November 18, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 7637

ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจีได้สนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี และเชิญเครือข่ายนักพัฒนารุ่นพี่ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงาน ซึ่งปัจจุบันมีต้นกล้าชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนั้น มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขามาถ่ายทอดความรู้ให้กับต้นกล้า และจัดกิจกรรมศึกษาการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยง รวม 44 คน ลงพื้นที่ชุมชนศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ร่วมกับ Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee และทีมงานจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต้นกล้าและพี่เลี้ยง รวมถึงชุมชนต่างได้รับคำแนะนำ และแนวทางทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจาก Mr. Tadashi Uchida ที่สามารถนำไปปรับใช้ด้วยการนำเสนอจุดแข็งของสินค้าผ่านการเล่าเรื่องที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจุดเด่น อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ ยังเป็นโอกาสที่ต้นกล้าได้เชื่อมโยงเครือข่าย และเสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ต้นกล้าชุมชนยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน ที่เริ่มต้นขึ้นจากแรงผลักดันของพฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนหญิงรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากครั้งที่มูลนิธิฯ พาไปเรียนรู้ที่โอย่าม่าแลนด์ ประเทศญี่ปุ่น

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนว่า “มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่า ต้นกล้าชุมชนจะเติบโตและแข็งแรงได้นั้น ต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม การจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพให้น้องๆ ต้นกล้า ทั้งการดูงานที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OVOP (One Village One Product) หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น Mr. Tadashi Uchida และทีมงาน ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทยเพื่อให้ความรู้กับน้องๆ ทำให้ต้นกล้าได้ปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ เพราะเราเชื่อว่าการได้สัมผัสประสบการณ์จริงย่อมมีคุณค่าและสร้างแรงแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้า ตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชนตนเอง ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน

ด้าน Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee กล่าวถึงการเดินทางมาในครั้งนี้ว่า “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OVOP มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น  กล้าหาญ และมุ่งมั่น ผมเชื่อว่าน้องๆ ต้นกล้าสามารถทำได้แน่นอน ดังนั้น ภารกิจของพวกเราคือ ให้คำแนะนำ ความมั่นใจ และความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยง และชุมชนที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจมากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืน ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมือง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในชุมชน

ต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2  เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวถึงความประทับใจว่า “ได้พลังอย่างมากจากคำแนะนำของคุณอูชิดะ และพี่เลี้ยง ทุกคำติชมช่วยยืนยัน และเพิ่มความมั่นใจให้กับเราทุกคน ความทรงจำแบบนี้ให้แรงบันดาลใจมากกว่าการดูจากภาพ หรือการเล่าให้ฟัง การพาไปเจอและได้สัมผัสทำให้เราได้คิดทบทวนแล้วนำกลับไปปรับใช้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก นับเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชนต่อไป

ด้านบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย นักพัฒนารุ่นพี่กล่าวเสริมว่า “ครั้งนี้ พี่ว่ามีความสมบูรณ์ คือเราได้ดูงานในพื้นที่จริง ทั้งร้านอาหาร กิ๊ฟท์ช้อป ร้านผักอินทรีย์ ทำให้น้องๆ ต้นกล้าที่ยังไม่เห็นภาพการทำงาน ยังมีความลังเล ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ การดูงานในพื้นที่จริง ทำให้เห็น ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ส่วนวิทยากรที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น ช่วยให้พวกเราได้รับคำแนะนำดีๆ หลายเรื่อง อย่างเรื่องสินค้าที่ดีและมีคุณภาพต้องมีอะไรบ้าง การอธิบายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่ตลาดต้องการ หลักการตลาด สิ่งที่พี่ชอบมาก คือ การตลาดที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก บางทีเราละเลยไป ทำอย่างไรให้คนมาเห็นแล้วพูดถึง คิดถึง พี่ว่ากิจกรรมครั้งนี้มีประโยชน์ ถือเป็นคุณูปการแก่นักพัฒนารุ่นใหม่อย่างแท้จริง

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้าเหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานในบ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ละทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเอง มูลนิธิฯ หวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น รับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป    

