September 16, 2024

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ตอกย้ำความมุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยด้วยพลังแห่ง Generative AI อันล้ำสมัย ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ สร้างทักษะ เสริมขีดความสามารถ และสานต่อความมั่นคง ตอกย้ำพันธกิจของไมโครซอฟท์ในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อสร้างการเติบโตและชีวิตที่ดีให้กับคนไทยและประเทศไทย 

12 เดือนที่ผ่านมา นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของไมโครซอฟท์ในประเทศไทย จากการมาเยือนของนายสัตยา นาเดลลา ที่ได้ประกาศพันธสัญญาเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตในยุค AI และคลาวด์ ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในโครงการใหม่ๆ เพื่อยกระดับประเทศไทย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน Datacenter region เพื่อขยายการให้บริการคลาวด์จากไมโครซอฟท์ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น มอบเสถียรภาพและสมรรถนะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานระดับองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งยังรองรับมาตรฐานของประเทศไทยด้านการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างครบถ้วน 

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์ เห็นโอกาสที่ AI และคลาวด์จะเข้ามายกระดับและสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคนไทยและประเทศไทย ทั้งภาคการศึกษา  
การท่องเที่ยว เกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น พันธกิจที่เราได้ประกาศออกไปเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน AI และคลาวด์  
ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นกุญแจสำคัญที่เข้ามาสร้างโอกาสให้คนไทย บริษัทไทย และประเทศไทย ประสบความสำเร็จในเวทีโลก จึงเป็นที่มาของการประกาศวิสัยทัศน์ “AI for All Thais” ด้วยเจตนารมณ์ที่จะมอบพลังและศักยภาพของ AI ให้คนไทย ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก คือ สร้างทักษะ AI เสริมขีดความสามารถให้เกิดการนำ AI ไปใช้ในวงกว้าง และสานต่อความมั่นคงเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้อย่างมั่นใจ รวมทั้งส่งเสริมอีโคซิสเท็มของ AI ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้” 

สร้างทักษะ 

เพื่อตอกย้ำความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับคนไทยอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ ไมโครซอฟท์ เตรียมเปิดตัวโครงการ ‘AI National Skill Initiative’ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนทักษะ AI ที่จำเป็นให้กับคนไทย 1 ล้านคนภายในปีหน้า ผ่านหลากหลายหลักสูตรฝึกอบรมที่เป็นหลักสูตรภาษาไทยกว่า 80% ซึ่งออกแบบให้ครอบคลุมผู้ใช้งานทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้บริหาร และนักพัฒนา เพื่อนำศักยภาพของ AI ไปประยุกต์ใช้เพิ่มความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน ตลอดจนการสร้างสรรค์นวัตกรรม AI ด้วยฝีมือคนไทย  

เสริมขีดความสามารถ 

ไมโครซอฟท์ มุ่งมั่นเสริมศักยภาพให้กับคนไทยและองค์กรไทยได้รับประโยชน์จากขุมพลังอันไร้ขีดจำกัดของ AI เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานในวงกว้างทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยในระดับบุคคล ไมโครซอฟท์ พร้อมขับเคลื่อนการใช้งาน AI ให้กับผู้ใช้ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น บุคคลทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ครูอาจารย์ นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ข้าราชการ และอีกมากมาย โดยเปิดให้ผู้ใช้เข้าถึงเครื่องมือและประสิทธิภาพของเครื่องมือและบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI อันหลากหลาย เช่น Copilot บน Windows และ Edge, Microsoft Designer บนแอปพลิเคชันและผ่านเว็บ, Cocreator และ Paint บน Windows 11, ฟีเจอร์ Reading progress ใน Microsoft Teams และ Reading immersive ใน Microsoft Words, GitHub Copilot รวมถึง  Copilot+ PC ยุคใหม่ของพีซีที่มอบสมรรถนะสูงสุดและคุณสมบัติการใช้งานที่ชาญฉลาดที่สุดบนแพลตฟอร์ม Windows  

