January 22, 2025

Green Circular รุกการใช้พืชพลังงานร่วมกับเศษวัสดุทางการเกษตร ผ่านข้อตกลงร่วมกับบริษัท วิสาหกิจเพื่อสังคมและพลังงานชุมชน จำกัด

April 10, 2023 1464

นำ พืชพลังงานสุวรรณภูมิมาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอย่างยั่งยืน

Green Circular by CPAC Green Solution นำโดยนายวิสุทธ จงเจริญกิจ (ที่ 3 จากขวา)President Green Circularity Business บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด นางสาวอุมาพร เจริญศักดิ์ Waste Circularity Business Director บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด  นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร Cement Plant Director-Saraburi  บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด พร้อมด้วย นายวิธวินท์ ศรีสุริยจันทร์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายนันทพล พัฒน์พงศ์พานิช กรรมการ บริษัท วิสาหกิจเพื่อสังคมและพลังงานชุมชน จำกัด ร่วมลงนามสัญญาซื้อขาย “พืชพลังงานสุวรรณภูมิ” เพื่อการใช้ประโยชน์ชีวมวลอย่างยั่งยืน

Green Circular by CPAC Green Solution ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยยึดหลัก ESG  (Environmental, Social and Governance) มุ่งมั่นสรรหาเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อมาใช้ทดแทนถ่านหินตามนโยบายมุ่ง Net zero ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เน้นการนำวัสดุเหลือทิ้งภาคการเกษตรเช่น ใบอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด และอื่นๆ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเสริมสร้างการมีพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนในระยะยาว จึงเป็นที่มาของการลงนามสัญญาซื้อขายพืชพลังงานสุวรรณภูมิในครั้งนี้ เพื่อเป็นการ secure supply คู่ขนานไปกับการใช้วัสดุเหลือทิ้งภาคการเกษตร อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือและ wealth sharing กับชุมชนรอบข้างเครือปูนซิเมนต์ไทยเพื่อเข้าโครงการปลูกพืชพลังงาน ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น ถือเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีและเป็นการสร้างชุมชนให้แข็งแรงอีกด้วย

พืชพลังงานสุวรรณภูมิ เป็นพืชสายพันธุ์ไทย โดยมีบริษัท วิสาหกิจเพื่อสังคมและพลังงานชุมชน จำกัด เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เติบโตได้ดี ยิ่งตัดยิ่งแตกกอเหมือนต้นไผ่ ทำให้มีผลการเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆทุกครั้งที่ตัด ทำให้เหมาะในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยในระยะแรกจะเริ่มเพาะปลูกไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ คาดว่าจะได้พืชพลังงานสุวรรณภูมิเพื่อมาใช้เป็นเชื้อเพลิงไม่ต่ำกว่า 30,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ Green Circular by CPAC Green Solution ยังมองถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดในอนาคตเพื่อแปรรูปผลผลิตให้สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (energy pellet) หรือ เชื้อเพลิงชีวมวลค่าความร้อนสูง (Biofuel) ซึ่งถือเป็นการสร้างรากฐานด้านเชื้อเพลิงชีวมวลอย่างยั่งยืน

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 10 April 2023 13:37
X

Right Click

No right click