ไซเซลประกาศเปิดตัวอุปกรณ์มัลติมินิ (Multy Mini) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครือข่ายเทคโนโลยีเมช (Mesh WiFi) ทรงประสิทธิภาพ ขนาดเล็กกะทัดรัด ออกแบบมาเพื่อขยายพื้นที่การใช้งานสัญญาณไวไฟจากอุปกรณ์หลักมัลติเอ็กซ์ (Multy X) ที่ลูกค้าใช้งานอยู่แล้ว ให้มีสัญญาณได้ไกลมากขึ้นอีก 2,000 ตารางฟุต
อุปกรณ์ตระกูล Multy X นั้นเป็นอุปกรณ์ในระบบไวไฟจากไซเซล โดดเด่นทั้งในประสิทธิภาพการทำงานและรูปแบบที่ทันสมัย สีขาว เรียบง่าย ลงตัวสำหรับไลฟ์สไตล์ทันสมัยในปัจจุบัน
ทั้งนี้ อุปกรณ์ Multy Mini มีตัวแอมพลิไฟเออร์ขยายสัญญาณประสิทธิภาพสูงและใช้เสาอากาศแบบโพลาไรซ์ 6 เสา (6 Multi-polarized antennas) ส่งให้ Multy Mini ให้สัญญาณแรงมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ สามารถกำจัดจุดสัญญาณบอดลงได้ นอกจากนี้ มีเทคโนโลยีสมาร์ทโรมมิ่งที่ท่านสามารถใช้งานไวไฟได้ต่อเนื่อง มีความเสถียรสูง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครือข่ายเมื่อท่านเคลื่อนที่ไปในบริเวณต่างๆ ของบ้าน
นายบิล ซู ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มธุรกิจ Smart Living SBU ของไซเซลกล่าวว่า “การเปิดตัว Multy Mini ในตระกูลผลิตภัณฑ์ Multy ครั้งนี้เป็นการเน้นย้ำความมุ่งมั่นของเราที่จะตอบสนองความต้องการด้านเครือข่ายของผู้บริโภคที่ทันสมัยทุกคน เมื่อเราเริ่มพัฒนา Multy Mini เป้าหมายของเราคือ ต้องการขยายการใช้งานของ Multy X ที่ลูกค้าใช้อยู่ ตอบสนองความต้องการด้านประสิทธิภาพความเร็วและความสะดวกสบายที่ลูกค้าในขณะนี้คาดหวังต่อระบบไวไฟ รวมทั้งยกคุณสมบัติพิเศษที่เหนือคู่แข่งของอุปกรณ์ Multy Mini ให้โดดเด่นมากขึ้น ซึ่งเราทำได้สำเร็จ”
ติดตั้งง่าย: ไม่ต้องใช้เครื่องมือใดๆ ให้ยุ่งยาก
ไม่ว่าท่านจะเคยใช้อุปกรณ์ Multy X มาก่อนหรือไม่ก็ตาม การตั้งค่า Multy Mini นั้นรวดเร็วและง่ายดายเหมือนรุ่นก่อนๆ ท่านเพียงเปิดใช้แอบพลิเคชั่น “Multy” ที่ออกแบบมาให้สามารถค้นพบและซิงค์ตัวอุปกรณ์ Multy Mini ได้โดยอัตโนมัติ จึงทำให้ท่านมีสัญญาณไวไฟที่ต้องการในเวลาไม่กี่นาที ทั้งนี้ ในอุปกรณ์ Multy X หนึ่งตัวสามารถรองรับ Multy Mini ได้มากถึง 5 ตัวด้วยกัน ท่านจึงสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายสัญญาณไวไฟความเร็วสูงได้ทั่วถึงทั้งบ้าน
ชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว
Multy Mini มาพร้อมเทคโนโลยี Quick Charge 3.0 ให้ท่านชาร์จอุปกรณ์มือถือของท่านด้วยเวลาที่น้อยลง จึงทำให้ไฟที่แบตเตอรี่เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ลูกค้ามีปลั๊กไฟว่างเพื่อการใช้งานอื่นๆ เสมอ ลดความวุ่นวายในการหารางปลั๊กไฟภายในห้องเพื่อชาร์จไฟ
Multy Mini มีรูปแบบการใช้งานให้ท่านเลือก 2 แบบตามความต้องการของท่าน ซึ่งหากท่านเป็นผู้เริ่มต้นใช้อุปกรณ์ตระกูล Multy เป็นครั้งแรก ไซเซลขอเสนอแพ็คเกจที่รวมทั้ง Multy X และ Multy Mini เพื่อใช้ด้วยกัน แต่หากท่านใช้อุปกรณ์ Multy X อยู่แล้ว ท่านเพียงต้องการ Multy Mini เพิ่มขึ้นเพื่อขยายสัญญาณเครือข่ายไวไฟอย่างง่ายๆ เท่านั้น
Multy Mini เพิ่งได้รับรางวัล Taiwan Excellence Awards ครั้งที่ 27 และออกวางจำหน่ายเรียบร้อยแล้วในขณะนี้ พร้อมให้ท่านพิสูจน์คุณภาพ
เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ (สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ แห่งฟอร์ติเน็ตได้เร่งสร้างความเข้าใจในผลกระทบของพรบ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งพบว่าหน่วยงานภาครัฐขนาดเล็กบางแห่งและองค์กรในบางอุตสาหกรรมอาจยังมีจำนวนบุคคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จำกัดซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งนี้ มั่นใจโซลูชั่น Security Fabric สามารถช่วยองค์กรตอบข้อกำหนดของพรบ. ทั้งสองฉบับได้
ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนเร่งยกระดับระบบดิจิทัลเพื่อก้าวไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 พร้อมนานาชาติและดำเนินธุรกรรมภายใต้กฎระเบียบคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation: GDPR)ของสหภาพยุโรปซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องภัยไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคล ในประเทศไทยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Act: CSA) พ.ศ. 2562 ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ในทันทีเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act: PDPA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 พฤษภาคม พศ. 2563 ส่งให้ผู้ประกอบการควรเร่งทำความเข้าใจและจัดหากระบวนการที่สอดคล้องกับข้อกำหนดในพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับอย่างเร่งด่วน
พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ กำหนดให้โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ (Critical Infrastructure : CI) อันหมายถึงบรรดาหน่วยงานหรือองค์กรที่ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของตนมีผลเกี่ยวเนื่องสำคัญต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของประเทศทั้ง 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความมั่นคงและบริการภาครัฐที่สำคัญ กลุ่มการเงินการธนาคาร กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม กลุ่มการขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค กลุ่มสาธารณสุขจำเป็นต้องยกระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure : CII) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับ (กกม) ได้ประยุกต์มาตรฐานที่พึงนำมาใช้เป็นกรอบในการทำงานจากสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Institute of Standard and Technology : NIST) มาเป็นมาตรการขั้นต่ำของ พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ใน 5 มาตรการด้วยกัน ได้แก่
1) มาตรการในการระบุความเสี่ยง (Identify)
2) มาตรการในการป้องกันภัยคุกคาม (Protect)
3) มาตรการในการตรวจสอบและเฝ้าระวัง (Detect)
4) มาตรการในการเผชิญเหตุ ตอบโต้ภัย (Respond) และ
5) มาตรการรักษาและฟื้นฟู (Recover)
ดร. รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ (สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ แห่งฟอร์ติเน็ตได้ให้ความเห็นว่า “พ.ร.บ. ที่บังคับไปแล้วนี้ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนมีหน้าที่ในการสร้างกลไกในการป้องกันภัยไซเบอร์ที่รัดกุมมากขึ้น มิฉะนั้นจะได้รับบทลงโทษ องค์กรจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือหาทูลส์ใหม่ๆ ที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.ได้ในทุกกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ ”เฝ้าระวัง” ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่มีการลงทุนสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสมจำเป็นต้องสามารถป้องกันภัยได้กว้าง (Broad) ครอบคลุมทุกแพลทฟอร์มและอุปกรณ์ อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น (Integrated) และทำงานได้อย่างอัตโนมัติ (Automation) สามารถปฏิบัติงานตามมาตรการ 5 ประการข้างต้นจากส่วนกลางได้”
ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตมีแพลทฟอร์มด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่เรียกว่า “Fortinet Security Fabric” ที่สามารถตอบโจทย์มาตรการทั้ง 5 ด้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นแพลทฟอร์มที่รวมอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยครบครันจึงสามารถช่วยให้องค์กรเห็นภัยไซเบอร์ที่คุกคามเข้ามาได้ลึกทั่วทั้งเครือข่าย นอกจากนี้ อุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานภายใต้ความร่วมมืออีโคซิสเต็มส์ (Fortinet Fabric Ready Partner) จึงทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานเข้ากันได้อย่างราบรื่น ลูกค้าสามารถใช้งานอุปกรณ์ได้เต็มที่ ยิ่งไปกว่านั้น ฟอร์ติเน็ตใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิ่ร์นนิ่งในโซลูชั่น จึงสามารถโต้ตอบและจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างชาญฉลาดและอัตโนมัติ
ดร. รัฐิติ์พงษ์อธิบายเพิ่มเติมถึงรายละเอียดว่า “ในแพลทฟอร์ม Fortinet Security Fabric นั้น มีโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตที่มีคุณสมบัติการทำงานที่ตรงต่อข้อกำหนดตั้งแต่มาตรการที่ 1 ถึง 5 ไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ดังนี้
มาตรการที่ 1) Identify:
- Identify and assess users: เมื่อมีผู้ใช้งานเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่าย องค์กรจำเป็นต้องสามารถระบุภัยที่เข้ามาได้ ซึ่งในปัจจุบันนั้น การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานเพียงด้วยการรหัสผู้ใช้งาน (User name) และรหัสผ่าน (Password) ไม่เพียงพอแล้ว ฟอร์ติเน็ตแนะนำให้ใช้วิธีการยืนยันตัวตนของผู้ใช้และของอุปกรณ์ได้โดยการใช้อุปกรณ์ FortiToken และ FortiNAC ทั้งนี้ อุปกรณ์ FortiToken จะยืนยันผู้ใช้งานโดย 2 Factor One Time Password ซึ่งให้ความปลอดภัยกว่า และใช้ FortiNAC เพื่อควบคุม ติดตามการเข้าถึงเครือข่ายของอุปกรณ์และผู้ใช้งาน รวมถึงอุปกรณ์ไอโอทีสมัยใหม่ที่เชื่อมต่อเข้ามาอีกด้วย
- Asset and risk management: ในการระบุภัยและความเสี่ยงของเครื่องที่ใช้ในองค์กร ฟอร์ติเน็ตสามารถจัดหาอุปกรณ์ FortiInSight เพื่อใช้ดูพฤติกรรมของผู้ใช้งานในองค์กร อาทิ ผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์ไปที่ใด ท่องเว็บใด และส่งข้อมูลการใช้งานเหล่านั้นไปยังอุปกรณ์ FortiSIEM ที่จัดเก็บ วิเคราะห์พฤติกรรมจากอุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตและอุปกรณ์ของค่ายอื่นด้วย หากพฤติกรรมใดมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนภัยของทุกเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
- Vulnerability assessment: ในการตรวจสอบหาช่องโหว่ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป แล็ปท็อป โมบายและเซิร์ฟเวอร์ในระบบนั้น ฟอร์ติเน็ตแนะนำว่าควรใช้อุปกรณ์ FortiClient ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทางอย่างครบถ้วน ให้ทำหน้าที่สแกนตรวจสอบการติดตั้งซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยที่องค์กรได้กำหนดเป็นนโยบายไว้ อาทิ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสและไฟร์วอลล์ ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ FortiNAC จะช่วยตรวจสอบหาการติดตั้งซอฟท์แวร์ที่อาจมีความเสี่ยง หรือซอฟท์แวร์ที่ควรจะมีในอุปกรณ์นั้น
- Risk assessment and governance: ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของพ.ร.บ.นั้น องค์กรจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลการใช้งาน (Log) ทางคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน อาทิ เว็บที่ท่องไป ซึ่งองค์กรสามารถปฎิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ FortiGate ที่ทำหน้าที่เป็นซีเคียวริตี้เกทเวย์ช่วยป้องกันภัยคุกคาม พร้อมกับอุปกรณ์ FortiAnalyzer ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ จัดเก็บข้อมูล ทำรายงาน และมีอุปกรณ์ FortiManager ที่จะช่วยบริหารจัดการองค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัยทั้งหมดได้จากศูนย์กลาง
มาตรการที่ 2) Protect: ฟอร์ติเน็ตเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัยไซเบอร์ที่มีโซลูชั่นในการป้องกันภัยคุกคาม ป้องกันข้อมูลที่เข้ามาและเก็บภายในเครือข่ายขององค์กรเองและบนคลาวด์ได้อย่างแข็งแกร่ง
