November 22, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

เนื่องในโอกาสวันแพทย์สากล วันที่ 7 ตุลาคม มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ (SGU) คณะแพทยศาสตร์ ในเกรนาดา หมู่เกาะเวสต์อินดิส ได้เผยเคล็ดลับเพื่อช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น

การส่งเสริม Work-life balance

ในสาขาที่มีความต้องการสูง เช่น การแพทย์ปฐมภูมิ (Primary care) มักจะมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้แพทย์สามารถจัดการทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงานได้ง่ายขึ้น “การแพทย์ปฐมภูมิมีความโดดเด่นในเรื่องความยืดหยุ่น” ดร. ลินดา กิร์กิส ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ปฐมภูมิในรัฐนิวเจอร์ซีย์ กล่าว “ปัจจุบัน แพทย์หลายคนเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกเพื่อลดการทำงานช่วงดึกในโรงพยาบาล โดยแต่ละทางเลือก ทั้งการทำงานส่วนตัวหรือภายใต้ระบบโรงพยาบาล มีทั้งข้อดีและความท้าทายที่แตกต่างกัน”

Work-life balance สามารถทำได้ในสาขาวิชาเฉพาะทางอื่น ๆ นอกเหนือจากการแพทย์ปฐมภูมิ แม้ว่าอาจต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ความเชี่ยวชาญด้านหัตถการมักต้องใช้เวลาทำงานหลายชั่วโมง โดยส่วนใหญ่ในช่วงเช้า ทำให้แพทย์ในสาขานี้ต้องจัดตารางเวลาอย่างรอบคอบเพื่อแบ่งเวลาสำหรับการทำงานและการพักผ่อนที่บ้าน

เคล็ดลับในการป้องกันภาวะหมดไฟ (burnout)

“กินอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ และอย่าละเลยเวลาสำหรับเพื่อนและครอบครัวเกินความจำเป็น” ดร. เดวิด โธมัส ศิษย์เก่าของ SGU และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในการปลูกถ่ายและมะเร็งที่ Moffitt Cancer Center แนะนำ “การหาสมดุลคือกุญแจสำคัญในการยกระดับการทำงานของคุณ”

"แพทย์ที่มี Work-life balance มักมีสุขภาพที่ดี โดยสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก SGU ความสมดุลนี้เริ่มต้นตั้งแต่ในมหาวิทยาลัย ซึ่ง ดร. อิเฟอาทู เอ็กวาตูศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ กล่าวว่า ความสามารถในการจัดการความรับผิดชอบที่หลากหลายอย่างเกิดจากประสบการณ์ที่ SGU “การบริหารจัดการเวลาของผมอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผมประสบความสำเร็จทั้งในโรงเรียนแพทย์และกิจกรรมนอกหลักสูตร’

ดร. นันดิธา กูรูวายะห์ ศิษย์เก่าของ SGU และเป็นแพทย์ประจำบ้านขั้นต้น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าและการดูแลตนเอง ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า “เรายังคงต้องรักษาสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตกับการทำงานต่อไป และสิ่งสำคัญคือแผนการที่ดีรวมกับการจัดสรรเวลาในการดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดการหมดไฟ

สิ่งที่แนะนำคนอื่นไว้ ตัวเองก็ต้องทำได้

ตัวแพทย์เองอาจต้องทำตามคำแนะนำของตนเองที่เคยให้ไว้กับผู้ป่วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากความเครียดและการหมดไฟดีกว่าบุคคลอื่น ดังนั้นหากแพทย์ใส่ใจเรื่องความสุขทางร่างกายและจิตใจของตนเอง จะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ป่วยได้

ดร. การิมา กุปตะ ศิษย์เก่าของ SGU และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา กล่าวว่า “สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการให้ความสำคัญและดูแลสภาพจิตใจ เพื่อไม่เกิดภาวะหมดไฟ”

การรักษาสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวในอาชีพแพทย์อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่ก็สามารถเป็นไปได้ นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเริ่มเรียนไม่ควรท้อแท้เมื่อเผชิญกับอุปสรรคนี้ ซึ่งตัวอย่างที่ดีคือบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จที่สามารถมี Work-life balance ได้ในฐานะแพทย์

แพทย์เฉพาะทางชี้สตรีมีครรภ์มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง หากได้รับปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ แนะทานแคลเซียมเสริมก่อนนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก

จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า "โรคกระดูกพรุน" เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขในลำดับที่ 2 ของโลก รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด โดยสอดคล้องกับข้อมูลของ "มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ" พบว่า ประชากรไทยที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 80-90% ยังไม่ได้รับการประเมินและรักษา

"โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการ และไม่มีสัญญาณเตือนก่อนล่วงหน้า เมื่อผู้ป่วยประสบภาวะกระดูกพรุนจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่ายขึ้น หากเกิดร่วมกับกระดูกสะโพกหักจะมีอัตราการเสียชีวิตในปีแรกมากถึง 17% และมีสัดส่วน 80% ที่ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม"

 

นพ.ฐปนัตว์ จันทราภาส แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่าโรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก ซึ่งจะมีผลทำให้กระดูกบางและเปราะง่าย ไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามปกติ ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงกระดูกหักได้ง่าย

โรคกระดูกพรุนมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบมากในสตรีที่ตั้งครรภ์ เพราะบุตรจะดึงปริมาณของแคลเซียมออกไป ทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกของผู้เป็นแม่ลดลง ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ในเรื่องของการสะสมมวลกระดูกเอาไว้ ยกตัวอย่าง แพทย์จะเสริมปริมาณแคลเซียมให้คุณแม่ขณะตั้งครรภ์ แต่เมื่อหลังคลอดลูกก็ต้องกินนม ซึ่งจำเป็นที่คุณแม่ก็ต้องได้รับปริมาณแคลเซียมเสริมด้วยเช่นกัน เพราะธนาคารกระดูก หรือ Bone Bank เกิดขึ้นและสะสมปริมาณแคลเซียมนี้เอาไว้ตั้งแต่เราอยู่ในท้องจนถึงอายุ 20 กว่าๆ ร่างกายจะค่อยๆ ถอนเอาไปใช้ สำหรับในเพศชายจะมีการสะสมของมวลกระดูกมากกว่าในเพศหญิง ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเพศชายไม่ต้องตั้งครรภ์จึงไม่สูญเสียมวลกระดูกในส่วนนี้ไป ในขณะที่เพศหญิงการมีบุตรจะดึงปริมาณแคลเซียมที่สะสมเอาไว้เพื่อสละให้ลูกน้อยตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

ขณะเดียวกันจากสถิติพบว่าผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะเริ่มมีภาวะของโรคกระดูกพรุนเช่นเดียวกัน จึงต้องมีการเสริมแคลเซียมเข้าไปด้วย

อย่างไรก็ตามกระดูกประกอบด้วยโปรตีนที่เป็นเส้นใยคอลลาเจนและมีแคลเซียมมาตกผลึกจับตัวกับคอลลาเจน จนกลายเป็นของแข็งที่สามารถรับน้ำหนัก แรงกด หรือแรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นในตัวเอง การ

สร้างกระดูกให้แข็งแรงจำเป็นต้องได้รับปริมาณแคลเซียมและสารอาหารที่เหมาะสม โดยแคลเซียมจะทำให้กระดูกแข็งแรง ส่วนโปรตีนโดยเฉพาะคอลลาเจนและโปรตีนอื่น ๆ จะทำให้กระดูกมีความเหนียวและยืดหยุ่น

นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ได้แก่ การได้รับปริมาณแคลเซียมที่ไม่เพียงพอ กรรมพันธุ์ หรือผู้ที่มีประวัติกระดูกเปราะและหักง่าย หญิงวัยหมดประจำเดือน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา และคาเฟอีน ไม่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่รับประทานยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคไต

นพ.ฐปนัตว์ เผยว่า การฉีดซีเมนต์ (Bone Cement) เพื่อรักษากระดูกสันหลังแตก หัก และทรุด โดยการเสริมความแข็งแรงของตัวกระดูกสันหลังที่หักด้วยซีเมนต์ เพื่อให้สามารถกลับมารับน้ำหนักตัวได้อีกครั้ง เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ประสบความสำเร็จสูงมาก และทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวด ฟื้นตัวได้เร็ว อีกทั้งขนาดแผลยังเล็กมากจนแทบจะมองไม่เห็น

สำหรับขั้นตอนการฉีดซีเมนต์ แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กโดยใช้เครื่องเอกซเรย์พิเศษ (Fluoroscope) เพื่อหาตำแหน่งและเจาะเข้าไปในบริเวณที่กระดูกสันหลังแตก หัก หรือยุบ แล้วค่อยๆ ฉีดซีเมนต์ไปทีละนิด เพื่อไม่ให้ซีเมนต์ไหลออกมาจากกระดูก และรอให้ซีเมนต์แข็งตัว จึงดึงเข็มออกแล้วใช้พลาสเตอร์ปิดแผล เนื่องจากขนาดแผลที่เล็ก จึงไม่จำเป็นต้องเย็บปิดแผล

โดยทั่วไปแล้ววิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ ด้วยวิธีการฉีดซีเมนต์นั้น มี 2 วิธี 1.การฉีดซีเมนต์อย่างเดียวตรงๆ 2.การฉีดซีเมนต์โดยใช้ Balloon ขยายก่อน เพื่อที่จะฉีดซีเมนต์เข้าไปให้ได้ปริมาณที่มาก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เราใช้เทคนิคพิเศษโดยการฉีดซีเมนต์ปริมาณมาก เข้าไปตรงบริเวณที่แตกหัก ยุบ อย่างตรงจุด ด้วยอุปกรณ์นำวิถี ซึ่งวิธีนี้จะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากและข้อแทรกซ้อนน้อย

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นเพียงแค่ 1–2 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์ที่ฉีดเข้าไปนั้นแข็งตัว ก็สามารถลุกนั่ง ยืน เดินได้ตามปกติ และอาการปวดของผู้ป่วยก็จะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากที่ฉีดเสร็จ การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ซึ่งมีความชำนาญในการทำหัตถการเท่CRานั้นC

CR : โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ 

“อยากให้แพทย์ที่ทำศัลยกรรมความงาม ช่วยกันศัลยกรรมรักษาโรค ตอบแทนสังคม ควบคู่ไปด้วย ตามสาขาที่ตนเรียนมา ”

…นี่คืออุดมการณ์อันแน่วแน่ต่อวิชาชีพของ นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมตกแต่งและผู้อำนวยการศูนย์ศัลยกรรมความงาม โรงพยาบาลบางมด เพราะใช่ว่าทุกคนบนโลกใบนี้จะเกิดมาหน้าตาสวย หล่อ ดูดี มีอวัยวะที่สมบูรณ์เหมือนกันไปหมด บางคนกลับต้องเจอกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณหมอจึงพยายามผลักดันให้แพทย์ทุกคนช่วยเหลือและตอบแทนสังคมด้วยการที่มีแนวคิดว่าแพทย์ที่ทำศัลยกรรมความงาม ช่วยกันทำศัลยกรรมรักษาโรค เพราะสูงสุดของการทำศัลยกรรมไม่เพื่อความงามเท่านั้น แต่ยังเป็นศาสตร์ที่ไว้ช่วยเหลือและรักษาคนในโรคต่างๆได้

