November 22, 2024

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร(KKP) โดยนายทวีศักดิ์ เผ่าพัลลภ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หนึ่งในทีมที่ปรึกษาของเยาวชนผู้แทนประเทศไทย (Educator) ในเวทีการประชุม APEC Voices of the Future 2022 (APEC VOTF 2022) พร้อมด้วยนางสาวนภัสสร พิศิษฏพงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้แทนเยาวชนของประเทศไทย เข้าร่วมงานเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเพื่อผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ตามแนวทางการรับไม้ต่อจากเอเปคสู่การปฏิบัติจริง โดยภายในงานได้มีการเชิญผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และเยาวชน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และมีนายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคของไทยเข้าร่วมการเสวนา ณ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2565

ผลจากการเสวนา Bangkok Goals on BCG Economy: Post-APEC2022 Multistakeholder Forum จะถูกนำไปจัดเตรียมสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 และให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินการ ประเมินและทบทวนผลการดำเนินการ ทั้งภายในประเทศและในกรอบเอเปค

ทั้งนี้ เป้าหมายกรุงเทพฯ ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 โดยเหล่าผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่มาร่วมงานประชุม APEC 2022 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Economy) ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรยั่งยืน และการลดและจัดการของเสียอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายกรุงเทพฯ เป็นเอกสารฉบับแรกในประวัติศาสตร์ของเอเปคที่วางบรรทัดฐานและระบุเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจภูมิภาคในระยะยาว

“ผยง ศรีวณิช” กล่าวต้อนรับ “เอ็มมานูเอล มาครง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศส บนเวที APEC CEO  SUMMIT THAILAND 2022

ประกาศผลรางวัลอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอรณรงค์ภายใต้หัวข้อ “ไทยพร้อม”

เอสซีจี จัดแสดงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนเวทีผู้นำโลก APEC 2022 Thailand โชว์ศักยภาพ พร้อมเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ปรับตัวรับมือความท้าทายโลก ด้วยโซลูชันเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนเพื่อผลิตพลาสติกชีวภาพ ชูโครงการฝึกอาชีพ สร้างรายได้มั่นคง ลดสังคมเหลื่อมล้ำ พร้อมเปิดตัวผลงานชะลอม APEC 2022 Thailand จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing หนึ่งเดียวในโลก สานต่อแนวทาง BCG

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี มีความตั้งใจนำความเชี่ยวชาญของเรา มาผสานศักยภาพกับทุกภาคส่วน เพื่อทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ที่สมดุลทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เกิดการรวมพลังทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยเอสซีจีได้จัดแสดงโซลูชันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition Solutions) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ “พลังงานชีวมวล (Biomass)” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สำหรับทดแทนพลังงานฟอสซิลในกระบวนการผลิต และ “SCG Cleanergy โซลูชันพลังงานสะอาดครบวงจร” ในรูปแบบ Smart Grid เครือข่ายอัจฉริยะจัดการพลังงานสะอาด เพื่อการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวเสริมว่า “เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC พร้อมสานต่อแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio–Circular–Green Economy) โดยพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “SCGC GREEN POLYMER” เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้ง “ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ” โดยร่วมมือกับ Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตอบโจทย์ความต้องการใช้พลาสติกรักษ์โลกที่กำลังเติบโต

เอสซีจี นำเสนอหลากหลายนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ภายใต้แนวคิด “Together to Sustainable Future” ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 14-19 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้เปิดตัว “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” หนึ่งเดียวในโลก ผลิต

จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution เทคโนโลยีการพิมพ์ได้อย่างอิสระ สวยงาม ซึ่งเป็นการนำเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ ขนาดใหญ่ ขึ้นรูปด้วยปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮดรอลิก คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สร้างเสร็จไว ช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งอย่างน้อย 70% สามารถสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ ทั้งงานก่อสร้าง และงานตกแต่ง ทั้ง เฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นงานตกแต่งแลนด์สเคป รวมทั้งสามารถพริ้นท์เป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง ซึ่ง “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” นี้ จะร่วมมือกับ APEC 2022 Thailand นำไปวางเป็นบ้านปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เสียหาย เพิ่มความหลากหลายระบบนิเวศทางทะเล ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ยั่งยืนให้ชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ เอสซีจี ยังนำเสนอ “โครงการพัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ” เช่น วิสาหกิจชุมชน ช่างประจำบ้าน คนขับรถบรรทุก เพื่อเปิดกว้างโอกาส สร้างอาชีพรายได้มั่นคงให้ชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า “การประชุม APEC 2022 Thailand ได้นำแนวคิด BCG มาสานต่อ เพื่อเปิดกว้างการค้าการลงทุน ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญ โดยวางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรยั่งยืน ซึ่งจะสำเร็จได้จำเป็นต้องรวมพลังและศักยภาพจากทุกภาคส่วน โดยภาคเอกชนไทยซึ่งมีความสามารถได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว หลังยุคโควิด 19”

ผู้สนใจสามารถติดตามนวัตกรรมและข่าวสารอื่นๆ ของเอสซีจีได้ที่ https://www.scg.com/esg/ https://scgnewschannel.com

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ  และ Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC)  

X

Right Click

No right click