December 22, 2024

หวังนำเทคโนโลยีเข้ามาเสริมขีดความสามารถให้ธุรกิจ Contact Center ยุคดิจิทัล มั่นใจสร้างมิติใหม่ให้งานบริการ

“สกาย กรุ๊ป” เผยผลประกอบการ Q1/2567 กวาดรายได้ 1,379 ล้านบาท โตแรง 68% กำไรสุทธิ 117 ล้านบาท รับสัญญาณบวกอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคึกคักยอดผู้โดยสารเข้า-ออกประเทศทะลัก ดันรายได้จากโครงการเกี่ยวกับสนามบินพุ่งหนุนธุรกิจ Aviation Tech และ Airport Services เติบโตต่อเนื่อง โชว์แบ็คล็อกแกร่ง 22,000 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าจัดทัพโครงสร้างในการทำธุรกิจให้มีความชัดเจนเพื่อเสริมฐานการเติบโตสร้างความแข็งแกร่งในอนาคต

นายสิทธิเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ สกาย กรุ๊ป (SKY Group) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (ม.ค.- มี.ค. 67)  บริษัทสามารถทำรายได้ 1,379 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 117 ล้านบาท เติบโตขึ้น 68% และ 40% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการเติบโตที่ต่อเนื่องนั้นมาจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ยอดผู้โดยสารเดินทางเข้า-ออกประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยในไตรมาสแรก 2567 มียอดผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 22.84% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2566 ส่งผลให้รายได้จากโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับท่าอากาศยาน อาทิ ระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Passenger Processing System: CUPPS) และโครงการการให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Processing System: APPS) มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้า-ออกประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทมีการรับรู้รายได้จากบริษัทในเครืออย่าง บริษัท เมทเธียร์ จำกัด และบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทอื่นที่มีศักยภาพ ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

นายสิทธิเดช กล่าวอีกว่า สำหรับแผนการดำเนินงานในไตรมาส 2/2567 นอกจากการพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้าน Aviation Tech อย่างต่อเนื่องในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสนามบินแล้ว สกาย กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าจัดทัพโครงสร้างธุรกิจในเครือ เพื่อรองรับการขยายการเติบโตของแต่ละธุรกิจให้มีความชัดเจน โดยมีบริษัท เมทเธียร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะ (Smart Facility Management) เจาะกลุ่มโครงการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่รวมถึงผู้ให้บริการรายอื่นที่ต้องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงยกระดับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการทำความสะอาดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด (มหาชน) ดูแลงานประมูลไอทีโซลูชันภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งมีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยได้เข้ายื่นไฟลิ่งขาย IPO 140 ล้านหุ้น คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จในปีนี้

ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 บริษัทได้เข้าทำสัญญาใหม่และมีงานที่อยู่ระหว่างรอส่งมอบตามสัญญาในอนาคต (Backlog) อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยจะทยอยรับรู้รายได้ให้กับสกาย กรุ๊ปในอีกอย่างน้อย 6-7 ปี

“สกาย กรุ๊ป เรามองหาโอกาสใหม่ในการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทอย่างต่อเนื่องทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากรเพื่อรับมือกับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ อาทิ เทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ แพลตฟอร์มดิจิทัล ไปจนถึงการขยายสู่ธุรกิจเทคโนโลยีด้านต่างๆ ในอนาคตเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าในภาพรวมบริษัทจะยังคงเติบโตได้อย่างมั่นคง” นายสิทธิเดช กล่าว

 

มั่นใจปี 67 โตต่อเนื่อง เหตุนักท่องเที่ยวบูมหนุนโปรเจ็กต์เกี่ยวกับสนามบิน พร้อมรับรู้รายได้และกำไรจากการลงทุนในบริษัทลูก

“สกาย กรุ๊ป” เผยผลประกอบการ Q1/66 กวาดรายได้ 820 ล้านบาท โตแกร่ง 75% กำไรสุทธิ 83 ล้านบาทรับอานิสงค์ยอดผู้โดยสารเข้า-ออกประเทศทะลัก หลังอุตสาหกรรมท่องเที่ยว-การบินฟื้น ดันรายได้จากโครงการเกี่ยวกับสนามบินพุ่ง โชว์แบ็กล็อก 22,900 ล้านบาท เชื่อมั่น Aviation Tech แต้มต่อสำคัญพร้อมเดินหน้าธุรกิจต่อเนื่อง เตรียมเร่งเครื่องจัดทัพ-ขยายธุรกิจใหม่ สยายปีกสู่ Beyond Tech Company สร้างความแข็งแกร่งในอนาคต

