Element Payment Solutions เปิดสำนักงานใหม่ในจาการ์ตา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านโซลูชันการชำระเงินในเอเชียแปซิฟิก
Element Payment Solutions (EPS) ได้เปิดสำนักงานแห่งใหม่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางสำหรับการนำเสนอโซลูชันการชำระเงินที่ทันสมัยและสร้างความร่วมมือกับสถาบันการเงินท้องถิ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดดิจิทัล
สำนักงานใหม่ของ EPS ตั้งอยู่ที่ The Plaza Office Tower ใจกลางกรุงจาการ์ตา ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางสำคัญในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซีย คุณเซยิดราฮัท อาห์มัด กรรมการผู้จัดการ EPS กล่าวถึงวิสัยทัศน์ในการขยายธุรกิจในตลาดที่มีศักยภาพสูงอย่างอินโดนีเซีย พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเติบโตของการชำระเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) ในภูมิภาคนี้
นอกจากนี้ EPS ยังได้บริจาคเงินจำนวน 15,000,000 รูเปียห์ให้กับมูลนิธิ Yayasan Panti Asuhan Thariiqul Jannah ซึ่งดูแลเด็กกำพร้าและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของบริษัท แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการตอบแทนชุมชนที่ EPS ดำเนินธุรกิจอยู่
คุณเซยิดราฮัทยังกล่าวเพิ่มเติมว่า "แนวโน้มการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและเอเชียแปซิฟิกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet), ธนาคารดิจิทัล และการชำระเงินผ่านแอปได้รับความนิยมสูงขึ้น การสนับสนุนจากเทคโนโลยีและนโยบายรัฐบาลยิ่งทำให้ภูมิภาคนี้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำด้านการชำระเงินดิจิทัล"
การเปิดสำนักงานในอินโดนีเซียเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การขยายตัวของ EPS โดยบริษัทได้ตั้งสำนักงานใน 7 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึง มาเลเซีย ปากีสถาน ลาว เมียนมา กัมพูชา และสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย ทำให้ EPS ยิ่งแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนการชำระเงินดิจิทัลทั่วภูมิภาค.
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง และดร.ธนวันต์ สินธุนาวา นายกสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การขับเคลื่อนสถานศึกษาคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โครงการ Energy Mind Award Season 2 ระหว่าง MEA และสมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) พร้อมมอบรางวัลกิจกรรมการประกวดคลิปสั้นหัวข้อ "การอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โครงการ Energy Mind Award Season 2 " โดยมี นายสมบัติ จันทร์กระจ่าง รองผู้ว่าการ MEA เป็นผู้มอบรางวัล
นอกจากนี้ MEA เปิดสตูดิโอให้เยาวชนเยี่ยมชมการทำงานเบื้องหลังถ่ายทำผลิตรายการ และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าชิดลมที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทันสมัยในการควบคุมระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า ระบบ SCADA/EMS/DMS (Supervisory Control and Data Acquisition/Energy Management System/Distribution Management System) ใช้ในการตรวจสอบสถานะของการจ่ายกระแสไฟฟ้า วิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า การทำงานของระบบควบคุมไฟฟ้า ช่วยให้การบริหารจัดการควบคุมแรงดันและการจ่ายกระแสไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ณ การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต
ผู้ว่าการ MEA กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยพัฒนาสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมนักเรียนให้เป็นเยาวชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นนักเรียนแกนนำด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังและสร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง เปิดเผยในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา MEA ครบรอบ 66 ปี วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ ว่า MEA ได้จัดกิจกรรม ครบรอบ 66 ปี สู่เส้นทางการเป็นองค์กรพลังงานที่ยั่งยืน “66th Year : To be Sustainable Energy Utility” โดยมีรูปแบบการจัดงานที่ออกแบบโดยคำนึงถึงแนวคิดการเป็นองค์กรลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งตกแต่งสถานที่ด้วยวัสดุที่ไม่สร้างขยะ จัดโซนนิทรรศการวันดินโลก แสดงความสำคัญของดิน “ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุข อย่างยั่งยืน” พร้อมร่วมบริจาคเงินให้กับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียร จำนวน 328,700 บาท และมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน 378,800 บาท รวมถึงผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมสนับสนุนสินค้าจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน MEA ได้ดำเนินกิจการด้วยความตระหนักต่อประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ MEA GO (Green Organization) สร้างความตระหนักให้แก่พนักงานในการใส่ใจด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ผ่านกิจกรรม Zero waste การนำขยะที่สามารถนำไปแปลงเป็นพลังงาน (Waste to energy) การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) การจัดประชุมที่มีการคำนึงถึงการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Green Meeting) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารของ MEA เพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โครงการ Pickup Retrofit นำรถยนต์เก่ามาทดสอบดัดแปลงแทนที่ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้งานภายใน MEA ช่วยลดมลพิษ PM 2.5 ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในระดับสากล และเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (MEA Organization) ภายในปี 2570 ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านงานบริการให้เข้าถึงและตอบโจทย์ประชาชาชนมากยิ่งขึ้นตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ด้วยระบบการให้บริการออนไลน์ ลดการเดินทางมาติดต่อ ณ ที่ทำการ รวมถึงโครงการ MEA e-Bill ที่รณรงค์ลดการใช้เอกสารกระดาษ ไปแล้วกว่า 12 ล้านแผ่นต่อปี
ในด้านระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้าของ MEA ยังคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาด้านสิ่งแวดล้อม จากการรื้อถอนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพจำนวนมาก โดย MEA ได้ริเริ่มกระบวนการ upcycle ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า (Insulators) ที่หมดอายุการใช้งาน ให้นำไปใช้งานในหลายรูปแบบ อาทิ การนำไปบดหยาบเพื่อทำวัสดุกันลื่นบนถนน (Anti skid road ceramic particles) สำหรับลูกถ้วยที่บดละเอียด สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นรองดูดซึมน้ำประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้นำมาทดสอบนำร่องการใช้งานภายในองค์กร ก่อนขยายพื้นที่การใช้งานไปยังเครือข่ายพันธมิตรและชุมชนอื่น ๆ ส่วนเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนจากโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ได้มาปักเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และชายฝั่งย่านบางขุนเทียน รวมระยะทางกว่า 2,500 เมตร พร้อมสนับสนุนการดำเนินการปลูกป่าชายเลนและดูแลบำรุงรักษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2547 – ปัจจุบัน จนสัมฤทธิ์ผลเกิดเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหลังแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 380 ไร่
สำหรับด้านระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า MEA เป็นรัฐวิสาหกิจหน่วยงานแรกที่นำรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มาใช้ในกิจการ และได้นำเทคโนโลยีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในองค์กรกว่า 10 ปี มีการต่อยอดสร้างนวัตกรรม PLUG ME EV ระบบอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะกับพื้นที่อาคารสำนักงาน หรืออาคารชุดที่ต้องการรองรับผู้ใช้งานรถ EV จำนวนมาก ช่วยลดต้นทุนกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า AC ทั่วไปในท้องตลาด รวมถึงการจัดทำตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่มีความปลอดภัย และเที่ยงตรง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค หรือ Charge Sure by MEA รวมถึงดำเนินโครงการที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่การใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบัน MEA รับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จำนวน 13,735 ราย คิดเป็นกำลังผลิตกว่า 238 เมกะวัตต์ และมีการติดตั้งระบบ Solar Cell ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมเป็นจำนวนกว่า 84 เมกะวัตต์ ทั้งหมดนี้ ช่วยส่งผลลดคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 190,000 tonCo2/ปี
เพื่อมุ่งสู่การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าสูงสุด MEA ยังมีโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชน ภายใต้โครงการ MEA Energy Mind Award ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2550 เพื่อปลูกฝังให้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากร และเยาวชนในสถานศึกษาต่าง ๆ สร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย ในส่วนของผู้ประกอบการ โครงการ MEA Energy Award เป็นโครงการที่มอบรางวัลให้กับอาคารในประเภทต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด “ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพอากาศได้มาตรฐาน” ซึ่งได้ดำเนินโครงการปีที่ 7 มีอาคารผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานของ MEA ไปแล้วทั้งสิ้น 313 แห่ง ช่วยให้เกิดผลประหยัด 46.33 ล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่า 180.93 ล้านบาทต่อปี ลดคาร์บอนไดออกไซด์ 26,589 tonCo2 ต่อปี ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการที่ MEA กำหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2593 และ กำหนดเป้าหมาย Net Zero Emission การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2608 ดำเนินการขับเคลื่อนจากภายในองค์กรขยายไปสู่ภายนอก และเดินหน้าผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ตามนโยบายของรัฐบาลในอนาคตต่อไป
MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โครงการ Energy Mind Award Season 2 ประจำปี 2567 ณ ห้องเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานเพลินจิต โดยการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนในครั้งนี้ เป็นการยกระดับความเข้าใจต่อการดำเนินงานตามรูปแบบและมาตรฐานของโครงการฯ โดยมีสถานศึกษาให้ความสนใจและเข้าร่วมโครงการฯ ในปีนี้ จำนวน 81 แห่ง ซึ่งสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างถูกวิธีและเป็นระบบ การวางแผนและจัดทำในเรื่องอนุรักษ์พลังงานในสถานศึกษาเพื่อยกระดับให้เป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยจะนำนักเรียนทั้งหมด 324 คน ไปเรียนรู้ ณ ศูนย์รวมตะวัน จ.กาญจนบุรี จำนวน 4 รุ่น
รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2567
รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567
รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2567
รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2567
MEA ในฐานะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ที่ดูแลระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ยังให้ความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และในปี 2567 นี้ MEA ได้ดำเนินงานโครงการ Energy Mind Award Season 2 โดยมีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยพัฒนาสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สร้างเสริมนักเรียนให้เป็นเยาวชนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเป็นนักเรียนแกนนำด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังและสร้างเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจสีเขียว (Green Youth) ส่งมอบสู่สังคมไทย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป
จากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด (12 ต.ค. 2565) พบว่า ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ 33 จังหวัดของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ "น้ำท่วม" โดยหลายพื้นที่ต้องประสบกับสถานการณ์อุทกภัยอย่างหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เล็งเห็นถึงความยากลำบากทั้งด้านความเป็นอยู่และด้านอาหารของพี่น้องประชาชน จึงระดมสรรพกำลังช่วยเหลือคนไทยอย่างเร่งด่วน ใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการมอบเสบียงอาหารและน้ำดื่ม ในโครงการ "CPF ส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม" ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน โดยมีชาวซีพีเอฟจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน
สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวซีพีเอฟจิตอาสาได้ร่วมส่งอาหารจากใจ สู้ภัยน้ำท่วม แก่พี่น้องชาวอุบลราชธานี โดย นายวุฒิชัย ประชุมพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ นายเอราวัณ ก้อนคำใหญ่ ผู้บริหารอาวุโส งานพัฒนาความยั่งยืนหน่วยธุรกิจ ร่วมกับผู้บริหารธุรกิจไก่ไข่ พร้อมเหล่าพนักงานซีพีเอฟและบริษัทในเครือ ร่วมแรงร่วมใจส่งมอบผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูป 200 กิโลกรัม และไข่ไก่ซีพี 15,000 ฟอง แก่ นางปิยาภรณ์ ปุยะตานนท์ ประธานกลุ่มอาสาดุสิต และเครือข่ายกู้ภัย เพื่อสนับสนุนภารกิจของกลุ่มอาสาดุสิต ที่ได้จัดทีมเข้าช่วยเหลือในสถาณการณ์น้ำท่วม และจัดตั้งโรงครัวสำหรับปรุงอาหารมอบให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
ด้านพื้นที่ภาคเหนือ ธุรกิจสุกรภาคเหนือตอนล่าง โดยทีมงานอาสาฟาร์มศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ลงพื้นที่นำอาหารพร้อมรับประทาน 200 กล่อง น้ำดื่ม 1,200 ขวด เนื้อสุกร 100 กิโลกรัม และข้าวสาร 2 กระสอบ ถึงมือพี่น้องชาวศรีเทพ โดยมี นางณัชพิมพ์ บุญโชติ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เขตอำเภอศรีเทพ พร้อมด้วยข้าราชการทหาร ร่วมกันผู้รับมอบ และกล่าวขอบคุณชาวซีพีเอฟฟาร์มศรีเทพที่มาร่วมด้วยช่วยกันบรรเทาความเดือดร้อน พร้อมเคียงข้างเป็นกำลังใจให้ชาวศรีเทพได้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน
ขณะที่ภาคกลางซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเช่นกัน นายพิรุณศักดิ์ วงศ์ชาลี ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจไก่ไข่ ร่วมกับเพื่อนพนักงานจิตอาสา โรงงานคัดไข่และแปรรูปไข่บ้านนา จ.นครนายก รุดช่วยพี่น้องชาวตำบลทองหลาง อ.บ้านนา จ.นคร ด้วยการส่งมอบไข่ไก่สดซีพี 6,000 ฟอง แก่ นายประวิทย์ รุ่งเรือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมคลายความทุกข์แก่ประชาชนอย่างเร่งด่วน
ทางด้าน นายสหชัย แจ่มประสิทธิ์สกุล นายอำเภอกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พร้อมด้วย นายประเสริฐ ก้อนสันทัด ปศุสัตว์อำเภอกบินทร์บุรี รับมอบไข่ไก่ซีพี 2,190 ฟอง ที่ทีมงานซีพีเอฟจิตอาสา ร่วมกับตัวแทนฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่และโรงฟักไข่ ธุรกิจไก่พันธุ์ 2 (กทม.) ส่งมอบเพื่อนำไปช่วยเหลือชาวกบินทร์บุรี โดยนายอำเภอกบินทร์บุรี กล่าวขอบคุณในน้ำใจและความห่วงใยที่ชาวซีพีเอฟมอบให้กับชาวกบินทร์บุรีเสมอมา และขอให้ช่วยเหลือดูแลกันเช่นนี้ตลอดไป
นอกจากซีพีเอฟจะเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบแล้ว ในส่วนของเพื่อนพนักงานและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเช่นกัน ทางหน่วยเคลื่อนที่เร็วทีมงานจิตอาสาโรงงานผลิตอาหารสัตว์ซีพีเอฟ ต่างเร่งลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังเช่นกัน โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์ธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี นำโดย นายไพฑูรย์ บัวเงิน ผู้จัดการฝ่ายคลังสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมจิตอาสาต่างร่วมแรงร่วมใจเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนพนักงานที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมอย่างทันท่วงที โดยได้เร่งเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุและขนย้ายสิ่งของไปอยู่ในส่วนที่ปลอดภัย
ขณะเดียวกัน โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค จังหวัดสระบุรี นำโดย นายวรพล เจียมอ่อน ผู้บริหาร CSR และชมรมบำเพ็ญประโยชน์ BPF (เพื่อนช่วยเพื่อน) ร่วมกันส่งมอบน้ำดื่มซีพี มอบแก่เพื่อนพนักงานในพื้นที่ต.จำปา อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุทธยา ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จากนั้นพนักงานได้อาสานำน้ำดื่มไปส่งต่อให้กับเพื่อนบ้านในชุมชนเพื่อช่วยผ่อนคลายความเดือดร้อน โดยเฉพาะในจุดที่ทีมบำเพ็ญประโยชน์ของภาครัฐและเอกชนเข้าไม่ถึง
สำหรับพื้นที่ 23 จังหวัดทั่วประเทศ ที่ซีพีเอฟส่งมอบความห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก ขอนแก่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร นครราชสีมา มหาสารคาม เลย สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี พิจิตร พิษณุโลก และกรุงเทพฯ ในเขตบางนาและมีนบุรี จนถึงวันนี้ ซีพีเอฟยังคงร่วมใจช่วยเหลือประชาชนอย่างถึงที่สุด เพื่อให้ทุกคนได้ก้าวต่อไป คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน./