บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ 100% ทั้งนี้ บริษัทจัดเป็นโรงกำจัดขยะรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นโรงกำจัดขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 4 (2561 และ 2564-66)
บริษัทมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินที่ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 220 เมกะวัตต์ มาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทน 100% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ทั้งนี้ในปี 2565 บริษัทได้นำขยะชุมชนมาทำการคัดแยกเป็นเชื้อเพลิงทดแทน แทนการนำขยะชุมชนไปฝังกลบ ได้เป็นจำนวนกว่า 2.73 ล้านตัน ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบสู่บรรยากาศได้ จำนวนสูงถึง 6.34 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า นอกเหนือจากใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงขยะแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการเติบโตในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้
ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และผู้ดำเนินการและลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2565 โดยสถาบันไทยพัฒน์
นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2565 ด้วยการคัดเลือกจาก 851 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร (Resources) ในรอบการประเมินปี 2565 โดย BCPG เป็นบริษัทที่เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 Company ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (ปี 2561-2565)
การที่ บริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในทำเนียบ ESG100 ในปีนี้ มาจากการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหลักสำคัญที่บริษัทฯ ยึดปฏิบัติมาอย่างยาวนาน และจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดซับคาร์บอน พร้อมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่แปดในปีนี้
ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
สถาบันไทยพัฒน์ จัดพิธีมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน หรือ Sustainability Disclosure ประจำปี 2565 มีองค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ (Award) 56 แห่ง ประกาศเกียรติคุณ (Recognition) 43 แห่ง และกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) 22 แห่ง รวมทั้งสิ้น 121 รางวัล
นายวรณัฐ เพียรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการประกาศรางวัลที่จัดขึ้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมของประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Community: SDC) เนื่องในงานมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2565 ที่จัดขึ้นวันนี้ (21 ธันวาคม 2565) ว่า “รางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนและองค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของ SDC ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หรือประเด็นด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน ซึ่งแสดงถึงความยั่งยืนของธุรกิจ อันจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ และการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12.6 ร่วมกัน”
โดยการมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ในปี 2565 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทรางวัล ได้แก่ Sustainability Disclosure Award มีองค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ จำนวน 56 แห่ง Sustainability Disclosure Recognition มีองค์กรที่ได้รับประกาศเกียรติคุณ จำนวน 43 แห่ง และ Sustainability Disclosure Acknowledgement มีองค์กรที่ได้รับกิตติกรรมประกาศ จำนวน 22 แห่ง ตามลำดับ
สำหรับการพิจารณาตัดสินรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ใช้เกณฑ์ 3 ด้าน ที่อ้างอิงจาก Ceres-ACCA[1] ประกอบด้วย ด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ของเนื้อหา น้ำหนักคะแนน 45% ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) ของเนื้อหา น้ำหนักคะแนน 35% ด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) เนื้อหา น้ำหนักคะแนน 20% ตามลำดับ
ทั้งนี้ สถาบันไทยพัฒน์ คัดเลือกบริษัทที่ได้รับรางวัล โดยพิจารณาจากข้อมูลความยั่งยืนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ อาทิ รายงานแห่งความยั่งยืน หรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมบูรณาการในรายงานประจำปี หรือรายงานในรูปแบบอื่น ทั้งที่เป็นรูปเล่มรายงาน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ อินโฟกราฟิก ฯลฯ โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม
สำหรับกิจกรรมการมอบรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2565 ภายใต้ประชาคมการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (SDC) ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 135 องค์กร นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่องค์กรที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนต่อสาธารณะแล้ว ยังต้องการเชิดชูองค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัลทั้ง 121 แห่ง ในการเข้าร่วมตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG Target 12.6 ที่ระบุให้มีการผลักดันกิจการ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับข้อปฏิบัติที่ยั่งยืนไปดำเนินการ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนเข้าไว้ในรอบการรายงานประจำปีของบริษัท
ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลขององค์กรที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณ / ประกาศเกียรติคุณ / กิตติกรรมประกาศ ในโครงการประกาศรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ประจำปี 2565 ได้ทางเว็บไซต์ https://thaipat.org
[1] CERES ย่อมาจาก Coalition for Environmentally Responsible Economies หรือแนวร่วมกลุ่มเศรษฐกิจที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ ACCA ย่อมาจาก the Association of Chartered Certified Accountants หรือสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
บริษัท จีอีพีพี สะอาด จำกัด (GEPP) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันไทยพัฒน์