December 22, 2024

ธรรมาภิบาลในภาคเทคโนโลยี: บทบาทของการตรวจสอบเพื่อดำรงไว้ซึ่งสัตยธรรม (Integrity)

February 10, 2024 435

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ “Guardians of Good” ถ่ายทอดเรื่องราวความมุ่งมั่นของคนทรูที่มุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางด้านความยั่งยืนของทรู คอร์ปอเรชั่น โดยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้คะแนนการประเมิน  CSA (Corporate Sustainability Assessment) สูงสุดจาก 166 บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมโลกที่ได้เข้าร่วมการประเมินของ S&P Global และติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ปี ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.true.th/blog/djsi/

การเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของประเทศไทยกำลังเกิดขึ้นอย่างเร็วเร่ง สะท้อนจากการพัฒนาโครงข่าย 5และปัญญาประดิษฐ์ โดย ทรู คอร์ปอเรชั่นถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม ตลอดจนโซลูชั่นต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อนโยบายประเทศไทย 4.0

ด้วยภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานต่างๆ สอดรับกับหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance) ทรู คอร์ปอเรชั่น จึงตั้งฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน (Internal Audit & Investigation) นำโดย วรัญญา ชื่นพิทธยาธร ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการการควบคุมภายในต่างๆ ขององค์กร ให้เป็นตามนโยบายภายในองค์กร กฎเกณฑ์ภายนอก และมาตรฐานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ เธอยังทำหน้าที่รับผิดชอบสืบสวนสอบสวนเหตุแห่งพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ การทุจริตภายในองค์กร ซึ่งเป็นการปกป้องคุ้มครองชื่อเสียงและทรัพย์สินขององค์กร

วรัญญา ได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทและความท้าทายของ ฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวนซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยสร้างพื้นฐานที่สำคัญขององค์กร ในการสนับสนุนให้ ทรู คอร์ปอเรชั่น พิชิตเป้าหมายสู่การเป็นผู้นำ Telecom-Tech Company ของภูมิภาค

ผู้พิทักษ์ความเที่ยงธรรม

วรัญญากล่าวถึงความสนใจงานด้านการตรวจสอบของเธอว่า เกิดขึ้นจากความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับการวิธีการในการดำเนินธุรกิจ การระบุความเสี่ยง และความโปร่งใสทางการเงิน นอกจากนี้ ด้วยธรรมชาติของการตรวจสอบที่เป็นพลวัตน์และโอกาสในการปรับปรุงธรรมาภิบาลองค์กร ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงดึงดูดให้เธอทำหน้าที่นี้” กล่าว

เธอย้ำว่า การรักษาความเที่ยงธรรม และความเป็นอิสระถือเป็นหัวใจสำคัญของานตรวจสอบภายใน ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสามารถรักษาสถานะดังกล่าวไว้ได้ ทางฝ่ายได้มีการร่าง “กฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน” (Internal Audit & Investigation Charter) ซึ่งกำหนดบทบาท ความรับผิดชอบ และแนวทางการรายงานอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ แผนการตรวจสอบภายใน มีความสอดรับกับเป้าหมาย คุณค่า และกลยุทธ์องกร  ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้ความสำคัญต่องานตรวจสอบภายใน ฝ่ายตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน จำเป็นต้องมีการรายงานต่อคณะผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการตรวจสอบ ตลอดจนคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

“ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ ถือเป็นคุณค่าสำคัญที่คนทำสายงานตรวจสอบภายในต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด โดยสมาชิกในทีม จะมีการตรวจสอบและประเมินผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการปกป้องคุ้มครองผู้เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ขณะเดียวกัน ยังคงรักษาไว้ซึ่งปราศจากอคติในการปฏิบัติงาน” เธออธิบาย

เฝ้าระวัง

วรัญญา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การตรวจสอบภายในของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ใช้วิธีการตรวจสอบตามฐานความเสี่ยงเป็นแนวทาง ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินกระบวนการออกแบบ และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ซึ่งพิจารณาทั้งด้านธรรมาภิบาลด้านไอที ความมั่นคงทางไซเบอร์ และการปกป้องข้อมูล

ทั้งนี้ การประเมินความเสี่ยงจะดำเนินงานตามแผนการตรวจสอบภายใน โดยจะมีการทำงานร่วมกันอย่างกับฝ่ายปฏิบัติการ (first line of defense) และฝ่ายบริหาร (second line of defense) ซึ่งการประเมินดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี

“เราพัฒนาช่องทางสื่อสารแบบเปิดให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนได้มีส่วนร่วม โดยจะมีการรายงานผลการตรวจสอบภายใน ต่อคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบยัง โดยการรายงาน มุ่งเน้นความครบถ้วนและกระชับรัดกุมของข้อมูล ระบุถึงประเด็น ผลกระทบ ตลอดจนข้อแนะนำ อย่างตรงเป้า ให้มุมมองต่อเคสต่างๆ ที่ค้นพบอย่างรอบด้าน” เธออธิบาย

ทั้งนี้ งานด้านตรวจสอบภายในของ ทรู คอร์ปอเรชั่น จะมีการติดตามผลการปรับปรุงตามข้อแนะนำในประเด็นที่ตรวจพบ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริหารดำเนินการตามแผนการปรับปรุงที่ให้ไว้ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด และมีการสื่อสารกระบวนการดังกล่าวกับผู้บริหารผ่านช่องทางการประชุม Management Committee อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในเป้าหมาย และการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

โลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

“เราอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงบริการด้านโทรคมนาคม เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว งานตรวจสอบภายในจึงให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี และกำหนดให้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ในการตรวจสอบภายใน โดยนำเอาเทคโนโลยีที่จำเป็นมาใช้ ผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยี อาทิ RPA (Robotic Process Automation) ใช้ในงานตรวจสอบ  นอกจากนี้ เรายังมีการประเมินและปรับใช้เทคโนโลยีในแนวทางการตรวจสอบต่างๆ เพื่อให้เท่าทันและสามารถคุมความเสี่ยงที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น” วรัญญากล่าว

วรัญญาและทีม ยืนหยัดต่อการทำหน้าที่พิทักษ์ธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ความทุ่มเทเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ ความสอดประสานเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนความตั้งมั่นและเด็ดเดี่ยวในการประเมิน การควบคุม และการบริหารความเสี่ยง แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่สำคัญของงานตรวจสอบภายใน และสืบสวนสอบสวน ต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งธรรมาภิบาลองค์กรในยุคสมัยใหม่ ท่ามกลางพลวัตน์ของเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย งานตรวจสอบภายในและสืบสวนสอบสวน พร้อมแล้วที่จะเดินไปพร้อมความสำเร็จขององค์กร ภายใต้หลักธรรมมาภิบาลที่ดี และพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกยุคดิจิทัลแห่งอนาคต เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น Digital Internal Auditor และ Trusted Data & Tech Advisor ของ ทรู คอร์ปอเรชั่น

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 10 February 2024 08:18
X

Right Click

No right click