ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายที่สร้างความตระหนักให้โลกสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่า อุตสาหกรรมพลังงานรวมถึงสังคมโลกได้ตระหนักแล้วว่า มนุษย์ต้องเดินหน้าสู่การใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่า เพื่อให้สอดรับกับอุปสงค์การใช้พลังงาน รวมถึงลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา กว่า 50 ประเทศและเขตเศรษฐกิจได้ประกาศเจตนารมณ์ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมถึงก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในประชาคมอาเซียน ที่วางยุทธศาสตร์ชาติด้วยการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emission) ภายในหรือก่อนปี พ.ศ. 2608 ส่งผลให้การติดตั้งพลังงานโซลาร์สำหรับบ้านและที่อยู่อาศัยได้รับความนิยมและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการใช้ชีวิตแบบใหม่ของคนไทย และพลังงานโซลาร์ซึ่งถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีราคาถูกกว่าพลังงานชนิดอื่น ๆ กลายเป็นพลังงานที่ได้รับความนิยมและมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการปกป้องมวลมนุษยชาติ ระบบนิเวศรวมไปถึงสังคมส่วนรวม

เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมพลังงานดิจิทัลอย่างยั่งยืนผ่านโซลูชันหลังคาโซลาร์ โดยร่วมกับลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) เปิดตัวโครงการ '0 Investment, Let the Sun Pay for You' ส่งเสริมการติดตั้งหลังคาบ้านโซลาร์ในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น และสนับสนุนนวัตกรรมหลังคาโซลาร์สู่ครัวเรือนไทย

เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง นายเสี่ยวปอ หลี่ ประธานกรรมการบริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี  (ไทย) จำกัด ยังเน้นย้ำถึงความร่วมมือกับหัวเว่ยเพื่อเร่งการใช้พลังงานสะอาด เนื่องจากแนวโน้มของตลาดบ่งชี้ว่าหลายครัวเรือนจำนวนมากในประเทศไทยหันมาใช้หลังคาโซลาร์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการโอบรับอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน หัวเว่ยจึงทุ่มเทให้กับการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง พร้อมทั้งขับเคลื่อนการปฏิวัติด้านพลังงาน โดยนายเดวิด หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ย้ำถึงโครงการความร่วมมือกับลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) ในครั้งนี้ว่า มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงความเข้าใจที่ผิดว่าโซลูชันหลังคาโซลาร์มีต้นทุนสูง และยังเป็นการเบิกทางให้กับอนาคตของประเทศไทย สู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว เจ้าของบ้านที่จะติดตั้งโซลูชันหลังคาโซลาร์ในประเทศไทยจะได้รับข้อเสนอพิเศษและข้อเสนอทางการเงินหลากหลายรูปแบบจากโครงการ ‘0 Investment, Let the Sun Pay for You' โดยมีเงินดาวน์ขั้นต่ำอยู่ที่ 16,900 บาท มีระยะเวลาการชำระสูงสุดถึง 7 ปี หลังการติดตั้งหลังคาโซลาร์ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าไฟ ยังสามารถนำยอดส่วนต่างจากค่าใช้จ่ายปกติ ไปชำระค่างวดรายเดือนกับธนาคารแทนได้ ซึ่งหมายความว่าจะได้รับสิทธิ์การเป็นเจ้าของระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเวลาประมาณ 5 ปี โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งโครงการนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงและนำพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ในทศวรรษถัดไป หลายคนกล่าวว่าเทคโนโลยีไอซีทีจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพลิกโฉมเศรษฐกิจดิจิทัลและวงการแรงงาน

ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด กรุงเทพฯ นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับระบบการขนส่งทางราง” ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) และบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในช่วงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางครั้งใหญ่ในรอบหลายทศวรรษ เช่น การขยายเส้นทางโครงข่ายรถไฟทางคู่ การพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตลอดจนการปรับปรุงระบบอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางราง ซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศในอนาคต ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในด้านเทคโนโลยีระบบราง จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาองค์ประกอบสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรมระบบราง ทั้งในด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ด้านระบบมาตรฐานและการทดสอบ และด้านพัฒนากำลังคนเฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จากเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) หรือ สทร. ภายใต้กระทรวงคมนาคม เพื่อเป็นสถาบันหลักด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง บูรณาการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสร้างอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ และมีพันธกิจที่สำคัญหลายประการ เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และเป็นศูนย์กลางในการรับแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบรางของประเทศและภูมิภาค

เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีศักยภาพอันโดดเด่นที่สามารถเข้ามาช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย โดยหัวเว่ยจะเข้ามาช่วยด้านการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะวิชาชีพ การพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมทั้งมีการยกระดับองค์ความรู้ ประสบการณ์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย การลงนามในบันทึกความเข้าใจในวันนี้ถือเป็นอีกก้าวย่างสำคัญของ 'การพัฒนาวิชาชีพสำหรับผู้ที่มีทักษะสูง' และ 'การถ่ายทอดเทคโนโลยี' ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมระบบรางของไทย ความร่วมมือครั้งนี้ยังจะช่วยกระตุ้นการวิจัยและพัฒนา เร่งการสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมการนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และการจัดการการขนส่งเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและโทรคมนาคม และผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะชั้นนำระดับโลก ทั้งนี้ ด้วยองค์ความรู้ ประสบการณ์ โครงสร้างพื้นฐานที่มีในปัจจุบัน รากฐานของธุรกิจ ICT รวมถึงความตั้งมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม หัวเว่ยจึงเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทยผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี ICT สำหรับอุตสาหกรรมระบบรางโดยการจัดฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ให้กับผู้ที่ทำงานในระบราง (Reskill Training) และหลักสูตรเทคโนโลยี ICT ขั้นสูงสำหรับผู้ที่จะเข้าสู่การประกอบอาชีพในระบบรางในอนาคต (Advanced Technical Training) รวมถึงการร่วมวิจัยและพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) เพื่อการขนถ่ายและกระจายสินค้าในระบบราง

การลงนามความร่วมมือระหว่าง สทร. และ หัวเว่ย ในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมระบบราง รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนา นวัตกรรมและระบบเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริหารจัดการด้านคมนาคมขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผลักดันประเทศไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

X

Right Click

No right click