ในระดับองค์กร ไมโครซอฟท์ ขับเคลื่อนการนำศักยภาพของ AI ที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในระดับโลก จนกลายเป็นผู้ช่วยที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับการดำเนินงานให้กับองค์กรยุคใหม่ และช่วยรับมือความท้าทายต่างๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ด้วยนวัตกรรมโซลูชันที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความคล่องตัว เพื่อให้ทุกภารกิจสำเร็จได้อย่างราบรื่น โดยทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม 

สานต่อความมั่นคง 

ไมโครซอฟท์ เชื่อว่าความปลอดภัยคือประเด็นสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกผลิตภัณฑ์ ทุกบริการด้านเทคโนโลยีจะต้องมี เพราะผู้ใช้ต้องเกิดความไว้วางใจก่อน จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นๆ ซึ่งการทำงานด้านความปลอดภัยเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยไมโครซอฟท์จะขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ เสริมทักษะด้านการใช้ AI เพื่อความปลอดภัยไซเบอร์ และแนวทางการใช้งาน AI อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ 

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย พร้อมร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลของประเทศไทย โดยส่งเสริมทักษะ AI และขยายการเข้าถึงเทคโนโลยี และสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่ปลอดภัย เพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์จากศักยภาพ AI ที่พัฒนาไปอย่างก้าวล้ำในระดับโลก และสนับสนุนทุกคนและทุกองค์กรในประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ไปพร้อมกัน 

 

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับ LinkedIn เผยผลงานวิจัย Work Trend Index 2024 เปิดข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะความคืบหน้าของคนทำงานในประเทศไทยและทั่วโลก ในการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในที่ทำงาน

รายงาน Work Trend Index 2024 รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพนักงานและผู้บริหารกว่า 31,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลก* รวมถึงประเทศไทย พร้อมด้วยแนวโน้มตลาดแรงงานและเทรนด์การจ้างงานผ่านทาง LinkedIn รวมถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานับล้านล้านรายการจากการใช้งาน Microsoft 365 และการศึกษาวิจัยลูกค้าของบริษัทที่อยู่ใน Fortune 500 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมา นวัตกรรม AI ได้มีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำงาน การบริหาร และการจ้างงานของผู้คนทั่วโลก

ปี 2024 ถือเป็นปีของ AI เพื่อการทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่มีพนักงานทั่วโลกนำ Generative AI มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ใช้ LinkedIn จำนวนไม่น้อยได้นำเอาทักษะความสามารถที่เกี่ยวกับ AI มาเพิ่มเติมลงในเรซูเม่ของตนมากขึ้น ทางด้านผู้บริหาร ส่วนใหญ่มีมุมมองว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่ไม่มีทักษะด้าน AI แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจำนวนมาก ทั้งในเอเชียและทั่วโลก ยังคงกังวลเกี่ยวกับการขาดวิสัยทัศน์ด้าน AI ของบริษัท และการที่พนักงานนำเครื่องมือ AI ส่วนตัวมาใช้ในสถานที่ทำงาน ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารในหลายองค์กรจึงต้องเผชิญความยากลำบากกับการปรับตัว เมื่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ต้องเปลี่ยนผ่านจากช่วงการทดลองใช้งาน ไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปัจจุบัน Generative AI เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่เลือกนำ AI มาช่วยสะสางภาระงานในแต่ละวัน โดยที่ไม่ได้รอดูว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ บริการ วิสัยทัศน์หรือแนวทางการใช้งานอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องเร่งตอบสนองต่อปรากฎการณ์นี้ เพื่อให้องค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน AI ทั้งในเชิงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวทางและนโยบายด้านการใช้ AI ที่ชัดเจน”

ทั้งนี้ รายงานการสำรวจ Work Trend Index 2024 ได้สรุปข้อมูลเชิงลึกใน 3 ประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทั้งผู้บริหารและพนักงานในประเทศไทย และสะท้อนถึงผลกระทบของ AI ที่มีต่อการทำงานและตลาดแรงงานตลอดทั้งปีนี้