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

คุณสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (คนที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ได้เข้าหารือแนวโน้มธุรกิจยิปซั่ม กับท่านสังคม จันสุก (คนที่ 2 จากขวา) ประธานบริษัท สะหวัน ยิปซั่ม โปรดักส์ จำกัด (SGP) ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อเร็วๆ นี้

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป สุดเอ็กซ์คลูซีฟ “แอลจีชวนลูกแต้มรัก เติมใจให้แม่” เชิญชวนลูกค้าของแอลจีและครอบครัวจาก LG Life’s Good เฟซบุ๊ค แฟนเพจ มาร่วมกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัวและสร้างความทรงจำที่น่าประทับใจ ด้วยการแสดงฝีมือแต่งแต้มสีสันลงกระเป๋าผ้า สื่อความรักจากใจลูกสู่แม่ โดยมีคุณกบ สุวนันท์ ที่จูงมือครอบครัวมาอย่างพร้อมหน้า ทั้งสามี คุณบรู๊ค ดนุพร ลูกสาว น้องณดา และลูกชาย น้องณดล มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานแห่งความรักในบรรยากาศแสนอบอุ่นต้อนรับเทศกาลวันแม่ ปี 2561 นี้

คุณนิพนธ์ วงษ์แสงอรุณศรี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แอลจีมุ่งมั่นเลือกสรรกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปีให้ลูกค้าและแฟนๆ ของ LG Life’s Good เฟซบุ๊ค แฟนเพจ ร่วมเสริมสร้างการมีชีวิตที่ดีดังสโลแกน Life’s Good โดยกิจกรรมในปีนี้ นอกจากการเพ้นท์ลวดลายลงบนกระเป๋าผ้าที่สะท้อนถึงความรักให้แก่คุณแม่ทั้งหลาย เรายังรับรู้ได้ถึงความรัก ความประทับใจจากครอบครัวที่เข้าร่วม และเราจะยังคงสร้างสรรค์โอกาสดี ๆ เช่นนี้เพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น”  

 

 

เอสซีจี เดินหน้าโครงการปิโตรเคมีครบวงจรรายแรก ในประเทศเวียดนาม ล่าสุดได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) กับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำ โดยจะเริ่มการก่อสร้างในไตรมาสที่สาม ปี 2561 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566  เพื่อรองรับความต้องการภายในเวียดนามที่ปัจจุบันสูงถึงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในระดับสูง

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “โครงการ Long Son Petrochemicals หรือ LSP เป็นโครงการปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ระดับ World Scale มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5,400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท ถือเป็นการลงทุนหลักของเอสซีจีในปัจจุบัน การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจเคมิคอลส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบสูงทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”

การลงนามในสัญญาเงินกู้เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับ 6 สถาบันการเงินชั้นนำได้แก่ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีวงเงินจำนวนกว่า 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 110,000 ล้านบาท) และมีระยะเวลาเงินกู้ประมาณ 14 ปี โดยมีธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

LSP ตั้งอยู่ที่เมือง Ba Ria – Vung Tau ห่างจากนครโฮจิมินห์ประมาณ 100 กิโลเมตร มีกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.6 ล้านตันต่อปี สำหรับผลิตเม็ดพลาสติกชนิด HDPE LLDPE และ PP โดยโครงการมีการดำเนินงานอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมของเวียดนามได้อย่างยั่งยืน

 

บุคคลในข่าว (ซ้ายไปขวา)

1. เยาวดี นาคะตะ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. วีระพงศ์ ศุภเศรษฐ์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. วรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
4. เชาวลิต เอกบุตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินการลงทุน เอสซีจี
5. ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม General Director, Long Son Petrochemical Company Limited
6. รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
7. ชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์
8. ยูอิชิ นิชิมุระ Regional Head of Greater Mekong Sub-Region, Country Head of Thailand, General Manager of Bangkok Branch, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
9. ราจีฟ คันนัน Executive Officer - Head of Investment Banking Asia, ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
10. มาซายูกิ สุงาวาร่า, Executive Officer and General Manager, ธนาคารมิซูโฮ
11. วศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Corporate Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

