January 22, 2025
  • 99% ขององค์กรในไทยเชื่อว่า AI จะเข้ามาปฏิรูปอุตสาหกรรม 
  • 27% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กำลังเปลี่ยนผ่านจากแนวคิดสู่การนำ GenAI มาใช้งานจริง  
  • 98% ขององค์กรไทยกล่าวว่าข้อมูลคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้าน AI 
  • 89% ของผู้ร่วมสำรวจในไทย กล่าวว่าเครื่องมือ AI ช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์ และให้ผลลัพธ์สูงสุด 

 

ผลการวิจัย Dell Technologies Innovation Catalyst Research   99% สำหรับองค์กรไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) โดยองค์กรที่รายงานการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นในปี 2023 มีสูงถึง 91% (เพิ่มขึ้น 25%) และลดลงเหลือ 75% สำหรับองค์กรที่รายงานการเติบโตรายได้ลดลง (1-5%) และมีรายได้คงที่หรือถดถอย  

จากการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที และผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจจำนวน 6,600 คน ครอบคลุม 40 ประเทศ รายงานชี้ให้เห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของ AI และ GenAI แต่ระดับความพร้อมขององค์กรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ล้วนแตกต่างกันไปมาก  เกือบทุกองค์กรในประเทศไทย (98%) กล่าวว่าตัวเองมีจุดยืนที่ดีในการแข่งขันและมีกลยุทธ์ที่แข็งแกร่ง (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 80% ทั่วโลก 82%) ขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจที่เป็นองค์กรในไทยต่างไม่แน่ใจว่าอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไรในอีก 3-5 ปีข้างหน้า (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 50% ทั่วโลก 48%) และทุกองค์กร (100%) รายงานถึงความยากลำบากในการตามให้ทันกับสถานการณ์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 59% ทั่วโลก 57%) โดย 40% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทยกล่าวว่ายังขาดบุคลากรที่มีความสามารถ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 41% ทั่วโลก 35%) โดย 37% รายงานถึงความกังวลใจเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 31%) และ 34% ขององค์กรในประเทศไทยรายงานถึงการขาดงบประมาณ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 31% ทั่วโลก 29%) ว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเผชิญในการขับเคลื่อนนวัตกรรม 

GenAI จากแนวคิดสู่การใช้งานจริง 

60% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่า GenAI ให้ศักยภาพที่โดดเด่นในการปฏิรูปการทำงาน ช่วยสร้างคุณค่าในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยไอที (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 52%) และ 65% อ้างถึงการสร้างผลลัพธ์ที่ดี (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 53% ทั่วโลก 52%) ขณะที่ 62% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย อ้างถึงศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้าได้ดีขึ้น (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 51% ทั่วโลก 51%) นอกจากนี้ ผู้ร่วมการสำรวจยังตระหนักดีถึงความท้าทายที่ต้องรับมือ 88% ขององค์กรในไทยกลัวว่า AI จะนำพาปัญหาใหม่ๆ ด้านความปลอดภัยภัยและความเป็นส่วนตัวมาด้วย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 69% ทั่วโลก 68%) และ 90% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) เห็นพ้องว่าข้อมูลและทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรตนมีค่ามากเกินกว่าจะเอามาไว้ในเครื่องมือ GenAI ที่บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงได้ 

ในภาพรวม การตอบแบบสอบถามยังชี้ว่าองค์กรต่างๆ กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของ GenAI ในการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การนำมาใช้งานจริง 27% ของผู้ร่วมการสำรวจจากไทยกล่าวว่ากำลังเริ่มนำ GenAI มาใช้งาน เนื่องจากองค์กรต่างๆ กำลังนำมาใช้กันมากขึ้น ซึ่งความกังวลหลักจะอยู่ที่การทำความเข้าใจว่ามีความเสี่ยงตรงจุดไหนบ้าง และใครรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น โดย 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย เห็นพ้องว่าองค์กรควรเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดหรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ของ AI มากกว่าตัวระบบ การใช้งาน หรือสาธารณะเองก็ตาม 

