November 23, 2024

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027 

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ “Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ  

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย 

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว 

อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีความสำคัญกับประเทศไทย ซึ่งล่าสุดไทยได้ก้าวขึ้นมาอยู่อันดับที่ 12 ของผู้ส่งออกอาหารของโลก จากข้อมูลของ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ที่รายงานว่า ในปี 2566 ยอดการส่งออกสินค้าอาหารของไทย มีอัตราเติบโตถึง 3.2% คิดเป็นมูลค่า 1.31 ล้านล้านบาท ส่วนสถานการณ์การส่งออกอาหารในอนาคตมีมูลค่าราว 1 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.2% ของอาหารทั้งหมด และคาดว่าในปี 2567 จะมีแนวโน้มที่ดีและคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องด้วย

และด้วยอานิสงส์การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารนี้เอง ที่ทำให้อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ หรือแพคเกจจิ้ง มีอัตราการเติบโตควบคู่ไปด้วย ทำให้ในปัจจุบันมีการวางแนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจกับทุกรายละเอียด ตั้งแต่การออกแบบและการเลือกใช้วัตถุดิบที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายง่าย การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป รวมถึงการต่อยอดไปถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)

ในวันนี้ จึงกล่าวได้ว่าทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ของไทยได้หมุนไปตามเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับภารกิจ Net Zero Emissions และเทรนด์ความยั่งยืน ดังที่เกริ่นมานี้อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่อให้เห็นภาพที่กล่าวมานี้อย่างชัดเจนขึ้น ต้องขอยกตัวอย่างการสร้างสรรค์โซลูชันนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Innovative Solutions for Sustainability ของบริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ผู้ผลิตและให้บริการบรรจุภัณฑ์ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งโซลูชันนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของ SCGP นี้ เปิดตัวแล้วในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่ผ่านมา โดยได้รับความสนใจและเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภครุ่นใหม่จำนวนมาก

คุณเอกราช นิโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กิจการบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูง และ Enterprise Marketing Director บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงโซลูชันนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Innovative Solutions for Sustainability ของ SCGP ว่า  “สำหรับผู้ผลิตสินค้าในยุคนี้ บรรจุภัณฑ์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เพื่อบรรจุสินค้า แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของการสร้างประสบการณ์ผู้บริโภค ลูกค้าต้องการบรรจุภัณฑ์ที่สร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำและสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่ได้รับ และยิ่งในยุคนี้ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันของลูกค้าอย่างสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยในการบรรจุอาหารเพื่อบริโภคด้วย”

“SCGP จึงตั้งใจนำเสนอ โซลูชันนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน แก่ลูกค้าและธุรกิจ จากมุมมองของผู้ผลิตที่ใส่ใจรอบด้าน เพื่อตอบโจทย์องค์รวมของห่วงโซ่คุณค่าของบรรจุภัณฑ์ (Packaging Value Chain) กับการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความโดดเด่นให้กับสินค้าของลูกค้า ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในกระบวนการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรขั้นสูง ทำให้สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าทุกระดับขณะเดียวกัน SCGP ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายตัวได้ หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้”

จากแนวทางที่ชัดเจนนี้เองที่นำมาสู่การออกแบบโซลูชันนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Innovative Solutions for Sustainability ที่ได้มาเปิดตัวในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2024 โดย คุณเอกราช ได้หยิบเอาไฮไลต์ของ “นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์” ภายใต้แบรนด์ SCGP มาบอกเล่าให้ฟังว่า

"ในงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2024 เราได้นำเสนอนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ของ SCGP ที่มีความหลากหลาย สอดรับกับเทรนด์และตอบโจทย์ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเราพร้อมเป็นคู่ธุรกิจที่ร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศร่วมกัน"

และตัวอย่างโซลูชันนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายในงานปีนี้ของ SCGP ได้แก่

  • บรรจุภัณฑ์อาหารประเภท Foodservice จาก Fest by SCGP ที่ตอบโจทย์ความต้องการและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น Fest Fresh Pak (Frozen) นวัตกรรมถาดกระดาษสำหรับเนื้อสัตว์แช่แข็ง สามารถใช้งานได้ในอุณหภูมิต่ำถึง -40 องศาเซลเซียส โดยที่บรรจุภัณฑ์ยังคงความแข็งแรงตลอดกระบวนการบรรจุและการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ผลิตจากวัตถุดิบหมุนเวียนที่สามารถปลูกใหม่ทดแทนได้อย่างน้อย 94%
  • บรรจุภัณฑ์กระดาษ จาก SCGP ที่มีการนำเสนอโซลูชันช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ เช่น Heat seal-able paper บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible packaging) ผลิตจากกระดาษที่มีคุณสมบัติปิดผนึกได้ด้วยความร้อน สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เป็นทางเลือกของผู้ประกอบการที่ต้องการใช้บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัว (Flexible packaging) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่รีไซเคิลได้ง่าย หรือทำมาจากวัสดุรีไซเคิล จาก SCGP เช่น บรรจุภัณฑ์ R1+ นวัตกรรม Mono-material flexible packaging ที่ผลิตจากพลาสติกเพียงชนิดเดียว สามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่าย และยังคงคุณภาพและความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งาน บรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของอากาศและความชื้น ที่ช่วยปกป้องสินค้าประเภทอาหารได้ดี

นอกจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์หลากหลายประเภทที่ตอบสนองการใช้งานได้อย่างครอบคลุมแล้ว ภายในงาน THAIFEX – ANUGA ASIA 2024 ยังมีโซลูชันด้าน Healthcare จาก SCGP ที่ช่วยควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตอาหาร และตรวจสอบอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ PATHfinder – Microbiology Contaminants ชุดน้ำยาตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารและน้ำ และนวัตกรรมที่ต่อยอดจากความเชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของ SCGP ที่สามารถผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างแบรนด์ ALMIND by SCGP ผลิตภัณฑ์สำหรับคุณแม่และลูกน้อย ที่มีความปลอดภัย อ่อนโยน ผ่านการรับรองจากหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านผิวหนัง

ที่สุดแล้ว คุณเอกราช ได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายสำคัญที่ SCGP ต้องการจะขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นในอนาคต ในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจว่า

“เป้าหมายหลักในการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์และโซลูชันด้านต่าง ๆ ในอนาคตของ SCGP จะสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ และยังมุ่งเน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายตัวได้ หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยในปี 2566 สัดส่วนปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิล ใช้ซ้ำ หรือสลายตัวได้อยู่ที่ 99.7% ซึ่ง SCGP ยังคงมุ่งมั่นก้าวต่อไปในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อมุ่งสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด 100% ที่สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือสลายตัวได้ ภายในปี 2573 ต่อไป

X

Right Click

No right click