  1. พนักงานต้องการนำนวัตกรรม AI มาช่วยในการทำงาน โดยไม่รอให้บริษัทมีความพร้อม

ผลสำรวจ Work Trend Index เผยว่าพนักงานคนไทยกว่า 92% นำนวัตกรรม AI มาใช้ในการทำงานแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% โดยในกลุ่มผู้ใช้งาน AI ยังพบอีกว่า 81% เลือกนำเครื่องมือ AI ของตนเองมาใช้งาน จนเกิดเป็นกระแสที่เรียกได้ว่า Bring Your Own AI (BYOAI) ซึ่งอาจทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการใช้งาน AI อย่างไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดทิศทางและกลยุทธ์ในระดับองค์กร และยังเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล

แนวโน้มการนำ AI มาใช้ในที่ทำงานนี้ อาจเป็นผลมาจากภาระงานที่พนักงานแต่ละคนต้องแบกรับ โดย 68% ของพนักงานทั่วโลกระบุว่าพวกเขาต้องเจอกับปัญหาในการทำงานจำนวนมากให้เสร็จทันเวลา ดังนั้น AI จึงเป็นตัวช่วยประหยัดเวลา เสริมความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทำให้มีเวลาจดจ่อกับเนื้องานในส่วนที่สำคัญที่สุดได้มากขึ้น

ทางด้านผู้บริหาร พบว่า 91% ของผู้บริหารในประเทศไทยเชื่อว่าบริษัทของตนจำเป็นต้องนำนวัตกรรม AI มาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันกับตลาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 79% แต่ยังมีผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 64% ที่มีความกังวลว่าองค์กรของตนยังขาดแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในด้านการนำ AI มาใช้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่ 60% นอกจากนี้ ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยยังพบกับอุปสรรคในการประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการใช้ AI ออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ผู้บริหารและองค์กรยังต้องก้าวผ่านไปให้ได้

  1. ผู้ใช้งาน AI ในระดับ Power Users มีเพิ่มมากขึ้น และอาจช่วยปลดล็อกเส้นทางสู่ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ผลสำรวจได้เผยให้เห็นถึงความแตกต่างในพฤติกรรม AI ของกลุ่มพนักงานที่เป็น AI Power Users หรือผู้ใช้งาน AI ระดับสูง มักจะนำเครื่องมือและบริการ AI ต่างๆ มาปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานในแต่ละวัน และสามารถลดเวลาที่ใช้ทำงานที่มีอยู่เดิมลงได้วันละ 30 นาที หรือเฉลี่ยออกมาเป็น 10 ชั่วโมงต่อเดือน

ในประเทศไทย กว่า 86% ของพนักงานกลุ่มนี้เลือกที่จะเริ่มและจบวันทำงานด้วย AI สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของ AI Power Users ทั่วโลกที่ 85% แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ AI ระดับสูงในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะทดลองใช้ AI ในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ๆ เพียง 45% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลกที่ 68%

นอกจากนี้ โครงสร้างในการสนับสนุนการใช้งาน AI ในองค์กรไทยมีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากทั่วโลก โดยกลุ่ม AI Power Users ในไทย มีเพียง 28% เท่านั้นที่มีโอกาสได้ฟังเนื้อหาสาระหรือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการทำงานจากแผนกหรือฝ่ายที่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 40% ขณะที่ด้านการเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม พบว่ามีผู้ใช้งาน AI ระดับสูงในประเทศไทยเพียง 22% เท่านั้นที่ได้รับโอกาสจากองค์กรให้ฝึกฝนทักษะด้าน AI เพิ่มเติม เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 42%

  1. AI กลายเป็นมาตรฐานใหม่ด้านทักษะ และช่วยทำลายขีดจำกัดในสายอาชีพ

ทักษะการใช้งาน AI ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานไปแล้ว ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยผู้บริหารในไทยกว่า 74% ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 66% นอกจากนี้ หากต้องเลือกระหว่างทักษะ AI กับประสบการณ์การทำงาน ผู้บริหารไทยกว่า 90% ก็เลือกที่จะจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย แต่มีทักษะด้านการใช้ AI แทนที่จะเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ขาดทักษะในด้านนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 71%