นายสิทธิเเดช มัยลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ สกาย กรุ๊ป (SKY Group) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2566 (ม.ค.-มี.ค. 66) บริษัทสามารถทำรายได้ 820 ล้านบาท เติบโตขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า 75% (YoY%) และมีกำไรสุทธิ 83 ล้านบาท ถือเป็นผลการดำเนินงานที่น่าพึงพอใจ ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่บริษัทสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากรายได้จากโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับท่าอากาศยาน อย่างระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Passenger Processing System: CUPPS) และโครงการการให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า (APPS) ขยายตัวเพิ่มขึ้น หลังอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวประเทศไทยฟื้นตัว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยมากขึ้น

ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2566 บริษัทมีงานที่อยู่ระหว่างการรอส่งมอบตามสัญญา (Backlog) อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 22,900 ล้านบาท คาดว่าจะทยอยรับรู้ภายในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท สร้างการเติบโตให้กับสกาย กรุ๊ปอย่างแข็งแกร่ง

“ที่ผ่านมา สกาย กรุ๊ป ได้ลงทุนศึกษาวิจัย และพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน (Aviation Tech) มาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปี ทำให้เราสามารถสร้างการเติบโต แม้ต้องเผชิญกับท้าทายจาก COVID-19 เห็นได้จากการขยายตัวของสกาย กรุ๊ปและบริษัทที่เราเข้าไปร่วมลงทุน เราเชื่อว่านับจากวันนี้ไป ภาคการท่องเที่ยวและการบินทั่วโลกจะยังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ Aviation Tech กลายเป็นหนึ่งในแต้มต่อสำคัญของประเทศ” นายสิทธิเดช กล่าว

นายสิทธิเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนการดำเนินงานในไตรมาส 2/2566 สกาย กรุ๊ป ยังคงมุ่งพัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้าน Aviation Tech ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการบริการภายในสนามบิน (Airport Services) ให้มีประสิทธิภาพและคล่องตัว ช่วยเพิ่มความสามารถ (Capacity) ของท่าอากาศยานในการรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่พร้อมจะหลั่งไหลเข้าประเทศไทยตลอดทั้งปี ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับสกาย กรุ๊ป ควบคู่ไปกับการเดินหน้าเข้าประมูลงาน ทั้งโครงการภาครัฐและเอกชน มูลค่ารวมหลักหลายพันล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทในอนาคต

ขณะเดียวกัน สกาย กรุ๊ป ยังมีแผนปรับโครงสร้างยกระดับองค์กรสู่ “Beyond Tech Company” มุ่งสร้างองค์กรให้เป็นมากกว่าผู้พัฒนาเทคโนโลยี และเปิดตัวบริษัทลูกเพื่อขยายธุรกิจใหม่ เสริมความมั่นคงแข็งแกร่งให้กับบริษัทในระยะยาว สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ Connecting Thailand วางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของประเทศให้แข็งแกร่ง พร้อมเปิดรับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีระดับโลกสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และพัฒนาบุคลากรเติมเต็ม Tech Ecosystem ขับเคลื่อนประเทศไทยให้พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยคาดว่าจะเปิดเผยรายละเอียดเร็วๆ นี้

ขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY กล่าวว่า SKY ในฐานะผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน (Aviation Tech) กำลังเร่งศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับการบริการภายในสนามบิน (Airport Services) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่น่าจดจำให้แก่นักเดินทางตั้งแต่ลงจากเครื่องบิน ซึ่งที่ผ่านมาอุตสาหกรรมท่าอากาศยานทั่วโลกมีการนำเทคโนโลยีเข้ามายกระดับการให้บริการภายในสนามบินจนเกิดเทรนด์ใหม่ๆ ดังนี้

 

1. Immersive Technology and Digital Twin

หลังเกิดปรากฏการณ์ที่หลายธุรกิจนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Immersive Technology) ทั้งเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality: AR) และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) มาเป็นตัวเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้บริโภค เข้ากับสินค้าและบริการต่างๆ บนโลกเสมือนจริงกันมากมายในปีที่ผ่านมา ธุรกิจสายการบินก็มีการพัฒนาแพลตฟอร์มจำลองวิวและบรรยากาศภายในห้องโดยสาร เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารจองตั๋วและตัดสินใจเลือกที่นั่งได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการบินยังใช้เทคโนโลยีฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin) จำลองโครงสร้างจากวัตถุจริง และใช้เซ็นเซอร์ช่วยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์ มาช่วยออกแบบและผลิตเครื่องบิน รวมถึงตรวจจับและแก้ไขระบบวิศวกรรมต่างๆ ภายในท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากปัญหาระบบขัดข้องที่จะกระทบต่อเวลาเดินทางของผู้โดยสาร

