December 22, 2024

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท เชลล์ฮัท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จำกัด 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินหน้าพัฒนาโครงการ Sensor for All ปีที่ 3

         Many believe that human is the toughest species on earth for a long time, we had fought through wars, plague and many deadly diseases but there is still one thing that we can’t defeat, i.e. cancer. Cancer is a fatal disease that has been known to kill humanity for centuries. We seem not to know how to successfully prevent and cure cancer due to the reason that every cancer patient has a distinct type of mutations within his/her tumor; thus it needs to be treated by a specific and precise medicine that doesn’t suit with everyone. However, with the 2018 Nobel Prize-awarded scientific findings and the discovery of modern medicine, it seems like there might be a cure for cancer after all.

          Recently, MBA magazine got a chance to sit down with Dr. Trairak Pisitkun at Chulalongkorn University and talk about his Systems Biology Center. Dr. Trairak and his team have been developing an antibody drug that would help improve the ability of our own immune system to fight against cancer. Long before Dr. Trairak starting this project, he graduated from Mahidol University, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital in 1994, followed by specialized training in Internal Medicine and Nephrology. However, after working as a physician for a while, he felt like this was not enough for him; he wished that he could be doing something more than just following the guidelines for treating patients.

           “I’ve realized that Thai doctors have been following guidelines from foreign doctors and I hope we could be doing something more innovative and more suitable for Thai people. Then again, by inventing innovations to help Thai people, I certainly need more knowledge in advanced science and technologies; so I decided to continue my career aboard as a researcher and scientist instead of a medical doctor”, Dr. Trairak said. He had been working at the National Institutes of Health or NIH in the United States of America for 9 years until he became a specialist in Systems Biology, Antibody R&D and Computational Biology. After moving back to Thailand 5 years ago, he has been working as Director of Center of Excellence in Systems Biology, Chulalongkorn University.

 

               Currently, he has been developing an antibody drug to help Thai patients fight with cancer, before that he had been developing antibodies for basic research and diagnostic purposes. “Unintentionally, I’ve been invited to a closed group on social network for doctors and cancer patients who are interested in cancer immunotherapy. Every day, I would read stories of patients telling other people about their conditions and how it has miraculously gotten better after using the immune checkpoint antibody drug. It's incredible to perceive and, eventually, I was sold and desired to develop this type of medicine for Thai people using our antibody technology mainly because the extravagant cost, yet amazing efficacy, of this treatment”.  

             In America, Vice President Joe Biden has proposed a program called “Cancer Moonshot” during his Vice Presidency to support the research for curing cancer.  By accelerating cancer research, the Cancer Moonshot program aims to make more effective therapies available to more patients, while also improving our ability to prevent cancer and detect it at an early stage. There have been cured cases in America by using immunotherapy which Dr. Trairak hoped that one day he and his team would be able to provide this kind of treatment for Thai people at an affordable price that would allow anyone to have access.

               Instead of treating cancer by chemotherapy or radiation which would cause damages to other normal tissues and organs within our body, immunotherapy helps improve the ability of white blood cells and prevent cancer from blocking white blood cells to fight against them without damaging our body. After Dr. Trairak explains to us about the immunotherapy, we got a chance to ask him some questions that would help provide more understanding on the therapy and the plans that he has for Thai patients.

               Is there a chance that we could use some kinds of gene sequencing analysis to help us know in advance or warn us that we have cancer?

               There are some cases such as hereditary cancers that would allow us to predict in advance about whether we would have cancer, but there are only 8% chance of hereditary cancers. A majority of cancers are caused by somatic mutations; the likelihood that this will happen increases when we get older. This condition also depends on various exposures that we got from the environment such as food that we consume or chemicals to which we had been exposed. The current concept in cancer biology emphasizes that the sickening of the immune system is the cause of cancer progression. All of us always have a chance to get cancer, but it doesn't happen to everyone due to the defensive power of our immune system. By harnessing the natural defense, immunotherapy is effective and durable; moreover, it has fewer side effects than other types of cancer treatment.

            What’s the percentage of success?

            With the current indications, the percentage of success is still moderate (20-30%) in advanced cancer patients that are using this antibody drug. But considering that this medicine has been out in public for only 4 years, I believe that the advance in immunotherapy research will further improve the outcome of this treatment substantially.

 

The Progress of Developing Medicine in Thailand

                     Dr. Trairak mentioned that his center is developing their own antibody drug. They generate the antibody drug by immunizing mice and later screening for antibody-producing white blood cell clones that would secrete the proper mouse antibodies (Phase 1). They have to modify the mouse antibodies to make them as close to human antibodies as possible to avoid other side effects that the medicine would have on the human (Phase 2). However, some processes would require technical assistance from the overseas laboratory as specific skills are lacking in Thailand. Currently, they have found a potential antibody drug prototype that would worth to pursue further and are waiting for the next step of the process (Phase 2) to start.

                     Right now, Dr. Trairak has started fundraising for the immunotherapy project by asking Thai people to donate 5 baht each to the project. He has hoped that the fund would rise to 200 million baht within 1 year to get to the large-scale production step (Phase 3). If everything has gone according to plan, the antibody prototype will be produced at large scale (Phase 3: 18-24 months) and then studied on animals first (Phase 4: 20-24 months) then he would move to experiment on human subjects (Phase 5: 48-60 months) before getting an approval by Thai FDA and distributing the medicine out to be sold in hospitals in Thailand with the aim of pricing at 20,000 baht per dosage, if possible. The entire process would require at least 8-10 years with the total budget of at least 1,500 million baht. Currently, the funding has reached over 100 million baht, and the funding is increasing every day with the hope that they would reach Phase 3 of the developing process by the end of next year.

                    Dr. Trairak also recommends that everyone could start preventing many types of sickness by starting regular exercise and controlling body weight from now on which would help make our immune system stronger and could possibly preventing cancer from growing. The "Thai version" antibody drug is still in the early developing stage, but from what we have learned from Dr. Trairak, we have realized that, with the advancement in immunotherapy, we have finally see the light at the end of the tunnel for cancer curing.

 

Everyone Deserves a Chance to Survive from Cancer: How to support and make this cancer-curing project comes true?      

To make this medicine comes true for Thai cancer patients and contribute to the future endeavour of cancer immunotherapy research in Thailand, "Chulalongkorn Cancer Immunotherapy Excellence Center" open for donation with the following information:

408-004443-4 (saving account)

045-304669-7 (current account)

Bank: Siam Commercial Bank 

Branch: The Thai Red Cross Society

Account name: Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Contact: https://www.facebook.com/CUCancerIEC/

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Tel: 097-014-4978/ 088-902-2370/ 02-256-4183           

 

Authors & Photos:

Pinploy  Poonkham

Satida   Pichanusakorn

รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับ MBA ว่า Sustainable Agriculture หรือเกษตรยั่งยืนน่าจะเป็นคำตอบให้กับการพัฒนาเกษตรในประเทศไทย

ในการสนทนากันเรื่องความก้าวหน้าของประเทศไทยทางออกของประเทศ ประเด็นหนึ่งที่มักจะถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยในวงกาแฟ

คือเราไม่สามารถนำงานวิจัยของสถาบันศึกษาในประเทศที่มีอยู่มาใช้ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้อย่างจริงจังหลายคนเรียกเรื่องนี้ว่า การนำงานวิจัยที่อยู่บนหิ้งในสถาบันอุดมศึกษาไปสู่ห้าง คือทำออกเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่สาธารณะ เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่แม้แต่ในวงการผู้กำหนดนโยบายก็ต้องมีแผนงานรองรับ ทั้งการสนับสนุนเชิงนโยบาย การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบต่างๆ แต่เราก็ยังเห็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากมันสมองของนักวิจัยไทยผสานกับความสามารถของนักธุรกิจในตลาดไม่มากเท่าที่อยากจะได้เห็น

ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีการออกแบบหลักสูตรเพื่อผลิตนวัตกรที่สามารถนำนวัตกรรมผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยแปรสภาพกลายเป็นสินค้าและบริการในวงกว้างในชื่อ หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม

ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตร และทีมผู้บริหารหลักสูตรประกอบด้วย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.กวิน อัศวานันท์ มาร่วมกันให้สัมภาษณ์กับ MBA เกี่ยวกับหลักสูตรนี้ว่า

หลักสูตรนี้กำลังจะก้าวขึ้นปีที่ 12 และมีผู้จบจากหลักสูตรไปแล้วเกือบ 500 คน มีการเรียนการสอน 2 ระดับคือปริญญาโทและปริญญาเอก รับสมัครระดับละ 30 คน โดยสิ่งที่น่าสนใจคือจำนวนนิสิตปริญญาเอกของหลักสูตรนี้มีมากที่สุดในจุฬาฯ แสดงให้เห็นความสนใจของผู้เรียนที่เลือกเรียนในหลักสูตรนี้ โดยมีทั้งผู้บริหาร เจ้าของกิจการ อาจารย์และนักวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ส่งมาเรียนเพื่อกลับไปขับเคลื่อนนวัตกรรมของแต่ละองค์กร