ในด้านแนวโน้มการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่าผู้บริหารทั่วโลกราว 55% มีความกังวลว่าจะเผชิญสภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถในปีนี้ โดยเฉพาะในสาขาความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิศวกรรม และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสาขาที่กังวลว่าจะขาดแคลนมากที่สุด

ข้อมูลจากผู้ใช้ LinkedIn ทั้งในระดับองค์กรและคนทำงาน ยังเผยอีกว่า

  • ข้อมูลจากช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่า จำนวนของสมาชิก LinkedIn ทั่วโลกที่ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการใช้งาน AI อย่าง ChatGPT และ Copilot ในโปรไฟล์ของตนเอง มีมากขึ้นถึง 142 เท่าตัว
  • ในช่วง 2 ที่ผ่านมา พบว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครทาง LinkedIn หากมีการระบุถึงทักษะการทำงานที่เกี่ยวกับ AI ด้วย จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นถึง 17%
  • ในกลุ่ม 10 ตำแหน่งงานที่เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับทักษะด้าน AI มากที่สุดนั้น พบว่าเป็นตำแหน่งในสายงานด้านเทคโนโลยีโดยตรงเพียง 2 ตำแหน่ง (นักพัฒนา ระบบ Front-End และนักพัฒนาเว็บ) ขณะที่ 3 อันดับแรกเป็นตำแหน่งงานด้านการเขียนคอนเทนต์ กราฟฟิกดีไซน์ และการตลาด

นายธนวัฒน์ กล่าวเสริมอีกว่า “เราต้องเริ่มที่จะนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลหรือไอเดียต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มผลิตภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ให้ AI เป็นหนึ่งในผู้ช่วยของเรา ดังนั้น องค์กรจึงควรที่จะตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำ AI มาใช้ช่วยแก้ปัญหาและปลดล็อคอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานของพนักงาน ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องคิดว่าควรทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากรของเรา และเตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือ AI ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทำงานร่วมกันในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการใช้งาน AI ในองค์กรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเห็นผลสำเร็จได้จริงในทุกตำแหน่งและสายงาน”

ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เผยคุณสมบัติใหม่ๆ ในบริการ Copilot for Microsoft 365 ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นใช้งาน AI ในที่ทำงาน

  • Copilot จะโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น โดยระบบจะแนะนำชุดคำสั่งถัดไปหรือถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตอบสนองคำสั่งของผู้ใช้งานและสร้างผลงานให้ออกมาดีที่สุด
  • หน้าจอแชทแบบใหม่ของ Copilot จะเสนอคำแนะนำตามสถานการณ์ปัจจุบันหรือกิจกรรมล่าสุดของผู้ใช้งาน เช่น อาจมีข้อความแจ้งเตือนว่า “คุณพลาดการประชุมของทีมฝ่ายขายเมื่อวันอังคารนะ อ่านสรุปการประชุมนี้ได้ที่นี่” รวมถึงคัดเลือกอีเมลที่สำคัญมาให้ผู้ใช้งานติดตามอ่าน
  • ช่องพิมพ์คำสั่งของ Copilot จะมีระบบเติมคำอัตโนมัติ (auto complete) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมในการป้อนคำสั่ง นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์สำหรับช่วยเขียนคำสั่งที่พร้อมขยายคำสั่งพื้นฐานทั่วไปให้สมบูรณ์และมีรายละเอียดมากขึ้น โดยเขียนขึ้นใหม่ด้วยข้อมูลจากการประชุม เอกสาร และอีเมลของผู้ใช้แต่ละคน
  • อัปเดตใหม่สำหรับ Copilot Lab เปิดให้พนักงานสามารถเขียน แชร์ และจัดการกับคำสั่งสำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์เฉพาะทางของแต่ละทีม

