ในวันที่ทั้งโลกกำลังพยายามมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero”
‘วิกฤติโลกรวน’ สร้างผลกระทบให้คนทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีการตกลงร่วมกันใน ‘ความตกลงปารีส’ เพื่อควบคุมไม่ให้อุณภูมิของโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกขึ้นไปที่ 1.42 องศาเซลเซียสแล้ว ทำให้เป้าหมายที่จะไปสู่ “สังคม Net Zero” ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2608 ดูเป็นเรื่องยากและท้าทายขึ้นไปอีก ‘ร่วมมือ-เร่ง-เปลี่ยน’จึงเป็นหนทางที่เราจะหยุดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นได้และไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น
เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ “เป็นไปได้” ถ้าเรา “เปลี่ยน”
‘การเปลี่ยน’ สู่ ‘ความเป็นไปได้’ ถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ ‘โปรจีน - อาฒยา ฐิติกุล’ บนเส้นทางการไปสู่ระดับโลก เริ่มต้นด้วยภาพในอดีตที่เห็นการแข่งขันที่ ‘โปรจีน’ พลาดโอกาสทำคะแนน แต่ถึงจะพบกับอุปสรรค ความยาก ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า “ยากไม่ได้แปลว่าเป็นไปไม่ได้”
“ไม่อยากแพ้อีกแล้ว” เป้าหมายของ ‘โปรจีน’
เป็นการส่งสัญญาณ ‘ความพร้อม’ ทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น ‘โปรกอล์ฟระดับโลก’ ‘โปรจีน’ จึงมุ่งมั่น ตั้งใจ ‘ลงมือทำ’ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก็พบว่า การทำด้วยวิธีการเดิม ๆ ไม่เพียงพอต่อการไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก
ถ้าอยากไปไกลให้ถึงระดับโลก ต้อง “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส”
ภาพของ ‘โปรจีน’ และทีม สะท้อนให้เห็น “การเปลี่ยน” จากวิธีการเดิม ๆ ไปสู่ ‘การเปลี่ยนวิธีคิด’ พร้อมปลุกความเชื่อร่วมกันว่า ‘เรื่องยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้’ ลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยนวงสวิง’ เพื่อตีให้ได้ไกลขึ้น และ ‘ลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ยากขึ้นกว่าเดิม’ ไปพร้อมกับทีม
แม้ว่า ‘การเปลี่ยน’ ครั้งนี้ อาจไม่ทำให้เห็นผลสำเร็จในทันที แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า ‘ทุกนาทีที่ลงมือทำคือโอกาสที่จะเข้าใกล้ความเป็นไปได้’ จนกระทั่งความมุ่งมั่น ทุ่มเท และความพยายามนำไปสู่ความสำเร็จ ก้าวสู่ “นักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลก” ได้สำเร็จในวัยเพียง 19 ปี
เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ สะท้อนให้เห็นว่า เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ที่ดูเหมือนจะยาก และท้าทาย ‘เป็นไปได้’ เช่นเดียวกับเป้าหมายสู่ “สังคม Net Zero” ที่เป็นไปได้เช่นเดียวกัน
ภาพการหวดวงสวิงของ ‘โปรจีน’ เปรียบเสมือนแรงส่งให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของคนทั่วโลก ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย “สังคม Net Zero” ให้ได้ เช่น นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด พร้อมระบบการซื้อ-ขายพลังงานสะอาดด้วยเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการใช้พลังงานชีวมวล นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เช่น พอลิเมอร์รักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน นวัตกรรมการก่อสร้างรักษ์โลก ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) เพื่อใช้บริหารจัดการการก่อสร้าง รวมถึงอาคารประหยัดพลังงาน รวมถึงนวัตกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ แต่เพื่อเร่งไปให้ถึงเป้าหมาย ‘สังคม Net Zero’ โดยเร็ว ‘เรา’ จึงต้อง “ร่วมมือ” และ “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส” ไปด้วยกัน
เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ เป็นแรงบันดาลใจและเน้นย้ำให้เราเชื่อมั่นว่า “การลุกขึ้นสู้เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ อย่างการมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero” แม้จะยาก ท้าทาย แต่สำเร็จและเป็นไปได้”
รับชมคลิป“ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกันที่