หากจะเอ่ยชื่อหมอศัลยกรรมอันดับต้นของประเทศไทย คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักชื่อ นพ.ธนัญชัย อัศดามงคล ด้วยฝีมือทางการทำศัลยกรรมอันเป็นที่ประจักษ์ในวงการศัลยกรรมทำให้ชื่อเสียงคุณหมอธนัญชัยดังไกลไปทั่วโลกและยังเป็นหมอที่เล็งเห็นว่าการทำศัลยกรรมสามารถช่วยเหลือผู้คนได้มากกว่าความงาม เพราะเป็นแพทย์จึงมีความเข้าใจว่าการผลิตแพทย์แต่ละคนต้องใช้งบประมาณมาก และประเทศลงทุนในการผลิตแพทย์ไปมาก โดยเฉพาะการเรียบจบแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆ แพทย์แต่ละท่านต้องผ่านการเรียนรู้มาเป็นสิบปี เช่น สาขาศัลยกรรมตกแต่ง ใช้เวลาการเรียนแพทย์ถึง 14 ปี จึงจะจบหลักสูตรได้ ดังนั้นสำหรับแพทย์ที่หันมาสนใจทำด้านศัลยกรรมความงามคุณหมอจึงอยากให้ศัลยกรรมเพื่อรักษาโรค ตอบแทนสังคม ควบคู่ไปด้วย ตามสาขาที่ตนได้เรียนมา เช่น แพทย์สาขาศัลยกรรมตกแต่งก็ให้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาแผลไฟไหม้ รักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุทางใบหน้าไปด้วย แพทย์ที่จบด้านผิวหนังก็อยากให้ดูแลคนไข้โรคผิวหนัง เช่น มะเร็งผิวหนัง โรคสะเก็ดเงินไปด้วย โดยเน้นย้ำว่าอย่าทิ้งความรู้หลักในสาขาที่เราเรียนและยังเน้นย้ำกับทีมแพทย์ที่ศูนย์ศัลยกรรมความงามโรงพยาบาลบางมด เสมอว่าหากแพทย์ต้องการมาสมัครเพื่อทำด้านศัลยกรรมความงาม ให้ช่วยกันผ่าตัดตอบแทนสังคมตามสาขาที่เรียนมา เพราะไม่ต้องการให้แพทย์จำนวนมากมาทำศัลยกรรมความงามเพียงอย่างเดียว

ซึ่งที่ผ่านมา ในส่วนของ นพ.ธนัญชัย ได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตรวจสุขภาพในถิ่นทุรกันดารและผ่าตัดให้กับผู้ด้อยโอกาสกับโครงการ “สวยด้วยใจกับรพ.บางมด” โดยใช้วิชาชีพแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความทุกข์ยากทั้งกายและใจจากการเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ไม่มีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์และการแพทย์ยังเข้าไม่ถึง โดยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างหนึ่งโดยความผิดปกตินั้นเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดาโดยจะส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพ การรับประทานอาหาร การกลืน การได้ยิน และสุขภาพในช่องปากได้ โดยการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่

จำเป็นต้องใช้แพทย์หลายสาขาในการรักษาซึ่งหนึ่งในนั้นคือศัลยแพทย์ตกแต่ง โดย นพ.ธนัญชัย ได้นำทีมแพทย์ของโรงพยาบาลบางมด ทำการรักษาและผ่าตัดให้กับผู้ป่วยในโครงการ และจากการติดตามผู้ป่วยที่คุณหมอได้ทำการผ่าตัด พบว่าผู้ป่วยทุกรายสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้น ทำให้ทางโรงพยาบาลบางมดเล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยเหลือเด็กที่มีความผิดปกติจากโรคดังกล่าว จึงเกิดโครงการช่วยเหลือเด็กและผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

 

“โอย ปวดท้องจัง!” เมื่อได้ยินคนข้าง ๆ ร้องขึ้นมาแบบนี้ เราอาจคิดถึงอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารหลัก ๆ ไม่กี่แบบ เช่น โรคกระเพาะอาหาร อาหารเป็นพิษ หรือท้องอืดท้องเฟ้อ แต่แพทย์เตือนให้เราสังเกตลักษณะอาการปวดท้องให้ดี เพราะอาการเจ็บป่วยทั่วไปนี้อาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่ซ่อนภาวะโรคร้ายแรงอื่น ๆ ไว้โดยที่เราไม่รู้ตัว