ฐิตพล บุญประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มว่า “ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าบรรดาธุรกิจในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงของ AI และ GenAI ที่ให้ศักยภาพสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและยกระดับประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้แก่ลูกค้า ความท้าทายในขณะนี้ คือการเปลี่ยนจากแนวคิดสู่การใช้งานจริง และการสร้างระบบนิเวศของพันธมิตรที่เชื่อถือได้คือสิ่งสำคัญยิ่งที่ช่วยให้องค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย สามารถปรับขยายเพื่อรองรับนวัตกรรมได้ อีกทั้งช่วยตอบโจทย์ความกังวลใจหลักอย่างความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม และการสร้างความยั่งยืน   

องค์กรกำลังต่อกรกับความท้าท้ายของภาพรวมภัยคุกคามในปัจจุบัน 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับองค์กรในวงกว้าง ความกังวลเหล่านี้ มีที่มาที่ไป เนื่องจาก 92% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย กล่าวว่าได้รับผลกระทบจากการโจมตีความปลอดภัยภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 83%) ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ (96%) กำลังนำกลยุทธ์ Zero Trust มาใช้ (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 90% ทั่วโลก 89%) และ 94% ขององค์กรในประเทศไทย กล่าวว่าองค์กรตนมีแผนตอบสนองต่อเหตุการณ์ (Incident Response Plan) อยู่แล้ว ในการรับมือการโจมตี หรือข้อมูลรั่วไหล (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 78%) 

ปัญหาหลักสามอันดับแรก ได้แก่ มัลแวร์ ฟิชชิ่ง และการละเมิดข้อมูล ในรายงานยังเน้นว่าปัญหาที่เกิดจากฟิชชิ่ง เป็นสัญญานบ่งชี้ถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นตามมา โดยพนักงานมีบทบาทต่อภัยคุกคามในภาพรวม ตัวอย่างเช่น 86% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 72% ทั่วโลก 67%) เชื่อว่าพนักงานบางคนหลบหลีกข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยในองค์กรเพราะทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และ 91% ของผู้ร่วมการสำรวจไทย กล่าวว่าภัยคุกคามจากในองค์กรเป็นความกังวลอย่างมาก (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 70% ทั่วโลก 65%) ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมุ่งเน้นเรื่องการฝึกอบรมเพราะบุคลากรคือด่านแรกในการป้องกัน 

โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ  

การวิจัยยังเผยว่าโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยมีบทบาทสำคัญในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง GenAI กำลังเดินหน้าพัฒนาและมีปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย รองรับการปรับขยายได้ ถูกหยิบยกว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ธุรกิจต้องปรับปรุงเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีส่วนใหญ่ในประเทศไทย (78%) กล่าวถึงความชื่นชอบในโมเดลแบบ on-prem หรือไฮบริด ว่าช่วยตอบโจทย์ความท้าทายที่คาดว่าจะเกิดจากการนำ GenAI มาใช้ในองค์กร 

นอกจากนี้ ความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลทั่วองค์กร ยังนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม 53% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 36% ทั่วโลก 33%) กล่าวว่าปัจจุบันตนสามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมได้ อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ กำลังรับมือกับความท้าทาย 98% ของผู้ร่วมการสำรวจในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 84% ทั่วโลก 82%) กล่าวว่าข้อมูลคือปัจจัยที่สร้างความแตกต่างและกลยุทธ์ GenAI ต้องสัมพันธ์กับการใช้และปกป้องข้อมูล นอกจากนี้ผู้ร่วมการสำรวจเกินครึ่ง (62%) ในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 47% ทั่วโลก 42%) ยังอ้างว่าตัวเองคาดว่าภายในห้าปีข้างหน้า จะมีปริมาณข้อมูลมากมายที่หลั่งไหลมาจากเอดจ์ 

ผลวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ รวมถึงประเด็นต่อไปนี้ 

  • เรื่องทักษะ เกือบสามในสี่ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (78%) (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 74% ทั่วโลก 67%) อ้างว่าปัจจุบันองค์กรขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะซึ่งจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมในอุตสาหกรรม ความคล่องตัวในการเรียนรู้และปรับตัว ความเชี่ยวขาญด้าน AI และความสร้างสรรค์ รวมถึงการคิดในเชิงสร้างสรรค์ ได้รับการจัดให้เป็นทักษะและความสามารถด้านการแข่งขันในอันดับต้นสำหรับห้าปีข้างหน้า 
  • ความยั่งยืน 64% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 48% ทั่วโลก 42%) เชื่อว่า “การขับเคลื่อนนวัตกรรมที่สร้างความยั่งยืนให้สภาพแวดล้อม” คือส่วนสำคัญที่ต้องปรับปรุง และประสิทธิภาพด้านพลังงานคือประเด็นหลัก 92% ขององค์กรในไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 79% ทั่วโลก 79%) กำลังทดลองใช้โซลูชันเชิงบริการ (as-a-Service) เพื่อจัดการสภาพแวดล้อมไอทีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 97% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 76% ทั่วโลก 73%) กำลังย้ายการดำเนินงานด้าน AI Inferencing ไปที่เอดจ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน (เช่น อาคารอัจฉริยะ) 
  • การทำไอที ให้เป็นเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์  ปัจจุบัน 82% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย (เอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น 85% ทั่วโลก 81%) มีเหตุผลในการแยกผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอที ออกจากการสนทนาที่เป็นเชิงกลยุทธ์ กระนั้นทั้งสองฝ่ายก็ยังถูกจัดว่ามีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่ควรปรับปรุงและสำคัญเป็นอันดับสอง 
  • การให้ผลลัพธ์ 89% ของผู้ร่วมการสำรวจชาวไทย เชื่อว่าเครื่องมือ AI จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์และให้ผลลัพธ์สูงสุด 

อ้ก ดิจิทัล ผู้ให้บริการธุรกิจด้านวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ให้บริการสื่อโฆษณาครบวงจรและการให้คำปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัลสัญชาติไทย ใช้พลังการผสานการทำงานระหว่าง AI, ML, อินไซท์เชิงลึก, สื่อ O4 (Online, OOH, On-Premise, On-Ground) และมาร์เทคโซลูชัน โชว์ศักยภาพนักสร้างสรรค์กลยุทธ์การสื่อสารและโฆษณาสุดเจ๋ง พาแบรนด์ลูกค้ากวาด 5 รางวัลใหญ่ จากเวทีระดับนานาชาติ Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จัดโดยนิตยสาร MARKETING-INTERACTIVE ประเทศสิงคโปร์

โดยเอ้ก ดิจิทัลคว้ารางวัลระดับ Gold 1 รางวัล ระดับ Silver 1 รางวัล และระดับ Bronze 3 รางวัล ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านโฆษณาและการตลาดดิจิทัลที่มีศักยภาพแข็งแกร่งได้อีกครั้ง การันตีด้วยผลงานคุณภาพที่กวาดรางวัลทั้งเวทีการตลาดในประเทศไทยและระดับภูมิภาคมากมาย

เอ้ก ดิจิทัล ขยายธุรกิจสู่ที่ปรึกษาด้านวิเคราะห์ข้อมูล การทำตลาดดิจิทัล สื่อในห้างค้าปลีก และการวางแผนโฆษณาครบวงจรเมื่อปี 2022 และด้วยจุดแข็งของการผสานพลังความเชี่ยวชาญ (The Power of Collaboration) ด้าน AI, First-Party Data & Second-Party Data 360/720 องศา และพลังสมองของผู้เชี่ยวชาญนิวเจน ทั้งทีมกลยุทธ์, ทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ทีมดูแลลูกค้า และทีมปฏิบัติการ ทำให้สร้างสรรค์แคมเปญโฆษณาและการตลาดที่ตอบโจทย์ลูกค้า โดนใจผู้บริโภค และสอดคล้องกับสื่อยุคใหม่จนกวาดรางวัลจากเวทีระดับประเทศและนานาชาติมามากมาย ล่าสุด ธุรกิจ Media Convergence และธุรกิจ MarTech Solution พาแคมเปญของลูกค้าคว้า 5 รางวัลใหญ่เวที Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จากผลงานเข้ารอบชิงชนะเลิศทั้งหมด 13 รางวัลใน 9 สาขา ถือเป็นเครื่องการันตีความสำเร็จและศักยภาพของเอ้ก ดิจิทัลเป็นอย่างดี

 