เตรียมพบกับการรวมตัวครั้งสำคัญในงาน “ESG Symposium 2024: Driving Inclusive Green Transition” เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสู่สังคม Net Zero ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว และมีโลกที่ยั่งยืนจากความร่วมมือของเราทุกคน เร็วๆ นี้
เอสซีจี องค์กรนวัตกรรมชั้นนำระดับอาเซียน เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์ชุดใหม่ “SCG The Possibilities” ชวนก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ #เป็นไปได้ไปด้วยกัน ด้วยนวัตกรรมกรีน จากพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยออกแบบกระบวนการผลิตให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่กับเพิ่มฟังก์ชันใช้งานที่ตอบโจทย์ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อม ตามความมุ่งมั่น Passion for Inclusive Green Growth สร้างการเติบโตร่วมกันบนสังคมคาร์บอนต่ำ คุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจโต สังคม สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
สำหรับภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์ชุด “SCG The Possibilities” บอกเล่าเรื่องราวของเด็กชายช่างคิดช่างสงสัยที่สนใจวิกฤตและสิ่งรอบตัว ถึงเหตุการณ์ในบ่ายวันหนึ่งซึ่งอากาศร้อนกว่าที่เคยเป็นมา จนแม่ที่มองออกไปนอกหน้าต่างเอ่ยถามถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ เด็กชายที่นั่งวาดรูปต่อเติมจินตนาการอยู่จึงตอบแม่ทันควันว่า “ภาวะโลกเดือด เกิดจากก๊าซคาร์บอนฯ เยอะเกินไป เราต้องช่วยกันลดคาร์บอนนะ” แต่คำตอบดังกล่าวทำให้แม่สงสัยว่าจะเป็นไปได้อย่างไร เราจะลดคาร์บอนฯ และสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” ได้จริงหรือ?
เด็กชายในภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์ชุดนี้ จึงเริ่มอธิบายให้แม่ฟังจากจินตนาการเล็ก ๆ บนกระดาษ สู่การสร้างสรรค์ “นวัตกรรมกรีน” จากเอสซีจี ที่ช่วยให้ภารกิจการลดคาร์บอนฯ ครั้งนี้เป็นไปได้ ด้วยการชวนทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วม ทั้งนักวิจัย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สตาร์ทอัพ แม่บ้าน คนทั่วไป หรือตัวเด็กเอง อาทิ การจับแสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงมาเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม ทั้งยังแบ่งกันใช้ได้ทั้งวันทั้งคืน การทำให้บ้านหรืออาคารก็ช่วยลดคาร์บอนฯ ได้ตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้างจนถึงการอยู่อาศัย การทำธุรกิจค้าขายที่ต้องขนส่งสินค้าเป็นประจำก็เลือกใช้แพคเกจจิ้งและการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ หรือการใช้ชีวิตของคนทั่วไปที่เคยก่อให้เกิดขยะพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งก็สามารถนำมาหมุนเวียนให้เกิดเป็นพลาสติกใหม่ได้กรีนกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าไม่ว่าใครก็ช่วยสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” ให้ “เป็นไปได้ไปด้วยกัน” ด้วย “นวัตกรรมกรีน”
หากสนใจอยากสร้าง #สังคมคาร์บอนต่ำ ให้ #เป็นไปได้ไปด้วยกัน กับเอสซีจี สามารถรับชมภาพยนตร์โฆษณาออนไลน์ชุด “SCG The Possibilities” นี้ได้แล้วที่ YouTube : SCG Channel https://bit.ly/scgthepossibilities Facebook: www.facebook.com/SCGofficialpage หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com/innovation/the-possibilities
ท่ามกลางกระแสรักษ์โลก ที่ทุกภาคส่วนในสังคมกำลังมุ่งมั่นเดินหน้าไปสู่การสร้าง “สังคมคาร์บอนต่ำ” มีหลายธุรกิจชั้นนำระดับโลกที่พัฒนานวัตกรรมคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริงแล้ว และนำมาแบ่งปันแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมาร่วมก้าวไปพร้อมกัน ในงาน ESG Symposium 2023: ร่วม เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เมื่อไม่นานนี้
ขนส่งและเดินทางด้วย “รถประหยัดพลังงาน (Green Logistic)”
ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคของความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีความต้องการที่ต้องเปลี่ยนยานยนต์ทุกคันเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ BEV และพลังงานสะอาด ซึ่งในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของภาครัฐ
มร.ฮิโรกิ นาคาจิม่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไม่ใช่สิ่งที่บริษัทเดียวจะทำได้โดยลำพัง จึงได้มีการริเริ่มความร่วมมือกับระหว่างบริษัทรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นและได้ก่อตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ “Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT” เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้รถที่มีเทคโนโลยีหลากหลาย รวมถึงรถจากพลังงานสะอาด และรถที่มีคาร์บอนต่ำ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง โดยได้ขยายความร่วมมือดังกล่าวมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก “Detroit of Asia” สำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ มร.นาคาจิม่ายังได้เปิดเผยถึงความร่วมมือที่บริษัท CJPT มีความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และเอสซีจี เพื่อผลักดันให้ไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ด้วยการพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ทั้งการผลิตพลังงานไฮโดรเจนจากชีวมวล และอาหารเหลือทิ้ง รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานน้ำ ด้านการใช้ข้อมูล (Big Data) และโครงสร้างพื้นฐานด้านการโทรคมนาคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ และด้านการเดินทาง โดยการนำเสนอยานยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย ได้แก่ รถพลังงานไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEVs) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) รวมถึงยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับด้านพลังงาน ลูกค้า รวมทั้งรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้งาน
โดยในความร่วมมือกับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท CJPT ได้ร่วมมือในการผลิตพลังงานไฮโดรเจนที่มาจากพลังงานไบโอก๊าซ หรือ “ก๊าซชีวภาพ” ซึ่งหมักโดยใช้มูลไก่จากฟาร์มของ CP และนำไปใช้ในภาคขนส่ง ซึ่งเป็นการนำของเสียจากการผลิตภาคการเกษตรมาเพิ่มมูลค่า และใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานสะอาดสำหรับรถพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (FCEVs) ซึ่งถือเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดโลกร้อนได้ด้วย
ส่วนกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่น มร.นาคาจิม่าเล่าว่า กรณีแรกคือ CJPT ได้ริเริ่มให้มีการใช้ “ไฮโดรเจน” ในเมืองฟุกุชิมะ ในรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ซึ่งใช้เป็นร้านสะดวกซื้อและการขนส่ง สำหรับประชากรกว่า 300,000 คน โดยสามารถขยายไปสู่เมืองอื่น ๆ ได้ในอนาคต
กรณีที่สองคือ ในกรุงโตเกียว ที่ CJPT ร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการส่งเสริมการสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถ BEV และไฮโดรเจนสำหรับรถ FCEVs เพื่อขยายการใช้รถยนต์พลังงานสะอาด ขณะเดียวกันกระจายการใช้พลังงาน
เร่งเครื่อง “พลังงานสะอาด”
จากการที่ภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อนในการผลิต แต่ในยุคที่ทั่วโลกเริ่มปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดแทน จอห์น โอดอนเนลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rondo Energy กล่าวว่า ถึงแม้การเปลี่ยนผ่านนี้ถือเป็น “โจทย์ยาก” แต่สามารถเป็นไปได้
โอดอนเนลล์ อธิบายว่า ไทยเป็นตลาดสำคัญของบริษัทในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานใหญ่ระดับโลกเพื่อนำไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งบริษัทกำลังทำงานกับเอสซีจีเพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยใช้พลังงานสะอาดและต้นทุนต่ำ ที่สำคัญ “เมื่อรักษ์โลกแล้ว ต้องทำเงินได้ด้วย”
“การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานนั้นแม้เป็นเรื่องยาก แต่ก็เป็นโอกาสเช่นกัน เพราะปัจจัยพื้นฐานในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว” โอดอนเนลล์กล่าว “แหล่งพลังงานสะอาดทั้งจากแสงแดดและลมขณะนี้ถือว่าต้นทุนต่ำมาก ๆ อยู่ที่ใครจะกล้าลงทุนหรือไม่”
อีกทั้งยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่สุดแห่งยุค “ขณะนี้พลังงานสะอาดกำลังขับเคลื่อนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และจะเป็นแบบนี้ต่อไปอีกใน 50 ปีข้างหน้า”
โอดอนเนลล์ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทได้ร่วมกับเอสซีจีในการผลิตอิฐแบบพิเศษที่เก็บความร้อนได้กว่า 1,500 องศาเซลเซียส เพื่อใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ความร้อนซึ่งสามารถแปลงพลังงานสะอาดจาก “ลม” และ “แสงแดด” ให้เป็นพลังงานความร้อนที่สามารถใช้ได้ในภาคอุตสาหกรรม
ขณะเดียวกัน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมและแสงแดดสูง และต้นทุนพลังงานสะอาดกำลังมีต้นทุนที่ถูกลงเรื่อย ๆ จนขณะนี้มีต้นทุนถูกกว่าพลังงานฟอสซิล ดังนั้น พลังงานเหล่านี้จึงสามารถตอบโจทย์การใช้พลังงานความร้อนในภาคอุตสาหกรรมได้
“นวัตกรรมแบตเตอรี่เก็บความร้อนจากพลังงานสะอาดสำหรับภาคอุตสาหกรรม จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่” โอดอนเนลล์ระบุ
“ไบโอพลาสติก” ลดคาร์บอน
ในขณะนี้ จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ความต้องการใช้ทรัพยากรโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในฐานะผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากบราซิล บริษัท Braskem จึงได้ริเริ่มนำประโยชน์ที่ได้จากการผลิตเอทานอลจากอ้อย มาผลิตเป็น “ไบโอพลาสติก” ที่ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ
โรเจอร์ มาร์คิโอนี ผู้อำนวยการเอเชีย ฝ่ายโอเลฟินส์และโพลีโอเลฟินส์ บริษัท Braskem กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทสามารถผลิตไบโอพลาสติกจากอ้อยซึ่งสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก สอดรับกับความต้องการพลาสติกชีวภาพในตลาด
ล่าสุด จัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่กับ บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ตั้งเป้าผลิตเอทิลีนชีวภาพ (Green-Ethylene) จากเอทานอลที่ใช้ผลิตผลจากภาคเกษตร แทนเอทิลีนจากฟอสซิล ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี ภายใต้แบรนด์ I’m green™ (แอมกรีน) และยังสามารถนำไปผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ส่วนบุคคลและอุปกรณ์ดูแลบ้าน ของเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Mechanical recycling และ Advanced recycling เช่นเดียวกับพอลิเอทิลีนทั่วไป จึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผสมผสานความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพของ Braskem เข้ากับความเชี่ยวชาญของ SCGC ในด้านการผลิตพอลิเอทิลีน รวมทั้งศักยภาพของ SCGC ที่เป็นผู้นำตลาดเคมีภัณฑ์ในระดับภูมิภาคโดยโรงงานของบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประเทศไทย และถือเป็นโรงงานผลิต I’m green™ แห่งแรกนอกประเทศบราซิล
นายกฯ ชื่นชมข้อเสนอจากการระดมสมองภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เร่งเปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ชวนทุกภาคส่วนร่วมสร้างสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย พร้อมหนุนขยายผลเศรษฐกิจหมุนเวียน และการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รองรับการขยายตัวเศรษฐกิจ ดึงดูดนักลงทุน เชื่อมั่นพลังความร่วมมือจะพาไทยเติบโตแบบคาร์บอนต่ำได้สำเร็จในงาน ESG Symposium 2023
นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ได้ร่วมงาน ESG Symposium 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 11 ในหัวข้อ “ร่วม เร่ง เปลี่ยน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ด้วยความร่วมมือจากหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเอสซีจี ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผู้ร่วมงานจากทุกภาคส่วนกว่า 2,000 คน โดยนายกรัฐมนตรีได้รับฟังข้อเสนอ “ร่วม เร่ง เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ” ที่มาจากการระดมสมอง ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาสังคมกว่า 500 คน ตลอดเดือนกันยายนที่ผ่านมา ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่
นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน กล่าวชื่นชมข้อเสนอดังกล่าว และเชื่อมั่นว่า หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันตามกลยุทธ์ ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่เน้นสร้างเศรษฐกิจควบคู่กับสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะช่วยกู้โลกให้กลับมาดีขึ้น สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของไทยต้องมีแนวทางที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านที่ชัดเจน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังนี้ 1) มุ่งมั่นการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านหลักการไปให้ถึงและช่วยเหลือกลุ่มที่รั้งท้ายก่อน 2) ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ สำหรับประชากรทุกคนในประเทศ และให้ความสำคัญกับสิทธิด้านสุขภาพ 3) ผลักดันความร่วมมือทุกระดับ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงบริการพลังงานสมัยใหม่ ในราคาที่เหมาะสมและมีความน่าเชื่อถือภายในปี ค.ศ 2030
“ผมรู้สึกประทับใจมาก ที่ได้เห็นคนไทยทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ร่วมกันหาแนวทางทำให้ประเทศไทยเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ เพราะภาวะโลกเดือดส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของทุกชีวิตบนโลก
ผมชื่นชมความตั้งใจสร้าง “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย เพราะเป็นจังหวัดที่มีความท้าทายสูง มีอุตสาหกรรมใหญ่อยู่มาก ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการดำเนินงานร่วมมือกันหลายส่วน ทั้งมาตรการและเงินทุน จึงขอเชิญชวนภาคส่วนอื่น ๆ มาร่วมกัน เพราะหากสำเร็จจะเป็นตัวอย่างให้เมืองและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป
การผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นวาระแห่งชาติ ผมชื่นชมความมุ่งมั่นทั้ง 3 อุตสาหกรรมนำร่อง ทั้งบรรจุภัณฑ์ ยานยนต์ และก่อสร้าง ซึ่งรัฐบาลจะขยายผลความสำเร็จนี้ โดยให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายจัดการขยะและเปิดให้จัดหาสินค้ากรีนเพื่อสร้าง Eco-system ที่เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สำหรับการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดให้เต็มประสิทธิภาพ และศึกษาการเปิดให้สามารถซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน พร้อมทั้งรองรับการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ดึงดูดนักลงทุนและบริษัทต่างชาติในอนาคต”
นายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมขอขอบคุณทุกคนที่มุ่งเปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะยังมีประชาชนอีกมากโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก เกษตรกร และชุมชน ที่ยังไม่ตระหนักถึงวิกฤตินี้ หรือยังไม่พบทางออกเพื่อรับมือ เราควรสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ เทคโนโลยี และการเข้าถึงเงินทุน ให้ทุกคนสามารถปรับตัวอยู่รอดได้ สำหรับข้อเสนอในวันนี้ ผมจะมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “คณะจัดงานขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ให้เกียรติมาร่วมงาน และรับฟังข้อเสนอจากพวกเราทุกภาคส่วนในวันนี้ ผมเชื่อมั่นว่าภายใต้การบริหารงานของท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งแนวนโยบายที่ชัดเจนของประเทศ จะทำให้ทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืน”
นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีพร้อมนำแนวทางจากท่านนายกรัฐมนตรีไปผลักดันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเร่งพัฒนากระบวนการผลิตสีเขียว ควบคู่กับนวัตกรรมกรีน เช่น ปูนคาร์บอนต่ำ พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ อีกทั้งผสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนแก้วิกฤติโลกเดือด ซึ่งเย็นวันนี้ 80 ซีอีโอ จากหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาคพลังงาน การผลิต อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ สุขภาพ บริการ มาร่วมระดมสมองเพิ่มเติม ซึ่งมั่นใจว่าจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต พร้อมโลว์คาร์บอน เป็นจริงได้แน่นอน”
เมื่อเร็วๆ นี้ นายราฟาเอล กายูเอล่า นักเศรษฐศาสตร์ และ ประธาน European Chemical Association (CEFIC) Strategy Mid Century Project และผู้เขียนหนังสือ “The Future of the Chemical Industry by 2050” กล่าวกับผู้ร่วมสัมมนาระหว่างการบรรยาย “Global Perspective: Challenges and Opportunities for Business from the Net Zero” ในงานสัมมนา “The Fast Track to Net Zero” จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และอุตสาหกรรมเคมีระดับโลก
นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ใช่ประเด็นทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้จริง
นายกายูเอล่าอธิบายว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอนและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนมีการเติบโตสูงอยู่แล้ว เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเติบโตปีละ 50% ขณะที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกเติบโตประมาณ 85% ส่วนธุรกิจการเงินการลุงทุนที่ยั่งยืน และอีกหลายอุตสาหกรรมก็เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน
เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนจำนวนมหาศาลมาจากอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมนี้คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
“อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนถึง 77% ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 80% ในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ยานยนต์ อาหาร แฟชั่น และบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น หากต้องการลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ อุตสาหกรรมเคมีคือกุญแจของการปฏิรูปสำหรับทุกอุตสาหกรรมใน Value Chain ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเคมีจึงหมายถึงความสำเร็จของมวลมนุษยชาติด้วย”
นายกายูเอล่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเคมีสรุปทิ้งท้ายว่า อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรมสำคัญในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในปัจจุบัน ที่อุตสาหกรรมเคมีจะฟื้นฟูสมดุลระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ รวมถึงร่วมสร้างและออกแบบอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
นายกายูเอล่าย้ำว่า อุตสาหกรรมเคมีกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตภายใต้กระบวนการหมุนเวียนมากขึ้น และบางส่วนผลิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเต็มรูปแบบแล้ว อีกทั้งมีการใช้วัสดุที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด
“เรากำลังก้าวสู่การค้นพบใหม่ๆ และการออกแบบเพื่อความยั่งยืน เมื่อเรานำทุกอย่างมารวมกัน ก็จะเป็นโอกาสการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ของโมเดลธุรกิจนี้ จึงขึ้นอยู่กับเราทุกคนที่จะร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
นายกายูเอล่า กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการคาร์บอนได้ดีจะเป็นผู้ชนะในอนาคต ในขณะที่หากใครไม่สามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านนี้ได้ ก็จะหายไปจากวงการ
ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของหลายประเทศ เช่น ชาติสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ได้ประกาศคำมั่นสัญญาครั้งสำคัญ คือ ตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral nation) ให้ได้ในปี ค.ศ. 2050 ส่วนจีนตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี ค.ศ. 2060
นายกายูเอล่ามีความเห็นว่า ปัจจุบันกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยคาร์บอนเริ่มขับเคลื่อนจากด้านอุปทานมาครอบคลุมด้านอุปสงค์ด้วย อีกทั้งโดยพื้นฐานแล้ว ผู้บริโภคจะมีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างความต้องการ รวมถึงสร้างตลาดพรีเมี่ยมสำหรับสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งบริษัทผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางนี้ได้ ก็จะได้รับประโยชน์ ส่วนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำได้ ก็จะเสียเปรียบและไม่ได้รับการยอมรับ
นายกายูเอล่า กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ และพลังขับเคลื่อนที่สำคัญคือ ยุโรปได้ออก “European Green Deal” เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อรับมือกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่มีรายละเอียดครอบคลุมมากที่สุดฉบับหนึ่งของโลก โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
“จะได้เห็นว่า (ภายใต้ European Green Deal) มีการตรากฎหมายทุกรูปแบบที่ส่งเสริมและเร่งการปฏิรูปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยคาร์บอนลง 55% ภายในปี ค.ศ. 2030”