อาการปวดท้อง ไม่เท่ากับ โรคกระเพาะเสมอไป

โรคกระเพาะอาหาร เป็นคำเรียกรวมกว้าง ๆ ของอาการปวดท้องที่คาดว่าน่าจะมีความผิดปกติที่กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หรือมีแผล อาการปวดด้วยโรคกระเพาะมักจะปวดใต้ลิ้นปี่ เป็นอาการปวดจุก เสียด แน่น หรือแสบท้อง อึดอัดท้องหลังมื้ออาหาร หรืออิ่มเร็วกว่าปกติ โดยบางรายอาจมีอาการของกรดไหลย้อนร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางหน้าอก เรอเปรี้ยว

พญ.สาวินี จิริยะสิน แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า “เรื่องหนึ่งที่หมออยากแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคกระเพาะอาหารก็คือการกินข้าวไม่ตรงเวลาไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะ โดยทั่วไป อาการกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหารมี 2 สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ชื่อว่า Helicobacter pylori และการกินยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ซึ่งก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้กระเพาะอาหารหรือลำไส้เกิดเป็นแผลได้ สาเหตุที่เหลืออาจเป็นอย่างอื่น เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถ้าสงสัยว่าอาการปวดท้องเป็นจากโรคกระเพาะ สามารถทานยาลดกรดเพื่อรักษาเบื้องต้นก่อนได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นแนะนำมาพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป”

ดังที่กล่าวไปว่าหากรักษาเบื้องต้นไม่หาย เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติที่แท้จริง เช่น หากปวดจุกลิ้นปี่สงสัยโรคกระเพาะก็พิจารณาส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น หากปวดท้องหนักมาก ปวดเกร็งทั้งท้อง นอนไม่ได้เลย อาจเป็นอาการจากกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งการเอกซเรย์ธรรมดาก็สามารถเห็นได้และสามารถผ่าตัดได้เลย นอกจากนี้ยังมีการอัลตราซาวด์ช่องท้องซึ่งใช้ตรวจความผิดปกติของตับ โรคนิ่วในถุงน้ำดีหรือนิ่วในท่อน้ำดี นอกจากนี้ยังมีการสืบค้นด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่ การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ หรือ การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตามดุลยพินิจของแพทย์

เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดท้องของเราเป็นแบบไหน?

ในทางการแพทย์ เราแบ่งลักษณะการปวดท้องออกเป็น 3 แบบ” พญ.สาวินี จิริยะสิน อธิบาย “แบบที่ 1 คือปวดจากอวัยวะภายใน ซึ่งจะเป็นการปวดแบบปวดลึก ปวดบิด ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ส่วนแบบที่ 2 คือการปวดท้องตามตำแหน่งของอวัยวะนั้น ๆ สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน และแบบที่ 3 คือการปวดร้าว ซึ่งเป็นการปวดที่ร้าวหรือแผ่ไปยังบริเวณอื่น ๆ ตามการลำเลียงของเส้นประสาท เช่น ปวดท้องใต้ลิ้นปี่แล้วปวดร้าวไปที่บริเวณหลัง คิดถึงโรคตับอ่อนอักเสบ หรือ ปวดท้องแล้วร้าวลงขาหนีบ คิดถึงนิ่วในท่อไต เป็นต้น”

 

ลักษณะอาการปวดท้องที่คนไข้สามารถสังเกตตัวเองได้คือแบบที่ 2 หรือการปวดท้องตามตำแหน่งของอวัยวะ ซึ่งในทางการแพทย์จะแบ่งช่องท้องของคนไข้เป็น 9 โซน ได้แก่

โซน 1: ช่องท้องด้านขวาบนจะเป็นอวัยวะเช่น ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคฝีหนองในตับ ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี ฯลฯ

