กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับรางวัล “องค์กรที่มีผลงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นประจำปี 2567 ระดับแพลตินัม” เป็นครั้งที่ 5 นับเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และนายวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เป็นผู้รับมอบรางวัลจาก มร. โรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และมี มร. ไซมอน เดนนี่ กรรมการบริหารหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย และผู้ประสานงานคณะกรรมการ Corporate Social Impact ร่วมแสดงความยินดี ณ โรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
รางวัล AMCHAM Corporate Social Impact Awards จัดขึ้นทุกปีเพื่อยกย่องบริษัทสมาชิกหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานด้านธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม โดย Dow เน้นการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ผลักดันการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ใส่ใจดูแลชุมชนรอบข้าง และส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน และได้รับรางวัล “ระดับแพลตินัม” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Dow ในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมผ่านการทำธุรกิจและกิจกรรมที่มีคุณค่าและต่อเนื่องในประเทศไทย
กรุงเทพฯ – 26 พฤศจิกายน 2567 - กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) รับรางวัล “องค์กรที่มีผลงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นประจำปี 2567 ระดับแพลตินัม” เป็นครั้งที่ 5 นับเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และนายวิชาญ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการฝ่ายขายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เป็นผู้รับมอบรางวัลจาก มร. โรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และมี มร. ไซมอน เดนนี่ กรรมการบริหารหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย และผู้ประสานงานคณะกรรมการ Corporate Social Impact ร่วมแสดงความยินดี ณ โรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
รางวัล AMCHAM Corporate Social Impact Awards จัดขึ้นทุกปีเพื่อยกย่องบริษัทสมาชิกหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานด้านธุรกิจควบคู่กับการดูแลสังคม โดย Dow เน้นการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ผลักดันการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ใส่ใจดูแลชุมชนรอบข้าง และส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ จึงได้รับการยกย่องให้เป็นองค์กรที่มีความ
รับผิดชอบต่อสังคมดีเด่นเป็นปีที่ 14 ติดต่อกัน และได้รับรางวัล “ระดับแพลตินัม” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Dow ในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมผ่านการทำธุรกิจและกิจกรรมที่มีคุณค่าและต่อเนื่องในประเทศไทย
ดาว (Dow) ในฐานะผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และการผลิตซิลิโคนของโลก ผงาดขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ (New Energy Vehicle) ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนด้านนวัตกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกลยุทธ์การดำเนินการของดาวแล้ว ยังเป็นพันธกิจของ Dow ที่มุ่งมั่นส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2566 ที่ผ่านมา โดยมีรถยนต์พลังงานใหม่จากจีนเข้ามาตีตลาดเป็นจำนวนมาก ข้อมูลจากสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมรถยนต์หลายแห่งระบุว่า นับถึงเดือนพฤษภาคม 2567 แบรนด์รถยนต์พลังงานใหม่ที่มีชื่อเสียงจากจีนต่างเข้ามาตั้งฐานการผลิต ลงทุนสร้างโรงงาน หรือเริ่มไลน์การผลิตมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายอันดับหนึ่งของการลงทุนดังกล่าว ตามมาด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยอาจเนื่องมาจากประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (NEVPC) ขึ้นในปี 2563 กำหนดวิสัยทัศน์ปี 2578 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ยุคใหม่ที่ไม่ปล่อยมลพิษ และนวัตกรรมโมเดลธุรกิจเพื่อสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร
ภายใต้บริบทใหม่ของการเดินทางและการขนส่งที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าดังกล่าว Dow ซึ่งสั่งสมประสบการณ์ด้านวัสดุศาสตร์มายาวนานกว่า 120 ปี จึงมีบทบาทสำคัญในการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันสำหรับวัสดุ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ตามแบบฐาน หรือ OEMs (original equipment manufacturers) ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ให้สามารถเอาชนะความท้าทายในการผลิตสินค้าด้านความปลอดภัย ระบบการตอบสนอง และระบบไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างยั่งยืน โดย Dow มีความร่วมมือกับคู่ค้าที่ต่างๆ เพื่อเร่งการพัฒนานวัตกรรมให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในภูมิภาค
โดยล่าสุด Dow ได้นำเสนอโซลูชันการจัดการความร้อนและการป้องกัน ที่ช่วยปกป้องระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (Advanced Driver Assistance Systems - ADAS) และระบบแบตเตอรี่ รวมถึงสนับสนุนระบบชาร์จเร็วที่สถานีชาร์จไฟฟ้า โดยมีตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ เช่น LuxSense™ หนังซิลิโคนภายใต้แบรนด์ “ลักส์เซนส์” (silicone synthetic leather) และซิลิโคนเคลือบยางรถยนต์ปิดผนึกรอยรั่วได้เอง (self-sealing silicone) ที่เป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เพิ่มประสิทธิภาพของส่วนประกอบ ADAS
เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการความปลอดภัยและรถยนต์ที่มีความชาญฉลาดยิ่งขึ้น จึงมีการนำ ADAS มาใช้เพิ่มขึ้น โดยผู้ผลิตกำหนดมาตรฐานที่สูงขึ้นในกระบวนการประกอบรถยนต์ ทั้งในด้านความเที่ยงตรง (linearity) ความไว (sensitivity) การทำซ้ำ (repeatability) การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (quick response) ความละเอียด (resolution) และความเสถียร (stability) ดังนั้น ตัวเลือกวัสดุจึงมีผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ADAS ซึ่ง Dow ได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์การจัดการความร้อน DOWSIL™ ซึ่งมีระดับการนำความร้อนในหลายระดับให้เลือกได้ตามความต้องการ
นอกเหนือจากการจัดการความร้อนแล้ว Dow ยังมีโซลูชันซิลิโคนประสิทธิภาพสูงสำหรับการป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ป้องกันการรั่วซึม และการปกป้องเฉพาะทางสำหรับ ADAS โดยโซลูชันเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถพัฒนาออกแบบระบบเซ็นเซอร์รุ่นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
สร้างเกราะป้องกันสำหรับแบตเตอรี่
ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เช่น Thermal Runaway หรืออาการที่แบตเตอรี่ร้อนและบวม จนทำให้เสียหรืออาจทำให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งเป็นปัญหาด้านความปลอดภัยที่สำคัญ Dow จึงได้พัฒนา DOWSIL™ ซึ่งเป็นวัสดุซิลิโคนขั้นสูงของดาวที่ถูกออกแบบเพื่อการป้องกันไฟไหม้จากแบตเตอรี่ โดยมีความเสถียรด้านความร้อนและความไวไฟต่ำ วัสดุเหล่านี้ได้รับออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อเสริมความทนทานและอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มีหลากหลายรูปแบบและคุณสมบัติ
ขณะเดียวกัน Dow ยังมีชุดวัสดุ สถานที่ทดสอบสถานการณ์จำลอง และการทดสอบประสิทธิภาพในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตแบตเตอรี่และ OEMs ในการเลือกวัสดุที่เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแบตเตอรี่
ขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีชาร์จเร็ว
ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีความกังวลเกี่ยวกับระยะทางขับขี่และแบตเตอรี่ที่อาจหมดระหว่างทาง (range anxiety) และให้ความสนใจกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระยะการขับขี่ อย่างไรก็ตาม กระบวนการชาร์จแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังมีความท้าทาย เพราะโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เพียงพอ นอกจากนั้น ยังมีความต้องการอัปเกรดสถานีชาร์จเป็นระบบชาร์จเร็วที่ต้องการการจ่ายพลังงานสูงและการระบายความร้อนอย่างรวดเร็ว และมีความทนทาน Dow จึงได้พัฒนาประสิทธิภาพของซิลิโคนในด้านการนำความร้อน การกันรั่ว และการประกอบรถยนต์ รวมถึงฉนวนและการนำความร้อน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ DOWSIL™ เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายเหล่านี้
บรรลุเป้าหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ด้วยนวัตกรรม
Dow มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยน "การพัฒนาที่ยั่งยืน" ให้กลายเป็นความจริงทางธุรกิจผ่านการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและความพยายามที่ไม่หยุดยั้ง บริษัทได้บุกเบิกพัฒนาโซลูชั่นด้านเครื่องหนังจากวัสดุซิลิโคน และซิลิโคนเคลือบยางรถยนต์ปิดผนึกรอยรั่วได้เอง (self-sealing silicone) เช่น
LuxSense™ หนังซิลิโคนภายใต้แบรนด์ “ลักส์เซนส์” เป็นวัสดุชั้นนำระดับสูงของโลกที่ได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงเบาะและสิ่งตกแต่งภายในรถ วัสดุนี้มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มสบาย ทำความสะอาดง่าย มีกลิ่นกลางๆ ทนทานต่อการใช้งาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปล่อยคาร์บอนต่ำ
SILASTIC™ ซิลิโคนเคลือบกันยางรั่ว เป็นโซลูชันรุ่นบุกเบิกระดับสากล ที่เคลือบซิลิโคนบนชั้นยางด้านใน เมื่อยางมีรอยรั่วชั้นซิลิโคนจะทำหน้าที่ผนึกรอยรั่วได้ด้วยตัวเอง และรักษาประสิทธิภาพการทำงานตามปกติของยางไว้ นวัตกรรมนี้ช่วยส่งเสริมการลดการใช้หนัง ลดการปล่อยคาร์บอน และสนับสนุนการผลิตที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ Dow ได้นำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมตลอดอายุการใช้งานรถยนต์ ตั้งแต่การออกแบบและการพัฒนา ไปจนถึงการผลิต การใช้งาน และการรีไซเคิล โดยคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในทุกขั้นตอน โครงการวิจัยและพัฒนาของ Dow มากกว่า 80% เป็นการผลิตโดยปกป้องสภาพภูมิอากาศ สนับสนุรนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการพัฒนาวัสดุอย่างปลอดภัย โดยมีเป้าหมายคือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิต่อปี 5 ล้านตันภายในปี 2573 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เดินหน้าโครงการต้านโลกร้อนและส่งเสริมวงจรรีไรเซิลอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับประกาศเกียรติคุณโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก หรือ Low Emission Support Scheme (LESS) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างระบบนิเวศของการจัดการขยะและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโลกร้อน ก้าวสู่องค์กรที่จะลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และสร้างมูลค่าพลาสติกใช้แล้วให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573
โครงการต้านโลกร้อนและส่งเสริมวงจรรีไรเซิลที่ได้รับการรับรองจาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ ได้แก่ 1. โครงการศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (บ้านฉาง MRF) 2. โครงการปรับเปลี่ยนรถตู้โดยสารภายในบริษัทจากยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานพาหนะไฟฟ้า 3. โครงการ “เก็บ...เซฟ...โลก” ในป่าชายเลนและวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล และ 4. โครงการจัดการขยะรีไซเคิลภายในบริษัทฯ รวมช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 140 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
สำหรับศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร (บ้านฉาง MRF) เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะพลาสติกและวัสดุรีไซเคิลในชุมชนบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทยสำหรับการคัดแยกและยกระดับคุณภาพวัสดุรีไซเคิลเหลือใช้ในชุมชนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีฝีมือคนไทย สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิล โดยมีการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ตั้งเป้าแก้ปัญหาพลาสติกใช้แล้วและวัสดุรีไซเคิลในหลุมฝังกลบเพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลในแต่ละปีกว่า 1,000 ตัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 2,400 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
นอกจากนี้ Dow ยังได้ปรับเปลี่ยนรถตู้โดยสารภายในบริษัทฯ จากยานพาหนะเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง เป็นยานพาหนะไฟฟ้าด้วยจำนวนที่นั่งเท่าเดิมและรับส่งพนักงานได้ครบถ้วนในระยะทางเท่ากัน โดยตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าพลังงานเชื้อเพลิงได้กว่า 102,000 บาทแล้ว ยังลดมลพิษทางอากาศ เสียงรบกวน ก๊าซเรือนกระจกได้อีกกว่า 9 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และยังคงดำเนินการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
นายเอกสิทธิ์ ลัคนานิธิพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายธุรกิจร่วมทุน กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “การได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเรา ในการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ทั้งในและนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนไม่เพียงแต่สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ แต่ยังส่งผลดีต่อชุมชนและประเทศชาติ การลดปริมาณขยะและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นให้กับชุมชน นอกจากนี้ การสร้างงานและรายได้ให้กับคนในพื้นที่ยังช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เราจะยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป”
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ยังได้รับการรางวัลต่าง ๆ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อย่างต่อเนื่อง อาทิ การรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products) ฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction) คาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) รวมถึงการแต่งตั้งบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิของบริษัทฯ ให้เป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการที่ได้รับการรับรองจาก อบก. ในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในหรือก่อนปี ค.ศ. 2065 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Dow ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก หรือ Packaging Innovation Awards (PIA) ครั้งที่ 35 โดยมีบรรจุภัณฑ์จากบริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ซึ่งผลงานทั้งหมดที่ได้รับรางวัลถูกจัดแสดงสู่สายตาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบ และผู้ที่สนใจด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบเทรนด์โลกปัจจุบันกว่า 300,000 คน เมื่อวันที่ 23-25 ตุลาคมที่ผ่านมาในงานเเสดงสินค้าบรรจุภัณฑ์นานาชาติโตเกียว (Tokyo Pack 2024)
