×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 840

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

เช้าวันหนึ่งที่อากาศหนาวกำลังดี คุณผู้อ่านตื่นขึ้นมาแล้วมองออกไปข้างนอก พบเมฆหมอกปกคลุมทั่วท้องฟ้า สิ่งแรกที่คุณผู้อ่านส่วนใหญ่ น่าจะนึกถึงคือปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว แต่ แท้ที่จริงสิ่งที่ท่านผู้อ่านเห็นอยู่มันคือ ควันพิษ! โดยในช่วงปลายเดือน มกราคมที่ผ่านมา กรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศเตือนเกี่ยวกับปัญหา มลพิษอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้ตรวจพบค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐานหลายจุด จึงแจ้งเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากการ ปล่อยไอเสียของรถยนต์ในช่วงที่การจราจรคับคั่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ กรุงเทพฯ เท่านั้น ที่ประสบปัญหามลพิษอากาศ เมืองใหญ่ทั่วโลก (ลอนดอน มาดริด) ก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน แล้วเมืองใหญ่เหล่านั้น มีมาตรการอย่างไรในการรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือมีมาตรการใดบ้าง ที่สามารถนำ มาปรับใช้ในบ้านเรา ไปติดตามกันครับ

การบังคับใช้มาตรฐานที่เข้มงวด ในการผลิตรถยนต์

เครื่องยนต์ดีเซลได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้ รถยนต์ในทวีปยุโรป เนื่องจากราคาน้ำ มันดีเซลที่มีราคา ถูกลง แต่เครื่องยนต์ดีเซลมีการปล่อยก๊าซไนโตรเจน ออกไซด์ (NOx) หรือ น็อกซ์ ในปริมาณที่มากว่ารถที่ใช้ เชื้อเพลิงแบบอื่น จึงส่งผลโดยตรงต่อปัญหามลพิษ อากาศในเขตเมือง จากปัญหาดังกล่าวรถยนต์ที่ผลิต เพื่อออกขายในทวีปยุโรปจึงต้องได้รับการรับรองมาตรฐานไอเสียยูโร 6 ซึ่งถือเป็นกลไกที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษจากไอเสียรถยนต์ตั้งแต่ต้นทาง ผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องคำนึงถึงและปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ยังมีรถยนต์รุ่นเก่าอีกมากที่ยังคงถูกใช้งาน ซึ่งนำ ไปสู่มาตรการต่อไป นั่นก็คือ

การควบคุมการใช้รถยนต์ในเขตเมือง

การจราจรที่คับคั่งตามเมืองใหญ่ทั่วโลกก่อให้เกิดปัญหามลพิษอากาศขั้นรุนแรง ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีปริมาณการใช้รถยนต์ในเขตเมืองลดลง ซึ่งนำไปสู่มาตรการต่างๆ เช่น การใช้รถยนต์ตามเลขทะเบียน วันคู่ - วันคี่ ที่สามารถลดการใช้รถยนต์ลงได้ครึ่งหนึ่ง การเก็บค่าที่จอดรถตามอายุของ รถยนต์โดยใช้หลักการที่ว่ารถยนต์รุ่นเก่ามีการปล่อยมลพิษที่มากกว่าจึงต้อง จ่ายค่าที่จอดสูงกว่าหากต้องการนำ รถมาใช้และจอดในเขตเมือง การให้บริการขนส่งสาธารณะฟรีในวันที่เกิดปัญหามลพิษอากาศสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน การเก็บอัตราค่าใช้งานรถยนต์ในเขตเมืองในช่วง 7.00 – 18.00 น. (T-Charge ในกรุงลอนดอน) เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะกันให้มากขึ้น ทั้งนี้มาตรการต่างๆ ที่ถูกใช้งานนั้นเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ดังนั้นสิ่งที่จะต้องวางแผนต่อไปนั่นก็คือ การจะทำอย่างไรให้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีปริมาณลดลง

การส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า

หลายประเทศทั่วโลกได้ประกาศส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าให้เข้ามาทดแทน รถยนต์ที่ใช้น้ำ มันเชื้อเพลิง เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์และนอร์เวย์เป็น 2 ประเทศแรกที่ประกาศจะห้ามจำ หน่ายรถยนต์เบนซินและดีเซลภายในปี 2025 ขณะที่เยอรมนีและอินเดียวางเป้าหมายเดียวกันไว้ภายในปี 2030 ล่าสุด คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ประกาศจะยุติการจำ หน่ายรถเบนซินและดีเซลตั้งแต่ปี 2040 โดยในระหว่างนี้ ทุกประเทศจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องสถานีชาร์จ ที่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ การสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึง รณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ากันให้มากขึ้น เพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้า เข้ามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำ มันเชื้อเพลิงให้ได้ดังเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้

เพิ่มพื้นที่สีเขียวและส่งเสริมขนส่ง สาธารณะไร้มลพิษ

สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปกับการลดปริมาณการใช้รถยนต์ คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยพื้นที่สีเขียวจะทำหน้าที่กรองอนุภาคขนาดเล็กที่ เกิดจากไอเสียรถยนต์ได้เป็นอย่างดี เมืองใหญ่ทั่วโลกจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงพื้นที่ในเขตเมือง ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เช่น ในกรุงมาดริด ประเทศสเปน มีการติดตั้งสวนขนาดย่อมบนหลังคารถบัสขนส่งสาธารณะ (Botobus) เป็นต้น ในส่วนของขนส่งสาธารณะไร้มลพิษ หลายประเทศได้ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมือง โดยในลอนดอนไม่อนุญาตให้รถบัสที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงวิ่งเข้าเขตเมืองชั้นในและมี นโยบายจะเพิ่มรถบัสชั้นเดียวที่ใช้ไฟฟ้าจาก 79 คัน เป็น 300 คัน ภายในปี 2020 รวมถึงรถแท็กซี่ใหม่ ทุกคันจะต้องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษอากาศในกรุงลอนดอนที่มีปัญหามาอย่างยาวนานนั่นเอง


เรื่องโดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี (ยุทธศาสตร์นวัตกรรม)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน เมอร์เซเดส-เบนซ์ มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ 6 แห่งใน 3 ทวีปทั่วโลก ล่าสุดจับมือพันธมิตรในไทย คือ ธนบุรีประกอบรถยนต์ ร่วมลงทุนกว่า 100 ล้านยูโรเพื่อขยายโรงงานรถยนต์และสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่ ยกระดับการผลิตในไทย และรองรับความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับเม็ดเงินดังกล่าวจะใช้เพื่อขยายโรงงานรถยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสร้างโรงงานประกอบแบตเตอรี่แห่งใหม่ขึ้นในที่ตั้งเดียวกัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าโรงงานในไทยจะมีเทคโนโลยีอันล้ำหน้าไว้พร้อมสำหรับรถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว (Battery Electric Vehicle – BEV) ที่ผลิตขึ้นที่นี่

 

 

มาร์คุส เชฟเฟอร์ กรรมการบริหาร รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ฝ่ายการผลิตและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน เปิดเผยถึงโครงการเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าในเครือข่ายการผลิต ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ ที่มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการผลิตสูง และกำลังก้าวรุดหน้าด้วยดีและรวดเร็วอย่างยิ่ง โดยหนึ่งในแผนงานตามกลยุทธ์ คือ การร่วมมือกับพันธมิตรอย่างธนบุรีประกอบรถยนต์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่อนาคตแห่งการสัญจรในประเทศไทยที่จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

ซึ่งจากแนวคิดการผลิตแบตเตอรี่ของเราที่มีมาตรฐานเดียวกันและสามารถขยายต่อเติมได้ ทำให้เราเปิดสายการผลิตได้อย่างรวดเร็วในภูมิภาคใดๆ ก็ตามด้วยขนาดโรงงานที่เหมาะสม เช่นเดียวกับโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทยจะเสริมเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเราให้มีโรงงานเพิ่มขึ้นเป็น 6 แห่งใน 3 ทวีป

