การที่สตาร์ตอัพจะประสบความสำเร็จได้ นอกจากแนวคิดธุรกิจที่เหมาะสม ทีมงานมีส่วนผสมผสานลงตัว รวมถึงเงินทุนที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจเล็กๆ ที่พร้อมจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด การสนับสนุนด้วยคำแนะนำ มุมมองในการทำธุรกิจด้านต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้การเติบโตของธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ลดการลองผิดลองถูก เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
โครงการ ดีแทค แอคเซล เลอเรท เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพที่ได้รับการยอมรับในประเทศไทย จนปัจจุบันมีการบ่มเพาะสตาร์ตอัพไปแล้ว 5 รุ่น ด้วยหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้การทำธุรกิจแบบ Tech Startup เช่นเดียวกับหลักสูตรที่มีในซิลิคอน วัลเล่ย์ สตาร์ตอัพในโครงการสามารถระดมทุน
ได้อย่างต่อเนื่องมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของสตาร์ตอัพในภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหนึ่งของการบ่มเพาะสตาร์ตอัพของดีแทค แอคเซลเลอเรท คือการเชิญกูรูในวงการสตาร์ตอัพที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกมาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์กับทีมสตาร์ตอัพที่เข้าร่วมโครงการ คนเหล่านี้มาบอกเล่าแนะนำเรื่องราวอะไรให้กับสตาร์ตอัพชาวไทย เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
เริ่มด้วย Ash Maurya (แอช มารียา) เจ้าของแนวคิด Lean Canvasที่มาแบ่งปันเรื่องการทำแผนธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติ ด้วยกระดาษเพียงแผ่นเดียว โดยเน้นให้แผนธุรกิจนั้น สามารถนำไปใช้ได้จริง ชัดเจน ลดความเสี่ยงจากความ
ผิดพลาด และความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจ ด้วยการเริ่มต้นจากคำถามว่า “ทำไม”
Lean canvas เป็นตัวช่วย ให้สตาร์ตอัพทำธุรกิจได้โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการทดลอง จากสมมติฐานที่สตาร์ตอัพกำหนดขึ้น ทำให้การนำแผนไปใช้ในเชิงธุรกิจจริงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่คาดคิดได้ ซึ่งนี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อดีตสตาร์ตอัพอย่าง Facebook หรือ Dropbox เติบโตกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกได้ปัญหาของสตาร์ตอัพที่ไปไม่ถึงฝันส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่เข้าใจปัญหาในธุรกิจที่ทำอย่างถ่องแท้ ทำให้ธุรกิจที่สร้างขึ้นมา ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เสียทั้งเวลาและเงินทุน เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่ไม่ตรงกับ
ความต้องการของผู้บริโภค การทดลองด้วยการหาทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ตอบสนองกลุ่มคนที่ชอบทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อทดลองตลาดและนำผลมาพัฒนาสินค้าและบริการต่อไป
ปัจจัยสำคัญของ Lean canvas อีกประการคือ การกำหนดดัชนีชี้วัดที่สำคัญ (Key metrics) ในการดำเนินธุรกิจ
ที่ชัดเจนและประเมินผลได้ง่าย โดยควรกำหนดเพียงแค่ 1-2 ดัชนีที่ตอบโจทย์หัวใจของธุรกิจ จากยุคดั้งเดิมที่กำหนดดัชนีชี้วัดการประเมินผลไว้อย่างมากมาย โดยที่ดัชนีเหล่านั้นไม่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ
แอชมองวงการสตาร์ตอัพไทยว่า
ยังคงเน้นทำธุรกิจในลักษณะ Marketplace
เป็นส่วนใหญ่ สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์และบริการส่งไปถึงมือผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายได้ ทั้งนี้ การที่จะทำให้เกิดยูนิคอร์น หรือสตาร์ตอัพที่มีมูลค่า
เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ได้นั้น จำต้องคิดถึงวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาของคนทั้งโลก ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้น
ต่อกันที่ Nir Eyal (เนียร์ อียาล)
ผู้เขียนหนังสือ “Hook: How to Build Habit-Formaing Product” หนังสือขายดี
ในหมวดหมู่ออกแบบของ amazon.com อาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับสตาร์ตอัพทางด้านเทคโนโลยีระดับโลก เช่น Facebook, Instagram Twitter และ Linkedin เป็นต้น
