เทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของทุกคน ทั้งในแง่ของกระบวนการทำงาน และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้หลาย ๆ ภาคส่วนต้องปรับวิสัยทัศน์และแนวทางในด้านการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตอบรับกับเทรนด์โลกที่เริ่มมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือการนำหลากเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในเมือง รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกด้วย โดยการนำเทคโนโลยีทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติ (Machine Learning) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet of Things) และอีกมากมาย มาใช้งานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ จนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงง่าย โรคระบาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังคงต้องแก้ไขปัญหาการจราจรที่ควบคุมได้ยาก และอาชญากรรมที่ล้วนคาดเดาไม่ได้ หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมเร่งสนับสนุนประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับสากล สามารถผลักดันให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริง จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะในทวีปเอเชีย
เมื่อไม่นานมานี้หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดเวทีพิเศษ Thailand Smart City 2023 ภายใต้แนวคิด “Accelerating Intelligence of Smart City ยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมกับจัดแสดง นวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้จริงในเมืองอัจฉริยะ
นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในงาน ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023) ว่า “เมื่อเราพูดถึงคำว่า เมืองอัจฉริยะ เรากำลังหมายถึงการบูรณาการเทคโนโลยีมากมายเข้าด้วยกัน สำหรับ หัวเว่ย เราแบ่งหมวดหมู่ของเทคโนโลยีออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่จะช่วยให้ทุกสิ่งในเมืองถูกเข้าถึงได้ทั้งหมดผ่านระบบคลาวด์ กลุ่มถัดมาคือ ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connectivity) ที่ช่วยให้ระบบหลักของเมือง (City Backbone) สามารถเชื่อมต่อถึงเทคโนโลยีอื่นที่มีความหลากหลายและทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด และกลุ่มสุดท้ายคือ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center) ที่ควบคุมการจัดการอย่างเป็นระบบและคอยช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยในเมืองให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น”
โดยทั้งหมดนี้ หัวเว่ย ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เศรษฐกิจเชิงสังคม (Social Economy) ตามมาด้วยเรื่องของคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชากรภายในเมือง สำหรับการรักษาความปลอดภัยในเมืองแห่งเทคโนโลยีนี้ หัวเว่ย เลือกใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Intelligent Sensor) ได้แก่ ระบบ 5G อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่รองรับความหลากหลายของอุตสาหกรรมทางธุรกิจ มาช่วยให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Time) เป็นไปตามมาตรฐาน ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วจากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องวงจรปิด (CCTV) อุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) ไปยังศูนย์ควบคุม เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ (Real Time Monitoring) ได้ทันที
นายประยุทธ์ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศไทยว่า “เรามีระบบ 5G ที่พร้อมที่สุด และเป็นผู้นำของเอเชีย สามารถเก็บข้อมูลสำหรับโครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) นอกจากนี้เรายังมี AI Unique Thailand ซึ่งเป็นระบบ AI Computing ที่เข้าใจภาษาไทยและคนไทยเป็นพิเศษ รวมถึงระบบ AI ที่ถูกสร้างมาเพื่อการใช้งานของภาครัฐโดยเฉพาะ เช่น ใช้สำหรับพยากรณ์อากาศ การก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ เราจะเชื่อมโยงทุกจุดของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ตำบลที่อยู่ไกลจากตัวเมือง ผ่านสัญญาณ 5G ที่เป็นคลื่นไมโครเวฟให้เชื่อมถึงกัน เรามีเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างชุมชนโลกเสมือนจริง (Metaverse) มองเห็นเมืองได้ตั้งแต่บนพื้นดินจนถึงท่อที่อยู่ใต้ดิน ให้ผู้ดูแลเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดและรับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับเมือง เช่น หากพายุกำลังจะเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถใช้ AI ในการคำนวนค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและแจ้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมรับมือหรืออพยพ”
การยึดมั่นในเรื่องความปลอดภัยในเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ย คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดระบบความปลอดภัยรอบด้าน (Omni Safety) ที่จะเป็นการเชื่อมข้อมูลของทุกระบบการสื่อสารของทุกหน่วยงานในไทยเข้าด้วยกัน ในยามที่ต้องรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุรถแก๊สชนกัน ซึ่งปกติจะมีการแจ้งเหตุผ่านโทรศัพท์โดยประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ไปยังโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ตามแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล แต่เมื่อมีนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ระบบจะรวบรวมทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลไปที่สมองของเมือง หรือ Intelligent Operation Center ที่ทำหน้าที่ในการบริหารตัดการเมือง ช่วยสังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อจัดการกับสถานการณ์ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยศูนย์ควบคุมหลักนี้ประกอบไปด้วยระบบรวมศูนย์ข้อมูลที่จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สามารถเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยมีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (Intelligent Vision) ที่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏในภาพ ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ดูแลคอยแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที
เทคโนโลยีที่ข้บเคลื่อนด้วยข้อมูลและสามารถใช้งานได้จริง เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยกระดับ หัวเว่ยพร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ชาญฉลาดให้สามารถกระจายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยได้อย่างไร้ขอบเขต มอบความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มีมาตรฐานให้กับคนไทย สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ยที่ต้องการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรในหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตในภูมิภาคอาเซียน
หัวเว่ยประกาศความพร้อมสนับสนุนประเทศไทยในการก้าวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ
“ดีป้า” ปูพรม สมาร์ทซิตี้ 36 แห่งทั่วประเทศ
หลายคนอาจมีจินตนาการว่าเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ (Smart City) น่าจะเหมือนกับในภาพยนตร์แนวไซ-ไฟที่มียานพาหนะลอยฟ้ารับส่งผู้คน หรือมีหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่หมอประจำบ้าน
เราพูดถึงกันมานานเกี่ยวกับเมืองที่มีความเป็น ‘อัจฉริยะ’ แต่คำนิยามของความเป็นอัจฉริยะที่ว่านี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเรามีการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับวิสัยทัศน์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เราจะมาสำรวจกันว่าพัฒนาการของ ‘สมาร์ทซิตี้’ ในปี 2565 ก้าวล้ำไปถึงไหนแล้ว
ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ล่าสุดของสมาร์ทซิตี้ยังคงห่างไกลจากภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ แต่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), 5G, เทคโนโลยีคลาวด์, บิ๊กดาต้า และ Internet of Things (IoT) ที่ถูกนำมาใช้ในเมืองอย่างต่อเนื่องทำให้พัฒนาการของสมาร์ทซิตี้ได้ก้าวหน้าไปตามความคาดหวังของผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าจะให้ยกตัวอย่างของสมาร์ทซิตี้ในวันนี้ งาน Expo 2020 Dubai* น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในโลกสำหรับสภาพแวดล้อมเมืองที่มีการเชื่อมต่ออย่างทั่วถึงและได้รับการออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
(*ถึงแม้จะถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 งานนี้ยังคงใช้ชื่อ “เอ็กซ์โป 2020 ดูไบ”)
ด้วยอาคารกว่า 130 หลังเชื่อมต่อถึงกันในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของประเทศโมนาโก งาน Expo 2020 Dubai ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติที่ปลอดภัย ยั่งยืน และบริหารจัดการด้วยระบบดิจิทัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ 170 ปี ของการจัดนิทรรศการระดับโลกนี้
Expo 2020 Dubai มีความเป็นอัจฉริยะมากแค่ไหน
หัวข้อหลักของการจัดงาน Expo 2020 คือ “การเชื่อมโยงความคิดและการสร้างสรรค์อนาคต” งานนิทรรศการนี้อาศัยการขับเคลื่อนด้วย AI และมีแพลตฟอร์มที่แยกต่างหากสำหรับการจัดการพลังงาน นอกจากนี้ อาคารอัจฉริยะและระบบรักษาความปลอดภัยถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันและทำงานอย่างสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้จัดการอาคารสามารถควบคุมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ในแบบเรียลไทม์ผ่านแอปพลิเคชั่น เช่น การทำความเย็น คุณภาพของอากาศ การผ่านเข้า-ออกอาคาร และสัญญาณเตือนอัคคีภัย
Expo 2020 เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งงานกว่า 210,000 จุด รวมไปถึงประตูเข้า-ออก 5,500 จุด และกล้องกว่า 15,000 ตัว เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้าชมงาน โดยทั้งหมดนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันอย่างราบรื่นและไร้รอยต่อ นอกจากนั้น ยังมีการประหยัดพลังงาน ปรับสมดุลในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดโดยนำเอาพลังงานหมุนเวียนมาใช้ และใช้พลังงานที่กักเก็บในแบตเตอรี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงการชาร์จไฟให้กับยานยนต์ไฟฟ้า
ความชาญฉลาดของงาน Expo 2020 อยู่บนระบบปฏิบัติการ MindSphere ที่ทำงานบนคลาวด์ของซีเมนส์ (Siemens) โดยข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการใช้งานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์โดยสาร ไปจนถึงเครื่องปรับอากาศ โคมไฟส่องสว่างและฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ถูกเชื่อมโยงในลักษณะที่สัมพันธ์กันและถูกกลั่นกรองออกมาเป็นข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นอยู่ภายในเมือง โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ถูกออกแบบและรวมไว้ตั้งแต่ระดับรากฐานของ MindSphere
