January 22, 2025

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด และบริษัทยิบอินซอย จำกัด จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนา Center of Digital Learning Hub

โดย รองศาสตราจารย์ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามร่วมกับ นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด และ นางมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด โดยมี ผู้ช่วยศาสตรจารย์จรวย สาวิถี ผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นายพิพิธ จริยวัฒนวิจิตร Deputy Managing Director - Commercial & Operation บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด และ นายสุขสันต์ มงคลจุฑา Senior AVP-Sales & Marketing บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ร่วมลงนามเป็นพยาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคารบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเยี่ยมชมพร้อมแนะนำการใช้งานและการให้บริการของ Digital Learning Hub ณ อาคารสโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU Staff club)

 

โดยทั้ง 3 ฝ่าย มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคามให้เป็น Center of Digital Learning Hub (Learning Center) พัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้ ทักษะและความสามารถของผู้ที่เข้าร่วมโครงการ Center of Educational Technology (Learning Center) ให้มีความรู้ ความสามารถในสายงานด้านเทคโนโลยี เช่น สายงาน Web/Mobile สายงานกลุ่ม Data สายงานกลุ่ม IoT สายงานกลุ่ม Automate สายงาน Infrastructure และ Hardware และสายงานธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาระบบ Digital Learning Platform เพื่อรองรับการเข้าใช้งานของ บุคลากรและ นิสิตภายในมหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้สนับสนุนพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม การบริหารจัดการ และการบริการต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งนิสิตและบุคลากร เพื่อเตรียมพร้อมกับการแข่งขัน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน และวันนี้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด และ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ที่ให้การสนับสนุนด้านระบบ Smart Classroom ให้แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมสำหรับนิสิต พร้อมร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่การเป็น Smart University”

นายธีรพันธุ์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) กล่าวว่า “การสร้างระบบเครือข่ายการศึกษาให้สอดคล้องกับโลกดิจิทัลในยุคปัจจุบันนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทีซีซีเทคได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ภาคการศึกษา โดยในครั้งนี้ ทีซีซีเทคได้จับมือร่วมกับยิบอินซอยในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และระบบการจัดการการเรียนการสอน Digital Learning Management Platform (DLMP) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาคณาจารย์สามารถผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอนดิจิทัลได้ โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว อีกทั้งยังสนับสนุนการยกระดับทักษะ Reskill/ Upskill เพื่อช่วยขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็น Digital Learning Hub”

นางมรกต ยิบอินซอย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างครบวงจร มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญ ในการสนับสนุน และร่วมกันพัฒนา Education Learning Technology อย่างสร้างสรรค์ และใช้ได้จริง เพื่อรองรับและเป็นการก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation รวมถึงการเพิ่มโอกาสให้ทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นแรงผลักดันสู่ความเป็น Digital Learning Hub พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อรองรับการเป็น Learning Center ได้อย่างสมบูรณ์แบบ อาทิ การจัดทำ System Integration เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายต่าง ๆ เป็นต้น”

จำนวนอุปกรณ์ IoT และการใช้โดรนได้เติบโตอย่างรวดเร็วและจำเป็นต้องมีระบบการสื่อสารบรอดแบนด์ความเร็วสูง เพื่อให้สามารถรองรับอุปกรณ์ IoT ได้อย่างแม่นยำปลอดภัย

NTT Ltd., ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เผยถึงการคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2020 ใน Future Disrupted : 2020  โดยชี้แนวโน้ม 6 เทคโนโลยีสำคัญช่วยพัฒนาธุรกิจ สอดรับการพลิกโฉมและยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล

โดยแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย

เทคโนโลยีด้าน Disruptive (Disruptive Technologies)

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)

รูปแบบสถานที่ทำงาน (Workplace)

โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

ธุรกิจ (Business)

และการบริการด้านเทคโนโลยี (Technology Services)

