November 09, 2024

นายหลี่ เผิง รองประธานอาวุโสและประธานฝ่ายขายและบริการเทคโนโลยีไอซีทีของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “หนุนศักยภาพ 5G-A เพื่อเปิดศักราชใหม่ของการจัดการประสบการณ์” ณ มหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก MWC Shanghai 2024 เขาเชื่อว่าการผนึกกำลังระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายและพันธมิตรชั้นนำระดับโลก ส่งผลให้การพัฒนาเครือข่าย บริการ และอีโคซิสเต็มพร้อมรองรับการขยายตัวของ 5G-A เชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมต้องคว้าโอกาสจาก “อุปสงค์และอุปทานที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด” เร่งการผสานขีดความสามารถและทดลองนวัตกรรมใหม่เพื่อก้าวสู่ศักราชใหม่ของการจัดการประสบการณ์

นายหลี่ เผิง กล่าวว่า “ในขณะที่เราเผชิญหน้ากับยุคทองของเทคโนโลยี AI บนมือถือ (Mobile AI) ผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถมอบประสบการณ์บริการที่แตกต่างเฉพาะบุคคลแก่ลูกค้า และกระตุ้นความต้องการที่เป็นไปได้ผ่านการบูรณาการระหว่างเครือข่าย คลาวด์ และระบบอัจฉริยะ และในขณะเดียวกัน พวกเขาสามารถเร่งสร้างนวัตกรรมของโมเดลธุรกิจจากมิติเดียวไปสู่การจัดการโมเดลธุรกิจแบบหลายมิติ เปลี่ยนจากการจัดการการรับส่งข้อมูลเป็นการจัดการประสบการณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการบริการและพัฒนาอุตสาหกรรมให้ก้าวไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยี AI บนมือถือ”

นายหลี่ เผิง เน้นย้ำว่าบริการที่เหนือระดับจะนำไปสู่การสร้างอุปสงค์ใหม่ เช่น การพัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ในช่วงทศวรรษ 1970 สายการบินเริ่มเปิดศักราชใหม่ด้านการจัดการประสบการณ์ภายในอุตสาหกรรมการบิน โดยเปิดให้บริการโซนที่นั่งโดยสารให้เลือกหลายระดับ เช่น ที่นั่งชั้นธุรกิจและชั้นเฟิร์สคลาส และเปิดตัวบริการสำหรับความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น ห้องรับรองวีไอพีที่ให้บริการโดยสายการบินหรือองค์กรบุคคลที่สาม ในอดีต อุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายพัฒนาอย่างก้าวกระโดดผ่านนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านรูปแบบธุรกิจ ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายต้องเร่งจัดหา “อุปทานด้านนวัตกรรม” เพื่อคว้าโอกาสเติบโตผ่านวิวัฒนาการเทคโนโลยี 5G-A และการพัฒนา “เครือข่ายอัจฉริยะบนระบบคลาวด์” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และคว้าโอกาสทองจากอุตสาหกรรมที่กำลังรุดหน้า เพื่อสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

นายเอริค จ้าว รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดโซลูชันไร้สายของหัวเว่ย เปิดเผยแผนการนำ AI ยกระดับประสิทธิภาพเครือข่าย ในการปราศรัยหัวข้อเทคโนโลยี 5G-A และ AI ณ มหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก Mobile World Congress Shanghai 2024 (MWC Shanghai 2024) ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน การยกระดับมุ่งเน้นการบ่มเพาะอีโคซิสเต็ม RAN Intelligent Agent ร่วมกับผู้ให้บริการเพื่อยกระดับขีดความสามารถของเครือข่าย ซึ่งในระยะแรกจะครอบคลุมวิศวกรภาคสนามจำนวน 1,000 คน และไซต์ 10,000 แห่งในมณฑลหางโจว, นครกวางโจว, กรุงเทพมหานคร, นครจีนาน และนครเซินเจิ้นภายในระยะเวลาครึ่งปี

ด้วยความทุ่มเทจากทุกภาคส่วนตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคโทรคมนาคมได้เห็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G-A จากการทำให้วิสัยทัศน์ได้กลายเป็นความจริง และในปี พ.ศ. 2567 ยังถือเป็นปีแรกที่มีการใช้งานเทคโนโลยี 5G-A ในเชิงพาณิชย์อีกด้วย โดยเทคโนโลยี 5G-A ได้แสดงประสิทธิภาพที่เหนือชั้น ทั้งด้านประสิทธิภาพเครือข่าย ธุรกิจ และการพัฒนาอุปกรณ์ โดยปัจจุบันเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) ที่ซับซ้อน เครือข่ายที่มีความแตกต่าง รวมถึงการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์ที่มีความหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความท้าทายดังกล่าว หัวเว่ยได้ชูกลยุทธ์นำเทคโนโลยี AI มายกระดับเครือข่ายด้วยการสร้าง RAN Intelligent Agent เพื่อพลิกโฉมเรื่องการดำเนินงานและการบำรุงรักษา ประสบการณ์การใช้งาน และการให้บริการเครือข่าย ซึ่งการนำ AI มาใช้ในเครือข่าย 5G-A จะเป็นบทพิสูจน์เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย โดย RAN Intelligent Agent ยังมีฟังก์ชัน Copilots ที่รองรับแชทบอทในบทบาทต่าง ๆ และเอเจนท์ที่รองรับโซลูชันตามสถานการณ์แบบอัตโนมัติ

การพลิกโฉมด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M): RAN Intelligent Agent เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการทำให้กระบวนการง่ายขึ้น ตัวอย่างที่เปี่ยมประสิทธิภาพคือ การที่หัวเว่ยเปิดตัวระบบผู้ช่วยวิศวกรซ่อมบำรุงภาคสนาม Copilot และนับเป็นครั้งแรกของ Copilot ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่ได้เสนอนโยบายโซลูชันแบบอัตโนมัติตามความเชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยระหว่างการทดสอบภาคสนาม ระบบจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อบกพร่องของเส้นทางระบบออฟติคได้ถึงสิบเท่า

การพลิกโฉมประสบการณ์: RAN Intelligent Agent เพิ่มประสิทธิภาพประสบการณ์การใช้งานเครือข่ายรวมถึงช่วยประหยัดพลังงานได้แบบอัตโนมัติ โดยอาศัยการตรวจจับแบบเรียลไทม์ที่มีความแม่นยำสูงในหลายมิติ ตลอดจนการสร้างและการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดและเป็นไปตามนโยบายการประหยัดพลังงาน บนพื้นที่ซึ่งประกอบด้วย 223 เซลล์ RAN Intelligent Agent ทำงานได้เสถียรเป็นเวลาหลายพันชั่วโมง ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดโดยอัตโนมัติ ในขณะที่ยังสามารถคงการใช้พลังงานให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นับเป็นครั้งแรกที่หัวเว่ยร่วมมือกับผู้ให้บริการ เปลี่ยนมาใช้งานเครือข่าย O&M แบบอัตโนมัติ

การพลิกโฉมบริการ: RAN Intelligent Agent มอบบริการที่ขับเคลื่อนผ่านประสบการณ์โดยใช้การประเมินทรัพยากรเครือข่ายแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายมอบบริการใหม่ได้ทันทีที่จำเป็น และมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์การบริการตามที่คาดหวัง โดยแพ็คเกจการรับประกันการสตรีมแบบถ่ายทอดสด 5G-A มอบประโยชน์เป็นอย่างมากต่อผู้ใช้งาน เพราะนับเป็นแพ็กเกจสตรีมมิงถ่ายทอดสดแพ็คเกจแรกของโลก ที่ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ใช้ความเร็วในการอัปโหลดที่กำหนดได้ตามต้องการเพื่อเข้าถึงลูกค้าผ่านการสตรีม ถือเป็นตัวอย่างในการสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจของผู้ให้บริการเพื่อเร่งผลักดันการสร้างรายได้

“เป้าหมายของเราคือการนำ AI มาสู่เครือข่ายต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจะเปลี่ยนจากผู้ให้บริการโซลูชันไปสู่การเป็นผู้ร่วมพัฒนาเครือข่ายอัจฉริยะ เราเชื่อว่าการเติบโตร่วมกันของเครือข่าย และ RAN Intelligent Agent จะผลักดันการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ, พลิกโฉมเครือข่ายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และนำอุตสาหกรรมของเราเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ” นายจ้าว กล่าวสรุป

ปี พ.ศ. 2567 นับเป็นปีแรกของการให้บริการ 5G-A ในเชิงพาณิชย์ และเริ่มใช้เครือข่ายออปติคอล F5G-A กิกะบิท การผสานการทำงานระหว่างระบบเครือข่าย, คลาวด์, และระบบอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะให้แพร่หลายและสร้างประสบการณ์การใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้หัวเว่ยร่วมเจาะลึกประเด็นท้าทายร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายระดับโลก, ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม, และผู้นำความคิด เช่น การขยายความสำเร็จของ 5G ในยุค 5G-A และการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของรายได้ที่เติบโตของผู้ให้บริการเครือข่ายเพื่อนำทางสู่โลกอัจฉริยะให้รุดหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

สนับสนุนอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา 12 ชุด รวมทั้งฝึกอบรมองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรของ กฟภ. ทั่วประเทศ

การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก เผยรายงาน Market Share: IT Services, Worldwide 2023 ชี้หัวเว่ยทำรายได้ขึ้นแท่นอันดับ 2 ในตลาด IaaS ของจีน และทำรายได้ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 3 ในประเทศไทย

นอกจากนี้ รายงาน Emerging Asia-Pacific Hybrid Cloud Market Report 2022 โดยฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน, องค์กรวิจัยตลาดชั้นนำ, เผยว่าหัวเว่ย คลาวด์ทำรายได้อันดับ 1 ในตลาดไฮบริดคลาวด์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2566 หัวเว่ย คลาวด์ ทำรายได้ทั่วโลกประมาณห้าหมื่นห้าพันล้านหยวน โดยรายได้จากบริการคลาวด์สาธารณะนอกประเทศจีนเติบโตเพิ่มขึ้น 110% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้หัวเว่ยเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยหัวเว่ย คลาวด์ครองตำแหน่งผู้ให้บริการคลาวด์ที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าและพาร์ทเนอร์หลากหลายองค์กรในประเทศไทย

หัวเว่ย คลาวด์ขยายขอบเขตการดำเนินงานทั่วโลกผ่านคูเวิร์ส (KooVerse) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ระดับโลก โดยมุ่งมั่นให้บริการคลาวด์ประสิทธิภาพสูงที่มอบประสบการณ์ใช้งานที่มีความเสถียรให้แก่ผู้ใช้บริการทั่วโลก หัวเว่ย คลาวด์มุ่งดำเนินการตามพันธกิจ “บริการในท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น” (In Local, For Local) และนำเสนอเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมและบริการที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้าในพื้นที่เพื่อปูทางสู่ยุคดิจิทัลสำหรับหลากหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบัน หัวเว่ย คลาวด์มีศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) 93 แห่ง พร้อมโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค (Region) 33 แห่ง มอบบริการคลาวด์เปี่ยมประสิทธิภาพให้กับลูกค้าในกว่า 170 ประเทศและดินแดนทั่วโลก

หัวเว่ยเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นับตั้งแต่การเปิดตัวหัวเว่ย คลาวด์ในไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561 บริษัทได้เปิดตัวบริการคลาวด์มากกว่า 100 รูปแบบ พัฒนาความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่นมากกว่า 300 ราย และให้บริการลูกค้าหลายพันราย หัวเว่ย คลาวด์เปิดตัวศูนย์ข้อมูล (Availability Zone – AZ) จำนวน 3 แห่งในประเทศไทย โดยศูนย์ข้อมูลล่าสุดเริ่มดำเนินการในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการดำเนินงานในประเทศไทยโดยสมบูรณ์ และรองรับการชำระเงินและการเรียกเก็บเงินในสกุลเงินท้องถิ่นอีกด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม OpenLab ในประเทศไทยเพื่อผนึกกำลังกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ มุ่งขับเคลื่อนนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่

หัวเว่ยวางรากฐานอันแข็งแกร่งในประเทศไทย เป็นเวลากว่า 25 ปี โดยมีพนักงานคนไทยเป็นจำนวน 77% ของพนักงานทั้งหมด หัวเว่ย คลาวด์ ในประเทศไทย ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์คลาวด์ในไทยกว่า 300 ราย และสตาร์ทอัพ 120 ราย เพื่อปลูกฝังอีโคซิสเต็มในท้องถิ่นที่เจริญรุดหน้า นอกจากนี้ หัวเว่ยยังผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกว่า 40 แห่ง และฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์กว่า 10,000 ราย โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์ให้ถึง 20,000 คนในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อบ่มเพาะทักษะด้านเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สานต่อโครงการดิจิทัลบัส จัดกิจกรรมแรกของปี 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ตามเป้าหมายด้านการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านดิจิทัลในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรให้ได้อีก 2,000 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6 จังหวัดทั่วประเทศไทยในปีนี้

โครงการดิจิทัลบัสครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือระหว่างหัวเว่ย ประเทศไทย กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือว่าศูนย์การศึกษาในพื้นที่ห่างไกล รองรับนักเรียนจาก 9 พื้นที่เขตหมู่บ้าน ทั้งหมด 262 คน ตั้งแต่ระดับการศึกษาชั้นอนุบาล 1 จนถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยการจัดโครงการดิจิทัลบัสร่วมกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ครั้งนี้ได้มีการปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มุ่งเน้นเรื่องการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการนำเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

หัวเว่ยได้จัดโครงการดิจิทัลบัสผ่านการร่วมมือกับโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาให้เยาวชนได้ประยุกต์ใช้กับความรู้จากสถาบันการศึกษา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และวัฒนธรรมในพื้นที่ห่างไกล จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราพบว่าประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลยังเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงพื้นที่ห่างไกลในไทยซึ่งมีการพัฒนาและขยายตัวทางเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

ทั้งนี้ หัวเว่ยตั้งเป้าหมายฝึกอบรมนักเรียนและบุคลากรในประเทศไทยจำนวน 2,000 คน ผ่านโครงการดิจิทัลบัส ในปี 2567 ครอบคลุมในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม กระบี่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครนายก และระยอง โดยโครงการในจังหวัดนครนายกและระยองเป็นความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO และเป็นการต่อยอดจากโครงการที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2566 โดยในปีนี้ หัวเว่ยยังได้ปรับหลักสูตรดิจิทัลบัสให้เข้ากับโรงเรียนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ภาคการเกษตร การนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาเกษตรกรรมในครัวเรือนให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการมอบความรู้เรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนในการป้องกันภัยที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

ดร.อภิสิทธิ์ พึ่งพร ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวถึงโครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยว่า “ผมต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่ให้การสนับสนุนเยาวชนและบุคลากรในประเทศไทยด้วยการส่งมอบองค์ความรู้ดิจิทัลผ่านโครงการดิจิทัลบัสมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนี้ยังเสริมด้วยกิจกรรมสันทนาการให้แก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 การมอบอาหารกลางวัน ร่วมปลูกต้นไม้ ปรับแต่งทัศนียภาพสถานศึกษา เป็นต้น โครงการดิจิทัลบัสถือเป็นโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจที่ดี รวมทั้งช่วยสร้างโอกาสและสร้างความฝันให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย”

ตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยได้ให้การฝึกอบรมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัด แพทย์อาสา และแรงงานท้องถิ่นรวมแล้วกว่า 4,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี สงขลา พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ นครราชสีมา พิจิตร พะเยา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และนครนายก

นอกจากนี้หัวเว่ยยังมีโครงการให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล ร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนโครงการส่วนพระองค์ฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนอุปกรณ์หน้าจออัจฉริยะ Ideahub จำนวน 24 เครื่องให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สุขศาลาพระราชทานทั่วประเทศไทย ตลอดจนโครงการนำร่อง Huawei Smart PV solution สนับสนุนโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหม่องกั๊วะ จังหวัดตาก เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงไฟฟ้าและการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการดิจิทัลบัสถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางดิจิทัลผ่านภารกิจของหัวเว่ยเรื่อง ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind)

Page 1 of 31
X

Right Click

No right click