ขณะเดียวกัน LinkedIn ก็นำเสนอคอร์สอบรมเกี่ยวกับ AI กว่า 600 รายการ เพื่อให้คนทำงานสามารถก้าวต่อไปบนเส้นทางในสายอาชีพได้อย่างมั่นใจ โดยล่าสุดได้เปิดให้ผู้ใช้ LinkedIn ทุกคนสามารถร่วมเรียนรู้จากคอร์สเกี่ยวกับ AI จำนวน 50 หลักสูตรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคมนี้

  • นอกจากนี้ LinkedIn ยังมีบริการแนะนำหลักสูตรด้วย AI ที่สามารถคัดเลือกและนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจและสายงานของผู้ใช้แต่ละคน พร้อมด้วยการเรียนรู้ผ่านบทสนทนากับ AI
  • สำหรับผู้ใช้งาน LinkedIn Premium ยังมีฟีเจอร์ AI สรุปใจความสำคัญใน LinkedIn Feed ที่ช่วยเผยข้อมูล แนะนำไอเดียใหม่ๆ และกิจกรรมที่น่าสนใจ
  • เครื่องมือ AI ของ LinkedIn ช่วยให้คุณสามารถประเมินความเหมาะสมของตนเองเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยอ้างอิงจากข้อมูลประสบการณ์และทักษะของคุณ นอกจากนี้ คุณยังสามารถขอคำแนะนำในการเขียนโปรไฟล์ให้โดดเด่น และช่องทางในการพัฒนาทักษะที่สำคัญอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Work Trend Index 2024 ได้ที่บล็อกของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบทความสรุปรายงานฉบับเต็ม หรือพบกับบทวิเคราะห์เพิ่มเติม จาก LinkedIn โดย คาริน คิมเบรอ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์

*การสำรวจครั้งนี้ครอบคลุมประเทศและเขตปกครองพิเศษต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดังนี้: ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

 

ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ร่วมกับ LinkedIn เผยผลงานวิจัย Work Trend Index 2024 เปิดข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับสถานะความคืบหน้าของคนทำงานในประเทศไทยและทั่วโลก ในการนำนวัตกรรม AI มาใช้ในที่ทำงาน

รายงาน Work Trend Index 2024 รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพนักงานและผู้บริหารกว่า 31,000 คน ใน 31 ประเทศทั่วโลก* รวมถึงประเทศไทย พร้อมด้วยแนวโน้มตลาดแรงงานและเทรนด์การจ้างงานผ่านทาง LinkedIn รวมถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานับล้านล้านรายการจากการใช้งาน Microsoft 365 และการศึกษาวิจัยลูกค้าของบริษัทที่อยู่ใน Fortune 500 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 1 ปีที่ผ่านมา นวัตกรรม AI ได้มีอิทธิพลต่อรูปแบบการทำงาน การบริหาร และการจ้างงานของผู้คนทั่วโลก

ปี 2024 ถือเป็นปีของ AI เพื่อการทำงานอย่างแท้จริง หลังจากที่มีพนักงานทั่วโลกนำ Generative AI มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ใช้ LinkedIn จำนวนไม่น้อยได้นำเอาทักษะความสามารถที่เกี่ยวกับ AI มาเพิ่มเติมลงในเรซูเม่ของตนมากขึ้น ทางด้านผู้บริหาร ส่วนใหญ่มีมุมมองว่าจะไม่จ้างผู้สมัครที่ไม่มีทักษะด้าน AI แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจำนวนมาก ทั้งในเอเชียและทั่วโลก ยังคงกังวลเกี่ยวกับการขาดวิสัยทัศน์ด้าน AI ของบริษัท และการที่พนักงานนำเครื่องมือ AI ส่วนตัวมาใช้ในสถานที่ทำงาน ด้วยเหตุนี้ ผู้บริหารในหลายองค์กรจึงต้องเผชิญความยากลำบากกับการปรับตัว เมื่อการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ต้องเปลี่ยนผ่านจากช่วงการทดลองใช้งาน ไปสู่การสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปัจจุบัน Generative AI เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน จะเห็นได้ว่าพนักงานส่วนใหญ่เลือกนำ AI มาช่วยสะสางภาระงานในแต่ละวัน โดยที่ไม่ได้รอดูว่าองค์กรจะมีเครื่องมือ บริการ วิสัยทัศน์หรือแนวทางการใช้งานอย่างไร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องเร่งตอบสนองต่อปรากฎการณ์นี้ เพื่อให้องค์กรและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน AI ทั้งในเชิงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนาขีดความสามารถใหม่ๆ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยที่เพิ่มสูงขึ้นจากแนวทางและนโยบายด้านการใช้ AI ที่ชัดเจน”