นายชัชพล องนิธิวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ Media Convergence บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ด้วยการทำงานแบบเพื่อนคู่คิดกับคู่ค้า ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของทีมงานและความครบเครื่องของแพลตฟอร์ม MediaFusion ที่ดูแลครบวงจรตั้งแต่การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค จับเทรนด์อินไซท์เชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายพร้อมชี้โอกาสสำคัญต่อยอดขายให้กับแบรนด์แบบวัดผลได้ ทำให้เราคว้ารางวัลระดับ Gold สาขา “Excellence in Omnichannel” ได้เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ระดับ Silver สาขา “Excellence in Personalisation Marketing’ ระดับ Bronze สาขา ‘Excellence in Launch Marketing’ และสาขา ‘Excellence in Omnichannel’ เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เอ้ก ดิจิทัล สามารถวิเคราะห์ สร้างกลยุทธ์และวางแผนปฎิบัติการพร้อมแนะนำส่วนผสมในการเลือกกลุ่มเป้าหมาย โลเคชันและการใช้สื่อ O4 ได้อย่างสร้างสรรค์ แม่นยำและมีประสิทธิภาพทั้งสื่อ Online Personalization, OOH Shoppers’ Digital Screen, On-Premise Retail media, On-Ground Activation”

 

นางสาวรัฐธีร์ เจริญรัตน์วรกุล ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจ MarTech Solution บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด กล่าวว่า “ทางธุรกิจ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี AI/ML พร้อมกับนำเสนอโซลูชันการตลาดดิจิทัลที่ครบวงจรผ่านแพลตฟอร์มเดียว (One Platform) ที่เชื่อมต่อข้อมูลกลุ่มเป้าหมายจากหลายแหล่งเข้าสู่ระบบเดียวกัน ทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง สร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง โดยนำเสนอประสบการณ์เฉพาะเจาะจงและตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งช่วยให้การเพิ่มยอดขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถ

ขยายฐานข้อมูลผ่านพันธมิตรและคู่ค้าต่างๆ ปัจจุบันเรามีโซลูชันทางการตลาดที่ครอบคลุม ทั้งระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Advanced CRM), บริการวิเคราะห์ข้อมูล (Analytic Service), ระบบอัตโนมัติสำหรับการตลาด (Marketing Automation), การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์แบบปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Creative Communication) และเทคโนโลยีโฆษณา (Advertising Tech) ซึ่งการสร้างกลยุทธ์การตลาดด้วยการใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถวัดผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยจุดแข็งเหล่านี้ทำให้เราคว้ารางวัลระดับ Bronze สาขา ‘Excellence in Loyalty Marketing’ มาได้สำเร็จ”

ในปีนี้ Marketing Excellence Awards 2024 Thailand จัดประกวดถึง 43 หมวด มีผลงานร่วมประกวดกว่า 402 แคมเปญ โดยตัวอย่างผลงานโดดเด่นของเอ้ก ดิจิทัลที่ได้รับรางวัลในปีนี้ ได้แก่

· แคมเปญ The Extreme Lime Experience แบรนด์ Coke Zero Lime คว้ามาได้ 2 รางวัล รางวัลระดับ Gold สาขา Excellence in Omnichannel และระดับ Bronze สาขา Excellence in Launch Marketing ด้วยการใช้ AI วิเคราะห์และแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล ซึ่งแบ่งออกเป็น 1) กลุ่มมิลเลเนียล 2) กลุ่มคนรักสุขภาพ 3) กลุ่มคนที่ดื่มเป็นครั้งคราวและเพื่อสังคม วางกลยุทธ์การสื่อสารผ่าน Omnichannel Media ที่ประสานการทำงานของสื่อ O2O ได้แก่ สื่อ Online และสื่อ Out-of-Home หรือ Shoppers’ Digital Screen รวมถึงเสนอแนวทางสร้างประสบการณ์ตรงกับผู้บริโภคที่หน้าร้าน โดยใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ซึ่งกลยุทธ์นี้ช่วยเพิ่มยอดขายให้กลุ่มโค้กสูตรไม่มีน้ำตาลได้ถึง 55% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนแคมเปญ รวมถึงสามารถเพิ่มลูกค้าใหม่ในช่วงแคมเปญนี้ได้ถึง 49% ของฐานผู้ซื้อทั้งหมด

· แคมเปญ The Lucky Draw แบรนด์ Dreamy คว้ารางวัลระดับ Bronze สาขา Excellence in Loyalty Marketing ด้วยการยกระดับ CRM Platform ให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยใช้ AI และ Data Analysis มาช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและร้านค้าเป้าหมาย โดยพัฒนาฟังก์ชันบนแพลตฟอร์มให้ครอบคลุมการสร้างประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งรายละเอียดเมนู, ดีลพิเศษสำหรับร้านค้า, Loyalty Platform, ระบบสะสมและใช้คะแนน และสิทธิพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ได้สร้างสรรค์แคมเปญ Lucky Draw 'ล่าภาพลุ้นทอง' ซื้อผลิตภัณฑ์ Dreamy ลุ้นรับทองง่ายๆ โดยตลอดแคมเปญระบบ CRM มีผู้ลงทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 930.70% และในช่วงแคมเปญยังเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ได้ถึง 56.62%

พลังของการผสานจุดแข็งรอบด้านทำให้เอ้ก ดิจิทัลได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีฐานลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมกว่า 400 แบรนด์ ซึ่งเอ้ก ดิจิทัล พร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์สำหรับองค์กรธุรกิจทุกขนาด เพื่อช่วยทุกธุรกิจปลดล็อกศักยภาพด้านการตลาด การสื่อสาร และการใช้สื่อในยุคดิจทัล พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดไปพร้อมกัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในอีกสามปี (พ.ศ. 2570) 40% ของโซลูชัน Generative AI จะทำงานในแบบมัลติโหมดที่จะสามารถประมวลผล ทำความเข้าใจและทำงานร่วมกับข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งประเภท (อาทิ ข้อความ, รูปภาพ, เสียง และวิดีโอ) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 1% ในปี 2566 โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ Human-AI มีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนายิ่งขึ้น และยังมอบโอกาสที่จะสร้างความต่างให้กับสิ่งที่ GenAI มีให้

เอริค เบรทเดอนิวซ์ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เนื่องจากตลาด GenAI วิวัฒน์ไปสู่โมเดลที่เกิดและพัฒนาด้วยโหมดต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งโหมด สิ่งนี้ช่วยสะท้อนภาพความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ส่งออกมาในปริมาณมากและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่แตกต่างกัน และมีศักยภาพในการปรับขนาดการใช้และเพิ่มประโยชน์ของ GenAI ให้ครอบคลุมประเภทข้อมูลและแอปพลิเคชันทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยให้ AI สนับสนุนการทำงานของมนุษย์ได้มากขึ้นโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม”

Multimodal GenAI เป็นหนึ่งในสองเทคโนโลยีที่ได้รับการระบุไว้ในรายงาน Gartner Hype Cycle for Generative AI ปีนี้ โดยการนำมาใช้ช่วงแรกอาจสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านระยะเวลาในการนำออกสู่ตลาด ควบคู่ไปกับโมเดลภาษาโอเพนซอร์สขนาดใหญ่ (LLM) ทำให้เทคโนโลยีทั้งสองมีศักยภาพที่จะสร้างผลกระทบสูงต่อองค์กรอย่างสูงภายในห้าปีข้างหน้านี้  บรรดานวัตกรรม GenAI ที่การ์ทเนอร์คาดว่าจะได้รับการยอมรับแพร่หลายภายใน 10 ปีนั้น มีเทคโนโลยี 2 ประเภทที่ได้รับการระบุว่ามีศักยภาพสูงสุด ได้แก่ Domain-Specific GenAI Models และ Autonomous Agents

อรุณ จันทรเศกการัน รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การวิเคราะห์แนวโน้มระบบนิเวศของ GenAI ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กร เนื่องจากระบบนิเวศของเทคโนโลยีนี้และผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดย GenAI กำลังอยู่ในช่วงขาลงเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มรวมตัวเข้าด้วยกัน ทว่าประโยชน์ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อกระแสนี้ลดลง และตามมาด้วยขีดความสามารถที่ก้าวหน้าขึ้นจะเกิดขึ้นรวดเร็วไปอีกมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้”

 

Multimodal GenAI

Multimodal GenAI จะมีผลกระทบต่อแอปพลิเคชันองค์กรอย่างมาก จากการเพิ่มคุณสมบัติและฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่วิธีอื่น ๆ ทำไม่ได้ และผลกระทบนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะอุตสาหกรรมหรือยูสเคสการใช้งานเฉพาะเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุก Touchpoint ระหว่าง AI กับมนุษย์ ปัจจุบัน Multimodal Model หลาย ๆ ตัวยังมีข้อจำกัดอยู่เพียงสองหรือสามโหมดเท่านั้น แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น

“ในโลกความเป็นจริง ผู้คนจะพบเจอและเข้าใจข้อมูลผ่านการประมวลผลที่เป็นการผสมผสานของข้อมูลหลากหลายประเภท อาทิ เสียง ภาพและการสัมผัส โดย Multimodal GenAI นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยประเภทต่าง ๆ อยู่แล้ว เมื่อนำ Single Modality Models มาประกอบเข้าด้วยกันเพื่อรองรับแอปพลิเคชัน Multimodal GenAI มักส่งผลให้เกิดความล่าช้าและลดความแม่นยำของผลลัพธ์ ส่งผลให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพต่ำ” เบรทเดอนิวซ์ กล่าวเพิ่ม

Open-Source LLMs LLM แบบโอเพ่นซอร์สเป็นโมเดลพื้นฐานการเรียนรู้เชิงลึกที่เร่งมูลค่าองค์กรจากการนำ GenAI ไปปรับใช้งาน โดยทำให้การเข้าถึงเชิงพาณิชย์ได้อย่างเสรีและอนุญาตให้ผู้พัฒนาปรับแต่งโมเดลให้เหมาะกับงานและยูสเคสการใช้งานเฉพาะ นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงชุมชนนักพัฒนาในองค์กร สถาบันการศึกษา และบทบาทการวิจัยอื่น ๆ ที่กำลังทำงานเพื่อเป้าหมายร่วมกันปรับปรุงและทำให้โมเดลนี้มีคุณค่ามากขึ้น

“LLM แบบโอเพ่นซอร์สเพิ่มศักยภาพด้านนวัตกรรมผ่านการปรับแต่งอย่างเหมาะสม ทำให้การควบคุมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยดีขึ้น โมเดลมีความโปร่งใส มีความสามารถเพิ่มจากการพัฒนาร่วมกัน และมีศักยภาพในการลดการผูกขาดของผู้ขาย ท้ายที่สุดแล้ว LLM นำเสนอโมเดลขนาดเล็กกว่าให้กับองค์กร ซึ่งฝึกฝนได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และเปิดใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจหลัก” จันทราเสการัน กล่าวเพิ่ม

 

Domain-Specific GenAI Models

Domain-Specific GenAI Models ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม ฟังก์ชันทางธุรกิจ หรือภารกิจที่มีความเฉพาะ โดยโมเดลเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดวางยูสเคสการใช้งานภายในองค์กรได้ พร้อมมอบความแม่นยำ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวที่ดีกว่า รวมถึงคำตอบที่เข้าใจบริบท ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการออกแบบข้อความที่ใช้สื่อสารกับโมเดล AI เทียบกับโมเดล AI ที่พัฒนามาเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป และยังสามารถลดความเสี่ยงจากกรณีที่ AI อาจสร้างภาพหลอนขึ้นมาเอง (Hallucination Risks) จากการฝึกฝนที่เน้นการกำหนดเป้าหมาย

“Domain-specific models สามารถร่นระยะเวลาส่งมอบบริการตามความต้องการ (Time to Value) ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและมีความปลอดภัยสูงขึ้นสำหรับโครงการ AI ต่าง ๆ โดยการนำเสนอจุด Start ที่ก้าวล้ำกว่าสำหรับงานอุตสาหกรรมเฉพาะ สิ่งนี้จะส่งเสริมการนำ GenAI มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในยูสเคสที่ General-Purpose Models ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ” จันทราเสการัน กล่าวเพิ่ม

Autonomous Agents

Autonomous Agents คือ ระบบรวม (Combined Systems) ที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้โดยปราศจากมนุษย์ โดยใช้เทคนิค AI ที่หลากหลายในการระบุรูปแบบของสภาพแวดล้อม การตัดสินใจ การจัดลำดับการดำเนินการและสร้างผลลัพธ์ โดยตัวแทนเหล่านี้มีศักยภาพเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมและปรับปรุงตลอดเวลา ทำให้สามารถจัดการงานที่ซับซ้อนได้

“Autonomous Agents เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของความสามารถ AI โดยความสามารถดำเนินการและตัดสินใจได้อย่างอิสระช่วยปรับปรุงการดำเนินธุรกิจ สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และใช้ในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ส่งผลให้ประหยัดต้นทุนและมีความได้เปรียบทางการแข่งขัน นอกจากนี้ยังเปลี่ยนบทบาทของทีมงานในองค์กรจากการส่งมอบ (Delivery) เป็นการควบคุมดูแล (Supervision) แทน”

24 กันยายน 2567 - ทรู คอร์ปอเรชั่น ลุยนำแผนการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Responsible AI (RAI) Maturity Roadmap ของสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) สู่การดำเนินงานเป็นองค์กรแรกในประเทศไทย โดยแผนดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการประเมินผลของแผนการดำเนินงานนี้สนับสนุนมาตรฐานระดับสูงสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างปลอดภัย เท่าเทียม และยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับโลก

จากการประเมินโดย McKinsey พบว่าโอกาสทางธุรกิจจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในภาคโทรคมนาคมอาจสูงถึง 680,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 22.7 ล้านล้านบาท) ในช่วง 15-20 ปีข้างหน้า สมาคมจีเอสเอ็มจึงร่วมมือกับบริษัทโทรคมนาคม 19 แห่ง รวมถึงทรู คอร์ปอเรชั่น ในการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ นับเป็นครั้งแรกที่ทุกภาคส่วนมุ่งมั่นใช้แนวทางร่วมกันในด้านปัญญาประดิษฐ์

แผนพัฒนานี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถประเมินสถานะปัจจุบันในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ เทียบกับเป้าหมายที่ต้องการ จากนั้นจึงให้แนวทางที่ชัดเจนและเครื่องมือวัดผลเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น พร้อมทั้งรับรองแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมสำหรับการใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบ

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า "ปัญญาประดิษฐ์จะมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงชีวิตและเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชีย โดย ทรู คอร์ปอเรชั่นมุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพนี้อย่างรับผิดชอบและมีจริยธรรม การนำแผนพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Responsible AI Roadmap ของสมาคมจีเอสเอ็มมาใช้ แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการยึดมั่นมาตรฐานสากลระดับสูงสุด เพื่อให้มั่นใจว่าประโยชน์ของปัญญาประดิษฐ์จะเกิดขึ้นอย่างปลอดภัยและอยู่บนความเท่าเทียม"

การพัฒนาแผนนี้อยู่ภายใต้ความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของทรู คอร์ปอเรชั่น และบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำทั่วโลก ในการรับรองว่าการบุกเบิกและบูรณาการปัญญาประดิษฐ์จะดำเนินการอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบ

จากการปรึกษากับภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง สมาคมจีเอสเอ็มได้นำแนวทางต่างๆ มาผสมผสานกับกฎระเบียบ คำแนะนำ และมาตรฐานระดับโลกที่มีอยู่จากองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และข้อเสนอแนะด้านจริยธรรมของปัญญาประดิษฐ์ขององค์การ

ยูเนสโก (UNESCO) เพื่อสร้างแผนพัฒนาสำหรับทั้งอุตสาหกรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ

นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ทรู คอร์ปอเรชั่นใช้ปัญญาประดิษฐ์สู่การดำเนินงานของเรา เพื่อปรับปรุงทั้งประสบการณ์ของลูกค้าและประสิทธิภาพของธุรกิจ ด้วยความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของเราในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล แผนพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Responsible AI Roadmap จะช่วยให้ทรู คอร์ปอเรชั่นมั่นใจในความพร้อมสำหรับโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ที่เทคโนโลยีสร้างสรรค์"

ทรู คอร์ปอเรชั่นเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีแห่งแรกในประเทศไทยที่นำแผนพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบมาใช้ สำหรับในระดับโลก มีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมให้บริการเครือข่ายมือถือ 19 รายที่ได้ให้คำมั่นในการใช้แผนพัฒนานี้เป็นวิธีในการติดตาม ดูแล และปรับปรุงการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ

หลักการแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best-practice principles)

Responsible AI หรือ RAI คือแผนพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบมีพื้นฐาน 5 หลักการ ได้แก่ 1. วิสัยทัศน์ ค่านิยม และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กร 2. โมเดลการดำเนินงานและวิธีรักษาธรรมาภิบาลด้านปัญญาประดิษฐ์ในทุกการดำเนินงาน 3. การควบคุมทางเทคนิคตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ 4. การทำงานร่วมกับระบบนิเวศของบุคคลที่สาม และ 5. กลยุทธ์การจัดการการเปลี่ยนแปลงและการสื่อสาร

สำหรับแต่ละหลักการ แผนพัฒนาจะแนะนำองค์กรให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบตามระดับความพร้อมขององค์กร

นอกจากนี้ ยังอยู่บนพื้นฐานของหลักการแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่มีมายาวนาน ซึ่งรวมถึงความเป็นธรรม การกำกับดูแลโดยมนุษย์ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ความปลอดภัยและความทนทาน ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นายแมตส์ แกรนริด ผู้อำนวยการใหญ่ สมาคมจีเอสเอ็ม กล่าวว่า "ศักยภาพของของปัญญาประดิษฐ์เป็นที่ทราบกันดีแต่การบูรณาการในการทำงานและชีวิตของเราต้องทำอย่างรับผิดชอบและโปร่งใสเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและความยั่งยืนอย่างแท้จริง แผนพัฒนานี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ โดยประยุกต์ใช้งานอย่างรับผิดชอบและมีจริยธรรม"

นายจูเลียน กอร์แมน หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สมาคมจีเอสเอ็ม กล่าวว่า "การตัดสินใจของทรู คอร์ปอเรชั่นในการให้ความสำคัญกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างรับผิดชอบ เป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมและความยั่งยืน แผนพัฒนานี้จะให้เครื่องมือและแนวทางที่จำเป็นแก่ทรูในการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็รับรองว่าการใช้งานสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีที่สุดของอุตสาหกรรม"

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) ประกาศความสำเร็จคว้า 3 รางวัลความเป็นเลิศด้านทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย ได้แก่ รางวัลสรรหาบุคลากรยอดเยี่ยม ระดับ Gold (Excellence in Talent Acquisition) รางวัลกลยุทธ์การบริหารค่าตอบแทนรวมยอดเยี่ยม ระดับ Silver (Excellence in Total Rewards Strategy) และรางวัลยอดเยี่ยมด้าน AI โซลูชันสำหรับทรัพยากรบุคคล ระดับ Bronze (Excellence in AI-Powered HR Solutions) จากเวที HR Excellence Awards Thailand 2024 ซึ่งจัดโดย Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเชิดชูความสำเร็จขององค์กรที่มีกลยุทธ์และนวัตกรรมด้านการบริหารบุคลากรโดดเด่น สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกลุ่ม SCBX ในการนำเทคโนโลยี AI มายกระดับประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะพนักงานขององค์กรให้สามารถอยู่ในกระแสความต้องการของโลกปัจจุบัน

นางพัตราภรณ์ สิโรดม Chief Talent Officer บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX กล่าวว่า “SCBX มุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินชั้นนำระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI อย่างแท้จริง หรือ AI-first Organization การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลจึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เราจึงมีการประยุกต์นำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อช่วยยกระดับกระบวนการทำงานด้าน HR ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยโซลูชันที่ช่วยเฟ้นหาบุคลากรที่เหมาะสมกับองค์กร ลดเวลาและต้นทุนการทำธุรกิจ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เพื่อรักษาและดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ (Talent) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร อีกทั้งยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการสร้างผลงานให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง โดยภายในสิ้นปี 2024 พนักงานกว่า 80% ขององค์กรต้องมีความเข้าใจพื้นฐานด้าน AI จึงได้จัดทำหลักสูตรออนไลน์และสื่อการฝึกอบรมด้าน AI ให้กับพนักงาน รวมถึงบริษัทยังสนับสนุนเครื่องมือ AI ให้กับพนักงาน เพื่อปลูกฝังและสร้าง AI Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง AI อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างบุคลากรคนรุ่นใหม่ให้เหมาะสมกับความต้องการของโลกการทำงานแห่งอนาคต”

รางวัล HR Excellence Awards Thailand ประจำปี 2024 ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดโดย Human Resources Online ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องความสำเร็จและนวัตกรรมที่โดดเด่นของบริษัทชั้นนำในประเทศไทยที่มีการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่ยอดเยี่ยม ภายใต้ภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของการจัดการทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตัดสินจากหลักเกณฑ์ภายใต้ 38 หมวดหมู่ ครอบคลุมวิสัยทัศน์ เป้าหมายองค์กร การดำเนินธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรในมิติต่างๆ

Page 1 of 4
X

Right Click

No right click