เนียร์บอกว่า ผลิตภัณฑ์ที่จะประสบความสำเร็จต้องสามารถดึงดูดความสนใจนักลงทุน มีศักยภาพในการเติบโต สร้างความผูกพันระหว่างผู้ใช้กับผลิตภัณฑ์ และทำเงินได้จากฐานลูกค้าที่มี ด้วยความเข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค
เขาให้คำแนะนำเรื่องการออกแบบ เพื่อให้ผู้บริโภคกลับมาใช้งานซ้ำ โดยแบ่งโมเดล Hook เป็นขั้นตอนว่า จะเริ่มด้วย Trigger แรงกระตุ้นซึ่งแบ่งเป็นแรงกระตุ้นภายนอกและภายในตัวคน Action การกระทำ เพื่อจัดการกับแรงกระตุ้น หรือ
การใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ Variable Reward คือ รางวัลที่ผู้ใช้งานได้กลับไป เช่นได้รับรู้เรื่องราวของเพื่อนที่ไม่รู้มาก่อน และขั้นสุดท้ายคือ Investment การลงทุน ที่ผู้บริโภคยอมออกแรง มีส่วนร่วมกับสินค้าหรือบริการ เช่นกดไลค์ กดแชร์
กลายเป็นแรงกระตุ้นภายนอกไปสู่ผู้บริโภครายอื่นต่อไป โดยพฤติกรรมเช่นนี้
จะเกิดขึ้นวนไปเรื่อยๆ
สตาร์ตอัพไทยที่ได้เรียนรู้จากเนียลบอกว่าเนื้อหาที่ได้จากการพูดคุยอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถนำไปปรับปรุงสิ่งที่กำลังทำอยู่ให้ดีขึ้น เป็นประโยชน์ในการเข้าใจกลุ่มลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
เนียลในฐานะที่มาแบ่งปันความรู้ที่ดีแทค แอคเซล เลอเรท 4 ปีมาแล้ว ให้ความเห็นว่าคุณภาพของสตาร์ตอัพในโครงการดีขึ้นทุกๆ ปี สภาพแวดล้อมที่จะส่งเสริมการเติบโตของสตาร์ตอัพก็มีการพัฒนาขึ้น เริ่มเห็นรายที่เก่งๆ ประสบความสำเร็จระดมทุนไปลงทุนต่อได้
โดยสิ่งที่ประเทศไทยควรสร้างคือวัฒนธรรมการเป็นสตาร์ตอัพ ที่ต้องลดความกลัวในใจลง ด้วยความคิดว่า สามารถล้มได้และมีความกล้าที่จะทำ
คำแนะนำของเขาคือให้มองหาตลาดที่มีขนาดใหญ่ สามารถขยายได้ ควรรู้เรื่องผลิตภัณฑ์และลูกค้าให้ลึกซึ้ง เข้าถึงจิตใจของ
ผู้บริโภค เข้าใจความคิดของลูกค้า พยายามทำธุรกิจที่คู่แข่งรายอื่นเข้ามาได้ยาก เมื่อลูกค้านึกถึงก็จะคิดถึงเราก่อน และข้อสุดท้ายคือการหาผู้ร่วมงานที่เป็นทีมไปด้วยกันได้แบบคู่ชีวิต
อีกคนที่เข้ามาให้ความรู้คำแนะนำกับสตาร์ตอัพไทยคือ Bjorn Lee (บียอร์น ลี) ที่มาพูดเรื่อง Growth Hacking
ช่วยให้สตาร์ตอัพไทยมองหาโอกาสที่มากกว่าแค่ภายในประเทศ ขยายธุรกิจของตัวเองต่อยอดไปยังตลาดที่กว้างขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้เทคนิคและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย เพื่อช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน เป็นฐานลูกค้าที่เติบโตต่อไปโดยใช้ต้นทุนไม่มาก 10 เทคนิคที่เขาแนะนำประกอบด้วย
1. Pick the right battle (fields) หรือ การใช้แพลตฟอร์มทางการตลาดที่ถูกต้อง เช่น สินค้าหรือบริการต้องอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่ใช้ง่ายและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว
2. Make ads your drones หรือ การใช้สื่อโฆษณาที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าและบริการที่สามารถสื่อสารและสร้างจุดเด่นของแบรนด์ได้อย่างง่าย เช่น การใช้ influencers เป็นกระบอกเสียง
3. Everyone is lazy. YouTube หรือ การสร้างจุดเด่นของสินค้าและบริการในระยะเวลาอันสั้น ปัจจุบันแบรนด์ต้องสร้าง content เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว การใช้ VDO บน YouTube หรือ Facebook ที่สั้น กระชับและตรงประเด็น จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความสนใจในสินค้าหรือบริการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
4. Be a great artist. Steal your competitors PR strategy หรือ การเรียนรู้กลยุทธ์ทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์จากคู่แข่ง เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต
5. Associate with brands cheaply. Hire freelancers smartly หรือ การจัดหาจัดจ้างฟรีแลนซ์ที่มีประสบการณ์
มาช่วยในการทำงานและไว้ใจได้ เพื่อช่วยสร้างกำไรและธุรกิจในอนาคต
6. Positioning for media & mainstream : frame your shit in “X “for “Y” term หรือ ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและการสื่อสารที่ง่าย ฉับไว เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายและใช้ง่าย
