December 03, 2024

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2567 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2566) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)

 

อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น

ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2564 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2566 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ

 

ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง ตามธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ

การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย

ด้วยฐานะการเงินที่มั่นคง พร้อมประกันสุขภาพและบริการ Digital Healthcare Services

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ในประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้น ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้เร่งจัดทำมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยมอบหมายธนาคารออมสินจัดทำมาตรการสินเชื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ธนาคารออมสินตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเติมเม็ดเงินเสริมสภาพคล่อง ช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินโดยเร็ว จึงได้เร่งรัดพัฒนาแอปพลิเคชันมายโม่ (MyMo) ให้สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบนสมาร์ทโฟน หรือ Digital Lending เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า สามารถยื่นกู้และรับโอนเงินกู้เข้าบัญชีได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องไปติดต่อสาขา เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ ซึ่งหลังจากธนาคารเริ่มปล่อยสินเชื่อผ่าน MyMo เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม 2564 ด้วยระยะเวลาเพียง 10 เดือน ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยแล้ว จำนวนประมาณ 1.5 ล้านราย ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ สินเชื่อเสริมพลังฐานราก สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 สินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้มีรายได้อิสระ และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 24,000 ล้านบาท นับว่าธนาคารประสบความสำเร็จสามารถเติมเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนเป็นจำนวนมาก ด้วยระยะเวลาอันสั้น ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด

ทั้งนี้ มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินให้กู้สูงสุด 10,000 บาท เพื่อช่วยเหลือรายย่อย และสินเชื่ออิ่มใจ วงเงินให้กู้สูงสุด 100,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเปิดให้ยื่นขอกู้ผ่านแอป MyMo ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมาตรการสินเชื่อทั้ง 2 โครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงเป็นสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน เช่น ไม่ต้องใช้หลักประกัน ไม่ต้องมีบุคคลค้ำ หรือปลอดชำระเงินงวด (ตามหลักเกณฑ์ของแต่ละโครงการ) เป็นต้น ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ GSB Contact Center โทร. 1115

อย่างไรก็ตาม การส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางการค้าโลก จะช่วยลดผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจได้บ้าง โดยเฉพาะเวียดนามที่ได้ประโยชน์จากการมีสัดส่วน ส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสูง

“จดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนพี่น้องชาวไทย” โดย นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียนให้ทราบถึงสิ่งที่แอสตร้าเซนเนก้ากำลังทำอยู่เพื่อช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องชาวไทยและยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Page 1 of 15
X

Right Click

No right click