โซน 2: กลางลำตัวบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งเป็นบริเวณของกระเพาะอาหาร ตับอ่อน อาการปวดอาจเกิดจากกระเพาะอาหารอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือภาวะตับอ่อนอักเสบ

โซน 3: ช่องท้องด้านซ้ายบน เช่น ม้าม (อาจเกิดจากการขาดเลือดของม้าม ซึ่งเจอได้น้อยในเวชปฏิบัติ)

โซน 4, 6: บริเวณเอว หมายถึง ด้านข้างสะดือซ้ายและขวา อวัยวะได้แก่ ไต ท่อไต ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ นิ่วในท่อไต ลำไส้ใหญ่อักเสบ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่

โซน 5: ตรงกลางท้องรอบสะดือ อวัยวะคือลำไส้เล็ก ที่อาจเกิดจากลำไส้เล็กอักเสบหรือไส้ติ่งอักเสบในระยะเริ่มต้น

โซน 7, 9: ท้องน้อยด้านซ้ายและขวา ซึ่งนอกจากไส้ติ่งที่ช่วงแรกจะมีอาการปวดรอบสะดือ หลังจากนั้น 6-8 ชั่วโมง จะมีการย้ายตำแหน่งมาปวดบริเวณขวาล่างเมื่อการอักเสบลุกลามมากขึ้น อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ปีกมดลูก รังไข่ และลำไส้ใหญ่ทั้งสองด้าน โดยอาจเกิด ปีกมดลูกอักเสบ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ กระเปาะของลำไส้ใหญ่โป่งพองอักเสบ ซึ่งมักพบด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา

โซน 8: บริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว จะเป็นส่วนของกระเพาะปัสสาวะ มดลูก ซึ่งอาจเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มดลูกอักเสบ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งต้องซักประวัติตกขาว ประจำเดือนเพิ่มเติม และแนะนำปรึกษา สูตินรีแพทย์

โพรไบโอติกส์ ช่วยสร้างสมดุลระบบทางเดินอาหารได้จริงหรือ?

ลำไส้ใหญ่ของเราเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ราวห้าร้อยชนิดซึ่งมีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี การศึกษาทางการแพทย์พบว่าจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีความสำคัญต่อสุขภาพหลัก ๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) กับ ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) โดยพบว่าในลำไส้ของคนที่ป่วยมักมีจุลินทรีย์สองชนิดนี้น้อยกว่าคนปกติ ฉะนั้น หากเราเติมจุลินทรีย์ที่ดีในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์เข้าสู่ร่างกายก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ และมีงานวิจัยสนับสนุนด้วยว่าโพรไบโอติกส์สามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียหรือลำไส้แปรปรวน ตลอดจนช่วยปรับสมดุลลำไส้ได้

อาการปวดท้องแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

“หากเรามีอาการปวดท้องรุนแรงมากและต่อเนื่องเกิน 6 ชม. ร่วมกับมีไข้ อาเจียนอย่างมาก มีเลือดออกทางเดินอาหาร ปวดร้าวทะลุหลัง ปวดเกร็งทั้งท้อง ฯลฯ อาการเหล่านี้อาจเป็นโรคที่ต้องมีการผ่าตัดเร่งด่วน หรือได้รับการรักษาทันที เช่น กระเพาะทะลุ ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ท่อน้ำดีอุดตัน ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น หรือ อาการปวดท้องน้อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจเกิดจากการแท้งบุตร หรือท้องนอกมดลูกก็ต้องรีบมาพบแพทย์ทันทีเช่นกัน” พญ.สาวินี จิริยะสิน กล่าวสรุป

 ผู้สนใจรับการตรวจรักษาโรคหรือปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต ชั้น 5 โรงพยาบาลวิมุต พหลโยธิน 

Cr: โรงพยาบาลวิมุต

ในงานนิทรรศการ AI และ Big Data กองทัพเรือ ประจำปี 2564 ผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง (Virtual Exhibition)

X

Right Click

No right click