กูรูระดับโลกเผยอุตสาหกรรมเคมีจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่จะตามมา แม้ว่าอุตสาหกรรมเคมีในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้จะเผชิญความท้าทาย แต่ก็มีโอกาสทางธุรกิจและโอกาสในการเติบโตอีกมหาศาลที่รออยู่

เมื่อเร็วๆ นี้ นายราฟาเอล กายูเอล่า นักเศรษฐศาสตร์ และ ประธาน European Chemical Association (CEFIC) Strategy Mid Century Project และผู้เขียนหนังสือ “The Future of the Chemical Industry by 2050” กล่าวกับผู้ร่วมสัมมนาระหว่างการบรรยาย Global Perspective: Challenges and Opportunities for Business from the Net Zero” ในงานสัมมนา “The Fast Track to Net Zero” จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และอุตสาหกรรมเคมีระดับโลก

นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ใช่ประเด็นทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้จริง

นายกายูเอล่าอธิบายว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอนและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนมีการเติบโตสูงอยู่แล้ว เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเติบโตปีละ 50% ขณะที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกเติบโตประมาณ 85% ส่วนธุรกิจการเงินการลุงทุนที่ยั่งยืน และอีกหลายอุตสาหกรรมก็เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเคมีสะท้อนความสำเร็จของทุกคน

เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนจำนวนมหาศาลมาจากอุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมนี้คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

“อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนถึง 77% ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 80% ในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ยานยนต์ อาหาร แฟชั่น และบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น หากต้องการลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ อุตสาหกรรมเคมีคือกุญแจของการปฏิรูปสำหรับทุกอุตสาหกรรมใน Value Chain ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเคมีจึงหมายถึงความสำเร็จของมวลมนุษยชาติด้วย”

นายกายูเอล่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเคมีสรุปทิ้งท้ายว่า อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรมสำคัญในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในปัจจุบัน ที่อุตสาหกรรมเคมีจะฟื้นฟูสมดุลระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ รวมถึงร่วมสร้างและออกแบบอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

รับมือความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม

นายกายูเอล่าย้ำว่า อุตสาหกรรมเคมีกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตภายใต้กระบวนการหมุนเวียนมากขึ้น และบางส่วนผลิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเต็มรูปแบบแล้ว อีกทั้งมีการใช้วัสดุที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด

“เรากำลังก้าวสู่การค้นพบใหม่ๆ และการออกแบบเพื่อความยั่งยืน เมื่อเรานำทุกอย่างมารวมกัน ก็จะเป็นโอกาสการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ของโมเดลธุรกิจนี้ จึงขึ้นอยู่กับเราทุกคนที่จะร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปล่อยคาร์บอนเหลือศูนย์คือกุญแจความสำเร็จในอนาคต

นายกายูเอล่า กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการคาร์บอนได้ดีจะเป็นผู้ชนะในอนาคต ในขณะที่หากใครไม่สามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านนี้ได้ ก็จะหายไปจากวงการ

ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของหลายประเทศ เช่น ชาติสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ได้ประกาศคำมั่นสัญญาครั้งสำคัญ คือ ตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral nation) ให้ได้ในปี ค.ศ. 2050 ส่วนจีนตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี ค.ศ. 2060

นายกายูเอล่ามีความเห็นว่า ปัจจุบันกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยคาร์บอนเริ่มขับเคลื่อนจากด้านอุปทานมาครอบคลุมด้านอุปสงค์ด้วย อีกทั้งโดยพื้นฐานแล้ว ผู้บริโภคจะมีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างความต้องการ รวมถึงสร้างตลาดพรีเมี่ยมสำหรับสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งบริษัทผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางนี้ได้ ก็จะได้รับประโยชน์ ส่วนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำได้ ก็จะเสียเปรียบและไม่ได้รับการยอมรับ

European Green Deal เพื่อเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และลดการปล่อยมลพิษ

นายกายูเอล่า กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ และพลังขับเคลื่อนที่สำคัญคือ ยุโรปได้ออก European Green Deal” เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อรับมือกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่มีรายละเอียดครอบคลุมมากที่สุดฉบับหนึ่งของโลก โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“จะได้เห็นว่า (ภายใต้ European Green Deal) มีการตรากฎหมายทุกรูปแบบที่ส่งเสริมและเร่งการปฏิรูปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยคาร์บอนลง 55% ภายในปี ค.ศ. 2030”