ทั้งนี้ รายงานการสำรวจ Work Trend Index 2024 ได้สรุปข้อมูลเชิงลึกใน 3 ประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทั้งผู้บริหารและพนักงานในประเทศไทย และสะท้อนถึงผลกระทบของ AI ที่มีต่อการทำงานและตลาดแรงงานตลอดทั้งปีนี้

 1. พนักงานต้องการนำนวัตกรรม AI มาช่วยในการทำงาน โดยไม่รอให้บริษัทมีความพร้อม

ผลสำรวจ Work Trend Index เผยว่าพนักงานคนไทยกว่า 92% นำนวัตกรรม AI มาใช้ในการทำงานแล้ว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% โดยในกลุ่มผู้ใช้งาน AI ยังพบอีกว่า 81% เลือกนำเครื่องมือ AI ของตนเองมาใช้งาน จนเกิดเป็นกระแสที่เรียกได้ว่า Bring Your Own AI (BYOAI) ซึ่งอาจทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากการใช้งาน AI อย่างไม่เต็มที่ เนื่องจากยังขาดทิศทางและกลยุทธ์ในระดับองค์กร และยังเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล

แนวโน้มการนำ AI มาใช้ในที่ทำงานนี้ อาจเป็นผลมาจากภาระงานที่พนักงานแต่ละคนต้องแบกรับ โดย 68% ของพนักงานทั่วโลกระบุว่าพวกเขาต้องเจอกับปัญหาในการทำงานจำนวนมากให้เสร็จทันเวลา ดังนั้น AI จึงเป็นตัวช่วยประหยัดเวลา เสริมความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งทำให้มีเวลาจดจ่อกับเนื้องานในส่วนที่สำคัญที่สุดได้มากขึ้น

ทางด้านผู้บริหาร พบว่า 91% ของผู้บริหารในประเทศไทยเชื่อว่าบริษัทของตนจำเป็นต้องนำนวัตกรรม AI มาใช้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันกับตลาด ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 79% แต่ยังมีผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 64% ที่มีความกังวลว่าองค์กรของตนยังขาดแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในด้านการนำ AI มาใช้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อยที่ 60% นอกจากนี้ ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยยังพบกับอุปสรรคในการประเมินผลลัพธ์ที่ได้รับจากการใช้ AI ออกมาเป็นตัวเลขหรือตัวเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในโจทย์ที่ผู้บริหารและองค์กรยังต้องก้าวผ่านไปให้ได้

 2. ผู้ใช้งาน AI ในระดับ Power Users มีเพิ่มมากขึ้น และอาจช่วยปลดล็อกเส้นทางสู่ความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ผลสำรวจได้เผยให้เห็นถึงความแตกต่างในพฤติกรรม AI ของกลุ่มพนักงานที่เป็น AI Power Users หรือผู้ใช้งาน AI ระดับสูง มักจะนำเครื่องมือและบริการ AI ต่างๆ มาปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานในแต่ละวัน และสามารถลดเวลาที่ใช้ทำงานที่มีอยู่เดิมลงได้วันละ 30 นาที หรือเฉลี่ยออกมาเป็น 10 ชั่วโมงต่อเดือน ในประเทศไทย กว่า 86% ของพนักงานกลุ่มนี้เลือกที่จะเริ่มและจบวันทำงานด้วย AI สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของ AI Power Users ทั่วโลกที่ 85% แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ AI ระดับสูงในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะทดลองใช้ AI ในรูปแบบหรือวิธีการใหม่ๆ เพียง 45% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลกที่ 68%