2. End-to-End Passenger Experience

สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ผู้คนคุ้นชินกับการใช้ระบบไร้สัมผัสที่สามารถดำเนินการทุกขั้นตอนด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็ว การให้บริการภายในสนามบินยุคปัจจุบันจึงต้องลดความซับซ้อนลง โดยนำโซลูชันอัจฉริยะเข้ามาช่วยให้ผู้โดยสารสะดวกมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่เข้าสนามบินจนถึงลงจากเครื่องบิน อาทิ Check-In Kiosk และ Self Bag Drop จุดบริการเช็กอินและโหลดสัมภาระได้ด้วยตัวเอง e-Gates ที่ใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometrics) สแกนใบหน้า ม่านตา หรือลายนิ้วมือ เพื่อยืนยันตัวตนแทนหนังสือเดินทาง ให้ผู้โดยสารสามารถเช็กอินและผ่านจุดตรวจคนเข้าเมืองได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

3. Integrated Digital Journey

นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ยังต้องการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง สนามบินและสายการบินต่างๆ จึงพัฒนาแอปพลิเคชันให้ผู้โดยสารสามารถจัดการทุกขั้นตอนผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น ค้นหา

และจองเที่ยวบิน เช็กอินออนไลน์ แจ้งเตือนเที่ยวบิน ติดตามสัมภาระได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง บริการสอบถามข้อมูลและแจ้งปัญหา ขณะเดียวกัน สนามบินบางแห่งยังมีการใช้หุ่นยนต์นำทาง ช่วยพาผู้โดยสารไปยังจุดบริการต่างๆ ภายในสนามบินได้อย่างแม่นยำ

4. Passenger Flow Solutions

การกลับมาอย่างฉับพลันของการท่องเที่ยวทำให้หลายสนามบินเผชิญปัญหาผู้โดยสารหนาแน่น จึงมีการนำโซลูชันเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการไหลเวียนของผู้โดยสาร (Passenger Flow) อย่างเช่น เทคโนโลยีเซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับเส้นทางการเคลื่อนที่ของผู้โดยสารแบบเรียลไทม์ แล้วนำมาจำลองพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ตั้งแต่ระยะเวลาเดินทางไปยังจุดตรวจคนเข้า-ออกประเทศ ระยะเวลาเดินทางไปยังประตูขึ้นเครื่องบิน หรือแม้แต่เวลาที่เหลืออยู่สำหรับการช้อปปิ้งก่อนขึ้นเครื่อง เพื่อวิเคราะห์ประเภทผู้โดยสาร และออกแบบระบบการให้บริการต่างๆ ในสนามบินให้คล่องตัวยิ่งขึ้น ล่าสุด สนามบินบางแห่งได้พัฒนาหุ่นยนต์อัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยวิเคราะห์จำนวนผู้โดยสารและแก้ปัญหาความแออัดภายในสนามบิน พร้อมตรวจจับวัตถุต้องสงสัย

5. Sustainable Aviation

ความยั่งยืนเป็นอีกโจทย์สำคัญที่ท้าทายอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากภาวะโลกร้อน อีกทั้งผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สนามบินและสายการบินต่างพยายามปรับรูปแบบการให้บริการที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่น การออกแบบอาคารผู้โดยสารที่ช่วยลดการใช้พลังงาน โดยนำระบบอาคารอัจฉริยะเข้ามาตรวจจับการทำงานของระบบควบคุมความร้อนและความเย็น มีพื้นที่สีเขียวในร่ม ติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ใช้ระบบไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตลอดจนการใช้พลังงานทางเลือกสำหรับเครื่องบิน เช่น เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน

ขยล อธิบายอีกว่า ประเทศไทยเองก็มีแนวคิดในการพัฒนาสนามบินแห่งอนาคตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยอย่างสนามบินสุวรรณภูมิ ได้มีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารทั่วโลก เพื่อยกระดับท่าอากาศยานไทยสู่การเป็นสนามบินอัจฉริยะ (Digital Airport) เช่นกัน อาทิ ระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (CUPPS) ตั้งแต่ตรวจบัตรโดยสาร ตู้ Kiosk สำหรับเช็กอินด้วยตัวเอง ไปจนถึงประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ และแอปพลิเคชัน SAWASDEE by AOT ที่มีฟีเจอร์หลากหลาย ครอบคลุมทุกความต้องการการเดินทาง สำหรับดูแลผู้โดยสารตั้งแต่ก่อนเดินทางจนถึงออกจากสนามบิน

ขณะเดียวกัน ทีมพัฒนาเทคโนโลยีของ SKY ยังร่วมกับ ESIC Lab ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการท่าอากาศยานกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อยกระดับการให้บริการที่เหนือชั้นยิ่งขึ้นด้วยแหล่งข้อมูลที่หลากหลายในสนามบิน อาทิ พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ภายในสนามบิน ข้อมูลเที่ยวบิน ความหนาแน่นของผู้โดยสารในแต่ละพื้นที่ เพื่อพัฒนาทั้งบริการด้านประสบการณ์ในสนามบินของผู้โดยสาร และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ภายใต้หลักการของการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและถูกเวลากับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานการบริการให้สามารถรองรับการขยายตัวของจำนวนผู้โดยสาร และมุ่งสู่ความเป็นสนามบินแห่งอนาคตได้

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click