ดาว (Dow) ในฐานะผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และการผลิตซิลิโคนของโลก ผงาดขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ (New Energy Vehicle) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนด้านนวัตกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกลยุทธ์การดำเนินการของดาวแล้ว ยังเป็นพันธกิจของ Dow ที่มุ่งมั่นส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566 ที่ผ่านมา โดยมีรถยนต์พลังงานใหม่จากจีนเข้ามาตีตลาดเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมรถยนต์หลายแห่งระบุว่า นับถึงเดือนพฤษภาคม 2567 แบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่ที่มีชื่อเสียงจากจีนต่างเข้ามาตั้งฐานการผลิต ลงทุนสร้างโรงงาน หรือเริ่มไลน์การผลิตมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายอันดับหนึ่งของการลงทุนดังกล่าว ตามมาด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยอาจเนื่องมาจากประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (NEVPC) ขึ้นในปี 2563 กำหนดวิสัยทัศน์ปี 2578 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ที่ไม่ปล่อยมลพิษ และนวัตกรรมโมเดลธุรกิจเพื่อสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร
ภายใต้บริบทใหม่ของการเดินทางและการขนส่งที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว Dow ซึ่งสั่งสมประสบการณ์ด้านวัสดุศาสตร์มายาวนานกว่า 120 ปี จึงมีบทบาทสำคัญในการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันสำหรับวัสดุ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน หรือ OEMs (original equipment manufacturers) ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ให้สามารถเอาชนะความท้าทายในการผลิตสินค้าด้านความปลอดภัย ระบบการตอบสนอง และระบบไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างยั่งยืน โดย Dow มีความร่วมมือกับคู่ค้าที่ต่างๆ เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในภูมิภาค
โดยล่าสุด Dow ได้นำเสนอโซลูชันการจัดการความร้อนและการป้องกัน ที่ช่วยปกป้องระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (Advanced Driver Assistance Systems - ADAS) และระบบแบตเตอรี่ รวมถึงสนับสนุนระบบชาร์จเร็วที่สถานีชาร์จไฟฟ้า โดยมีตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ เช่น LuxSense™ หนังซิลิโคนภายใต้แบรนด์ “ลักส์เซนส์” (silicone synthetic leather) และซิลิโคนเคลือบยางรถยนต์ปิดผนึกรอยรั่วได้เอง (self-sealing silicone) ที่เป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนประกอบ ADAS
เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการความปลอดภัยและรถยนต์ที่มีความชาญฉลาดยิ่งขึ้น จึงมีการนำ ADAS มาใช้เพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตกำหนดมาตรฐานที่สูงขึ้นในกระบวนการประกอบรถยนต์ ทั้งในด้านความเที่ยงตรง (linearity) ความไว (sensitivity) การทำซ้ำ (repeatability) การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (quick response) ความละเอียด (resolution) และความเสถียร (stability) ดังนั้น ตัวเลือกวัสดุจึงมีผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ADAS ซึ่ง Dow ได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์การจัดการความร้อน DOWSIL™ ซึ่งมีระดับการนำความร้อนในหลายระดับให้เลือกได้ตามความต้องการ
นอกเหนือจากการจัดการความร้อนแล้ว Dow ยังมีโซลูชันซิลิโคนประสิทธิภาพสูงสำหรับการป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ป้องกันการรั่วซึม และการปกป้องเฉพาะทางสำหรับ ADAS โดยโซลูชันเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนาออกแบบระบบเซ็นเซอร์รุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
สร้างเกราะป้องกันสำหรับแบตเตอรี่
ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เช่น Thermal Runaway หรืออาการที่แบตเตอรี่ร้อนและบวม จนทำให้เสียหรืออาจทำให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่สำคัญ Dow จึงได้พัฒนา DOWSIL™ ซึ่งเป็นวัสดุซิลิโคนขั้นสูงของดาวที่ถูกออกแบบเพื่อการป้องกันไฟไหม้จากแบตเตอรี่ โดยมีความเสถียรด้านความร้อนและความไวไฟต่ำ วัสดุเหล่านี้ได้รับออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อเสริมความทนทานและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มีหลากหลายรูปแบบและคุณสมบัติ
ขณะเดียวกัน Dow ยังมีชุดวัสดุ สถานที่ทดสอบสถานการณ์จำลอง และการทดสอบประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตแบตเตอรี่และ OEMs ในการเลือกวัสดุที่เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่
ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีชาร์จเร็ว
ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีความกังวลเกี่ยวกับระยะทางขับขี่และแบตเตอรี่ที่อาจหมดระหว่างทาง (range anxiety) และให้ความสนใจกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระยะการขับขี่ อย่างไรก็ตาม กระบวนการชาร์จแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังมีความท้าทาย เพราะโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอ นอกจากนั้น ยังมีความต้องการอัปเกรดสถานีชาร์จเป็นระบบชาร์จเร็วที่ต้องการการจ่ายพลังงานสูงและการระบายความร้อนอย่างรวดเร็ว และมีความทนทาน Dow จึงได้พัฒนาประสิทธิภาพของซิลิโคนในด้านการนำความร้อน การกันรั่ว และการประกอบรถยนต์ รวมถึงฉนวนและการนำความร้อน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ DOWSIL™ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้