- ในการป้องกันภัยภายในเครือข่ายขององค์กรนั้น เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอก ฟอร์ติเน็ตเสนอให้ใช้อุปกรณ์เน็กซ์เจอเนอเรชั่นไฟร์วอลล์ FortiGate เป็นซีเคียวริตี้เกทเวย์พร้อมกับอุปกรณ์ FortiDDos เพื่อป้องกันภัยที่มุ่งทำให้เครือข่ายและบริการขององค์กรหยุดชะงักลง ถัดจากการป้องกันภัยที่ขอบเครือข่ายแล้ว ฟอร์ติเน็ตแนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยระบบอีเมลชั้นนำ FortiMail ในการสกัดภัยคุกคามและปัญหาอีเมล อีกทั้งอุปกรณ์ FortiWeb ไฟร์วอลล์ในการป้องกันการรักษาความปลอดภัยให้กับเว็บแอปพลิเคชั่น ทั้งนี้ สามารถใช้อุปกรณ์ FortiClient และ FortiProxy ได้อีกด้วย นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตยังมี FortiSandbox ระบบรักษาความปลอดภัยชั้นสูง ที่ช่วยตรวจดักจับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆ ที่เรียกกันว่า Zero-day ก่อนที่จะแพร่กระจายคุกคามในเครือข่าย รวมถึงพฤติกรรมที่ผิดปกติในระบบ และป้อนข้อมูลกลับไปยังอุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตอื่นๆ จึงสามารถสร้างเกราะป้องกันอันชาญฉลาดเพื่อจัดการกับภัยคุกคามทั้งระบบ
- ในการป้องกันเครือข่ายบนคลาวด์นั้น ฟอร์ติเน็ตได้พัฒนาบริการความปลอดภัยสำหรับการใช้งานบนคลาวด์ที่แข็งแกร่งที่ครบถ้วน ได้แก่ บริการ FortiSandbox Cloud, FortiMail Cloud, FortiWeb Cloud, FortiCASB นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตยังขยายบริการความปลอดภัยไปกับผู้ให้บริการประเภท Infrastructure as a Service (IaaS) ชั้นนำระดับโลกมากมาย รวมถึง AWS, Microsoft Azure, Oracle Cloud Infrastructure และ Alibaba Cloud อีกด้วย
มาตรการที่ 3) Detect: ฟอร์ติเน็ตมีศักยภาพในการตรวจสอบความผิดปกติและอีเว้นท์ต่างๆ มีกลไกในการสังเกตเฝ้าระวังอย่างอัตโนมัติและต่อเนื่อง และใช้ซิคเนเจอร์ในการตรวจภัยที่เกิดขึ้นมาแล้วอย่างแข็งแกร่ง
- ทั้งนี้ เพื่อตรวจพบภัยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนั้น ฟอร์ติเน็ตมีโซลูชั่นใหม่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อันได้แก่ อุปกรณ์ FortiDeceptor ที่จะทำหน้าที่เป็นเป้าล่อภัยคุกคาม ทำงานพร้อมกับอุปกรณ์ FortiSandbox ที่ทำหน้าที่ทดสอบข้อมูลหรือไฟล์ต้องสงสัย เพื่อตรวจดูพฤติกรรมที่ผิดปกติได้
- นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตมีระบบตรวจสอบความปลอดภัยที่ช่วยในส่วนของ Security Operation Center (SOC) โดยมีอุปกรณ์ FortiSEIM และ FortiAnalyzer ในการเก็บ Log ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องจัดหารายงานเหล่านี้ให้กับหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการร้องขอ
มาตรการที่ 4) Respond: หากเกิดภัยคุกคามขึ้นแล้วนั้น การตอบโต้กับสถานการณ์โดนภัยคุกคามจะรวมถึง การสื่อสารรายงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์ การระงับภัย การพัฒนาสถานการณ์ที่เกิด
- ในการตอบโต้กับภัยที่เกิดขึ้นที่ผู้ใช้งาน (Endpoint Detection Response) ฟอร์ติเน็ตสามารถใช้อุปกรณ์ FortiClient เพื่อระงับการใช้งาน เช่น ระงับมิให้ผู้ใช้งานเปิดไฟล์อันตราย และใช้อุปกรณ์ FortiNAC ในการแยกผู้ใช้งานและกักกันเครื่องที่มีภัยคุกคามออกไปได้
- และในการตอบโต้กับภัยนั้น ฟอร์ติเน็ตเสนอให้ใช้คุณสมบัติที่มีอยู่ในอุปกรณ์ FortiSIEM, FortiAnalyzer และ FortiManager ในการตรวจสอบ Log และจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยของระบบเครือข่าย ช่วยให้เกิดการตอบสนองแบบอัตโนมัติ แจ้งเตือนทุกเหตุการณ์ได้ทันท่วงที
