรนด์ตลาด และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรามองเห็นการเติบโตของตลาดต้นไม้ทั่วโลก และภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการให้บริการส่งออกระดับมืออาชีพ และใช้ความเชี่ยวชาญของเราในการสนับสนุนผู้ค้าและเอสเอ็มอีในประเทศเพื่อให้เข้าถึงตลาดสหรัฐฯ การขยายการให้บริการในครั้งนี้นับเป็นการ

ตอกย้ำความพยายามของเราในการส่งมอบบริการที่เป็นเลิศ รวดเร็ว และไว้ใจได้ และเรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เติบโตในอุตสาหกรรมต้นไม้ให้มากขึ้น”

“ต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยาก” หรือ Non-perishable plant คือคำจำกัดความสำหรับต้นไม้ที่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ต้องอาศัยดินหรือน้ำเป็นเวลา 3-5 วัน ต้นไม้ประเภทนี้ครอบคลุมไม้กระถางและไม้ใบที่ไม่จัดอยู่ในสายพันธุ์ต้องห้าม ไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่จัดว่าเน่าเสียได้ยาก เช่น ชวนชม มอนสเตอร่า พลูด่าง ฟิโลเดนดรอน และแคคตัสหรือกระบองเพชร

ตลาดต้นไม้ทั่วโลกมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการนำเข้าต้นไม้และพืชอื่นๆ ทั่วโลกมีมูลค่าราว 23,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2565 โดยสหรัฐฯ จัดเป็นตลาดระดับแนวหน้าซึ่งมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 4,000 ล้านดอลลาร์ และครองตำแหน่งประเทศที่นำเข้าต้นไม้สูงที่สุดในปี 25651 โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์รายสำคัญที่จัดส่งต้นไม้ไปยังสหรัฐฯ และเป็นประเทศที่ส่งออกไม้ประดับและพันธุ์ไม้ตกแต่งแถวหน้าของอาเซียนโดยครองอันดับ 1 ของภูมิภาคและอันดับที่ 16 ของโลกในปี 2565 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 124.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดสำคัญในการส่งออก2

การส่งออกต้นไม้ที่เน่าเสียได้ยากจากไทยไปยังสหรัฐฯ ต้องใช้ใบรับรองปลอดศัตรูพืช (Phytosanitary Certification) เพื่อรับรองว่าต้นไม้ที่ส่งออกปลอดศัตรูพืช และเป็นไปตามเงื่อนไขของประเทศปลายทาง

ใบรับรองปลอดศัตรูพืชช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ส่งออกปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) สำหรับการนำเข้าพืช และผู้รับปลายทางต้องติดต่อกระทรวงฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนสินค้าจะถูกจัดส่งเพื่อเตรียมเอกสารการนำเข้าสินค้า และช่วยให้สามารถจัดส่งถึงมือผู้รับได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใบอนุญาตส่งออกไซเตส (CITES: อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์) ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของประเทศต้นทางว่าชิปเมนต์ดังกล่าวมีต้นไม้สายพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองโดย CITES หรือไม่

ลูกค้าที่สนใจสามารถใช้บริการส่งออกต้นไม้จากไทยไปสหรัฐอเมริกาได้โดยดูข้อมูลที่นี่ หรือติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส โทร. 02-345-5000 (24 ชั่วโมง) เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการส่งออกต้นไม้

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click