Ettienne Reinecke ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท NTT Ltd. คาดการณ์ว่า "การใช้เทคโนโลยีด้าน Disruptive ( disruptive technologies ) ที่จะเกิดเป็นกระแสหลักในปี 2020 โดยจะเป็นการผสมผสานระหว่างข้อมูล ระบบอัตโนมัติ และ IoT (Internet of Things) เข้าด้วยกันเพื่อสร้างการเชื่อมต่อของเมืองและสังคมให้เชื่อมโยงถึงกัน"

เอ็นทีที ยังคาดการณ์ว่า ในปี 2020 หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยกล่าวถึงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จะมีการเชื่อมต่อกันเพื่อนำไปสู่การสร้างเมืองอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน และธุรกิจยุคใหม่ที่เชื่องโยงถึงกันบนพื้นฐานของความปลอดภัย

ทั้งนี้ ระบบข้อมูล เทคโนโลยีด้าน  AI (Artificial Intelligence) และระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการออกแบบมาโดยตรง จะเป็นหัวใจที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของอุปกรณ์ต่างๆ ให้เชื่อมโยงและสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ด้วยตัวเอง โดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์ เมืองอัจฉริยะและการใช้ IoT จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการปรับปรุงประสิทธิภาพ สร้างการเติบโต และพัฒนานวัตกรรมในทุกภูมิภาค

ที่ผ่านมา เอ็นทีที มีการควบรวมบริษัทต่างๆ ในเครือ ให้อยู่ภายใต้แบรนด์ NTT Ltd. ปัจจุบัน  NTT Ltd. มีพนักงาน 40,000 คนจาก 31 แบรนด์ ซึ่งรวมทั้งบริษัท  NTT Communications บริษัท Dimension Data และบริษัท NTT Security เพื่อให้บริการลูกค้ากว่า 10,000 รายทั่วโลก

การใช้ข้อมูลเชิงลึกที่รวบรวมจากฐานลูกค้าทั่วโลก ทำให้เอ็นทีทีสามารถคาดการณ์อนาคตเพื่อสร้างสรรค์โซลูชั่นด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้กับลูกค้า ทั้งนี้ รายงานการคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2020 ใน Future Disrupted : 2020 จะช่วยให้องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมเห็นทิศทางและแนวทางที่จำเป็นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดปี 2020

          “ที่ผ่านมา หลายอุตสาหกรรมมักพูดถึงเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งระบบคลาวด์ ข้อมูล เทคโนโลยีเอไอ และระบบความปลอดภัยในมุมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ปีหน้าสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนไป โดยเราจะเห็นการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ ที่มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น มีการเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม" Ettienne Reinecke กล่าว

Reinecke กล่าวต่อว่า ในปี 2020 เมืองและสังคมต่างๆ ทั่วโลกจะเริ่มเดินตามรอยการพัฒนาเมืองของลาสเวกัส ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะที่มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างภูมิภาค และสร้างการรับรู้สถานการณ์ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีในรูปแบบวิดีโอและเสียงด้วยการใช้เทคโนโลยี IoT บนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความปลอดภัย ลาสเวกัสได้พัฒนาเมืองให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัย มีการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ เพื่อไปสู่เป้าหมายของการมีชีวิตที่ยืนยาว ซึ่งการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ จำเป็นต้องอาศัยการผสมผสานเทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ โดยเรามองว่าการพัฒนาเมืองในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีในปีหน้า

รายงานการคาดการณ์ Future Disrupted : 2020 จัดทำและรวบรวมขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของเอ็นทีที โดยได้ระบุแนวโน้มสำคัญใน 12 เดือนข้างหน้า รวมถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในอนาคต และขั้นตอนต่างๆ ที่ธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์ตลอดปี 2020

แม้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ช่วงที่ผ่านมากลับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างช้ากว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งชี้ให้เห็นชัดว่า เรายังไม่มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ช่วยแก้ปัญหาในสังคม ธุรกิจ หรือในชุมชน ฉะนั้นยังมีโอกาสอีกมากที่เราจะใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการริเริ่มสร้างนวัตกรรมในหลากหลายสาขา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต

เทคโนโลยีสำคัญที่เอ็นทีทีคาดว่าจะมีบทบาทในอนาคต ประกอบด้วย

  1. Digital Twining : เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองเสมือน โดยอาศัยข้อมูล (datapoints) ที่เพียงพอ เพื่อสร้างแบบจำลองที่มีรูปแบบพฤติกรรมและความเข้าใจใกล้เคียงกับต้นแบบจริงเพื่อให้ได้ผลแม่นยำและรวดเร็วขึ้น
  2. การสร้างความไว้วางใจผ่านการโต้ตอบบนระบบดิจิตอล (Building trust through digital interactions) : เมื่อ AI ได้รับการพัฒนาขึ้น ธุรกิจสามารถปรับปรุงรูปแบบการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้มีความใกล้ชิดมากขึ้น จากเพียงการให้บริการเชิงธุรกรรมเพียงอย่างเดียว ไปสู่การสร้างระบบที่สามารถดูแลลูกค้าเพื่อสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  3. การสร้าง Phygital Space (Immersive, responsive ‘phygital’ spaces) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างโลกดิจิทัล (Digital) และโลกกายภาพ (Physical) โดยอาศัยพื้นที่ทางกายภาพ เช่น ห้องประชุม สำนักงาน หรือร้านค้า ติดตั้งเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงให้ผู้ใช้เกิดประสบการณ์ที่หลากหลาย
  4. อาคารอัจฉริยะ (Smart Buildings) ที่ใช้ IoT เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยมีความสะดวกสบายและยั่งยืนมากขึ้น โดยอาคารอัจฉริยะสามารถปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับจำนวนผู้คนในอาคาร หรือปรับแสงสว่างให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงเวลาของวันโดยอัตโนมัติ
  5. Data Wallets เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อมูลนั้นๆ จะอยู่ที่เจ้าของข้อมูลอย่างปลอดภัย โดยผู้อื่นไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้หากไม่ได้รับอนุญาต และหากเจ้าของข้อมูลถูกคุกคาม ข้อมูลนั้นจะถูกล็อคและไม่สามารถเข้าถึงได้

รายละเอียดเกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2020 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ dedicated Future Disrupted page

ในปัจจุบัน อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อป สมาร์ทโฟน แท้ปเล็ตจะมีชิปเซ็ทรองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้ากับอินเทอร์เน็ตอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว

ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตออฟธิงค์ (Internet of Things: IoT: ไอโอที) กำลังสร้างโอกาสทางธุรกิจนานาประเภทอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจกล้องวงจรปิด (Surveillance Camera) เป็นธุรกิจที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ที่สุดประเภทหนึ่งเช่นกัน จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับกล้องรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้อุปกรณ์สวิตช์เทคโนโลยี Power Over Ethernet (PoE) มีบทบาทสำคัญในโซลูชั่นกล้องวงจรปิดมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม สวิตช์พีโออีที่ใช้กันในปัจจุบันนั้นยังก้าวไม่ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการติดตั้งและใช้งานของระบบการเฝ้าระวังสมัยใหม่  ดังนั้น ในฐานะที่ไซเซลเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้านการออกแบบและผลิตสวิตช์จึงได้พัฒนาสวิตช์พีโออีรุ่น GS1300 และ GS1350 สำหรับการใช้งานกับกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ การออกแบบให้มีจำนวนพอร์ตที่หลากหลายและสามารถจ่ายพลังงานได้สูง จึงทำให้เครือข่ายกล้องรักษาความปลอดภัยทำงานได้อย่างง่ายดายถึงแม้ในขณะใช้งานพอร์ตเชื่อมต่อทั้งหมด นอกจากนี้ สวิตช์พีโออีแต่ละรุ่นยังมีพอร์ตอัพลิงค์พิเศษเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายกลางโดยไม่ใช้พอร์ตพีโออีที่มักใช้เชื่อมต่อกับกล้องไอพี

