×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

Honeywell UOP ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนของ ปตท.สผ.สำหรับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนอาทิตย์ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ในอ่าวไทย

แม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Honeywell UOP เปิดเผยว่า SeparexTM เมมเบรน (Membrane) เทคโนโลยี ของ Honeywell UOP จะช่วยบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยทางธรณีวิทยาจะถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินและแหล่งก๊าซที่หมดศักยภาพในการผลิตแล้วอย่างถาวรได้แก่การฉีดเข้าไปในแหล่งก๊าซใกล้เคียงที่หมดศักยภาพแล้ว เทคโนโลยีของ Honeywell UOP จะนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดที่จะปรับปรุงระบบที่มีอยู่เดิมในการเพิ่มความเข้มข้นให้กับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยใช้กระบวนการ เมมเบรน 2 ขั้นตอน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของแท่นก๊าซนอกชายฝั่ง เทคโนโลยีนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกู้คืนของไฮโดรคาร์บอนซึ่งอาจถูกเผาไหม้ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการช่วยเพิ่มการผลิตไฮโดรคาร์บอนและเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการนอกเหนือจากการดักจับคาร์บอน

" ปัจจุบันนี้ ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 15 ล้านตันต่อปีที่ได้ถูกดักจับและถูกกักเก็บหรือใช้ประโยชน์ผ่านความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการแก้ปัญหาด้านคาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell ปัจจุบัน Honeywell มีความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40 ล้านตันต่อปีผ่านโครงการที่ติดตั้งทั่วโลก และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้นำความเชี่ยวชาญและประสบการณ์นี้มาสู่โครงการการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญในประเทศไทยโดยร่วมกับ ปตท.สผ . การมีส่วนร่วมในโครงการนี้ เป็นผลมาจากความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่าง Honeywell กับ ปตท . สผ . และจากการขยายเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนของเราที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลก เรามีความยินดีที่ความเชี่ยวชาญเหล่านี้จะมอบโซลูชันที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนของแหล่งอาทิตย์ในประเทศไทย " แม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Honeywell UOP Asia กล่าว

Honeywell UOP จะให้บริการด้านวิศวกรรมและให้คำปรึกษาสำหรับ Front End Engineering Design (FEED) และระยะต่อๆ ไปของโครงการ จนกระทั่งถึงกระบวนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) นอกจากนี้ บริษัทยังจะจัดหา SeparexTM Membrane Elements สำหรับโครงการนี้ นอกเหนือจากการให้การสนับสนุนในช่วงก่อนการว่าจ้างและการเริ่มต้นในเฟสต่อๆ ไปของโครงการ โดยโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในการติดตั้งเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของ Honeywell สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการนำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในเชิงพาณิชย์มาใช้ในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังช่วยเสริมกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันการดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell และด้วยประสบการณ์เชิงพาณิชย์ที่มีมากกว่า 70 ปี รวมถึงความสามารถของเทคโนโลยี Honeywell ที่มีการปรับใช้ (ระบบเมมเบรนและระบบที่ใช้สารละลาย ประเภท Chemical และประเภท Physical) ในโครงการที่ติดตั้งต่างๆ ซึ่งช่วยให้สามารถดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ จากแหล่งกำเนิดก๊าซ ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ดักจับได้จำนวน 15 ล้านตันต่อปีนั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตของน้ำมันที่ดียิ่งขึ้น

 กรมประมง ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่งอ่าวไทย ณ ห้องประชุมอานนท์ กรมประมง กรุงเทพฯ

การศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม นอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่อการประมง ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ รวมถึง ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศต่อการบริหารทรัพยากร สัตว์น้ำให้สอดคล้องกับแนวทางการรักษาสมดุลระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย

นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงด้วยมาตรการหลากหลายรูปแบบ การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหรือปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์น้ำนับเป็นหนึ่งในมาตรการที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์ทะเลตามธรรมชาติ ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการศึกษาและพัฒนาวัสดุและรูปแบบการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลมาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันกรมประมงใช้แท่งคอนกรีตเป็นมาตรฐานในการจัดสร้าง เนื่องจากเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับความร่วมมือในการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลด้วยวัสดุขาแท่นปิโตรเลียม เป็นการนำร่องในการศึกษา ด้านแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลรูปแบบใหม่ในประเทศไทยที่ยังมีการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมด้านการประมงจึงต้องอาศัยความร่วมมือกัน ในการพัฒนาองค์ความรู้ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อวางแนวทางการใช้ประโยชน์จากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมอย่างเหมาะสมในอนาคต นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับด้านวิชาการและด้านการประมงที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ตลอดจนส่งเสริมการทำประมงนอกชายฝั่งและการทำประมงชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืนต่อการประกอบอาชีพของพี่น้องชาวประมง อีกทางหนึ่งด้วย

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กล่าวว่า ปตท.สผ. ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในอ่าวไทยมากว่า 37 ปี ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมบางพื้นที่ในอ่าวไทยได้สิ้นสุดลง สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ การผลิตซึ่งจะต้องทำการรื้อถอนหลังจากที่สิ้นสุดการทำหน้าที่ ในการผลิตปิโตรเลียมเพื่อเป็นพลังงานให้กับประเทศแล้วนั้น ยังสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อในการทำหน้าที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลได้ ซึ่งการนำขาแท่นผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นปะการังเทียมในระดับน้ำลึกราว 50-60 เมตร เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและช่วยเพิ่มผลผลิตที่เป็นประโยชน์ ต่อการประมง ซึ่งนับเป็นแนวทางที่ทั้ง 5 หน่วยงาน จะมาร่วมกันศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกในการนำทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ให้เกิดคุณค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อท้องทะเลไทย

การลงนามบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานมาร่วมกันศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ในการนำ ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดสร้างเป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมง รวมถึง การนำไปต่อยอดให้เกิดการปฏิบัติได้จริง ในอนาคต

นายปิยะ สุขุมภาณุเมศร์ (ที่ 3 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กิจการองค์กรและกำกับดูแล บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. 

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือ ทช. ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

X

Right Click

No right click