“ตระกูลสุโกศล” เผยเคล็ดลับการบริหารธุรกิจครอบครัวของตระกูลที่สามารถผสาน “การสืบทอดธุรกิจ” (Succession) ดำเนินมาถึงรุ่นที่สาม เข้ากับ “ความหลงใหล” (Passion) แล “ตัวตน” ของสมาชิกในครอบครัวที่ล้วนเป็นศิลปิน ทว่า ในความเหมือนก็มีความต่างในแต่ละคนด้วย กระนั้น ก็ยังได้รับ “ไฟเขียว” จากคุณแม่ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัวให้ดำเนินชีวิตแบบใส่เกียร์เดินหน้าได้เต็มร้อย ในครรลอง One Life to Live แต่ก็ต้องไม่ถอยจากธุรกิจครอบครัว
กลับมาอีกครั้งกับหลักสูตร Family Business Thailand ที่ล่าสุดจัดอบรมสำหรับรุ่นที่ 2 โดยเป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ณ โรงแรมเดอะ เบย์วิว พัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อเสริมทักษะ พัฒนาเทคนิค รวมทั้งการสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่น ให้สามารถต่อยอดกิจการอย่างมั่นคงจากรุ่นสู่รุ่น และในครั้งนี้ Family Business Thailand #2 ได้รับเกียรติจากครอบครัว “สุโกศล” มาแบ่งปันสไตล์การบริหารธุรกิจครอบครัวของตระกูล นำโดย
แม้ครอบครัวสุโกศลจะมีธุรกิจในกลุ่มอย่างหลากหลายทั้งธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพฯ 2 แห่ง ได้แก่ The Sukosol, The Siam โรงแรมในพัทยา 3 แห่ง ได้แก่ Siam Bayshore, The Bayview, Wave และมีธุรกิจในเครืออื่น ๆ เช่น ร้านอาหาร เครื่องมือแพทย์ ทว่า ระหว่างเส้นทางการดำเนินธุรกิจของครอบครัวนี้พบกับความท้าทายให้ต้องรับมืออยู่ตลอด อาทิ ธุรกิจโรงแรมที่มีหนี้ยาวนาน 30 ปี แต่ก็สามารถพลิฟื้นกลับมาเป็น TOP 50 โรงแรมที่ดีที่สุดในโลก, กรณีธุรกิจเบเกอรี่ มิวสิคประสบภาวะวิกฤติ จนต้องเปิดให้ BMG เข้าร่วมทุน, ธุรกิจร้านกาแฟของดีโน่ที่ประสบปัญหาและจะถูกฟ้องร้อง แต่คุณสุกี้กลับบอกลูกชายว่า “ดี! จะได้เรียนรู้”
เนื้อเพลง Live & Learn ที่ขับร้องโดย คุณแม่ (คุณกมลา สุโกศล) ในท่อนที่ว่า
“อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิด สติเราให้ทัน”
นี่จึงไม่เรื่องเกินเลยสำหรับธุรกิจครอบครัวของตระกูลสุโกศล เพราะแม้ทุกก้าวย่างของธุรกิจจะมีคุณแม่ประคับประคองในฐานะเบอร์ 1 ของบอร์ดบริษัทฯ และเบอร์ 1 ของครอบครัว แต่ก็ยังมีความท้าทายที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย นอกเหนือความควบคุมให้ต้องเรียนรู้ ต้องยอมรับ เพื่อรับมือ เพียงแต่ต้อง “ตามความคิดสติเราให้ทัน” ดังนั้น เมื่อรุ่นเล็กอย่าง “คุณดีโน่จะมีคดีฟ้องร้องจึงเป็นประโยคที่ว่า เพื่อให้ลูกชายด้เรียนรู้นั้นล้วนเป็นประสบการณ์จากคุณสุกี้ ที่เคยเผชิญมาก่อน
สำหรับหลักการบ่มเพาะทายาททางธุรกิจครอบครัวที่มักจะพบว่า ในทางหลักการควรบ่มเพาะมาแต่เยาว์วัย และไม่ควรบังคับนั้น ทว่า ครอบครัวสุโกศลกลับเป็นแนว “ฟรีสไตล์” แต่คุณสมบัติร่วมที่ทุกคนมีเหมือนกัน คือ ความถนัดทางด้านดนตรี แต่กระนั้น คุณมาริสา ซึ่งเป็นลูกคนโตของครอบครัวก็ออกมาช่วยธุรกิจครอบครัว เพราะเห็นคุณแม่ต้องทำงานเพียงคนเดียว และเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่กำลังก่อสร้างโรงแรมขนาด 500 ห้อง
“แต่เมื่อเข้ามาทำก็เกิดความรักความเข้าใจ ความผูกพัน ความภาคภูมิใจ เกิด Passion ในงานจนกลายเป็นอาชีพไปโดยปริยาย” คุณมาริสากล่าว ซึ่งหลังจากนั้น ทายาทอีกสามคนก็มีเส้นทางความฝันของตนเอง ซึ่ง คุณกฤษดา (น้อย วงพรู) สะท้อนเส้นทางเดินของสมาชิกในครอบครัวด้วยหลักการที่ว่า Keep going, be yourself, but give it 100% (จงเดินหน้า เป็นตัวของตัวเอง และเต็มร้อย) ทว่า ที่สุดแล้วถึงจุดหนึ่งคนเหล่านี้ก็กลับมาช่วยธุรกิจครอบครัวที่ทุกคนยอมรับว่า นี่คือ ความภาคภูมิใจของครอบครัว