เอเซียติคฯ ปลื้ม “อัมพวา” กะทิแท้ 100% ขึ้นแท่นท็อปแบรนด์ดาวรุ่งที่เติบโตสูงสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร  การันตีด้วยรางวัล Top Risers จากเวที “แบรนด์ยอดนิยมประจำปี 2561 Brand Footprint Award 2018”  ตอกย้ำผู้นำและปฏิวัติวงการกะทิสำเร็จรูปตัวจริง  พร้อมเดินหน้าวิจัยและพัฒนาสินค้าคุณภาพดีเกรดพรีเมียมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

นายณัฐพล  วิสุทธิไกรสีห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเซียติค อุตสาหกรรมเกษตร จำกัด ผู้ผลิต แปรรูป และส่งออกผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวรายใหญ่ของประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากบริษัทฯ ได้เปิดตัว “อัมพวา” (Ampawa) กะทิแท้ 100% ในรูปแบบขวด PET เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการกะทิสำเร็จรูปสัญชาติไทยในขวด PET รายแรกของโลกที่คัดสรรจากมะพร้าวคุณภาพชั้นดี นำมาคั้นทันทีตั้งแต่กะเทาะเปลือก ผ่านการแปรรูปและบรรจุลงในขวดกันรังสียูวีด้วยเทคโนโลยีการบรรจุเย็นด้วยระบบปลอดเชื้อที่ทันสมัย (Cold Aseptic Filling Technology)  ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง เพื่อเก็บรักษาความขาว ข้น หอม มันของกะทิคั้นสดแบบธรรมชาติ  ปราศจากการปรุงแต่ง ด้วยนวัตกรรมและกระบวนการคิดค้นโดยมีเกณฑ์มาตรฐานคือ กะทิสดจากธรรมชาติ เพื่อให้คนไทยได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพซึ่งได้กระแสตอบรับที่ดีมากทั้งจากคู่ค้าและผู้บริโภค

ล่าสุดกะทิแท้ 100% “อัมพวา” ได้รับรางวัล Top Risers หรือแบรนด์ดาวรุ่งที่เติบโตสูงสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร จากเวที “แบรนด์ยอดนิยมประจำปี 2561 Brand Footprint Award 2018” ซึ่งสำรวจและจัดอันดับโดยบริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (Kantar  Worldpanel Thailand : KWP)  ผู้นำด้านการวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคเชิงลึกที่มีความเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตราการบริโภคสูง (Fast  Moving Consumer Goods : FMCG)  และก่อนหน้านี้ “อัมพวา” ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศด้วยกระแสการตอบรับที่ดีมากจนชนะใจเชฟชาวฝรั่งเศส และได้รับการโหวตให้ได้รับรางวัลและตราพิเศษ  Flavors of The Year Restoration 2018 จากหน่วยงาน “Monadia Organisateur Centre de Qualite” ของฝรั่งเศส

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำเร็จของแบรนด์ “อัมพวา” เกิดจากแนวคิดเชิงรุกและคิดนอกกรอบที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดว่า ทำอย่างไรให้กะทิสำเร็จรูปมีคุณภาพดีเยี่ยมใกล้เคียงกับกะทิคั้นสด รวมถึงการใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นขวด PET รายแรกของโลก จึงทำให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
สะดวกต่อการเก็บรักษา สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มองหาความสะดวกสบายในการทำอาหารด้วยกะทิสำเร็จรูป รวมถึงการสื่อสารและลักษณะของแบรนด์  “อัมพวา” ที่ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย และพิสูจน์ได้จริง

“จากความสำเร็จของแบรนด์อัมพวาและการเติบโตของตลาดกะทิสำเร็จรูป ส่งผลให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาด และผลิตสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งบริษัทฯ มองว่าเป็นโอกาสดีที่จะทำให้ผู้ผลิตคิดค้นพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลให้ตลาดเติบโตและแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะมีโอกาสได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจการแปรรูปมะพร้าว ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อนำเสนอสินค้าไทยคุณภาพระดับพรีเมียมที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด เพื่อให้คนไทยรวมถึงทั่วโลกได้บริโภคสินค้าที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย พร้อมทั้งขอขอบคุณผู้บริโภคที่ให้การตอบรับและไว้วางใจในคุณภาพ ทำให้กะทิอัมพวาประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างรวดเร็ว” นายณัฐพล กล่าว

