December 22, 2024

ดร.ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ Head of Digital and Innovation - บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) คว้ารางวัล CIO100 Awards ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดขึ้นโดย IDC (International Data Corporation) และ Foundry ผู้ให้บริการและที่ปรึกษาข้อมูลการตลาดด้านเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ที่มอบให้กับผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 100 คน ที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร โดยพิจารณาจากหลักสำคัญด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานเพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยั่งยืน

ทั้งนี้ บ้านปูได้เดินหน้าขับเคลื่อนองค์กรด้วยกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยจัดตั้งหน่วยงาน Digital and Innovation (D&I) ซึ่งรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสาขาต่างๆ ได้แก่ ทีมบ่มเพาะนวัตกรสู่การสร้างนวัตกรรม (Incubation)  ทีมวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ทีมปัญญาประดิษฐ์ (AI/Machine Learning) ทีมอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) และทีมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เพื่อผลักดันการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทั่วทั้งองค์กร นอกจากนี้ บ้านปูได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น ช่วยในการซื้อขายพลังงาน (Energy Trading) ในประเทศญี่ปุ่น บริหารซัพพลายเชนธุรกิจเหมืองในออสเตรเลีย และใช้ในการเฟ้นหา และพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะหรือความถนัดเฉพาะตัวในงานด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

บ้านปู เน็กซ์ บริษัทลูกของบ้านปู ผู้ให้บริการ Net Zero Solutions ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมกับดูราเพาเวอร์* ผู้นำด้านระบบแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานแบบลิเธียมไอออนระดับโลกสำหรับการใช้งานด้านพลังงานหมุนเวียนและยานยนต์ไฟฟ้า เดินหน้าเปิดโรงงานประกอบแบตเตอรี่ดีพี เน็กซ์ อย่างเป็นทางการ ส่งเสริมการเดินทางและขนส่งด้วยพลังงานสะอาด และรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในประเทศไทย และเอเชียแปซิฟิก

โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ซึ่งนอกจากพร้อมสนับสนุนตลาดรถบัสไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ขยายอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแล้ว ยังสอดรับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยด้วย รวมถึงมีส่วนช่วยขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

โรงงานประกอบแบตเตอรี่ดีพี เน็กซ์ ดำเนินกิจการภายใต้บริษัทร่วมทุน (JV) ระหว่างบ้านปู เน็กซ์ และดูราเพาเวอร์ ผนึกความเชี่ยวชาญของสองบริษัททั้งองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยและความเข้าใจตลาด เพื่อส่งมอบแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและตรงกับความต้องการในภูมิภาค โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะแบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-automated intelligent production) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในโรงงานแบตเตอรี่ของดูราเพาเวอร์ สามารถส่งมอบแบตเตอรี่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะด้านของรถบัสไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รวมถึงรถขนส่งเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ด้วยการออกแบบให้มีน้ำหนักเบา รองรับการชาร์จเร็ว และกักเก็บพลังงานได้ยาวนาน ทั้งยังมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด อาทิ UNECE No. 100 ฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นข้อกำหนดตามมาตรฐานยุโรปในการอนุมัติยานยนต์ไฟฟ้าที่วิ่งบนถนน หรือ IEC 62660 ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพสำหรับเซลล์แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทุติยภูมิ (secondary lithium-ion cells) ที่ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ แบตเตอรี่จากโรงงานดีพี เน็กซ์ ยังผ่านการทดสอบแบบเจาะทะลุ ซึ่งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพความปลอดภัยของแบตเตอรี่

โรงงานแห่งนี้สามารถประกอบแบตเตอรี่ได้มากกว่า 15,000 ชุดต่อปีตามความต้องการของตลาด โดยมีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตสูงสุดเป็น 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงในอนาคตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาค โดยร้อยละ 80 ของแบตเตอรี่ที่ผลิตทั้งหมดจะถูกจำหน่ายในประเทศ ขณะที่อีกร้อยละ 20 จะถูกส่งออกไปยังตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา โรงงานนี้มีโซลูชันแบตเตอรี่ที่ครอบคลุมทั้งลิเธียมนิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ออกไซด์ (NMC) และลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าหลากหลายประเภทในอุตสาหกรรมการเดินทางและขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น

  • ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์:รถบรรทุก รถบัส รถยก รถพ่วง รถดัมพ์ รถกึ่งพ่วง และรถลากเครื่องบิน
  • ยานยนต์ไฟฟ้าเฉพาะทาง:โดยจัดหาแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น รถตุ๊กตุ๊ก ผู้ผลิตเรือหรือต่อเรือ และยานพาหนะที่ใช้สำหรับการขนส่งในท่าเรือ
  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่สำหรับระบบสลับแบตเตอรี่ในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
  • ระบบกักเก็บพลังงาน (ESS)

นายสมิทธิพร เศรษฐปราโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด กล่าวว่า “เอเชียแปซิฟิกถือเป็นผู้นำในตลาดรถบัสไฟฟ้าระดับโลกที่คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 44.74 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2567 เป็น 73.88 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572** ซึ่งโรงงานแห่งนี้สอดรับกับทิศทางการเติบโตดังกล่าว และเป้าหมายของประเทศไทยที่มุ่งจะเพิ่มรถบัสและรถบรรทุกไฟฟ้าเป็น 33,000 คัน หรือ 40% ของยานยนต์ที่จดทะเบียนบนท้องถนนภายในปี 2573*** ทั้งยังสร้างโอกาสให้กับซัพพลายเออร์แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกด้วย โรงงานประกอบแบตเตอรี่แห่งนี้จึงไม่เพียงเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของบ้านปู เน็กซ์ สู่การเป็น Net-Zero Solutions Provider ให้กับองค์กรทั่วเอเชียแปซิฟิก แต่ยังจะช่วยส่งเสริมตลาดแรงงานไทยผ่านการจ้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 300 ตำแหน่งตามเป้าหมายการผลิตในระยะยาว”

นายเคลวิน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดูราเพาเวอร์ กล่าวว่า “โรงงานดีพี เน็กซ์ จะขยายศักยภาพของดูราเพาเวอร์ในการนำเสนอโซลูชันแบตเตอรี่ชั้นนำให้กับลูกค้าทั่วโลก ซึ่งมีความพร้อมด้านกระบวนการผลิตและประกอบแบตเตอรี่ เสริมด้วยจุดเด่นด้านนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง โดยนำเทคโนโลยีล้ำสมัยและความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมมาใช้เพื่อส่งมอบแบตเตอรี่คุณภาพสูงตามความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทำให้เราสามารถนำเสนอโซลูชันพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนให้กับลูกค้าในประเทศไทย ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของเราในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

บ้านปู เน็กซ์ และดูราเพาเวอร์ ร่วมกันนำเสนอโซลูชันแบตเตอรี่ที่ล้ำสมัยและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดให้กับลูกค้าจากหลากหลายอุตสาหกรรม อีกทั้งสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อทรานส์ฟอร์มธุรกิจและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมไร้คาร์บอน โดยโรงงานแห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยควบคู่ไปกับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน


*ดูราเพาเวอร์ เป็นบริษัทลูกของบ้านปู เน็กซ์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ 65.1%

**ที่มา: Asia Pacific Electric Bus Market Size & Share Analysis - Growth Trends & Forecasts (2024 - 2029)

***ที่มา: Industry Outlook 2024-2026: Electric Vehicle Industry

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics” หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์ ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเผยผลประกอบการไตรมาส 3

นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “‘Energy Symphonics’ สื่อถึงแนวทางผสานพลังงานที่หลากหลาย เพื่อสร้างโซลูชันพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน ตอบสนองต่อความต้องการพลังงานของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมไปกับการดูแลโลกของเรา เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้โจทย์ความท้าทายด้านพลังงานและสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อพลังงานที่มีใช้อย่างต่อเนื่อง ราคาสมเหตุสมผล และมีความยั่งยืน”

กลยุทธ์ใหม่ของบ้านปูสะท้อนความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ความมั่นคงทางพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง ความเสมอภาคด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผล ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และความยั่งยืนด้านพลังงาน คือการจัดหาพลังงานที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ของบ้านปูเน้นรักษาสมดุลและตอบสามโจทย์ของพลังงาน (Energy Trilemma) ได้แก่ การส่งมอบพลังงานที่เชื่อถือได้และต่อเนื่อง (Energy Security) การจัดหาพลังงานที่มีราคาสมเหตุสมผลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Energy Equity) และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการจัดหาพลังงาน (Energy Sustainability) โดยกลยุทธ์ใหม่มี 4 ภารกิจสำคัญ ดังนี้:

  • เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 และการลดคาร์บอน ตั้งเป้าหมายบรรลุ Net Zero ภายในปี 2050 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 20% และลดสัดส่วน EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา) ที่มาจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับถ่านหินให้ต่ำกว่า 50% ภายในปี 2030
  • ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ และการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Sequestration: CCUS) มุ่งเน้นการเติบโตด้วย ‘แนวทางสู่ความสำเร็จ’ ที่ผสานธุรกิจก๊าซธรรมชาติระดับต้นน้ำ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ และธุรกิจ CCUS เพื่อส่งมอบโซลูชันก๊าซธรรมชาติคาร์บอนต่ำในสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งสร้างกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง
  • ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Renewables+) เร่งขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ โดยลงทุนในระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) ธุรกิจปลายน้ำที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างความต่อเนื่องให้กับพลังงานหมุนเวียน พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ
  • พัฒนาธุรกิจเหมืองแร่ยุคใหม่ ดำเนินกลยุทธ์การทำเหมืองอัจฉริยะ โดยการผสานการใช้โซลูชันอัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในกระบวนการทำเหมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในแร่แห่งอนาคตที่สำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 3 บ้านปูมีความคืบหน้าทางธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่

  • ความสำเร็จในการนำ BKV เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (New York Stock Exchange: NYSE) : การเสนอขายจำนวน 15,000,000 หุ้น ที่ราคา 18 เหรียญสหรัฐ ต่อหุ้น สามารถระดมทุนได้ถึง 270 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา โดยบ้านปูยังคงถือหุ้นใหญ่ใน BKV
  • บริษัทร่วมทุนระหว่าง BKV Corporation และ Banpu Power (BPP) ภายใต้ชื่อ BKV-BPP Power JV สามารถรองรับการเติบโตของความต้องการพลังงานไฟฟ้าและ Data Center พร้อมคว้าโอกาสทางธุรกิจจากตลาดพลังงานในสหรัฐอเมริกา
  • การขยายการเติบโตของบ้านปู เน็กซ์ ในญี่ปุ่น : บ้านปู เน็กซ์ หนึ่งในบริษัทเรือธงของกลุ่มบ้านปู เข้าลงทุนในบริษัท แอมป์ จำกัด (แอมป์ เจแปน) บริษัทชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ผู้พัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนถึงการนำออกสู่ตลาด ด้วยงบลงทุน 35 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม 800 เมกะวัตต์ สู่เป้าหมายกำลังผลิตรวมจำนวน 2 กิกะวัตต์ ภายในทศวรรษนี้ นอกจากนี้ แบตเตอรี่ฟาร์ม Iwate Tono ใกล้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขณะนี้กำลังติดตั้งอุปกรณ์แรงดันไฟฟ้าสูงและสถานีไฟฟ้าย่อยในเฟส 2 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2025

ในไตรมาสที่ 3 นี้ บ้านปูมีรายได้จากการขายรวม 1,339 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 46,597 ล้านบาท) กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 379 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 13,204 ล้านบาท) และขาดทุนสุทธิจำนวน 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (*ประมาณ 830 ล้านบาท) จากราคาตลาดของถ่านหินและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงและการขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน จากการแข็งค่าของเงินสกุลบาทต่อเงินสกุลเหรียญสหรัฐ

นายสินนท์กล่าวในตอนท้ายว่า “ไม่ว่าเราจะต้องประสบกับความท้าทายของตลาดพลังงานที่ผันผวน บ้านปูเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ Energy Symphonics จะสร้างการเติบโตให้กับบริษัทฯ สร้างคุณค่าระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้น ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงการดูแลโลกใบนี้”

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.banpu.com และ https://www.facebook.com/Banpuofficialth

*หมายเหตุ: คำนวณโดยอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 ปี 2024 ที่ USD 1: THB 34.8065

มอบฟลีทมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพร้อมจัดอบรมทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพไรเดอร์

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย พร้อมด้วย สถาบัน ChangeFusion ประกาศผล 3 ผู้ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมภายใต้แนวคิด “ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” (Impactful Locals, National Boost) ในโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม (Banpu Champions for Change: BC4C) ปีที่ 13 โดยไม่เรียงลำดับ ได้แก่ “ชันโรง” กิจการที่สร้างรายได้ให้ชุมชนจากสัตว์เศรษฐกิจพร้อมฟื้นป่าชายเลน จ.กระบี่ “คนทะเล” กิจการที่เน้นฟื้นฟูทะเลประจวบฯ ด้วยแพคเกจเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ  “Karen Design” กิจการที่ใช้ภูมิปัญญาผ้าทอกะเหรี่ยงแก้ปัญหาปากท้องชุมชนในพื้นที่แม่ฮ่องสอน โดยผู้ชนะทั้ง 3 ทีมจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 250,000 บาทเพื่อเป็นทุนดำเนินกิจการ

นายรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส – สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เผยว่า “ในปีนี้เราเห็นแนวโน้มผู้ประกอบการมีความเข้าใจการทำกิจการเพื่อสังคมมากขึ้น มีทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อโปรโมทสินค้าตัวเองมากขึ้น ทั้งสามทีมมีความโดดเด่นที่พวกเขามีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่หลากหลาย สำหรับสิ่งที่บ้านปูมุ่งมั่นในการสนับสนุนคือระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย เราต้องการสร้างเครือข่ายและประสานพลังกับหลาย ๆ หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนให้กิจการเพื่อสังคมเติบโตไปสู่ตลาดในกระแสหลัก (Mass Market) เพื่อเพิ่มศักยภาพในเศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ในปีที่ 13 โครงการฯ มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “Impactful Locals, National Boost: ชุมชนแกร่ง ไทยแกร่ง” เน้นการผลักดันศักยภาพ SE ในแต่ละพื้นที่ ที่ต่างประสบปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยสามทีมที่ชนะสุดยอดโมเดลกิจการเพื่อสังคมในระยะเริ่มต้น (Incubation Program) นั้นสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการฯ ไปใช้ในการทดลองตลาดระยะเวลา 3 เดือน ปรับโมเดลธุรกิจและแนวทางการสร้างอิมแพคต่อชุมชน สามารถพิสูจน์ตัวชี้วัดความสำเร็จได้อย่างชัดเจน โดยได้รับเงินทุนทีมละ 250,000 บาท ไปต่อยอดกิจการ (ไม่เรียงลำดับคะแนน) ดังนี้

  • ชันโรง: ต่อยอดรายได้จาก “ผึ้งจิ๋วชันโรง” พร้อมเพิ่มป่าชายเลนชุมชน กิจการที่สร้างรายได้จากการเพาะเลี้ยง “ผึ้งจิ๋วชันโรง” สัตว์เศรษฐกิจของชุมชน จำหน่ายรังชันโรงและผลิตภัณฑ์แปรรูป พร้อมส่งต่อความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงชันโรงแก่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน และต่อยอดรายได้จากการจำหน่ายมาฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน จ.กระบี่ พร้อมกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน อาทิ กิจกรรมปลูกป่า ปล่อยปูดำ และชันโรง โดยตลอด 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 2 แสนบาท

 

  • คนทะเล: ฟื้นทะเลประจวบฯ ด้วยแพคเกจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กิจการที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมง เยี่ยมชมธรรมชาติ พร้อมซึมซับวัฒนธรรมการกินอาหารทะเลไปพร้อมกับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมสร้าง “ธนาคารปู และบ้านปลา” ที่นำสัตว์เศรษฐกิจอย่างปูม้าและปลาอินทรีย์มาแปรรูปเป็นของฝาก ผลจากการทดลองตลาดในระยะเวลา 3 เดือน สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 90 คน สร้างรายได้หมุนเวียนกิจการราว ๆ 40,000 บาท ต่อรอบการเปิดบริการ

 

  • Karen Design: ใช้งานดีไซน์ผ้าทอกะเหรี่ยง แก้ปัญหาปากท้อง-ลดการเผาป่าชุมชน กิจการที่นำภูมิปัญญาการทอผ้าแบบกะเหรี่ยงสไตล์ ของคนในชุมชน อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน มาสร้างอาชีพที่มีรายได้มากกว่าการเผาป่าเพื่อปลูกข้าวโพด พร้อมนำซังข้าวโพดมาเปลี่ยนเป็นงานคราฟต์ อาทิ โคมไฟในหลากหลายรูปแบบ โดยผลจากการทดลองตลาด 3 เดือนสามารถสร้างรายได้รวมกว่า 2 แสนบาท

“บ้านปู มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพให้กับเหล่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีใจเปี่ยมไปด้วยแพสชันให้สามารถทำกิจการเพื่อสังคมในฝันให้เกิดขึ้นจริงได้ ตลอด 13 ปีที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนไปมากกว่า 130 กิจการ สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 187 แห่ง ครอบคลุมผู้ได้รับผลประโยชน์กว่า 2.5 ล้านคน” นายรัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

Page 1 of 20
X

Right Click

No right click