ต้านโลกร้อน ลดขยะทะเลผ่าน ‘ค่ายเยาวชนรักษ์ป่าชายเลน’

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดทำ “แพลตฟอร์ม EF ปี 2567: ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย (Platform EF: Building Brains EF Together)” ซึ่งเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเด็กด้วยทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) โดยมุ่งเน้นให้ครู นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการเสวนาจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิของไทย ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เติบโตเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ขยายผลการพัฒนาพลเมืองคุณภาพที่พร้อมจะขับเคลื่อนประเทศชาติในอนาคต

ทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ส่งผลเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ความยืดหยุ่น และปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) พัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสมจากครอบครัว จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ของสังคม มีภูมิต้านทานชีวิต และป้องกันปัญหาสังคมเชิงรุก อาทิ ยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น 

รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “สถาบันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์จากการวิจัยวิชาการ รวมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สุขภาพ และปลอดภัยที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตด้วย EF ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมาย และมุ่งสู่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อเด็กและสังคมในอนาคต”

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะสมองของเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่ง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาสังคมและส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยในอนาคต เราจึงดำเนินโครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเยาวชนไทยมาตลอด 9 ปี โดยเริ่มต้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสำเร็จสู่กรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา เราจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ EF แบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสและขยายองค์ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดีและคนเก่งตามแนวทาง EF ให้กับผู้ปกครองและคุณครูทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศไทยต่อไป”

แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย จะมีกิจกรรมและการอบรมฟรีจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในรูปแบบ online และ on-site เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 หัวข้อ โดยเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1,000 คนต่อครั้ง หรือตลอดปีไม่น้อยกว่า 12,000 คนทั่วประเทศ ท่านที่สนใจสามารถสมัครเรียนฟรีผ่านระบบสมาชิกเครือข่ายของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้ หรือดูงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/275  หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม Line “แพลตฟอร์ม EF

 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) จัดทำ “แพลตฟอร์ม EF ปี 2567: ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย (Platform EF: Building Brains EF Together)” ซึ่งเป็นช่องทางการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาเด็กด้วยทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) โดยมุ่งเน้นให้ครู นักวิชาการสาธารณสุข ผู้ปกครอง และผู้สนใจทั่วไปมีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้และการเสวนาจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิของไทย 

ทักษะสมองอีเอฟ (Executive Functions) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ส่งผลเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) ความยืดหยุ่น และปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) พัฒนาได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเหมาะสมจากครอบครัว จะทำให้เด็กเติบโตขึ้นเป็น ‘คนดี’ และ ‘คนเก่ง’ ของสังคม มีภูมิต้านทานชีวิต และป้องกันปัญหาสังคมเชิงรุก อาทิ ยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น

รศ. นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “สถาบันมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความร่วมมือในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อนำไปสู่สังคมที่เป็นธรรมและยั่งยืน ผ่านการใช้ประโยชน์จากการวิจัยวิชาการ รวมทั้งสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สุขภาพ และปลอดภัยที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้างและขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคมทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการวางนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตด้วย EF ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้เด็กมีการควบคุมอารมณ์ ความคิด และการกระทำที่เป็นไปตามเป้าหมาย และมุ่งสู่พฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อเด็กและสังคมในอนาคต”

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทวิทยาศาสตร์ที่มีความเชื่อมั่นในการพัฒนาทักษะสมองของเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่ง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันปัญหาสังคมและส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของคนไทยในอนาคต เราจึงดำเนินโครงการ ดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อพัฒนาสมองส่วนหน้าของเยาวชนไทยมาตลอด 9 ปี โดยเริ่มต้นที่จังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2559 และขยายผลสำเร็จสู่กรุงเทพมหานครในปีที่ผ่านมา เราจึงมีความยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนร่วมกับสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการจัดทำแพลตฟอร์มการเรียนรู้ EF แบบออนไลน์ เพื่อเปิดโอกาสและขยายองค์ความรู้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานให้เป็นคนดีและคนเก่งตามแนวทาง EF ให้กับผู้ปกครองและคุณครูทั่วประเทศที่สนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศไทยต่อไป”

แพลตฟอร์ม EF ปี 2567 ร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมอง EF เด็กไทย จะมีกิจกรรมและการอบรมฟรีจากนักวิขาการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในรูปแบบ online และ on-site เดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 หัวข้อ โดยเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ EF สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 1,000 คนต่อครั้ง หรือตลอดปีไม่น้อยกว่า 12,000 คนทั่วประเทศ ท่านที่สนใจสามารถสมัครเรียนฟรีผ่านระบบสมาชิกเครือข่ายของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้ หรือดูงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/275 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่ม Line “แพลตฟอร์ม EF”

พร้อมท้าชิงในระดับนานาชาติ สร้างเส้นทางสู่อนาคตแห่งนวัตกรรม

กูรูระดับโลกเผยอุตสาหกรรมเคมีจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่จะตามมา แม้ว่าอุตสาหกรรมเคมีในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้จะเผชิญความท้าทาย แต่ก็มีโอกาสทางธุรกิจและโอกาสในการเติบโตอีกมหาศาลที่รออยู่

เมื่อเร็วๆ นี้ นายราฟาเอล กายูเอล่า นักเศรษฐศาสตร์ และ ประธาน European Chemical Association (CEFIC) Strategy Mid Century Project และผู้เขียนหนังสือ “The Future of the Chemical Industry by 2050” กล่าวกับผู้ร่วมสัมมนาระหว่างการบรรยาย Global Perspective: Challenges and Opportunities for Business from the Net Zero” ในงานสัมมนา “The Fast Track to Net Zero” จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ซึ่งเป็นผู้นำด้านวัสดุศาสตร์และอุตสาหกรรมเคมีระดับโลก

นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการลดคาร์บอน (Decarbonization) ไม่ใช่ประเด็นทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และสามารถสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้จริง

นายกายูเอล่าอธิบายว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลดคาร์บอนและการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนมีการเติบโตสูงอยู่แล้ว เช่น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเติบโตปีละ 50% ขณะที่ธุรกิจผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกเติบโตประมาณ 85% ส่วนธุรกิจการเงินการลุงทุนที่ยั่งยืน และอีกหลายอุตสาหกรรมก็เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเคมีสะท้อนความสำเร็จของทุกคน

เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนจำนวนมหาศาลมาจากอุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมนี้คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

“อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนถึง 77% ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ 80% ในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน ยานยนต์ อาหาร แฟชั่น และบรรจุภัณฑ์ ดังนั้น หากต้องการลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ อุตสาหกรรมเคมีคือกุญแจของการปฏิรูปสำหรับทุกอุตสาหกรรมใน Value Chain ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเคมีจึงหมายถึงความสำเร็จของมวลมนุษยชาติด้วย”

นายกายูเอล่า ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเคมีสรุปทิ้งท้ายว่า อุตสาหกรรมเคมีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างนวัตกรรมสำคัญในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ต่อเนื่องมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในปัจจุบัน ที่อุตสาหกรรมเคมีจะฟื้นฟูสมดุลระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ รวมถึงร่วมสร้างและออกแบบอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

รับมือความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม

นายกายูเอล่าย้ำว่า อุตสาหกรรมเคมีกำลังเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตภายใต้กระบวนการหมุนเวียนมากขึ้น และบางส่วนผลิตภายใต้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเต็มรูปแบบแล้ว อีกทั้งมีการใช้วัสดุที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด

“เรากำลังก้าวสู่การค้นพบใหม่ๆ และการออกแบบเพื่อความยั่งยืน เมื่อเรานำทุกอย่างมารวมกัน ก็จะเป็นโอกาสการเติบโตครั้งยิ่งใหญ่ของโมเดลธุรกิจนี้ จึงขึ้นอยู่กับเราทุกคนที่จะร่วมมือกันเพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปล่อยคาร์บอนเหลือศูนย์คือกุญแจความสำเร็จในอนาคต

นายกายูเอล่า กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศ ที่สามารถบริหารจัดการคาร์บอนได้ดีจะเป็นผู้ชนะในอนาคต ในขณะที่หากใครไม่สามารถบริหารจัดการและขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านนี้ได้ ก็จะหายไปจากวงการ

ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของหลายประเทศ เช่น ชาติสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกาและประเทศจีน ได้ประกาศคำมั่นสัญญาครั้งสำคัญ คือ ตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral nation) ให้ได้ในปี ค.ศ. 2050 ส่วนจีนตั้งเป้าหมายไว้ที่ปี ค.ศ. 2060

นายกายูเอล่ามีความเห็นว่า ปัจจุบันกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยคาร์บอนเริ่มขับเคลื่อนจากด้านอุปทานมาครอบคลุมด้านอุปสงค์ด้วย อีกทั้งโดยพื้นฐานแล้ว ผู้บริโภคจะมีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและสร้างความต้องการ รวมถึงสร้างตลาดพรีเมี่ยมสำหรับสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งบริษัทผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนตามทิศทางนี้ได้ ก็จะได้รับประโยชน์ ส่วนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำได้ ก็จะเสียเปรียบและไม่ได้รับการยอมรับ

European Green Deal เพื่อเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และลดการปล่อยมลพิษ

นายกายูเอล่า กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ และพลังขับเคลื่อนที่สำคัญคือ ยุโรปได้ออก European Green Deal” เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อรับมือกับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่มีรายละเอียดครอบคลุมมากที่สุดฉบับหนึ่งของโลก โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“จะได้เห็นว่า (ภายใต้ European Green Deal) มีการตรากฎหมายทุกรูปแบบที่ส่งเสริมและเร่งการปฏิรูปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 และลดการปล่อยคาร์บอนลง 55% ภายในปี ค.ศ. 2030”

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click