นอกจากนี้ โครงสร้างในการสนับสนุนการใช้งาน AI ในองค์กรไทยมีความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจากทั่วโลก โดยกลุ่ม AI Power Users ในไทย มีเพียง 28% เท่านั้นที่มีโอกาสได้ฟังเนื้อหาสาระหรือความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการทำงานจากแผนกหรือฝ่ายที่ตนเองทำงานอยู่ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 40% ขณะที่ด้านการเรียนรู้และฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม พบว่ามีผู้ใช้งาน AI ระดับสูงในประเทศไทยเพียง 22% เท่านั้นที่ได้รับโอกาสจากองค์กรให้ฝึกฝนทักษะด้าน AI เพิ่มเติม เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 42%

3. AI กลายเป็นมาตรฐานใหม่ด้านทักษะ และช่วยทำลายขีดจำกัดในสายอาชีพ

ทักษะการใช้งาน AI ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในตลาดแรงงานไปแล้ว ทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก โดยผู้บริหารในไทยกว่า 74% ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 66% นอกจากนี้ หากต้องเลือกระหว่างทักษะ AI กับประสบการณ์การทำงาน ผู้บริหารไทยกว่า 90% ก็เลือกที่จะจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์น้อย แต่มีทักษะด้านการใช้ AI แทนที่จะเลือกพนักงานที่มีประสบการณ์สูงกว่า แต่ขาดทักษะในด้านนี้ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 71%

ในด้านแนวโน้มการจ้างงาน ผลสำรวจระบุว่าผู้บริหารทั่วโลกราว 55% มีความกังวลว่าจะเผชิญสภาวะการขาดแคลนแรงงานที่มีความสามารถในปีนี้ โดยเฉพาะในสาขาความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิศวกรรม และการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสาขาที่กังวลว่าจะขาดแคลนมากที่สุด

 ข้อมูลจากผู้ใช้ LinkedIn ทั้งในระดับองค์กรและคนทำงาน ยังเผยอีกว่า

· ข้อมูลจากช่วงปลายปีที่แล้ว พบว่า จำนวนของสมาชิก LinkedIn ทั่วโลกที่ใส่ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะการใช้งาน AI อย่าง ChatGPT และ Copilot ในโปรไฟล์ของตนเอง มีมากขึ้นถึง 142 เท่าตัว

· ในช่วง 2 ที่ผ่านมา พบว่า ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครทาง LinkedIn หากมีการระบุถึงทักษะการทำงานที่เกี่ยวกับ AI ด้วย จะมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นถึง 17%

· ในกลุ่ม 10 ตำแหน่งงานที่เพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับทักษะด้าน AI มากที่สุดนั้น พบว่าเป็นตำแหน่งในสายงานด้านเทคโนโลยีโดยตรงเพียง 2 ตำแหน่ง (นักพัฒนา ระบบ Front-End และนักพัฒนาเว็บ) ขณะที่ 3 อันดับแรกเป็นตำแหน่งงานด้านการเขียนคอนเทนต์ กราฟฟิกดีไซน์ และการตลาด

นายธนวัฒน์ กล่าวเสริมอีกว่า “เราต้องเริ่มที่จะนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลหรือไอเดียต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มผลิตภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ให้ AI เป็นหนึ่งในผู้ช่วยของเรา ดังนั้น องค์กรจึงควรที่จะตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการนำ AI มาใช้ช่วยแก้ปัญหาและปลดล็อคอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานของพนักงาน ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารจะต้องคิดว่าควรทำอย่างไรที่จะช่วยเพิ่มทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากรของเรา และเตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือ AI ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการใช้งาน รวมถึงให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับทำงานร่วมกันในการกำหนดนโยบายหรือทิศทางการใช้งาน AI ในองค์กรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและเห็นผลสำเร็จได้จริงในทุกตำแหน่งและสายงาน”

