January 09, 2025

 รายงาน State of Ransomware 2022 ของ Sophos ระบุ 66% ขององค์กรทั่วโลก ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์

June 21, 2022 2307

 

โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงานสำรวจภัยคุกคามจากแรนซัมแวร์ที่เกิดขึ้นจริง ในรายงาน State of Ransomware 2022 ซึ่งระบุว่า 66% ขององค์กรที่สำรวจถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 37% จากปี 2563 โดยองค์กรต้องจ่ายค่าไถ่ เพื่อเข้าถึงรหัสข้อมูลสำคัญที่ถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า หรือคิดเป็นเงินกว่า 812,360 ล้านดอลลาร์ (30 ล้านบาท) และยังเพิ่มขึ้น 3 เท่าในสัดส่วนขององค์กรที่จ่ายค่าไถ่ตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์ขึ้นไป นอกจากนี้ รายงานยังพบว่า 46% ขององค์กรที่มีการโจมตีเข้ารหัสข้อมูล ได้จ่ายค่าไถ่เพื่อรับข้อมูลกลับคืน แม้ว่าจะมีวิธีการกู้คืนข้อมูลอื่น เช่น การสำรองข้อมูล (backups) ก็ตาม 

รายงานสรุปผลกระทบของแรนซัมแวร์ที่มีต่อองค์กรขนาดกลาง 5,600 องค์กร ใน 31 ประเทศทั่วทวีปยุโรป อเมริกา เอเชียแปซิฟิกและเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยมี 965 รายที่แบ่งปันรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายค่าไถ่ให้กับแรนซัมแวร์ 

ผลสำรวจหลักจาก รายงาน State of Ransomware 2022 ครอบคลุมเหตุการณ์เกี่ยวกับแรนซัมแวร์ที่พบทั่วโลก ภายในปี 2564 รวมถึงปัญหาการประกันภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ดังต่อไปนี้: 

  • องค์กรจำนวนมากพึ่งพาการประกันภัยทางไซเบอร์เพื่อช่วยเหลือจากการโจมตีของแรนซัมแวร์ – 83% ขององค์กรขนาดกลางมีประกันภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมในกรณีที่เกิดการโจมตีจากแรนซัมแวร์ โดยกว่า 98% ของการโจมตี บริษัทประกันจะจ่ายเงินบางส่วนหรือทดแทนค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น (ซึ่งกว่า 40% ของการทกแทนครอบคลุมค่าไถ่ที่ต้องชำระ) 

โซฟอส แนะนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการช่วยองค์กรป้องกันแรนซัมแวร์และการโจมตีทางไซเบอร์ อื่น ๆ ดังนี้ 

  1. ติดตั้งและบำรุงรักษาระบบป้องกันคุณภาพสูงในทุกจุดแวดล้อมขององค์กร พร้อมตรวจสอบการควบคุมความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ ตามความต้องการขององค์กร
  2. ตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามในเชิงรุก เพื่อระบุและขจัดภัยคุกคามต่าง ๆ – หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคาม หากองค์กรมีเวลาหรือทักษะภายในไม่เพียงพอ
  3. เสริมความแข็งแกร่งของระบบไอทีโดยการค้นหาและปิดช่องโหว่ความปลอดภัยต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ที่ไม่ผ่านการอัปเดตแก้ไข เครื่องที่ไร้การป้องกัน พอร์ต RPD ที่เปิดทิ้งไว้ และอื่น ๆ ทั้งนี้ โซลูชัน Extended Detection and Response (XDR) เหมาะสมอย่างมากสำหรับจุดประสงค์นี้
  4. เตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด โดยเตรียมพร้อมต่อการเกิดเหตุคุกคามทางไซเบอร์และอัปเดตแผนอยู่เสมอ
  5. สำรองข้อมูลและฝึกกู้คืนข้อมูลจากการคุมคาม เพื่อที่จะได้สำรองข้อมูลและกลับมาดำเนินการต่อให้ได้เร็วที่สุด โดยเกิดการหยุดชะงักน้อยที่สุด
Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 22 June 2022 02:06
X

Right Click

No right click