บริษัท Dow ประกาศปรับเป้าหมายการทำงานด้านความยั่งยืนที่ตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ. 2563

สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) และ The Asia Pacific Roundtable for Sustainable Consumption and Production (APRSCP) ได้จัดงานประชุมการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งเอเซียแปซิฟิกครั้งที่ 16 เรื่อง Bridging Net Zero Transition by SCP and Circular Economy ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ของภาคต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ในการนี้ได้รับเกียรติจาก มร. เอ็ดวิน ซี. แซเกอตัน จูเนียร์, ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ, สถานฑูตอเมริกา ขึ้นกล่าวปาถกฐาในหัวข้อ “Leveraging the Power of the Private Sector: How the U.S. is Engaging Companies to Fight Climate Change” รวมทั้งภาคเอกชนหลายหน่วยงานร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับบทบาทภาคเอกชนและภาครัฐในการจัดการขยะพลาสติกและการจัดการเพื่อการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในงานนี้

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย มุ่งมั่นที่จะสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ได้ร่วมแชร์ความสำเร็จและนวัตกรรมของ Dow ที่ช่วยจัดการให้โรงงานสามารถลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ได้ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและภาคธุรกิจ

โดยนายวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ร่วมสัมมนาในหัวข้อ “Enabling the net zero carbon dioxide emission through Innovation & Private and Government sector Collaboration” กล่าวถึงกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จของ Dow จากโรงงานไฟฟ้าโอซากิ คูลเจน ที่ร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้เทคโนโลยีของ Dow ที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออไซต์ได 150,000 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับปลูกต้นไม้ 15 ล้านต้น และล่าสุดได้ร่วมมือกับรัฐบาลแคนาดา ในการนำนวัตกรรมของ Dow ไปใช้ในโรงงานผลิตเอทิลีนในรัฐอัลเบอร์ตา ซึ่งเป็นโรงงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์แห่งแรกของโลก

บริษัท ดาว (Dow) ผู้นำด้านแมททีเรียล ไซแอนซ์ (Materials science) ระดับโลก ประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตโพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol) ในประเทศไทย ณ ฐานการผลิตมาบตาพุด โอเปอเรชันส์ ในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง การลงทุนในครั้งนี้ตอกย้ำความเป็นผู้นำของ Dow ในฐานะผู้ผลิตโพรพิลีนไกลคอลรายใหญ่ของโลก และตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจากอุตสาหกรรมการแต่งกลิ่นและรสชาติ ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนบุคคล อาหาร และยา ซึ่งมีการเติบโตมากกว่าดัชนีมวลรวมภายในประเทศ (GDP)

การขยายกำลังการผลิตในประเทศไทยนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2567 โดยจะสามารถผลิตโพรพิลีนไกลคอลได้เพิ่มขึ้นอีก 80,000 ตัน/ปี รวมเป็น 250,000 ตัน/ปี โดยโรงงานแห่งนี้จะกลายเป็นโรงงานผลิตโพรพิลีนไกลคอลที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะผลิตสินค้าที่สามารถนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อันจะช่วยตอบสนองความต้องการและช่วยส่งเสริมการเติบโตของลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งประเทศอินเดียได้เป็นอย่างดี

เจน พาลมิเอรี ประธานธุรกิจโพลิยูรีเทน คลอร์-อัลคาไลน์ & ไวนิล และเคมีเพื่อการก่อสร้าง กล่าวว่า "การขยายกำลังการผลิตโพรพิลีนไกลคอลครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านสินทรัพย์ที่มีอยู่ของเราให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงต่าง ๆ และช่วยให้เราสามารถตอบโจทย์ลูกค้าในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ดียิ่งขึ้น”

“มาบตาพุด โอเปอเรชันส์ ของกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของ Dow ในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีความเป็นเลิศในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Safety, Reliability และ Productivity การลงทุนเพิ่มในประเทศไทยในครั้งนี้จึงเป็นเครื่องยืนยันถึงความไว้วางใจต่อความสามารถของพนักงานชาวไทยในการขยายกำลังการผลิตเพื่อช่วยตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อไป” นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าว

การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวเป็นไปตามแผนการลงทุนที่บริษัทเคยกำหนดไว้แล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ โรงงานโพรพิลีนไกลคอลชั้นนำของ Dow ได้ช่วยยกระดับโครงสร้างทางเคมีพื้นฐานเพื่อผลิตส่วนผสมคุณภาพสูงสำหรับเครื่องสำอาง อาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมายสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน

Page 2 of 2
X

Right Click

No right click