บรรลุเป้าหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ด้วยนวัตกรรม
Dow มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยน "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ให้กลายเป็นความจริงทางธุรกิจผ่านการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและความพยายามที่ไม่หยุดยั้ง บริษัทได้บุกเบิกพัฒนาโซลูชั่นด้านเครื่องหนังจากวัสดุซิลิโคน และซิลิโคนเคลือบยางรถยนต์ปิดผนึกรอยรั่วได้เอง (self-sealing silicone) เช่น
LuxSense™ หนังซิลิโคนภายใต้แบรนด์ “ลักส์เซนส์” เป็นวัสดุชั้นนำระดับสูงของโลกที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงเบาะและสิ่งตกแต่งภายในรถ วัสดุนี้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มสบาย ทำความสะอาดง่าย มีกลิ่นกลางๆ ทนทานต่อการใช้งาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปล่อยคาร์บอนต่ำ
SILASTIC™ ซิลิโคนเคลือบกันยางรั่ว เป็นโซลูชันรุ่นบุกเบิกระดับสากล ที่เคลือบซิลิโคนบนชั้นยางด้านใน เมื่อยางมีรอยรั่วชั้นซิลิโคนจะทำหน้าที่ผนึกรอยรั่วได้ด้วยตัวเอง และรักษาประสิทธิภาพการทำงานตามปกติของยางไว้ นวัตกรรมนี้ช่วยส่งเสริมการลดการใช้หนัง ลดการปล่อยคาร์บอน และสนับสนุนการผลิตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ Dow ได้นำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมตลอดอายุการใช้งานรถยนต์ ตั้งแต่การออกแบบและการพัฒนา ไปจนถึงการผลิต การใช้งาน และการรีไซเคิล โดยคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกขั้นตอน โครงการวิจัยและพัฒนาของ Dow มากกว่า 80% เป็นการผลิตโดยปกป้องสภาพภูมิอากาศ สนับสนุรนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการพัฒนาวัสดุอย่างปลอดภัย โดยมีเป้าหมายคือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิต่อปี 5 ล้านตันภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC และกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเตรียมพร้อมสู่ “พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อพลาสติกหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในเอเชีย (Partnership to Accelerate the Circular Plastic Ecosystem in Asia)” เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการรีไซเคิลพลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างมีประสิทธิภาพเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งเป้าเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกปริมาณกว่า 200,000 ตันต่อปีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนที่มีมูลค่าด้วยกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) ภายในปี 2573
เอสซีจีซี (SCGC) และ ดาว (Dow) มีแผนจะเร่งพัฒนาและยกระดับการรีไซเคิลขยะพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง สำหรับความร่วมมือในขั้นแรกนั้นครอบคลุมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (PCR) โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในปัจจุบัน รวมทั้งบูรณาการการลงทุนและการเข้าซื้อกิจการที่มีเทคโนโลยีรีไซเคิลขั้นสูงที่เกี่ยวเนื่องกับการรีไซเคิลเชิงกลและการรีไซเคิลขั้นสูงในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบนิเวศห่วงโซ่คุณค่าที่แข็งแกร่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งบริหารจัดการและรีไซเคิลเพื่อหมุนเวียนพลาสติกใช้แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับในระยะถัดไป ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่าจะร่วมกันจัดหาพลาสติกใช้แล้วจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตพลาสติกรีไซเคิลชนิดต่าง ๆ และขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ของภูมิภาค เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง SCGC และ Dow ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่สององค์กรชั้นนำด้านพลาสติกเพื่อความยั่งยืน จะมาร่วมมือกันขับเคลื่อนและยกระดับระบบนิเวศให้กับพลาสติกหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดย SCGC พร้อมนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก Green Polymer และเทคโนโลยีคอมพาวนด์ (Compound) ในการเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดพลาสติก เพื่อคืนคุณค่าพลาสติกใช้แล้วตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกระบวนการรีไซเคิลเชิงกล (Mechanical Recycling) และการรีไซเคิลขั้นสูง (Advanced Recycling) โดยยังคงคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจและรองรับความต้องการของตลาดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ทั้งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า สะท้อนกลยุทธ์ Low Waste, Low Carbon ของ SCGC อย่างเป็นรูปธรรม”
นายบัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow เปิดเผยว่า “เอเชียเป็นหนึ่งในแหล่งขนาดใหญ่ของพลาสติกใช้แล้วที่สามารถแปรรูปได้ เราต้องการพลิกโฉมวิธีการจัดการกับขยะในภูมิภาค โดยสร้างโมเดลใหม่ที่ให้คุณค่ากับพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมสิ่งเหล่านี้และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกโดยพัฒนาเทคโนโลยีในการคัดแยกขยะ การรีไซเคิลเชิงกล และการรีไซเคิลขั้นสูง ความร่วมมือกับ SCGC จะทำให้ทั้งสองบริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่เรามีจำหน่าย ความสามารถในการวิจัยและพัฒนา และลิขสิทธิ์ทางเทคโนโลยีของเรา เมื่อรวมกับความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในการผลิตเม็ดพลาสติกประสิทธิภาพสูงแล้ว ลูกค้าของเราจะได้รับความคุ้มค่าทั้งในด้านต้นทุน ความพร้อม รวมไปถึงคุณภาพของพลาสติกและวัสดุหมุนเวียน”
“Dow ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยมานานถึง 57 ปี เรามีความภาคภูมิใจที่จะได้เริ่มต้นก้าวต่อไปด้วยการพัฒนาพันธมิตรเพื่อธุรกิจพลาสติกหมุนเวียนร่วมกับ SCGC ซึ่งเป็นคู่ค้าที่เราไว้วางใจ โดยตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนด้วยกันในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ทั้งสององค์กรมีความมุ่งมั่นที่เหมือนกันในด้านความเป็นเลิศและความยั่งยืน SCGC จึงเป็นพันธมิตรในอุดมคติของเราที่จะสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ร่วมกันในครั้งนี้ โดยเราตั้งใจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องให้กับลูกค้าควบคู่ไปกับการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนของภูมิภาคนี้” นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวเสริม
ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงานด้านความยั่งยืนในการ “เปลี่ยนขยะเป็นผลิตภัณฑ์ (Transform the Waste)” ของ Dow ทั่วโลก ซึ่งมุ่งมั่นจะเปลี่ยนขยะพลาสติกและนำวัตถุดิบทางเลือกรูปแบบอื่น ๆ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ให้ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี พ.ศ. 2573 รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ SCGC ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon ที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% และมีเป้าหมายขยายสินค้าในกลุ่มพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 อีกด้วย
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) มอบผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขาเทียมจำนวนทั้งสิ้น 920 กิโลกรัม มูลค่า 85,400 บาท โดยมีคณะผู้บริหารขอมูลนิธิขาเทียมเป็นผู้รับมอบ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยให้การสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 บริจาคผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนสำหรับการทำขาเทียมแล้วกว่า 40,000 ขา รวมถึงจัดการอบรมต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดทำ “แพลตฟอร์ม EF ปี 2567: ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย (Platform EF: Building Brains EF Together)” ซึ่งเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเด็กด้วยทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) โดยมุ่งเน้นให้ครู นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการเสวนาจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ขยายผลการพัฒนาพลเมืองคุณภาพที่พร้อมจะขับเคลื่อนประเทศชาติในอนาคต
ทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ส่งผลเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ความยืดหยุ่น และปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) พัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสมจากครอบครัว จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ของสังคม มีภูมิต้านทานชีวิต และป้องกันปัญหาสังคมเชิงรุก อาทิ ยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น
รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “สถาบันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์จากการวิจัยวิชาการ รวมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สุขภาพ และปลอดภัยที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตด้วย EF ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมาย และมุ่งสู่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อเด็กและสังคมในอนาคต”
นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะสมองของเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่ง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาสังคมและส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยในอนาคต เราจึงดำเนินโครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเยาวชนไทยมาตลอด 9 ปี โดยเริ่มต้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสำเร็จสู่กรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา เราจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ EF แบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสและขยายองค์ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดีและคนเก่งตามแนวทาง EF ให้กับผู้ปกครองและคุณครูทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศไทยต่อไป”
แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย จะมีกิจกรรมและการอบรมฟรีจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในรูปแบบ online และ on-site เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 หัวข้อ โดยเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1,000 คนต่อครั้ง หรือตลอดปีไม่น้อยกว่า 12,000 คนทั่วประเทศ ท่านที่สนใจสามารถสมัครเรียนฟรีผ่านระบบสมาชิกเครือข่ายของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้ หรือดูงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/275 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม Line “แพลตฟอร์ม EF”