รวมถึงข้อดีของการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและแนวคิดในการออกแบบโรงงาน แผนงานในการผลิตแบตเตอรี่ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์จึงสามารถปรับขยายได้เพื่อให้เหมาะสมกับการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะต่างๆ และเพื่อให้การดำเนินการตามแผนการผลิตเป็นไปด้วยความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับภาวะตลาดทั่วโลกภายในปี 2565

 

 

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “เมอร์เซเดส-เบนซ์ ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก และเป็นผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของประเทศไทยด้วยผลิตภัณฑ์และบริการมาตรฐานระดับโลก ก่อให้เกิดการลงทุน สร้างรายได้ให้กับประเทศ และนับเป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เติบโตก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสังคม

โดยขณะนี้ ทางบริษัทฯ ได้มีการขอขยายการส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in Hybrid Electric Vehicles: PHEV) เป็นการตอบรับต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายที่จะก้าวไปสู่การพัฒนายานยนต์แห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แสดงให้เห็นว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ จากประเทศเยอรมนี ได้เล็งเห็นความสำคัญของประเทศไทย ในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค

อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความสามารถคนไทยด้วยการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหนือกว่าการผลิตชิ้นส่วนทั่วไป ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และสามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

บริษัทฯ จะผสานระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเข้ากับรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกที่เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า อย่างน้อย 1 รุ่นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่รถยนต์จากแบรนด์สมาร์ทไปจนถึงรถยนต์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทฯ กำลังวางแผนจะนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า  50 รุ่นย่อยอีกด้วย ในขณะเดียวกันเมอร์เซเดส-เบนซ์ยังสนับสนุนการพัฒนารถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและการแจ้งเกิดของระบบ 48 โวลท์ พร้อมด้วยรถยนต์รุ่นแรกในตระกูล EQ ซึ่งใช้ชื่อว่า EQC ที่จะเข้าสู่สายการผลิตในปี 2562 ที่เบรเมน ประเทศเยอรมนี ทั้งนี้ EQ เป็นแบรนด์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ CASE ซึ่งประกอบด้วยเสาหลักเชิงกลยุทธ์ที่ผสานกัน ได้แก่ การเชื่อมต่อ (Connected), การขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Autonomous), ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Shared & Services) และระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric)

 

 

 

 

โรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งที่ 6 ของเมอร์เซเดส-เบนซ์

โรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทย จะเป็นหนึ่งในเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ โดยจะผลิตเพื่อรองรับความต้องการในประเทศและเพื่อส่งออก ซึ่งยังมีโรงงานทั้งในเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และจีนอีกด้วย เครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่นี้จะตอบสนองความต้องการในตลาดอย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการผลิตรถยนต์

ซึ่งกลยุทธ์นี้จะทำให้มีเทคโนโลยีแบตเตอรี่ อันทันสมัยจากศูนย์กลางการผลิตในแต่ละพื้นที่ ทั้งยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกาไว้พร้อมรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นตามแผนงานรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท ทั้งนี้ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทยมีแผนจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในปี 2562

 

มั่นใจศักยภาพตลาดรถยนต์นั่งในประเทศไทย

การร่วมลงทุนในครั้งนี้ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์ และธนบุรีประกอบรถยนต์ซึ่งเป็นพันธมิตรในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเพื่อการขยายโรงงานผลิตรถยนต์ที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลให้ศักยภาพการผลิตรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วยจำนวนรุ่นที่มากขึ้น

ไมเคิล เกรเว่ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว การลงทุนในครั้งนี้สะท้อนความเชื่อมั่นที่เรามีต่อศักยภาพของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราทำตลาดอยู่ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูงจากกลุ่มลูกค้า และเราจะยังคงเดินหน้าเพิ่มความหลากหลายของรถยนต์ที่ผลิตภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2560 มียอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วยจำนวนมากกว่า 14,000 คัน ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึงสองหลัก โดยรุ่นที่มียอดจำหน่ายสูงสุดประกอบด้วยรถยนต์ซีดานตระกูล E-Class, C-Class และ CLA ในปัจจุบันเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ทำตลาดรถยนต์ที่ประกอบภายในประเทศรวมทั้งหมด 9 รุ่น

โดยรุ่นที่เป็นรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง C-Class, S-Class และ GLE ในเวอร์ชั่นปลั๊กอินไฮบริดที่เปิดตัวในช่วงต้นปี 2559 และล่าสุดคือรุ่น E 350e Avantgarde, E 350e Exclusive และ E 350e AMG Dynamic นอกจากนี้ยังครองตำแหน่งผู้นำตลาดรถยนต์ระดับพรีเมี่ยมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด 17 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2544

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความสำเร็จอย่างสูงในประเทศไทยคือความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างเมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง  ประเทศไทย และ ธนบุรีประกอบรถยนต์ ในฐานะผู้ดำเนินงานด้านการผลิตในประเทศไทย โดยที่ในปี 2560 เพียงปีเดียว ธนบุรีประกอบรถยนต์ สามารถผลิตได้มากกว่า 12,000 คัน ในปัจจุบันโรงงานแห่งนี้มีพนักงานกว่า 1,000 คน และคาดการณ์ว่าเมื่อโครงการลงทุนครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ โรงงานแห่งนี้จะสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 300 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้จะเป็นการจ้างงานในส่วนของการผลิตแบตเตอรี่เกือบ 100 ตำแหน่ง

 

 

อันเดรอัส เลทเนอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง การขยายโรงงานและการผลิตแบตเตอรี่ที่จะเริ่มขึ้นในอนาคต ณ โรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นการกระชับความร่วมมือกับธนบุรีประกอบรถยนต์ให้แข็งแกร่งขึ้นอีกขั้น และยังเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับรูปแบบการสัญจรในอนาคต

นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับพนักงานของเราที่จะได้รับการฝึกอบรมใช้ทักษะความรู้ขั้นสูง เตรียมพร้อมสำหรับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ที่เรามุ่งมั่นที่จะเพิ่มบทบาทในภูมิภาคและสานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ความร่วมมือทั้งกับธนบุรีประกอบรถยนต์ และกับหน่วยงานภาครัฐของไทยล้วนเป็นไปอย่างดีเยี่ยม โดยได้รับการสนับสนุนให้การดำเนินการผลิตต่อไปของเราประสบความสำเร็จ และให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตในเครือข่าย การผลิตทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานของแบรนด์ไม่ว่าจะผลิตจากฐานการผลิตแห่งใดก็ตาม

โดยในช่วงของการเตรียมการเพื่อเริ่มผลิตรถยนต์รุ่นใหม่หรือใช้เทคโนโลยีใหม่ พนักงานในประเทศไทยจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทีมงานที่มีประสบการณ์สูงเพื่อให้พวกเขาคุ้นเคยกับกระบวนการผลิตใหม่ๆ เหล่านั้นด้วย

 

 

วีระชัย เชาวน์ชาญกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด กล่าวว่า การที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย ได้มอบความไว้วางใจให้ธนบุรีประกอบรถยนต์ เป็นผู้ผลิตอย่างเป็นทางการในการตั้งโรงงานแห่งใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการผลิตแบตเตอรี่ทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์  โดยโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่นี้จะตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 30 ไร่ ใกล้กับโรงงานประกอบรถยนต์ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ในปัจจุบัน โดยมีแผนจะเริ่มเดินสายการผลิตในช่วงต้นปี 2562  ซึ่งเราตระหนักเป็นอย่างดีว่าความรู้ความสามารถของพนักงานฝ่ายผลิตมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเครือข่ายการผลิตทั่วโลกของเมอร์เซเดส-เบนซ์ คาร์  ทั้งนี้ ด้วยคำยืนยันของเราที่ว่า “เราเชื่อมั่นในตัวบุคลากร เครือข่าย และการผลิตที่ใช้ทักษะฝีมือขั้นสูง”

ดังนั้นในช่วงของการเตรียมตัวเปิดสายการผลิต พนักงานในประเทศไทยจะได้รับการสร้างเสริมความรู้ความชำนาญในการผลิตและความรู้ทางเทคนิคสำหรับการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เพื่อให้มั่นใจได้อย่าเต็มเปี่ยมว่าแบตเตอรี่จะมีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับ แหล่งผลิตอื่นๆ ทั่วโลก

 

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click