January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

ตัวช่วยบริหารจัดการ “สมาร์ทซิตี้” ยุคใหม่ หนุนใช้ Location Intelligence

July 05, 2021 2122

บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้าน Location Intelligence การวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่

จากความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ArcGIS ในประเทศไทยมากว่า 30 ปี รุกกลุ่มธุรกิจงานจัดการ “สมาร์ทซิตี้” หนึ่งในเรือธงธุรกิจ ชู ArcGIS เป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการสมาร์ทซิตี้ ด้วยการนําเทคโนโลยี GIS เข้ามาประยุกต์บูรณาการฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพิ่มศักยภาพวิเคราะห์จัดการ วางแผนงานเชิงลึกโครงการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ รับการเติบโตขยายตัวของเมือง สู่การพัฒนาโซลูชันให้ตรงจุดสอดคล้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ พร้อมสร้างศูนย์กลางข้อมูล เปิดพื้นที่เชื่อมประสานแต่ละโครงการกับทุกภาคส่วน เผยหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จของ “สมาร์ทซิตี้” คือ การร่วมมือของภาครัฐระดับท้องถิ่น องค์กรเอกชน และประชาชนอย่างเป็นระบบ

นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในปัจจุบันประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราการขยายตัวของเมืองสูง (Urbanization) สังเกตได้จากการกระจายตัวของการสร้างที่อยู่อาศัยที่ขยายออกสู่ชานเมืองอย่างรวดเร็ว รวมทั้งโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงการคมนาคมขนาดใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อรับรองการดำเนินชีวิตของทุกคน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เอื้อต่อการเติบโต ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ซึ่งที่มาของแผนทิศทางบริษัทฯ ในปี 2564 นี้ คือ การเดินหน้านำ Location Intelligence เข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์จัดการโครงการต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมือง ปรับปรุงและลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการทำงาน ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่การเป็นดิจิทัล เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สอดรับนโยบายภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเมืองสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) อย่างสมบูรณ์ จําเป็นต้องมีข้อมูลเชิงตําแหน่ง (Location-based) เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางผังเมือง ออกแบบ และวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการนําเทคโนโลยี GIS เข้ามาประยุกต์บูรณาการฐานข้อมูล นําไปสู่หลักการพัฒนาโซลูชันให้สอดคล้องกับโครงการต่าง ๆ ของ สมาร์ทซิตี้ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

1.สนับสนุนการวางแผนและงานด้านวิศวกรรม (Planning and Engineering) โดยการนำเทคโนโลยี GIS มาช่วยเรื่องการออกแบบเมืองให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ของการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ความเป็นเมืองนั้น ๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม ฯลฯ โดยหลักสำคัญของการทำสมาร์ทซิตี้ คือ การบูรณาการฐานข้อมูล ที่จำเป็นต้องเห็นภาพรวมทุกอย่างก่อนนำไปสู่ Digital Twin การจำลองภาพเมืองเสมือนจริง ที่จะช่วยให้การวางแผนการทำงานมีประสิทธิภาพและช่วยในการวิเคราะห์ ประเมินคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

2.ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานภาพรวม(Operational Efficiency) โดยในส่วนของภาครัฐ มีแอปพลิเคชันพร้อมใช้งานที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ภาคสนาม มอนิเตอร์สถานะผ่านระบบ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างระบบบริหารจัดการข้อมูลการจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ หรืองานติดตามสถานการณ์ฉุกเฉิน ตัวอย่างที่สำคัญ เช่น ระบบติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรด้านสาธารณสุข เป็นต้น

3.ใช้ประโยชน์จากการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Performance) เพื่อการรับรู้และตอบสนองแบบเรียลไทม์ การ Feed ข้อมูลจาก IoT และ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงการระบาดของโรค การวิเคราะห์คาดการณ์ผลผลิตด้านการเกษตร CCTV ดูความปลอดภัยและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม เป็นต้น

4.การมีส่วนร่วมของประชาชน (Civic Inclusion) สามารถนำเสนอศูนย์กลางของข้อมูล แผนที่ แอปพลิเคชัน เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนได้รับทราบข้อมูลร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะมี ซอฟต์แวร์ ArcGIS Hub เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย สามารถสร้างศูนย์กลางข้อมูลให้ผู้ใช้งานเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสาร เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดและรอบด้าน ช่วยในการบริหารจัดการเมืองอย่างเป็นมีประสิทธิภาพได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะเป็นกุญแจสำคัญที่ผลักดันการเป็นเมืองอัจฉริยะ แต่ยังพบอุปสรรคในการนําเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อบูรณาการฐานข้อมูล พร้อมทั้งการจัดทำศูนย์กลางในการสื่อสาร และรวบรวมโครงการต่าง ๆ ในการทำงานและแก้ไขปัญหา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในทุกพื้นที่มีความต้องการเดียวกันคือ การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐระดับท้องถิ่น องค์กรเอกชน และความร่วมมือจากประชาชน นับเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จของ “สมาร์ทซิตี้” ทั้งนี้ หากหน่วยงานหรือองค์กร ตลอดจนผู้พัฒนาโครงการกำลังมองหาตัวช่วยในการยกระดับโครงการ บริหารจัดการข้อมูลสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ อีเอสอาร์ไอ พร้อมสนับสนุนด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญในด้าน Location Intelligence เข้าไปเสริมประสิทธิภาพการบริหารงานโครงการ ทั้งในเชิงงานก่อสร้าง วางแผนหรืออสังหาฯ ได้ต่อไป นางสาวธนพร กล่าวทิ้งท้าย

 

X

Right Click

No right click