ให้ระยะการส่งสัญญาณได้ไกลยิ่งขึ้น

โดยปกติแล้ว ผู้ใช้งานมักติดตั้งกล้องวงจรปิดและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอื่นๆ ในจุดต่างๆ ที่อยู่ในที่ห่างไกล ในขณะที่สวิตช์พีโออีมาตรฐานทั่วไปมีระยะส่งสัญญาณได้เพียง 100 เมตร แต่สวิตช์ทั้ง 2 ซีรีย์จากไซเซลเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมีระยะส่งสัญญาณได้ไกลถึง 250 เมตร จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งสวิตช์นี้ได้หลากหลายรูปแบบมากกว่า

คุณสมบัติที่ช่วยให้ใช้งานง่ายขึ้น

สวิตช์ซีรีย์ GS1300 และ GS1350 นี้มีแผงด้านหน้าที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการอุปกรณ์ต่อเชื่อมได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้ ไฟแอลอีดีที่ตัวอุปกรณ์จะแสดงให้เห็นระดับการใช้พลังงานของอุปกรณ์สวิตช์ที่ใกล้ความจุสูงสุด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนเครือข่ายได้อย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ใช้พลังงานมากจนเกินไป นอกจากนี้ ซีรีส์ GS1350 ยังมีปุ่ม One-Touch Restore เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดโดยการย้อนการตั้งค่าได้อย่างรวดเร็ว

พัฒนาขึ้นมาเพื่อกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ

สวิตช์ซีรีส์ GS1350 ประกอบด้วยสวิตช์ถึง 4 รุ่น โดยมีคุณสมบัติในตัวอันโดดเด่น ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองหัวใจสำคัญของความต้องการในการจัดการและการบำรุงรักษาของการใช้งานด้านกล้องวงจรปิด  ดังนี้:

  • การกู้การทำงานของกล้องอัตโนมัติ (Auto Camera Recovery): ทันทีที่สวิตช์ตรวจพบกล้องวงจรปิดไอพีที่ทำงานผิดปกติ สวิตช์จะรีสตาร์ทกล้องและพยายามกู้การทำงานของกล้องไอพีคืนโดยอัตโนมัติ
  • จ่ายพลังงานไฟฟ้าพีโออีต่อเนื่อง (Continuous PoE): สวิตช์จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องให้กับกล้องไอพี แม้ในระหว่างการบำรุงรักษา เช่น การอัปเดตเฟิร์มแวร์หรือการตั้งค่าต่างๆ และเมื่อกล้องวงจรปิดสามารถทำงานได้ต่อเนื่องราบรื่น จึงทำให้องค์กรลดปัญหาเรื่องระบบหยุดทำงานลงอย่างเห็นได้ชัดเจน

นอกจากนี้แล้ว ความเสถียรของสวิตช์ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเครือข่ายกล้องวงจรปิด และการเดินสายกล้องวงจรปิดกลางแจ้งมักเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า  ตระกูลซีรีส์ GS1350 จึงได้รับการออกแบบที่ได้รับสิทธิบัตรในคุณสมบัติที่เพิ่มการป้องกันไฟกระชากในระดับสูงขึ้นอีก

ทั้งนี้ ครอลี่ วู รองประธานกลุ่มธุรกิจ Networking SBU ของไซเซลกล่าวว่า “ทุกธุรกิจกำลังพูดถึงศักยภาพของเหล่าแอปพลิเคชั่นที่ใช้ไอโอทีเชื่อมโยงจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคตที่มากมายได้อย่างไร ณ ที่ไซเซล เราจึงได้รวมการวิจัยและพัฒนาของเราเข้ากับความคิดเห็นในหลายๆ ด้านของลูกค้าเพื่อนำมาสรรค์สร้างสวิตช์ที่มีคุณสมบัติอันโดดเด่นเหนือใครในตลาด ช่วยส่งให้ทุกธุรกิจสามารถต่อยอดโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของการเชื่อมโยงไอโอทีได้ตามต้องการ”

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click