- นอกจากนี้ ฟอร์ติเน็ตได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ส่งให้ฟอร์ติเน็ตโดดเด่นเหนือกว่าใคร คือเทคโนโลยี Security-Defined Network ที่ช่วยให้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ด้านเครือข่ายขององค์กรได้ อาทิ ไฟร์วอลล์ FortiGate สามารถส่งข้อมูลภัยที่พบนั้นไปยังอุปกรณ์สวิชต์ FortiSwitch และอุปกรณ์แอคเซสพ้อยต์ไร้สาย FortiAP ได้ จึงทำให้เครือข่ายมีความปลอดภัยที่สมบูรณ์ทั่วทั้งเครือข่าย
หัวใจสำคัญในการสร้างกลไกด้านความปลอดภัยไซเบอร์นั้น ฟอร์ติเน็ตได้รับข้อมูลด้านภัยคุกคามเชิงลึกจากศูนย์วิเคราะห์ภัยฟอร์ติการ์ตแล็ปส์เป็นเรียลไทม์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ ฟอร์ติการ์ตแล็ปส์ทำหน้าที่ดูแล วิเคราะห์พฤติกรรมภัยคุกคามใหม่ๆ รวบรวมสถิติภัยที่เกิดขึ้น และรายงานส่งต่อข้อมูลภัยคุกคามอัปเดตไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัย อุปกรณ์ของฟอร์ติเน็ตทุกชึ้นจึงมีข้อมูลภัยคุกคามที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถตอบโต้และระงับภัยในเวลาอันสั้นลง
และมาตรการท้ายสุด 5) Recover: ในมาตรการรักษาและฟื้นฟูนั้น ฟอร์ติเน็ตสามารถให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับลูกค้าเฉพาะกรณีได้”
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีผลบังคับในปีพศ. 2563 นั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลของประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีการล่วงละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ภาครัฐออกนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชากรในประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) ตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ อีเมล์ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและอื่นๆ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) อาทิ ข้อมูลชีวภาพอีกด้วย
พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ระบุถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้ควบคุม (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูล (Data Processor) ไว้อย่างชัดเจน ผู้ควบคุมข้อมูล คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีหน้าที่ในการขอความยินยอม บันทึกและป้องกันไม่ให้มีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ และต้องมีมาตรการในการเก็บรักษาข้อมูลที่เหมาะสม อาทิ การจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) เป็นต้น
ส่วนผู้ประมวลผลข้อมูล คือ บุคคลหรือนิติบุคคล ที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจัดทำบันทึก ตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุุคล ยิ่งไปกว่านั้น พ.ร.บ. ยังกล่าวถึงเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Officer : DPO) ที่องค์กรจะต้องแต่งตั้งขึ้นมาอีกด้วย
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้มีหลักการเชิง ‘อนาคต’ เช่นเดียวกับพ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฯ ซึ่งให้อำนาจ ‘สอดส่อง’ ตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เกิดภัยคุกคาม กล่าวคือ ผู้ควบคุมข้อมูลก็ต้องมีหน้าที่ป้องกันไว้ก่อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์ในประเทศไทย
ฟอร์ติเน็ตมีโซลูชั่นที่มีคุณสมบัติพร้อมเบ็ดเสร็จในอุปกรณ์ในการเก็บ รวบรวม ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยอันได้แก่ การป้องกันข้อมูลสูญหาย (Data Loss Protection) การควบคุมการเข้าใช้งานในเครือข่าย (Access Control) การควบคุมให้ข้อมูลถูกต้องอยู่เสมอ (Data Integrity) การปิดข้อมูลให้ปลอดภัย (Data Exposure) เป็นต้น ทั้งนี้ คุณสมบัติข้างต้นนี้ได้ Built in รวมอยู่ในโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตทั้งที่เป็นประเภท Security as a Service (SaaS) สำหรับการใช้งานที่องค์กรและ Infrastructure as a Service (IaaS) สำหรับการใช้งานบนคลาวด์ จึงมีศักยภาพในการป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้อย่างครอบคลุม
ในการควบคุมการเข้าใช้งาน องค์กรสามารถใช้อุปกรณ์ FortiToken และอุปกรณ์ FortiNAC ได้เช่นกัน และในการทำให้ข้อมูลถูกต้องอยู่เสมอนั้นจะเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ FortiWeb ป้องกันเหล่าเซิร์ฟเวอร์และ FortiClient ป้องกันภัยคุกคามที่เข้ามาทางอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บนแพลทฟอร์ม Fortinet Security Fabric
ฟอร์ติเน็ตจึงมีความมั่นใจว่า โซลูชั่นต่างๆ จะสามารถสร้างกลไกกระบวนการด้านความปลอดภัยทั้งเครือข่ายได้อย่างต่อเนื่องได้ครบครัน สร้างความคุ้มค่าในการลงทุน และองค์กรสามารถตอบสนองข้อกำหนดของพ.ร.บ. ทั้งสองฉบับได้เป็นอย่างดี
ฟอร์ติเน็ต (Fortinet®; NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบครบวงจรและอัตโนมัติ ประกาศเปิดตัวโซลูชั่น FortiWeb Cloud Web Application Firewall (ฟอร์ติเว็บ คลาวด์ เว็บ แอปพลิเคชั่น ไฟร์วอลล์ แอส อะ เซอร์วิส) หรือบริการป้องกันการโจมตีเว็บไซต์ที่ให้บริการบนคลาวด์ (Cloud Service) บนแพลทฟอร์มสำหรับระบบคลาวด์ชั้นนำ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาใช้แอปพลิเคชั่นบนเว็บได้อย่างรวดเร็วในขณะที่สร้างความปลอดภัยที่ดีที่สุดให้กับแอปพลิเคชั่นหลักสำคัญขององค์กรเหล่านั้น สามารถป้องกันแอปพลิเคชั่นบนเว็บและ APIs จากภัยคุกคามทั้งหลาย และช่วยให้องค์กรปฏิบัติตามกฏข้อบังคับต่างๆ ได้ ทั้งนี องค์กรที่เลือกปกป้องแอปพลิเคชันบนเว็บด้วยโซลูชัน Software-as-a-Service (SaaS) นี้สามารถเลือกใช้โซลูชัน WAF ได้เต็มศักยภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้และจัดการโครงสร้างพื้นฐานหรือมีทักษะด้านความปลอดภัยของแอปพลิเคชันบนเว็บโดยเฉพาะใดๆ เลย
ช่องทางในการถูกโจมตีในคลาวด์มีมากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน องค์กรต่างปรับใช้แอปพลิเคชั่นไปยังคลาวด์และสร้างแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์มากขึ้นเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อย่างไรก็ตาม การปรับใช้ที่รวดเร็วนี้อาจนำมาซึ่งช่องโหว่ของระบบในที่ต่างๆ องค์กรจึงต้องการกระบวนการด้านความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่ขยายกว้างขึ้นและปกป้องแอปพลิเคชันจากภัยคุกคามนานาประเภท ทั้งนี้ หากองค์กรใช้ทูลส์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายที่แยกออกจากกันยิ่งจะเป็นอุปสรรค์ในการปกป้องพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้น ทีมไอทีจึงต้องการโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ปกป้องเว็บซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์กรได้อย่างแม่นยำ ใช้งานง่าย จัดการได้ง่าย เพื่อที่จะโอนย้ายแอปพลิเคชั่นไปยังคลาวด์หรือสร้างแอปพลิเคชั่นบนคลาวด์ได้อย่างคล่องตัว ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรเผชิญกับสถานการณ์ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาดผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชั่นบนเว็บ จึงทำให้ทีม DevOps ที่รับผิดชอบจัดการแอปพลิเคชันบนเว็บยิ่งต้องการโซลูชั่นด้านความปลอดภัยที่ใช้งานง่าย มีศักยภาพสูงในการดักตรวจภัยในสิ่งแวดล้อมไฮบริดคลาวด์
ฟอร์ติเน็ตช่วยองค์กรใช้ประโยชน์จากคลาวด์ได้เต็มที่
ฟอร์ติเน็ตสามารถช่วยทีมไอทีและทีม DevOps แก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยเสนอโซลูชั่น FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service หนึ่งในโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ชั้นนำของฟอร์ติเน็ต โดยจัดโซลูชั่น FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service ให้ลูกค้าเลือกซื้อได้ในแพลทฟอร์ม AWS Marketplace หรือผ่านตัวแทนจำหน่ายของฟอร์ติเน็ตที่ท่านต้องการ และเริ่มติดตั้งโซลูชั่นได้บน AWS ได้โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความปลอดภัยซึเคียวริตี้แฟบริค ของฟอร์ติเน็ต จึงสามารถมอบประโยชน์ให้แก่องค์กรได้ดังนี้:
FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service บน AWS ทำให้องค์กรสามารถมีไฟร์วอลล์สำหรับแอปพลิเคชั่นบนระบบคลาวด์ได้ง่าย และหากอยู่ในบน AWS ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จะสามารถเริ่มต้นใช้งานในการป้องกันภัยคุกคามขั้นสูงได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ทั้งนี้ AWS ในหลายภูมิภาคได้ให้บริการโซลูชันประเภท SaaS ของฟอร์ติเน็ตนี้เรียบร้อยแล้ว ทำให้โซลูชั่นทำงานใกล้กับแอปพลิเคชันของลูกค้ามากที่สุด บริการจึงมีประสิทธิภาพสูงและมีความยืดหยุ่นในแง่การลงทุนสูง - กล่าวโดย นายแดน พลาสติน่า รองประธานฝ่ายบริการความปลอดภัยของ Amazon Web Services, Inc.
ที่ Steelcase เราเชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสร้างความแตกต่างที่สำคัญ เราเป็นรายแรกๆ ที่ใช้ระบบเวอร์ช่วลไลเซชั่นและโซลูชันบนคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า และเมื่อเราเริ่มโอนย้ายแอปพลิเคชั่นและเวิอร์คโหลดไปยังระบบคลาวด์สาธารณะ เราได้ตัดสินใจเลือกฟอร์ติเน็ต เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในคุณสมบัติด้านความปลอดภัยบนคลาวด์ที่แข็งแกร่งที่ผนวกรวมเข้ากับโครงสร้างความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบริคของฟอร์ติเน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ FortiWeb ที่ได้ช่วยให้ Steelcase สามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่แอปพลิเคชันบนเว็บของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เราบริหารการปฏิบัติงานและรายงานต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น - กล่าวโดย นายแฟร้งค์ สตีเวนส์ Cloud Security Architect ของ Steelcase
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ FortiWeb Cloud WAF-as-a-Service
โอเชี่ยน พรอพเพอร์ตี้ สนับสนุนมาตรการปรับลดค่าโอน - ค่าจดจำนองบ้าน เหลือ 0.01%
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สำหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหดตัวของการส่งออกตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะกีดกันทางการค้า
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุนธุรกิจการส่งออก การนำเข้า และการลงทุน ขานรับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยความเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงพร้อมช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี จากอัตราเดิม 6.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป
“EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างไม่สะดุด แม้ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายพิศิษฐ์กล่าว
แอ็กซอลตา โค้ทติ้ง ซิสเต็มส์ ประกาศรายงานสีรถยอดนิยมเป็นปีที่ 67 โดยรายงานสียอดนิยม 3 อันดับ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ สีขาว (38%) สีดำ (19%) และสีเทา (13%) ซึ่งสีขาวนั้นได้รับความนิยมอันดับ 1 จากทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2011
ในปีนี้ ความนิยมของสีเงินตกลงมาจาก 3 อันดับ ที่ 10% และเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดในระยะเวลากว่าทศวรรษ ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า สีเทาได้รับความนิยมในทุกภูมิภาคทั่วโลก รายงานความนิยม 4 อันดับเหล่านี้ ได้แก่ สีขาว สีดำ สีเทา และสีเงิน สัดส่วนสียอดนิยมรวมเป็น 80 % ของตลาดรถยนต์ทั่วโลก
“เรามีความยินดีที่ได้รายงานสีรถยอดนิยม ปี 2019” แนนซี ล็อกฮาร์ท ผู้จัดการผลิตภัณฑ์สีแอ็กซอลตา กล่าว “กว่า 65 ปีในการศึกษาวิจัยความนิยมของลูกค้าด้านสีรถยนต์ ทำให้เราเป็นผู้นำในเรื่องเทรนด์สีรถยนต์และสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์สีพ่นรถยนต์ที่เป็นที่นิยมให้แก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม”
ในระดับภูมิภาค สีรถยอดนิยมมีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย สีขาวได้รับความนิยมลดลง 1% ในยุโรป และสีเทาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 2% ทำให้สีเทาได้รับอันดับความนิยมสูงในยุโรปเป็นครั้งแรก
“หลังจากที่สีเทากุหลาบได้รับความนิยมในกลุ่มรถเอสยูวีในยุโรป ในปีนี้เราเห็นการเติบโต 5% ในกลุ่มรถคอมแพค และรถสปอร์ต นับเป็นครั้งแรกในยุโรปที่ความนิยมสีเทา หรือสีที่หลากหลายมากขึ้น จากที่สีขาวเคยเป็นที่นิยมมายาวนาน ชาวยุโรปมีความต้องการใช้สีเทาในแง่อารมณ์ความรู้สึกที่ดูสบาย” เอลค์ เดิร์กส์ นักออกแบบสีรถยนต์ ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเชีย กล่าว
สำหรับภูมิภาคอื่น ๆ สีขาวยังคงได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นในตลาด ในเอเชียเพิ่มขึ้น 1% รวมทั้งหมดที่ 49%
“ผู้ซื้อจากจีนชอบสีที่ทันสมัย มีระดับ และสะอาดตา ซึ่งสีขาวมีคุณสมบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน” แอนนี่ ยู นักออกแบบสีรถยนต์ ประเทศจีน กล่าว
ภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ยังคงนิยมสีขาว แต่เห็นได้ว่าสีเทาก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
“ในขณะที่ 4 สียอดนิยมยังเป็น สีขาว สีดำ สำเทา และสีเงิน” ล็อกฮาร์ท กล่าวต่อ “เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาสีใหม่ ๆ ที่น่าจะเป็นที่นิยมต่อไป โดยไม่ยึดติดกับปีที่ผ่านมา เรามั่นใจว่าลูกค้าจะเริ่มเปลี่ยนความนิยมของสีรถยนต์ และแอ็กซอลตายังคงเป็นพันธมิตรที่ดีและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเสมอ”
เฉดสีที่หลากหลาย ตั้งแต่สีน้ำเงินเขียว ได้แรงบันดาลใจจากน้ำทะเล สู่สีนาวีบลู สีฟ้าอ่อน สีน้ำเงินเดนิม พบเห็นได้ทั่วโลก สีแดงได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกาเหนือที่ 9% และสีน้ำตาล สีเบจ ได้รับความนิยมในรัสเซียที่ 12% เรื่องของสีนั้นส่งผลต่อการเลือกและการตัดสินใจของลูกค้าตลอดจนเอกลักษณ์ของแบรนด์หรือของผลิตภัณฑ์ และแอ็กซอลตายังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและสูตรสีอย่างต่อเนื่อง
“เฉดสีรถที่หลากหลายเห็นได้ชัดเจนบนท้องถนน อาทิ สีน้ำเงิน สีแดง และสีน้ำตาลหรือสีเบจ” ล็อกฮาร์ท กล่าวสรุป “สีน้ำเงินเป็นที่นิยมในอเมริกาเหนือและยุโรปที่ 10% ดังนั้น การพัฒนาสีน้ำเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าจึงไม่เป็นปัญหา”
ติดตามข้อมูลรายงานเทรนด์สีรถยนต์จากแอ็กซอลตาฉบับเต็มได้ที่ axalta.com
ไฮไลท์จากรายงานภูมิภาค ประจำปี 2019 ประกอบด้วย
รายงานเทรนด์สีรถยนต์จากแอ็กซอลตา เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1953 เป็นข้อมูลที่มีมาอย่างยาวนานที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุด ตลอดจนข้อมูลรายงานเทรนด์สีของแอ็กซอลตาจากลิงก์นี้ www.axalta.com จะมีข้อมูลประวัติศาสตร์และอนาคตเกี่ยวกับสีรถยนต์ ซึ่งรวบรวมโดยผู้เชี่ยวชาญของแอ็กซอลตา และยังเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจผู้ผลิตสินค้า/รถยนต์ (OEM) ในการรับรู้และเข้าใจความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเสนอและส่งมอบสีรถยนต์ที่เหมาะสม
บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการประชุมว่าด้วยการสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีนำร่องเมื่อวันพุธที่ผ่านมา กล่าวว่า การสนับสนุนเงินหยวนเป็นสกุลเงินสากลได้ก้าวหน้าไปอีกขั้น