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั่วโลก 18 ท่าน ที่มีความรู้กว้างขวางในหลากหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ได้ประชุมคัดเลือกผู้เข้ารอบสุดท้ายกันที่กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นในเอเชียเป็นครั้งแรก ด้วยจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้าประกวดกว่า 300 ผลงานจากทั่วโลก จากนั้นได้คัดเลือกผู้ชนะ 28 รายที่มีความโดดเด่นใน 3 หลักเกณฑ์สำคัญ ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แสดงออกถึงความรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค โดยได้จัดพิธีมอบรางวัลที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการนานาชาติโตเกียว Tokyo Big Sight
บริษัท สตาร์ปริ๊นท์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย ได้คิดค้นผลงาน “กล่องบรรจุภัณฑ์ของ Macada สำหรับถั่วแมคคาเดเมีย” ที่ออกแบบครอบคลุมการใช้งานตามหลัก Universal Design (การออกแบบเพื่อทุกคน) โดยมีการเพิ่มตัวอักษรเบรลล์ที่จุดเปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา และใช้ซิปเปอร์เพื่อให้ผู้สูงอายุและทุกคนสามารถเปิดกล่องได้ง่ายขึ้น แผงด้านหน้าสามารถขยายได้เพื่อใช้เป็นภาชนะทิ้งเปลือกแมคคาเดเมีย บรรจุภัณฑ์มีการซีลสุญญากาศจึงช่วยรักษาคุณภาพของสินค้า กล่องทำจากกระดาษที่รีไซเคิลได้ 100% สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ใช้หมึกถั่วเหลืองในการพิมพ์ซึ่งปลอดภัยต่ออาหาร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เป็นผู้ประกอบการไทยรายเดียวที่ได้รับรางวัลแพลตินัม (Platinum award winner) ในปีนี้
นางคาเรน เอส คาร์เตอร์ ประธานฝ่ายธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวว่า “ผลงานในปีนี้สะท้อนถึงความก้าวหน้าของนวัตกรรมและความสำเร็จที่สะสมมาจากการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในระดับโลก ผลงานที่ได้รับรางวัลมีความหลากหลายและยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นวัสดุขั้นสูงที่ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการออกแบบที่ช่วยลดขยะบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมหาศาล นวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของอุตสาหกรรมในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน รางวัลนี้ไม่เพียงเฉลิมฉลองความสำเร็จในปัจจุบัน แต่ยังเป็นเวทีสำหรับความก้าวหน้าในอนาคตในวงการบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก”
นายบัมบัง จันดรา รองประธานฝ่ายธุรกิจภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจบรรจุภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษของ Dow กล่าวเพิ่มเติมว่า “ด้วยบทบาทของเอเชียในฐานะศูนย์กลางการผลิตของโลก การจัดงานมอบรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรกถือเป็นก้าวสำคัญ และได้รับการตอบสนองอย่างดีเยี่ยมจากภาคอุตสาหกรรมด้วยผลงานที่ส่งเข้าประกวดเกือบครึ่งหนึ่งมาจากเอเชีย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของภูมิภาคนี้ในการกำหนดอนาคตของบรรจุภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมในวัสดุศาสตร์ การคิดเชิงออกแบบ และความยั่งยืน”
นายเดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัล PIA ครั้งที่ 35 และผู้อำนวยการด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท มินเทล จำกัด กล่าวเสริมว่า “หลังจากนั่งเป็นกรรมการตัดสินมานานกว่าสิบปี สิ่งที่น่ายินดีที่สุดคือการได้เห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการมอบรางวัลให้กับผลงานใหม่ต่าง ๆ อย่างเช่นรางวัลพิเศษสำหรับตลาดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการบุกเบิกบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเพียงชนิดเดียวเพื่อให้รีไซเคิลได้ (mono-material) นี่เป็นข้อพิสูจน์ถึงภูมิทัศน์ระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าไอเดียใหม่ ๆ สามารถกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมลูกค้าของเราได้จริง ๆ”
ท่านสามารถดูรายละเอียดผลงานผู้ชนะรางวัลเพิ่มเติมได้ที่นี่ โดยรายชื่อผู้ได้รับรางวัล 28 ทีม ประกอบด้วย
ผู้ชนะรางวัลไดมอนด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลแพลตินัม:
รายชื่อผู้ได้รางวัลโกลด์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลซิลเวอร์:
รายชื่อผู้ได้รางวัลพิเศษ: