สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คาดการณ์ทิศทางความยั่งยืนของภาคธุรกิจไทย ปี 67 ตอกย้ำเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่กลายเป็นเงื่อนไขทางธุรกิจสู่อนาคต เสมือนเป็น License to Earn หรือใบอนุญาตรับผลตอบแทนของธุรกิจที่จำเป็นต้องมีในระยะยาว

กระแสเรื่อง ESG ที่แต่เดิม ถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ได้ถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันได้กลายเป็นคำสามัญที่นำมาใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในวงกว้าง นอกเหนือจากที่ใช้สื่อสารกับกลุ่มผู้ลงทุนแรกเริ่ม

จากมุมมองเดิมต่อเรื่อง ESG ที่กิจการส่วนใหญ่ เห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการความเสี่ยง มาสู่การใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจสำหรับรองรับโอกาสที่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่หลายกิจการเริ่มเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ ทั้งการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) จากการใช้ประโยชน์ในประเด็นด้าน ESG ที่สอดคล้องกับบริบทของกิจการ

ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทางความยั่งยืน ปี 2567 ที่จัดขึ้นวันนี้ (27 กุมภาพันธ์ 2567) ว่า “ทิศทาง ESG ในปีนี้ จะเป็นการเดินหน้าดำเนินงานในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล สำหรับกิจการที่เห็นประโยชน์เป็นรูปธรรม ซึ่งเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ดี ก็จะมีความเชื่อมั่น และผลักดันการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นผลกระทบที่ดีทั้งกับกิจการและผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักกับการลงทุนที่ยั่งยืน ในลักษณะ “Who cares earns” (ยิ่งใส่ใจ ยิ่งได้รับ)”

โดยกิจการที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ย่อมสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในหลายระดับ คือ ในระดับแรก สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรวม ‘ได้รับ’ ประโยชน์จากการที่ธุรกิจใส่ใจดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ในระดับต่อมา กิจการจะมีโอกาส ‘ได้รับ’ รายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น จากการใช้ประเด็น ESG สร้างการเติบโตและเพิ่มผลิตภาพ และในระดับท้ายสุด ผู้ลงทุนควรจะ ‘ได้รับ’ ผลตอบแทนทั้งกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) และเงินปันผลที่สูงขึ้นจากการลงทุนในกิจการที่ ‘ใส่ใจ’ เรื่อง ESG

ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ประมวล 3 กลยุทธ์ ESG เพื่อให้กิจการใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืน ประกอบด้วย Chance: หาโอกาสในมิติเศรษฐกิจ Choice: สร้างทางเลือกในมิติสังคม Change: เปลี่ยนแปลงในมิติสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการประเมินทิศทางความยั่งยืน ปี 2567 ใน 6 ทิศทางสำคัญ ได้แก่ 1) ESG -> License to Earn 2) One Report -> Double Materiality 3) Net Zero -> Scope 3 Emissions 4) Weaker Governance -> Greener Washing 5) Real Bottom Line -> Nature Profit 6) Sustainability Disclosure -> External Assurance สำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ประเด็นด้าน ESG ในการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่าง ๆ ได้แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทของกิจการ เพื่อให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิผล

ในงานแถลงทิศทางความยั่งยืนปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ยังได้จัดให้มีการเสวนาเรื่อง ESG Premium: Care to Earn แนะนำเครื่องมือวัดมูลค่าความยั่งยืนของกิจการ ที่ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณเสริมการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพื่อเพิ่มมิติข้อมูลแก่ผู้ลงทุนที่ใช้ปัจจัยด้าน ESG สำหรับประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม

นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “เครื่องมือ ESG Premium จะใช้ข้อมูล ESG Score ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ มาดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับข้อมูล ESG Portion ที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อหาส่วนล้ำทางมูลค่า (Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของแต่ละหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากการใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในกระบวนการวิเคราะห์ตัดสินใจลงทุนแล้ว ยังใช้เป็นตัวช่วยในการติดตามตรวจสอบการลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนของกองทุนรวมเพื่อความยั่งยืนสอดคล้องกับหลักการด้านความยั่งยืนตามที่สากลยอมรับ รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่ให้ภาพเชิงลึกกว่าการอ้างอิงดัชนีชี้วัดที่มีองค์ประกอบเป็นหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน”

นายฌานสิทธิ์ ยอดพฤติการณ์ กรรมการสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวเสริมว่า “การประเมินมูลค่าความยั่งยืนของกิจการด้วยเครื่องมือ ESG Premium มีส่วนสำคัญในการช่วยให้กิจการเข้าใจและทราบถึงช่องว่าง (Gap) เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้าน ESG ขององค์กร ที่สะท้อนมูลค่าความยั่งยืนของกิจการผ่านสมรรถนะการดำเนินงาน (ESG Performance) สู่ส่วนล้ำทางมูลค่า (ESG Premium) ในผลตอบแทนจากการลงทุนของกิจการ”

บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ ESG Premium สถาบันไทยพัฒน์ ได้เปิดรับองค์กรนำร่อง (Pilot Organizations) ที่ต้องการยกระดับสมรรถนะการดำเนินงานด้าน ESG ของกิจการ สู่การสร้างส่วนล้ำทางมูลค่าจากปัจจัย ESG โดยองค์กรที่สนใจสามารถแสดงความจำนงเข้าร่วมได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ และ Specialty Polymer ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์

นายขันธ์ชัย วิจักขณะ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 2 (2565-66)

บริษัทให้ความสำคัญในนโยบายความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง BCG, ESG รวมถึงแคมเปญ NET ZERO รักษ์โลก โดยการส่งเสริมสนับสนุนใช้ปูนซิเมนต์ไฮโดรลิก ทดแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากการผลิตปูนซิเมนต์ไฮดรอลิกใช้สัดส่วนปูนเม็ดน้อยกว่า จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า ดังนั้น เมื่อนำปูนซิเมนต์ไฮดรอลิกมาเป็นวัตถุดิบสำหรับงานก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตราฐาน  LEED และ TREES จึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อน  นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป กลุ่มบริษัทมีนโยบายผลิตสินค้าที่มีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) ซึ่งประกอบด้วย ปูนเม็ด (Green Clinker) ปูนซิเมนต์ (Green Cement) ไฟเบอร์ซิเมนต์ (Green Fiber Cement) และกระเบื้องหลังคาคอนกรีต (Green CRT) โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมุ่งใช้วัตถุดิบทดแทน เชื้อเพลิงทดแทน และไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้

ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ 100% ทั้งนี้ บริษัทจัดเป็นโรงกำจัดขยะรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นโรงกำจัดขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 4 (2561 และ 2564-66)

บริษัทมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินที่ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 220 เมกะวัตต์ มาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทน 100% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ทั้งนี้ในปี 2565 บริษัทได้นำขยะชุมชนมาทำการคัดแยกเป็นเชื้อเพลิงทดแทน แทนการนำขยะชุมชนไปฝังกลบ ได้เป็นจำนวนกว่า 2.73  ล้านตัน ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบสู่บรรยากาศได้ จำนวนสูงถึง 6.34 ล้านตัน CO2  เทียบเท่า นอกเหนือจากใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงขยะแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการเติบโตในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้

ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

พร้อมเผยรายชื่อหุ้น ESG Turnaround ดันผลประกอบการพลิกฟื้น เป็นปีแรก

บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และผู้ดำเนินการและลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2565 โดยสถาบันไทยพัฒน์

นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2565 ด้วยการคัดเลือกจาก 851 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร (Resources) ในรอบการประเมินปี 2565 โดย BCPG เป็นบริษัทที่เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 Company ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (ปี 2561-2565)

การที่ บริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในทำเนียบ ESG100 ในปีนี้ มาจากการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหลักสำคัญที่บริษัทฯ ยึดปฏิบัติมาอย่างยาวนาน และจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดซับคาร์บอน พร้อมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน

สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่แปดในปีนี้

ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป

Page 1 of 8
X

Right Click

No right click