คณะผู้บริหารหลักสูตรให้ข้อมูลว่า จุฬาฯ มีงานวิจัยและองค์ความรู้ที่สะสมไว้อยู่มากมาย รวมถึงทีมงานวิจัยและนักวิชาการที่จุฬาฯ มีจำนวนมาก ตัวหลักสูตรวางตำแหน่งให้นิสิตเป็นแกนกลางเชื่อมโยงงานวิจัยและองค์ความรู้ต่างๆ กับภายนอก ซึ่งหมายถึงภาคอุตสาหกรรมและแหล่งทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างประโยชน์ในวงกว้าง ผู้เรียนผ่านหลักสูตรนี้จึงสามารถประสานงานได้ทั้งผู้ประกอบการ นักวิจัย และมีความสามารถค้นหางานวิจัยที่มีศักยภาพไปทำเป็นธุรกิจได้ 

รูปแบบการเปิดรับที่มีอยู่ 3 แนวทาง คือ 1. ให้อาจารย์สามารถประกาศรับนิสิตได้ เพื่อมาช่วยทำโครงการพัฒนางานวิจัยออกสู่ตลาด 2. เป็นโจทย์จากฝั่งผู้ประกอบการ และทางจุฬาฯ ตั้งทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตขึ้นมาช่วยทำโครงการนั้น และ 3. นิสิตมีโครงการของตัวเองก็สามารถเข้ามาเรียนและใช้ประโยชน์จากผู้เชี่ยวชาญในจุฬาเพื่อทำโครงการต่างๆ ได้

การเรียนการสอนของหลักสูตรนี้มีความแตกต่างจากหลักสูตรทั่วไป เนื่องจากเป็นหลักสูตรของบัณฑิตวิทยาลัย จึงสามารถเปิดกว้างให้เลือกอาจารย์จากคณะใดก็ได้มาช่วยเป็นทีมที่ปรึกษาให้กับนิสิต โดยนิสิตจะได้เรียนรู้กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม จัดเป็นระบบที่เปิดกว้างไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนมาจากสาขาใดก็สามารถเข้ามาเรียนได้ 

 

สิ่งสำคัญที่นิสิตที่มาเรียนกับหลักสูตรนี้ต้องทำคือการพัฒนานวัตกรรมอย่างน้อย 1 โครงการ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ บริการ Business Model กระบวนการทำธุรกิจใหม่ๆ และสามารถคิดแผนธุรกิจของโครงการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นจริงได้ในระดับปริญญาโท ส่วนระดับปริญญาเอกจะต้องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และวางตลาดนวัตกรรมหนึ่งอย่าง

ผู้บริหารหลักสูตรระบุว่า ทุกคนต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา และต้องทำให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อสังคม คือต้องการให้นิสิตทุกคนต้องมี 3 P Prototype จด IP (Intellectual Property) และมี Business Plan 

ทีมบริหารหลักสูตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากำลังอยู่ระหว่างการเตรียมปรับปรุงหลักสูตรให้มีความกระชับมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะทำเป็นหลักสูตร Double Degree ร่วมกับสาขาวิชาอื่น โดยอาจจะเริ่มกันภายในจุฬาฯ ก่อนและมีการพูดคุยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เพื่อผลิตนักวิชาชีพที่เป็นนวัตกรให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ในโอกาสครบรอบ 12 ปี ทางหลักสูตรยังได้เตรียมจัดงานประชุมเชิงวิชาการนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมุมมองด้านนวัตกรรมในช่วงต้นปี 2562 ที่กำลังจะมาถึง และยังมีการจัดหลักสูตรระยะสั้นรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้กับทางหลักสูตรได้เป็นระยะ

หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม เป็นหนึ่งในการตอบโจทย์การนำงานวิจัยของสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวงการวิชาการและแวดวงธุรกิจไปพร้อมกัน โดยมีนิสิตของหลักสูตรเป็นสะพานเชื่อมโยงความรู้เทคโนโลยีจากสถาบันการศึกษากับภาคธุรกิจและสาธารณะ เป็นการใช้ประโยชน์จากความพร้อมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีองค์ความรู้และงานวิจัยสะสมอยู่จำนวนมากเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป

ทีมบริหารนักพัฒนานวัตกรรม

ทีมบริหารหลักสูตรนี้ จัดได้ว่ามีชื่อชั้นในวงการสร้างนวัตกรรมของประเทศ อย่างเช่น ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาของทีมนิสิตปริญญาโทและเอกสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็ได้รับรางวัล Grand Prize จากผลงาน “เฟรชทูจอย” (Fresh2Joy) เทคโนโลยียืดอายุผลไม้ผิวบาง ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ Seoul International Invention Fair 2017 ที่ประเทศเกาหลี และยังได้รับรางวัลอื่นๆ อีกหลายรางวัล

ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิจัยและนวัตกรรม และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนวัตกรรมมากมาย มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ กว่า 100 เรื่อง เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมซิลเวอร์ นาโน และคิดค้นจุฬาสมาร์ตเลนส์ ชุดอุปกรณ์กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟนที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาในการวิจัยที่ต้องถ่ายภาพที่มีการขยายสูงพอสมควร แต่ไม่สูงมากจนถึงกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป 

ผศ.ดร.ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการหลักสูตรฯ กำกับดูแลด้านวิชาการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นผู้สอนรายวิชาหลัก Product Planning and Development (PPD) เกี่ยวกับกระบวนการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centered Innovation) และมีผลงานออกแบบเก้าอี้ย้ายตัวสำหรับผู้ป่วย

ดร.กวิน อัศวานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการหลักสูตรฯ และกำกับดูแลด้านกิจกรรมนิสิตและอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศิษย์เก่าปริญญาเอกหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง Startups และการระดมเงินทุนโดยสามารถระดมทุนจำนวน 13,000,000 บาท (400,000 USD) จากนักลงทุน บริษัท Startups ได้รับการคัดเลือกจากองค์กร e27 ให้เป็น 1 ใน 10 บริษัท Startups ที่น่าสนใจที่สุดในเอเชีย ปี 2013

นวัตกรรมจาก CUTIP

ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้และกลายเป็นบริการที่เราสามารถสัมผัสได้ที่น่าสนใจ เช่น “นวัตกรรมต้นแบบของกระบวนการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการสำหรับบริการสินไหมทดแทนธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย” ที่เป็นผลงานของนิสิตปริญญาเอก ดร.ชูพรรณ โกวานิชย์ ที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ จนค้นพบกระบวนการย่อยที่สำคัญมากที่สุดที่ลูกค้ามีประสบการณ์ในการรับบริการ คือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วแจ้ง Call Center และเป็นที่มาของนวัตกรรมบริการในชื่อ CLAIM DI ที่ลดเวลาให้บริการ 73 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดค่าใช้จ่าย 90 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันการแจ้งความเสียหายไม่ตรงความเป็นจริงได้ เป็นตัวอย่างของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยเชิงลึกออกสู่ตลาด สามารถสร้างนวัตกรรมการบริการ และกระบวนการการให้บริการใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการประกันภัยรถยนต์ ช่วยเสริมองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการต่อยอดงานวิจัยในประเทศไทยที่ต้องการคือ การบริหารจัดการที่ดีนำงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น

นวัตกรรมที่เกิดจากหลักสูตรนี้ยังมีอีกหลากหลายเช่น ผลงาน Goldjic Wise เป็นนวัตกรรมที่นำส่งสาร โคจิก แอซิด ผ่านผิวหนังด้วยอนุภาคนาโนทองคำที่ออกแบบเฉพาะ คิดค้นโดยกลุ่มวิจัย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน และคณะ นวัตกรรมนี้จะทำให้สาระสำคัญต่างๆ ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่ายขึ้น และกำลังมีการผลิตออกวางจำหน่ายในไม่นานนี้

นวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตข้าว : เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ เป็นงานวิจัยที่ศึกษา ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดข้าวงอกลงแปลงนาอย่างเป็นระเบียบ ควบคุมปริมาณเมล็ดข้าวและระยะห่างในการหยอดโดยกลไกที่ไม่ซับซ้อนและราคาไม่สูง ช่วยลดต้นทุนกว่าการปักดำประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ ลดปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการหว่านเหลือไร่ละ 10-15 กิโลกรัมจากค่าเฉลี่ย 30 กิโลกรัม

 

 

X

Right Click

No right click