งาน Expo 2020 ตอกย้ำถึงศักยภาพของสมาร์ทซิตี้อย่างรอบด้าน กล่าวคือ ระบบอัจฉริยะจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อมิติต่างๆ ของเมือง เช่น การบริหารจัดการ การคมนาคมขนส่ง บริการสาธารณสุข และการดูแลความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั่วโลกรวมมูลค่าราว 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯจนถึงปี พ.ศ. 2569
ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าการลงทุนเพื่อปรับปรุงเมืองให้ฉลาดขึ้นจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นการลงทุนทั้งในส่วนของภาคเอกชน เช่น การสร้างอาคารอัจฉริยะ และระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (Microgrid) รวมถึงภาครัฐ และทุกคนจะได้รับประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยให้เมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากขึ้น
ต่อยอดจาก Expo 2020 Dubai สู่เมืองที่แท้จริง
หลังจากที่งาน Expo 2020 สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือนมีนาคม พื้นที่ในบริเวณนี้จะถูกพัฒนาต่อยอดให้เป็นเมืองแห่งอนาคตที่มีชื่อว่า “District 2020” ภายใต้โครงการของรัฐบาลดูไบ
ด้วยการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานและการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีการก่อสร้างแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ให้กลายเป็นชุมชนเมืองเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัย องค์กรธุรกิจ และนักท่องเที่ยว District 2020 จะยังคงเก็บรักษาสินทรัพย์และสิ่งก่อสร้างภายในพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ที่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารสีเขียวทั้ง LEED และ CEEQUAL โดยจะพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์และรองรับการใช้งานที่หลากหลายและยั่งยืน มีทั้งพื้นที่สำนักงาน พื้นที่สำหรับการทำงานร่วมกัน ชุมชนที่อยู่อาศัย พื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นและเงียบสงบ สถานที่ท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน ศูนย์นิทรรศการ Dubai Exhibition Center และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อธุรกิจและการพักผ่อน โดยคาดว่า District 2020 จะสามารถรองรับได้ประชากรสูงสุดถึง 145,000 คน
ซีเมนส์จะมีบทบาทสำคัญในการแปลงโฉมพื้นที่จัดงาน Expo 2020 ให้กลายเป็น District 2020 และจะกลายเป็นผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ระดับโลกในส่วนของธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก และทางเรือ จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี มาที่ District 2020 และคาดว่าพนักงานของซีเมนส์ประมาณ 1,000 คนจะทำงานอยู่ในอาคารสองหลังที่ใช้เทคโนโลยีการจัดการอาคารที่ถูกติดตั้งไว้เดิมสำหรับงาน Expo 2020 เช่น เซ็นเซอร์อัจฉริยะ และแพลตฟอร์ม IoT ที่รองรับ ‘ระบบตรวจจับ’ ทั่วทุกจุดภายในอาคาร เพื่อจัดหาข้อมูลแบบเรียลไทม์และข้อมูลวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะใช้งานของอาคาร รวมไปถึงการให้บริการค้นหาตำแหน่งที่ตั้งสำหรับบุคคลและอุปกรณ์ต่าง ๆ
ถอดบทเรียน Expo 2020 Dubai กับการพัฒนา Smart City ของประเทศไทย
สถานการณ์การแพร่ระบาดก่อให้เกิดปัญหาท้าทายมากมายสำหรับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งยังทำให้รูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และการพบปะสังสรรค์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน นอกจากนั้น ภาวะโลกร้อนได้กลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนสำหรับเมืองต่าง ๆ เนื่องจากมีข้อมูลว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 60% มาจากพื้นที่เมือง ความท้าทายที่สำคัญสองประการนี้เป็นแรงกระตุ้นให้ผู้บริหารเมืองในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกคิดทบทวนเกี่ยวกับอนาคตของเมืองที่ตนเองดูแล ประเทศไทยก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ต่างจากกัน
เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น ระบบขนส่งสาธารณะ ไฟฟ้า ประปา และเครือข่ายการสื่อสาร จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักลงทุน
แนวทางการสร้างสมาร์ทซิตี้จากงาน Expo 2020 ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้และนำมาปรับใช้:
ขณะที่เมืองต่าง ๆ เปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากที่การเดินทางระหว่างประเทศและกิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเริ่มกลายเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวพักผ่อน การเดินทางเพื่อทำธุรกิจ หรือจุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุน เราสามารถเร่งการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ได้ด้วยการเรียนรู้จากแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และสร้างโซลูชั่นที่เหมาะกับวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเรา โดยจุดมุ่งหมายคือการสร้างเมืองแห่งอนาคตที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น และมีความยั่งยืนสำหรับทั้งคนไทยและผู้มาเยือน
บทความ โดย นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีเมนส์ ประเทศไทย
บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่