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯ ยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการถ่ายทอดและแบ่งปันผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก (Sharing Coconut Culture with the World) ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานสินค้าเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมการบริหารจัดการธุรกิจด้วยระบบ Zero Waste Management โดยให้ความสำคัญกับการใช้ทุกส่วนของมะพร้าวอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตติดอันดับ 1 ใน 3 ของกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวของคนไทยออกสู่ตลาดโลก

สถาบันอาหาร แจงโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561  ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวและกล้วย  คืบหน้าไปมาก ได้เครือข่ายครบ 17 กลุ่มจากทั่วประเทศ  ภาพรวมเน้นส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม    เผยแผนยุทธศาสตร์กลุ่มเครือข่ายมะพร้าวทับสะแก  หนุนปลูกมะพร้าวอินทรีย์   และแปรรูปน้ำมะพร้าวผลแก่เป็น “ผงชงพร้อมดื่ม”  ชูจุดเด่นที่มีเกลือแร่ต่างๆปริมาณสูง  เจาะกลุ่มผู้เสียเหงื่อ และนักกีฬา ระยะยาวตั้งเป้าพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน GMP และ HALAL เพื่อการส่งออก

นางนิตยา  พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เผยความคืบหน้าการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)  ภายใต้โครงการนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561  ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวและกล้วยว่า ขณะนี้กลุ่มเครือข่ายต่างๆ โดยผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงานเครือข่าย(CDA) ของแต่ละกลุ่ม อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายเพื่อเป็นยุทธศาสตร์ใช้ในการวางแผนพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายให้ครบ 17 แผน มีจำนวน CDA รวมทั้งสิ้น 54 คน จากกลุ่มมะพร้าว 33 คน และจากกลุ่มกล้วย 21 คน

โดยมีสมาชิกจากกลุ่มเครือข่ายมะพร้าว 10 กลุ่มทั่วประเทศ ได้แก่ 1)ทับสะแก  2)บางสะพานน้อย  3)พะงัน  4)ชุมพร(มะพร้าวสองเล)  5)สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี(สสพ.มะพร้าว)         6)สระบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก(มะพร้าวมิตรภาพ)  7)ราชบุรี สามร้อยยอด กรุงเทพฯ  8)หนองคาย เลย นครสวรรค์ ร้อยเอ็ด  9)นครปฐม(มะพร้าวน้ำหอมสามพราน) และ10)ปราจีนบุรี   ส่วนกลุ่มเครือข่ายกล้วย 7 กลุ่ม ได้แก่ 1)สกลนคร  2)กาญจนบุรี(กล้วยกาญจ์)  3)ปทุมธานี  4)กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ สุโขทัย อุทัยธานี พิษณุโลก ตาก  5)มหาสารคาม  6)ปัตตานี  และ7)ชุมพร

“ล่าสุดกลุ่มเครือข่ายมะพร้าวทับสะแก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีผลผลิตมะพร้าวแกงเป็นหลัก ได้สรุปแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่มเครือข่ายว่า ในระยะกลางและระยะยาวจะเน้นส่งเสริมการปลูกมะพร้าวให้เป็นการปลูกแบบอินทรีย์(Organic)  โดยจะนำผลผลิตมะพร้าวมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แปรรูปให้ได้มากที่สุด  และเกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทดแทนการสูญเสียจากสถานการณ์แมลงศัตรูพืชระบาด ทั้งนี้จะนำน้ำมะพร้าวแก่สด มาแปรรูปเป็น “ผงชงพร้อมดื่ม” ด้วยเห็นว่าคุณค่าของน้ำมะพร้าวแก่นั้นมีเกลือแร่ต่างๆในปริมาณสูง เช่น โพแทสเซียม ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เสียเหงื่อ และนักกีฬา มีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดชัดเจน และจะพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน GMP และ HALAL สร้างช่องทางการตลาดเพื่อการส่งออกต่อไป  ส่วนแผนระยะสั้นทางกลุ่มได้ให้การสนับสนุนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI)  ให้กับมะพร้าวทับสะแก ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะปลูกมะพร้าวแกงที่มีคุณภาพ มีความโดดเด่นเฉพาะตัว คือ เนื้อหนา กะลาบาง ผลใหญ่ ผลดก และมีความมันของกะทิสูงกว่ามะพร้าวจากแหล่งอื่น เพื่อควบคุมคุณภาพการผลิต และช่วยเพิ่มมูลค่าทางการค้า”

คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำโดย คณบดี รศ. ดร.จิราภา วิทยาภิรักษ์ จัดโครงการถวายเทียนพรรษาและนิทรรศการ

การปลูกฝังและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำความรู้จักและเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญและเป็นรากฐานที่ดีให้พวกเขาได้ค้นหาและรู้จักตัวเอง ตลอดจนเตรียมตัวใฝ่หาทักษะความรู้ที่จำเป็นจากทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้พร้อมต่อการมุ่งสู่อาชีพที่ใช่และเหมาะสมกับตนเองต่อไป โครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Banpu Education for Sustainability หรือ BES) ที่ริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2547 โดย บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งเอเชีย-แปซิฟิก จึงสานต่อ กิจกรรม Career Dayเปิดโลกอาชีพ ปูเส้นทางสู่อนาคต ในปีที่ 2 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4 ของโรงเรียน 6 แห่งทางภาคเหนืออันเป็นพื้นที่ที่บ้านปูฯ เคยดำเนินธุรกิจ ได้แก่ โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสระ จังหวัดพะเยา โรงเรียนสบปราบพิทยาคม โรงเรียนแม่ทะพัฒนศึกษา และโรงเรียนแม่ทะวิทยา จังหวัดลำปาง โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จังหวัดลำพูน รวมทั้งสิ้นกว่า 1,000 คน เพื่อแบ่งปันความรู้ในสาขาวิชาชีพต่างๆ และสร้างแรงบันดาลใจในการค้นพบตัวเองพร้อมกรุยทางสู่อาชีพที่ตรงใจ

นางอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส - องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การเลือกสายการเรียนต่อหรือการคิดฝันถึงอาชีพในอนาคตของเด็กๆ ที่ไม่ได้เล่าเรียนในเมืองใหญ่นั้นเป็นเรื่องที่ตัดสินใจไม่ง่ายเลย อาชีพใกล้ตัวหรือพบเห็นในท้องถิ่นเองก็ไม่หลากหลาย 
ถ้าลองไปถามเด็กว่าโตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร อาชีพที่พวกเขาพอจะนึกออกได้ก็คือ ครู ทหาร หมอ เป็นต้น บ้านปูฯ จึงจัดกิจกรรม Career Day: เปิดโลกอาชีพ ปูเส้นทางสู่อนาคต เพื่อให้เขามีโอกาสได้รู้จักกับอาชีพที่มีอยู่มากมาย รวมไปถึงอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ของโลกในปัจจุบัน สำหรับกิจกรรมนี้จัดเป็นปีที่ 2 แล้ว ก็มีการปรับกิจกรรมหลายๆ ตัวเพื่อดึงดูดให้เด็กๆ เพลิดเพลินกับการค้นหาตัวเอง มีกิจกรรมที่น่าสนใจและสนุกสนานมากขึ้น พี่ต้นแบบอาชีพที่มาแบ่งปันประสบการณ์ก็มีถึง 10 อาชีพ ซึ่งหลากหลายและเข้มข้นน่าสนใจยิ่งขึ้น”

กิจกรรม Career Day: เปิดโลกอาชีพ ปูเส้นทางสู่อนาคต ปีที่ 2 ได้สร้างสรรค์กิจกรรมที่มีทั้งเนื้อหาและความสนุก เริ่มด้วยเกม ‘สร้างเมือง’ ซึ่งใช้พื้นที่สร้างเมืองจำลองขนาดย่อมขึ้นแล้วนำการ์ดเกมมาประกอบการเล่น เพื่อช่วยละลายพฤติกรรมพร้อมๆ กับเพิ่มพูนความรู้ในด้านทักษะและสายการเรียนที่จำเป็นสำหรับแต่ละอาชีพ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กนักเรียนตื่นตัวกับอาชีพที่หลากหลาย มีคลังความรู้เรื่องอาชีพมากขึ้น ปูพื้นฐานสู่การค้นหาอาชีพที่เข้ากับตัวเอง และเลือกเข้าฟังแนะแนวอาชีพที่ตรงกับสายการเรียนและความถนัดของตัวเองที่สุด ก่อนเข้าสู่ช่วงกิจกรรมแนะแนวอาชีพที่ได้เชิญพี่ต้นแบบอาชีพ 10 คน 10 อาชีพ ซึ่งล้วนมีความสามารถและมีใจรักในอาชีพของตน มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในวิชาชีพ แนวทางการทำงาน รวมถึงทักษะความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพอย่างเป็นกันเอง

แต่ละอาชีพต้นแบบที่นำมาแบ่งปันให้แก่เด็กๆ ผ่านการคัดสรรโดยคำนึงถึงความหลากหลายที่จะส่งเสริมให้เด็กๆ จากทั้ง 6 โรงเรียน เห็นโลกอาชีพที่กว้างขึ้น นอกจากอาชีพทั่วไปที่เด็กรู้จักและให้ความสนใจ อาทิ พยาบาล แล้ว บ้านปูฯ ยังเฟ้นหาอาชีพที่อยู่นอกเหนือจากบทเรียน เช่น นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ นักกายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย เป็นต้น รวมถึงอาชีพแห่งศตวรรษ 21 ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อยอดกับความชอบหรือความถนัดจนเกิดเป็นอาชีพ ได้แก่ นักพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า เกษตรกรยุคใหม่ และนักเขียนเชิงท่องเที่ยว โดยพี่ต้นแบบอาชีพได้นำเสนอเรื่องราวอาชีพของตนเพื่อให้เด็กๆ เข้าใจรายละเอียดการทำงานและคุณสมบัติที่จำเป็นของแต่ละอาชีพ อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนค้นหาอาชีพที่เกิดจากใจรัก ลงมือสานฝันตามเส้นทางอาชีพด้วยความสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จด้วย

นอกเหนือจากความรู้ด้านอาชีพแล้ว ทักษะชีวิตและระบบความคิดเชิงบวกคือสิ่งที่บ้านปูฯ ต้องการบ่มเพาะและปลูกฝัง เพื่อให้เด็กพร้อมเปิดรับ คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง “ผมรู้สึกขอบคุณพี่ต้นแบบมากๆ ครับที่มาให้ความรู้ในวันนี้ เพราะช่วยเปลี่ยนความคิดของผมโดยสิ้นเชิง จากเดิมคิดว่าเกษตรกรเป็นอาชีพที่จน ต้องทำงานหนัก ตากแดดตัวดำ ไม่เคยคิดอยากจะทำเลย พอฟังพี่ต้นแบบเกษตรกรแล้วทำให้ผมคิดใหม่ว่าจริงๆ แล้วคนทำเกษตรก็หาเงินเยอะได้ ถ้าเรารู้จักนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้คู่กับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเกษตรกรยังเป็นอาชีพที่น่าภูมิใจอีกด้วย” นายศราวุธ อินมณี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเวียงเจดีย์วิทยา จ.ลำพูน เผยความรู้สึกหลังร่วมกิจกรรม

“บ้านปูฯ เชื่อในศักยภาพของคนและการสร้างคนโดยการให้โอกาสในการเรียนรู้ เพราะว่าความรู้จะอยู่ติดตัวของเรา การเรียนรู้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และทักษะชีวิตต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เราก้าวทันตามโลกยุคใหม่และดูแลตัวเองได้ อันเป็นรากฐานที่ดีแก่ทั้งตัวเองและสังคม ดังความเชื่อของบ้านปูฯ ที่ว่า “พลังความรู้ คือ พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” และแน่นอนว่าอนาคตนับจากนี้จะมีความรู้ใหม่ๆ รวมถึงอาชีพแปลกใหม่เกิดขึ้นอีกมากมาย บ้านปูฯ คาดหวังว่าเยาวชนยุคใหม่จะใฝ่รู้และพยายามขวนขวายหาข้อมูล เพื่อให้มีความรู้เพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะการเลือกอาชีพที่ใช่ให้กับตนเอง” นางอุดมลักษณ์กล่าวปิดท้าย

