ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช โฮเทล (LHHOTEL) กองทรัสต์ที่ลงทุนในสิทธิการเช่าโรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ เทอร์มินอล 21, ราชดำริ, สุขุมวิท 55, พัทยา และสเปซ พัทยา ได้รับคัดเลือกให้เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เข้าอยู่ในกลุ่มบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน หรือ ESG Emerging List ปี 2567
สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศให้ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แอล เอช โฮเทล (LHHOTEL) เป็นหนึ่งในรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging ปี 2567 ด้วยการคัดเลือกจาก 920 หลักทรัพย์จดทะเบียน โดยใช้ข้อมูลด้าน ESG ที่ปรากฏในการเปิดเผยข้อมูล การดำเนินงานที่สะท้อนปัจจัยด้าน ESG และความริเริ่มหรือลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวโยงกับประเด็นด้าน ESG ของกิจการ
นายหลาย กวง-ฮัว และนายถาน ชื่อ-ผิง กรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัดในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ LHHOTEL เปิดเผยว่า “บริษัทจัดการกองทุน ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ มีแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมที่คำนึงถึงการประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม โดยมีการควบคุมภายในและระเบียบปฏิบัติของบริษัทจัดการ รวมถึงกำหนดให้มี Compliance Manual ที่ระบุถึงจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมีหลักความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) และหลักความระมัดระวัง (Duty of Care) กฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน ระเบียบและวิธีปฏิบัติในการทำธุรกิจจัดการกองทรัสต์ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกองทรัสต์ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การดูแลข้อมูลที่สำคัญ และการดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของลูกค้า และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอ”
ปัจจุบัน LHHOTEL ถือเป็นกองทรัสต์กลุ่มโรงแรมที่มีขนาดสินทรัพย์รวม และมูลค่าตามราคาตลาดสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ทั้งนี้ การจัดอันดับหลักทรัพย์ที่น่าลงทุนในกลุ่ม ESG Emerging พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่กันในกระบวนการประเมิน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และในกลุ่มหลักทรัพย์ ESG Emerging เป็นครั้งแรกในปี 2563
การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจในกลุ่มบริษัทวิถียั่งยืนที่น่าลงทุน หรือ ESG Emerging List ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ คอนกรีตผสมเสร็จ และ Specialty Polymer ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์
นายขันธ์ชัย วิจักขณะ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (TPIPL) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 2 (2565-66)
บริษัทให้ความสำคัญในนโยบายความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง BCG, ESG รวมถึงแคมเปญ NET ZERO รักษ์โลก โดยการส่งเสริมสนับสนุนใช้ปูนซิเมนต์ไฮโดรลิก ทดแทนปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากการผลิตปูนซิเมนต์ไฮดรอลิกใช้สัดส่วนปูนเม็ดน้อยกว่า จึงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า ดังนั้น เมื่อนำปูนซิเมนต์ไฮดรอลิกมาเป็นวัตถุดิบสำหรับงานก่อสร้างอาคารเขียวตามมาตราฐาน LEED และ TREES จึงช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และลดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป กลุ่มบริษัทมีนโยบายผลิตสินค้าที่มีการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Products) ซึ่งประกอบด้วย ปูนเม็ด (Green Clinker) ปูนซิเมนต์ (Green Cement) ไฟเบอร์ซิเมนต์ (Green Fiber Cement) และกระเบื้องหลังคาคอนกรีต (Green CRT) โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมุ่งใช้วัตถุดิบทดแทน เชื้อเพลิงทดแทน และไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้
ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงขยะ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง และโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ 100% ทั้งนี้ บริษัทจัดเป็นโรงกำจัดขยะรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นโรงกำจัดขยะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่แห่งเดียวกันที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ES100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2566 โดยสถาบันไทยพัฒน์
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) (TPIPP) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2566 ด้วยการคัดเลือกจาก 888 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร และบริษัทเข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 ได้เป็นปีที่ 4 (2561 และ 2564-66)
บริษัทมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินที่ดำเนินการทั้งหมด จำนวน 220 เมกะวัตต์ มาใช้เชื้อเพลิงขยะทดแทน 100% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ทั้งนี้ในปี 2565 บริษัทได้นำขยะชุมชนมาทำการคัดแยกเป็นเชื้อเพลิงทดแทน แทนการนำขยะชุมชนไปฝังกลบ ได้เป็นจำนวนกว่า 2.73 ล้านตัน ทำให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการฝังกลบสู่บรรยากาศได้ จำนวนสูงถึง 6.34 ล้านตัน CO2 เทียบเท่า นอกเหนือจากใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงขยะแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการเติบโตในธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่เก้าในปีนี้
ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และผู้ดำเนินการและลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในบริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance: ESG) จากการประเมินหลักทรัพย์จดทะเบียน ในปี พ.ศ.2565 โดยสถาบันไทยพัฒน์
นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) (BCPG) เปิดเผยว่า สถาบันไทยพัฒน์ประกาศให้ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ติดอันดับ ESG100 ประจำปี 2565 ด้วยการคัดเลือกจาก 851 หลักทรัพย์จดทะเบียน ให้เป็นบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล (ESG) ในกลุ่มทรัพยากร (Resources) ในรอบการประเมินปี 2565 โดย BCPG เป็นบริษัทที่เข้าอยู่ในทำเนียบ ESG100 Company ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 (ปี 2561-2565)
การที่ บริษัทฯ ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในทำเนียบ ESG100 ในปีนี้ มาจากการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหลักสำคัญที่บริษัทฯ ยึดปฏิบัติมาอย่างยาวนาน และจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน กลุ่มบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดซับคาร์บอน พร้อมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ การจัดอันดับของสถาบันไทยพัฒน์ พิจารณาข้อมูลจากการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน
สำหรับสถาบันไทยพัฒน์ เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจ ได้เปิดเผยรายชื่อหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน ESG จำนวน 100 บริษัท หรือที่เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี 2558 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่แปดในปีนี้
ขณะที่ การจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนด้านการพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจนี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน เพื่อรองรับความต้องการของผู้ลงทุนที่ให้น้ำหนักการลงทุนในบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และเป็นทางเลือกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีคุณภาพและได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ (ขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) รับรางวัลเกียรติคุณ Sustainability Disclosure Award ในงานประกาศผลรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน (Sustainability Disclosure Award) ประจำปี 2565 จากนายวรณัฐ เพียรธรรม (ซ้าย) ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ซึ่งพิจารณามอบให้แก่องค์กรสมาชิกเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sustainability Disclosure Community) ที่ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน ครอบคลุมการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันเป็นประโยชน์สูงสุดแก่สาธารณชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับการเปิดเผยข้อมูลและการพัฒนาองค์กรแห่งความยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงมีส่วนร่วมในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565