7. 80-20 rule for cold emails หรือ การใส่ key message ที่สำคัญไว้บน subject ของอีเมล เพื่อสร้างจุดเด่นและทำให้ลูกค้าเข้าใจง่าย ชัดเจน และทำให้ลูกค้ารับสาร
ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเวลาที่จำกัดของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
8. Fake it till you make it หรือการสร้างชุมชนเล็กๆ เพื่อให้คนอื่นๆ ที่อยากเข้ามาได้เห็นว่ามีผู้ใช้งานอยู่ โดยอาจจะเริ่มจาก ครอบครัว เพื่อน หรือ คนรู้จักเข้ามาคอมเมนต์ โพสต์ หรือ แชร์เรื่องราวต่างๆ บนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนหมู่มากได้เห็นในอนาคตเพิ่มขึ้น
9. Plant seeds in forum หรือ การเข้าเป็น
ส่วนหนึ่งของชุมชนที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและ
ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ เพื่อที่แบรนด์จะได้เข้าใจและรับรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไรซึ่งเขา
บอกว่าข้อนี้สำคัญมากสำหรับสตาร์ตอัพที่จะขยายฐานลูกค้าต่อไป
10. Paying for traffic หรือ การใช้เงินเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การซื้อสื่อบน Facebook หรือ
การทำการตลาดออนไลน์ เพื่อให้ได้ลูกค้า 1 ราย
และเปรียบเทียบกับความคุ้มในระยะยาวของบริษัท
โดยเขาบอกว่าสตาร์ตอัพแต่ละรายจะต้องเลือกว่าจะทำอย่างไรให้เหมาะสมกับตัวเอง พยายามทดลองทำอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้สตาร์ตอัพไทยควรจะคิดถึงเรื่องการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ สามารถเข้าใจ
และตอบปัญหาของผู้บริโภคได้ ศึกษาตลาด หากลยุทธ์และวิธีการทำการตลาดเพื่อครองใจผู้บริโภค
ปิดท้ายด้วย Jeffrey Paine (เจฟฟรี เพย์น) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทลงทุน Golden Gate Ventures ที่ลงทุนสตาร์ตอัพ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปแล้วกว่า 25 บริษัทรวมถึง
สตาร์ตอัพในประเทศไทย และยังมีแผนจะลงทุนอย่างต่อเนื่อง
มาเล่าเรื่องด้านของผู้ลงทุนต่างชาติ ถึงปัจจัยที่จะนำเงินมาร่วมลงทุนกับสตาร์ตอัพว่าประกอบไปด้วย
การทำงานเป็นทีม การมีทีมงานที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเปิดใจพร้อมที่จะถูกเทรนหรือโค้ชตลอดเวลา และมีความ
มุ่งมั่นในการทำธุรกิจและมีความโฟกัสในการทำธุรกิจของตัวเอง โอกาสการทำธุรกิจหรือ
ตลาดใหม่ๆ สามารถทำกำไรได้ ยอดขายของธุรกิจว่ามีอัตราการเติบโตมากน้อยแค่ไหน รวมถึงเข้าใจมูลค่าทางธุรกิจของตนเอง
การป้องกันธุรกิจของตนเอง ธุรกิจ
ที่ทำนั้นง่ายต่อการลอกเลียนแบบหรือไม่ มีกระบวนการป้องกันและการสร้างความแตกต่าง
มีความคุ้มค่าของการลงทุนในธุรกิจและต้องคำนวณเรื่องการใช้เงินว่าต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหนกว่าจะคืนทุน
ประเทศหรือผู้ลงทุนต่อเนื่อง มีผู้ลงทุนในตลาดเพียงพอหรือไม่เพื่อที่จะให้สตาร์ตอัพไต่ไประดับที่สูงขึ้น เป็นบริษัทที่มีผู้ลงทุนอื่นให้ความสนใจหรือไม่ และเป้าหมายของสตาร์ตอัพว่าในที่สุดแล้วจะขายกิจการ หรือเอากิจการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้หรือไม่
เจฟฟรีแนะนำสตาร์ตอัพไทยว่า ให้เป็นตัวของตัวเอง บอกจุดแข็งของตัวเองและมีความจริงใจต่อผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็ควรจะพัฒนาเรื่องของภาษาอังกฤษและออกเดินทางไปต่างประเทศเพื่อหามุมมองการทำธุรกิจที่กว้างมากขึ้น สามารถตอบโจทย์ธุรกิจระดับสากลและภูมิภาค โดยสตาร์ตอัพไทย
มีสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดแข็งคือมีชุมชนที่มีความเกื้อกูลช่วยเหลือกันและกัน ซึ่งต้องรักษา
เอาไว้
ความรู้คำแนะนำจาก กูรู สตาร์ตอัพที่มาร่วมแชร์กับผู้เข้าร่วมโครงการดีแทค แอคเซล เลอเรท เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับ
ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดสามารถนำไปปรับใช้กับการทำธุรกิจของตนได้ เพราะดังที่บียอร์นบอกว่าแต่ละรายต้องไปหาแนวทางที่เหมาะกับตัวเองในการนำกลยุทธ์วิธีการต่างๆ ไปปรับใช้ ทั้งหมดเพื่อเป้าหมายคือการเติบโตของธุรกิจที่ทำอยู่อย่างรวดเร็วในแบบสตาร์ตอัพ