ตลาดทุนและตลาดเงินของไทยในช่วงครึ่งหลังของปีต้องเผชิญความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนที่เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไหลออกของเงินทุนจากต่างประเทศ จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า และสภาพคล่องที่ลดลงจากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของสหรัฐฯ ที่อาจส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมและความผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนและผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือ

หลังจากวิกฤติการเงินปี 2008 ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเลือกใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายโดยการลดดอกเบี้ยนโยบายจนอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และอัดฉีดสภาพคล่องผ่านโปรแกรม QE ทำให้เกิดสภาวะสภาพคล่องล้นตลาด นักลงทุนจึงเลือกที่จะเอาเงินไปลงในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เกิดเป็นพฤติกรรม Search for Yields ทำให้มีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่ ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน และตลาดหุ้น ทำให้ spread ของหุ้นกู้เอกชนลดลง ในขณะที่ตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้น โดย spread ของหุ้นกู้ BBB rating ของไทยลดต่ำลง จากที่ระดับกว่า 300bps ก่อนที่จะมีมาตรการ QE ในปี 2009 ลงมาอยู่ที่ระดับ 170bps หลังเฟดยกเลิกมาตรการ QE ในปี 2014 ในขณะที่ SET Index ก็ปรับเพิ่มขึ้นจาก 500 จุด ไปเป็น 1600 จุด

ดังนั้น ตอนนี้ธนาคารกลางที่เคยเป็นคนเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ กลายเป็นคนที่ดูดสภาพคล่องของระบบออกไป โดยการยกเลิกการทำ QE และเริ่มลดขนาดงบดุล ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่ทำให้สินทรัพย์ของสหรัฐฯน่าดึงดูดมากขึ้น ทำให้ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจด้านต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศต่ำ ในขณะที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อย่างเช่น อาร์เจนตินา บราซิล ตุรกี และอินโดนีเซีย ทำให้ค่าเงินอ่อนลงไปตั้งแต่6% ถึง กว่า 30% จากเงินทุนที่ไหลออกรุนแรง จนทำให้ประเทศเหล่านี้ ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความกดดันจากค่าเงินที่อ่อนค่าจากเงินทุนไหลออกและเงินเฟ้อที่ทยอยปรับขึ้น

นอกจากจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นของเฟดแล้ว ตลาดเกิดใหม่เหล่านี้ก็ยังถูกกระทบจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน แม้ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงยังไม่ชัดเจนก็ตาม โดยหลังจาก Trump เริ่มประกาศสงครามการค้ากับจีนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2561 มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ค่อนข้างรุนแรง จนค่าเงินในตลาดเอเชียอ่อนค่าลงโดยเฉลี่ยกว่า 5%

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เงินทุนยังไม่ไหลออกรุนแรงเมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่นๆ แต่หากนับจากช่วงต้นปีนี้ ตลาดทุนและตลาดเงินไทยก็มีเงินไหลออกสุทธิรวมกันแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2016 และ ปี 2017 ที่มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิกว่า 2.8 แสนล้านบาทโดยเฉลี่ยต่อปี  ที่ประเทศไทยมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสุทธิมาโดยตลอด ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนมาก โดยตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงตอนนี้ เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.10 ถึง 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าจากต้นปีแล้วกว่า 2.2%

ความผันผวนในตลาดทุนและตลาดเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้เร็วกว่าที่ตลาดมอง จากตลาดแรงงานที่ร้อนแรงขึ้น เมื่อความต้องการแรงงาน 6.7 ล้านตำแหน่งสูงกว่าจำนวนคนว่างงาน 6.1 ล้านคน กดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด ซึ่งอาจทำให้เกิด market correction รุนแรง เงินทุนไหลออก มูลค่าสินทรัพย์ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมาก ดังนั้นทั้งนักลงทุนและผู้ประกอบการ จึงควรเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ไว้ด้วย

คุณสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการ บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) พร้อมทีมงานได้เข้าเยี่ยมชมและหารือแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจกาแฟ กับท่านสีนุก สีสมบัติ (กลาง) ประธานบริษัท สีนุก คอฟฟี่ จำกัด เมื่อเร็วๆนี้

Page 5 of 7
X

Right Click

No right click