อย่างไรก็ตาม ด้วยความเหมือนที่ต่างก็เป็นศิลปินก็ยังมีความแตกต่างทำให้ธุรกิจครอบครัวของสุโกศลมีความต่างที่สามารผสานกันได้อย่างลงตัวบนพื้นฐานของความไว้วางใจกัน เชื่อใจกัน แม้จะมีความขัดแย้งทางความคิดกัน แต่นั่นคือ “จบตรงนั้น” แล้วก็กลับมาเป็นพี่น้องที่พูดคุยกันด้วยหัวข้อที่มีความสนใจร่วมกันอย่างดนตรี กีฬากันได้เหมือนกัน คุณมาริสากล่าวเพิ่มเติมว่า “เราอยู่ด้วยความรัก ความเข้าใจ กติกาของเราคือ ต้องชัดเจน เป็นธรรม เรามีความรักและเคารพการตัดสินใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งไม่มีใครทำงานที่ทับซ้อนกันเลย”
ทั้งนี้ บทบาทของทายาทรุ่นสอง โดยสรุป คือ
คุณกมล (สุกี้) กล่าวว่า “ตอนอายุสัก 20 กว่าๆ ผมคิดว่า ผมคงไม่มาช่วยธุรกิจครอบครัวหรอก ผมรู้แต่ว่าผมจะเล่นดนตรี แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ธุรกิจครอบครัวคืออะไรที่อยู่ “ข้างหลัง” เรา ทำให้ผมเพิ่งเข้ามาช่วยครอบครัวเมื่อ 15 ปีนี้เอง แต่ก่อนผมว่า ธุรกิจครอบครัวมักไม่ค่อยมีความชัดเจน ตอนรุ่น 2 มี 4 คนก็ยังไม่เท่าไร แต่เมื่อรุ่น 3 กลายเป็น 8 คนทำให้เราเพิ่งวางกฎเกณฑ์ 6 ข้อ ซึ่งตอนนี้โดยส่วนตัวผมแฮปปี้ เพราะชัดเจนและง่ายด้วย เช่น การกำหนดสัดส่วนเปอร์เซนต์การแบ่งโบนัส ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ชัดเจนมากๆ สวัสดิการที่ให้ในธุรกิจครอบครัว อย่างตอนที่ดีโน่ทำงานให้กลุ่มสุโกศลก็มีรถสวัสดิการให้ใช้ แต่เมื่อออกไปทำสตาร์ทอัพก็ต้องคืนรถ ผมก็ต้องซื้อรถให้ลูกใช้และเมื่อกลับเข้ามาทำงานที่โรงแรมใหม่ก็มีรถใช้อีกครั้ง แต่สำหรับประกัน หรือการศึกษาบุตรพวกเราก็จ่ายกันเอง ตรงนี้ครอบครัวเราโชคดีที่มีความสัมพันธ์บนความไว้วางใจ ทุกคนเข้ากันได้ ขณะที่บางครอบครัวอาจไม่ใช่”
ขณะที่ คุณกฤษดา (น้อย วงพรู) เสริมว่า “เราวางกฎเกณฑ์ที่มีความละเอียดทำให้ช่วยลดความขัดแย้ง ครอบครัวเราเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละคน ทำให้เราสบายใจจริงๆ ไม่ต้องหลบจุดอ่อนของตนเอง เราทะเลาะกันได้และพร้อมให้อภัยเสมอ” ส่วนคุณกฤษดา (ดีโน่) เสริมว่า “ด้วยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ และจากประสบการณ์การทำร้านกาแฟ ธุรกิจสตาร์ทอัพ ตอนนี้ก็อยากทำให้ธุรกิจโรงแรมเป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงตนเองในระยะยาว เหมือนที่คุณพ่อบอกว่า ธุรกิจโรงแรมนั้นเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่การลงทุนเพื่อทำกำไรระยะสั้น และจะรับสไตล์การบริหารธุรกิจครอบครัวแบบแท้ๆ ให้มีสไตล์การบริหารแบบองค์กรธุรกิจมากขึ้น และมีโครงสร้างมากขึ้น”
ปัจจัยความสำเร็จของกลุ่มธุรกิจสุโกศลมาจากหลายปัจจัย ทว่า ที่โดดเด่นและมีน้ำหนักมาก นั่นคือ
“อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน
อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”
เนื้อร้องท่อนนี้ของ Live & Learn ยังคงก้องกังวานและใช้ได้อีกอย่างยาวนานสำหรับธุรกิจครอบครัว “สุโกศล”
เครดิตภาพ : สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เพื่อส่งต่อธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยกลยุทธ์ “คิดให้ไกล - ไปให้เป็น – เห็นโอกาส” ทำให้ขยายฐานธุรกิจจากเดิมที่เป็น “เสือภูธร” ขายข้าวสารแค่ 3 อำเภอในจ.ชลบุรีเป็น “เสืออินเตอร์” ขยายตลาดข้าวสารไก่แจ้สู่ตลาดโลก ทำยอดขายจากกว่า 10 ล้านบาทเป็นกว่า 2,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ คุณสุนทร ธัญญวัฒนกุล ที่ปรึกษาสภาหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้งธุรกิจข้าวสารบรรจุถุงตราไก่แจ้ และ คุณ ธีรินทร์ ธัญญวัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท สุนทรธัญทรัพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวสารตราไก่แจ้ และ บริษัท เคเจ เวิลด์ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการโรงสีข้าวได้ร่วมกันเปิดเผยถึงกลยุทธ์การเติบโตของ “ข้าวสารไก่แจ้” จากการจัดเสวนาเรื่อง “กลยุทธ์การตลาดกับการเติบโตแบบธุรกิจครอบครัว” จากงาน “มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย”
ซึ่งจัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้ง FAMZ บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยได้รับเกียรติจาก คุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มาร่วมงานเสวนา
FAMZ บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย แนะผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ปลดล็อกตนเองสู่ความสำเร็จ ด้วย 5 กลยุทธ์ 3S-2L: Secret Keeper – Self Confident – Strategy – Leadership – Learning ขณะเดียวกัน ผู้อาวุโสธุรกิจครอบครัวก็ต้องเปิดใจช่วยโอบอุ้ม เป็นพี่เลี้ยงที่ดี เพื่อฝึกปรือวิทยายุทธ์ให้กับทายาท และการสืบทอดกิจการอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ผู้ก่อตั้ง FAMZ บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวชั้นนำของประเทศไทย ได้กล่าวถึงการสืบทอดปัญหาธุรกิจครอบครัวว่า
“โดยทั่วไป ผู้นำธุรกิจครอบครัวระหว่างรุ่นใหญ่ และ รุ่นต่อไปมักจะมีมุมมอง ความเห็น หรือแม้แต่สไตล์การบริหารที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่มาจากปัจจัย ทั้งจากสภาพแวดล้อมของการเติบโต ประสบการณ์ การบ่มเพาะและสถานการณ์ทางธุรกิจ นอกจากนี้ บรรยากาศภายในธุรกิจครอบครัวที่ยังคงดำเนินอยู่ ทั้งฝ่ายผู้นำรุ่นใหญ่อาจจะกังวล ร้อนใจ จนอาจมีผลกระทบกับสุขภาพ ความเครียด เนื่องจากตระหนักดีถึงการเปลี่ยนแปลงเร่งด่วนที่จำเป็นต้องทำเพื่อรักษามรดกของครอบครัวไว้ แต่อาจจะยังหาทายาทที่จะเข้ามารับช่วงต่อธุรกิจไม่ได้ และไม่รู้ว่าตนเองจะทำอะไรได้ ขณะเดียวกัน บรรยากาศจากฝ่ายทายาท ซึ่งจะต้องเป็นผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ก็มีทั้งความเบื่อหน่ายที่จะต้องรอคอยว่าเมื่อไรจะขึ้นเป็น “ตัวจริง” เสียที แต่ที่จริง การดำเนินการต่างๆ ก็ยังต้องรอการอนุมัติจากพ่อแม่หรือผู้อาวุโสในครอบครัวเสียก่อน”
เพื่อปลดล็อกความกดดัน และทำให้การสืบทอดธุรกิจครอบครัวเป็นไปได้อย่างราบรื่น รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ให้แนวทางว่า ผู้นำธุรกิจครอบครัวทุกรุ่นจำเป็นต้องเปลี่ยนกรอบความคิดและแนวทางของตนเอง ด้วยกลยุทธ์ 3S-2L : Secret Keeper – Self Confident – Strategy – Leadership – Learning โดยผู้นำธุรกิจครอบครัวที่มีอายุมากก็จะต้องวางมือจากการควบคุมและพัฒนาเป้าหมายหรือมรดกที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน เพื่อที่จะทำให้ผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่มองเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับอาชีพ การสืบทอดกิจการ และอนาคตของตนเอง
ทั้งนี้ กลยุทธ์ 3S-2L ประกอบด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัยกล่าวในตอนท้ายว่า “การเตรียมความพร้อมและการวางแผนเชิงกลยุทธ์ถือเป็นความสำคัญที่เจ้าของธุรกิจครอบครัวต้องโฟกัส เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวได้เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น ซึ่งเรามักจะพบว่า ทายาทคนรุ่นใหม่มักจะเรียนรู้จากผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นเจ้าของที่มีความกระตือรือร้น อย่างไรก็ตาม เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ผู้นำธุรกิจที่จะต้องพิจารณาทุกด้าน รวมทั้งอัตลักษณ์ของธุรกิจครอบครัว รวมทั้งประเด็น 3S-2L ซึ่งเป็นการรักษาความลับ การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง การเชื่อมโยงกับครอบครัว ความใฝ่รู้ และการอยู่ร่วมกับคนที่ไว้วางใจได้ ตลอดจนการพัฒนากลยุทธ์ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงและรักษามรดกไว้สำหรับรุ่นต่อๆ ไป”
วางตลาดแล้ว หนังสือ จากห้องครัวสู่ห้องประชุม เส้นทางธุรกิจครอบครัว
หนังสือเรื่อง “จากห้องครัวสู่ห้องประชุม เส้นทางธุรกิจครอบครัว” นำเสนอเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นศาสตร์ที่อยู่ในวงจำกัด และผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากเข้าไม่ถึงทำให้การสืบทอดกิจการของธุรกิจครอบครัวเป็นไปได้ยาก จากจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวที่สามารถส่งต่อธุรกิจถึงรุ่นที่ 4 ได้เพียง 3% เท่านั้น ทั้งที่ธุรกิจครอบครัวถือเป็นนักรบทางเศรษฐกิจที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้เกือบ 70% ของ GDP ของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้ยังนำเสนอถึงการส่งต่อธุรกิจครอบครัวที่เป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” ที่มีความละเอียดอ่อน เนื่องจากในแต่ละธุรกิจครอบครัวนั้นก็มีทั้ง “ภาคธุรกิจ” และ “ภาคครอบครัว” ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน ไปที่จะต้องคำนึงถึงในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวสามารถส่งต่อธุรกิจกันได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะประเด็นที่ธุรกิจครอบครัวควรต้องมีความเข้าใจกับการจัดโครงสร้างธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของธุรกิจและความต้องการของครอบครัว รวมทั้งประเด็นของการสืบทอดธุรกิจ ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้งการที่ครอบครัวสามารถคัดเลือกและบ่มเพาะทายาทที่เหมาะสมได้ กับประเด็นที่ทายาทไม่อยากสืบทอดธุรกิจด้วย
ที่สำคัญ เมื่อธุรกิจครอบครัวเติบโตมากขึ้น การบริหารความมั่งคั่งระหว่าง “ธุรกิจ - ครอบครัว” คือ ความจำเป็นด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นบทบาทของ “สำนักงานครอบครัว” (Family Office) ซึ่งธุรกิจครอบครัวขนาดเล็ก ขนาดกลางก็สามารถนำหลักการของธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่มาประยุกต์ใช้ได้
ด้วยมิติต่างๆ เหล่านี้หนึ่งในตัวแปรที่จะช่วยกำกับให้ธุรกิจครอบครัวมีแนวทางปฏิบัติ และกรอบข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว นั่นคือ “ธรรมนูญครอบครัว” ทว่า ในทางปฏิบัติ ธุรกิจครอบครัวไทยยังมีความรู้ความเข้าใจกับ “ธรรมนูญครอบครัว” อยู่น้อยมาก แม้ว่ามิตินี้จะเป็นการสะท้อนจิตวิญญาณ เป้าหมาย ตลอดจนเจตนารมณ์ของครอบครัวก็ตาม ซึ่งผู้อ่านก็จะได้ความรู้ หลักการเบื้องต้นเพื่อทำความเข้าใจและใช้กับ “ธรรมนูญครอบครัว” จากหนังสือเล่มนี้ อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
จากห้องครัวสู่ห้องประชุม เส้นทางธุรกิจครอบครัว จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท แฟมซ์ จำกัด จำหน่ายในราคาเล่มละ 250 บาท