ในโอกาสนี้ ไมโครซอฟท์ยังได้เผยคุณสมบัติใหม่ๆ ในบริการ Copilot for Microsoft 365 ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นใช้งาน AI ในที่ทำงาน

· Copilot จะโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น โดยระบบจะแนะนำชุดคำสั่งถัดไปหรือถามคำถามเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถตอบสนองคำสั่งของผู้ใช้งานและสร้างผลงานให้ออกมาดีที่สุด

· หน้าจอแชทแบบใหม่ของ Copilot จะเสนอคำแนะนำตามสถานการณ์ปัจจุบันหรือกิจกรรมล่าสุดของผู้ใช้งาน เช่น อาจมีข้อความแจ้งเตือนว่า “คุณพลาดการประชุมของทีมฝ่ายขายเมื่อวันอังคารนะ อ่านสรุปการประชุมนี้ได้ที่นี่” รวมถึงคัดเลือกอีเมลที่สำคัญมาให้ผู้ใช้งานติดตามอ่าน

· ช่องพิมพ์คำสั่งของ Copilot จะมีระบบเติมคำอัตโนมัติ (auto complete) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมในการป้อนคำสั่ง นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์สำหรับช่วยเขียนคำสั่งที่พร้อมขยายคำสั่งพื้นฐานทั่วไปให้สมบูรณ์และมีรายละเอียดมากขึ้น โดยเขียนขึ้นใหม่ด้วยข้อมูลจากการประชุม เอกสาร และอีเมลของผู้ใช้แต่ละคน

· อัปเดตใหม่สำหรับ Copilot Lab เปิดให้พนักงานสามารถเขียน แชร์ และจัดการกับคำสั่งสำเร็จรูปที่เขียนขึ้นเพื่อตอบโจทย์เฉพาะทางของแต่ละทีม

ขณะเดียวกัน LinkedIn ก็นำเสนอคอร์สอบรมเกี่ยวกับ AI กว่า 600 รายการ เพื่อให้คนทำงานสามารถก้าวต่อไปบนเส้นทางในสายอาชีพได้อย่างมั่นใจ โดยล่าสุดได้เปิดให้ผู้ใช้ LinkedIn ทุกคนสามารถร่วมเรียนรู้จากคอร์สเกี่ยวกับ AI จำนวน 50 หลักสูตรโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นับตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 8 กรกฎาคมนี้

· นอกจากนี้ LinkedIn ยังมีบริการแนะนำหลักสูตรด้วย AI ที่สามารถคัดเลือกและนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจและสายงานของผู้ใช้แต่ละคน พร้อมด้วยการเรียนรู้ผ่านบทสนทนากับ AI

· สำหรับผู้ใช้งาน LinkedIn Premium ยังมีฟีเจอร์ AI สรุปใจความสำคัญใน LinkedIn Feed ที่ช่วยเผยข้อมูล แนะนำไอเดียใหม่ๆ และกิจกรรมที่น่าสนใจ

· เครื่องมือ AI ของ LinkedIn ช่วยให้คุณสามารถประเมินความเหมาะสมของตนเองเมื่อเทียบกับตำแหน่งงานได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยอ้างอิงจากข้อมูลประสบการณ์และทักษะของคุณ นอกจากนี้ คุณยังสามารถขอคำแนะนำในการเขียนโปรไฟล์ให้โดดเด่น และช่องทางในการพัฒนาทักษะที่สำคัญอีกด้วย ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน Work Trend Index 2024 ได้ที่บล็อกของไมโครซอฟท์ พร้อมด้วยบทความสรุปรายงานฉบับเต็ม หรือพบกับบทวิเคราะห์เพิ่มเติม จาก LinkedIn โดย คาริน คิมเบรอ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์

นำทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ ยกระดับทักษะ AI ให้ผู้ประกอบการใน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

พร้อมเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์และ AI ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะด้าน AI และสนับสนุนชุมชนนักพัฒนาในประเทศไทย

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click