เนื่องด้วยประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับที่ 20 ของโลก ซึ่ง 18% มาจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม ตามประกาศ NDC ประเทศไทยต้องลด 40% หรือประมาณ 222 MtCO2 eq (ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ. 2573) เมี่อเทียบกับการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ(business as usual) ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากสถิติตามองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย มีเพียง 1,198 บริษัทที่ผ่านการประเมินก๊าซเรือนกระจก
นางสาวนัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แพลทฟอร์ม cWallet ผู้ให้บริการระบบจัดการคาร์บอน เห็นว่าการทำให้ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมรับรู้ถึงปริมาณคาร์บอนที่ตนเองก่อถือเป็นด่านแรก ซึ่งกุญแจสำคัญในการพาประเทศไทยไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ต้องมีเครื่องมือในการประเมินคาร์บอนที่ใช้งานง่ายในต้นทุนที่เข้าถึงได้ และได้มาตรฐาน จึงเป็นที่มาของ cWallet แพลทฟอร์มที่ช่วยให้ธุรกิจตั้งแต่รายย่อยถึงรายใหญ่สามารถประเมินคาร์บอนได้ง่ายและได้มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม โดยระบบจะคำนวนก๊าซเรือนกระจกให้แบบอัตโนมัติ และแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อวิเคราะห์เทรนด์ เปรียบเทียบดัชนีชี้วัดผลงาน (KPIs) และคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายขององค์กร จึงจะก่อให้เกิดการปรับปรุงการดำเนินการภายในสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้แพลทฟอร์มยังมีฟังก์ชันระบบการจัดการ Scope 3 เพื่อรวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของคู่ค้า เพื่อต่อยอดห่วงโซ่มูลค่าสีเขียว (Green value-chain) ในภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมความพร้อมให้องค์กรสู่การปรับตัวเป็นธุรกิจสีเขียว
ทางด้านนวัตกรรม นายชนาธิป ตรงปัญญาโชติ ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มความสามารถและประสิทธิภาพของแพลตฟอร์ม cWallet ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิผล โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย เพื่อประเมินคาร์บอนได้อย่างมีมาตรฐาน และช่วยตรวจจับความผิดปกติหรือจุดบกพร่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากต้นเหตุและส่งการแจ้งเตือนถึงหัวหน้างาน โดยมีการวางโครงสร้างเพื่อรองรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลขั้นสูง เพื่อนำข้อมูลด้านความยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ต่อยอดให้เพื่อประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้นายเอกชัย พงษ์วิทยภานุ กรรมการบริษัท LHM Venture ได้เข้ามาลงทุนเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพด้าน Climate technology หรือเทคโนโลยีที่ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังเป็นที่สนใจในหมู่นักลงทุนเป็นอย่างมาก ซึ่งสตาร์ทอัพด้านนี้นอกจากการนำนวัตกรรมมาผลักดันเศรษฐกิจแล้วยังส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ในส่วนภาคธุรกิจ เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ ทุก 1 ล้านดอลล่าร์ เราผลิตก๊าซเรือนกระจกออกมา 803.53 tCO2e ฉะนั้นเราควรจะผลักดันให้ผู้ประกอบการหันมารับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและหันมาปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส
โดย cWallet มีพันธกิจที่จะพา 1.8 ล้านบริษัทเข้าถึงตัวเลขปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน และสนับสนุนโครงสร้างห่วงโซ่มูลค่าของภาคอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
เป้าหมายของ cWallet ในปีนี้คือการเจาะกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยและคู่ค้าของบริษัทในห่วงโซ่มูลค่าที่กระจายตัวอยู่ทั่วภูมิภาค ทั้งนี้ cWallet ได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเสริมกำลังในการขยายตัวสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิค [การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศเวที SCG Bangkok Business Challenge @Sasin, TOP100 Echelon, GIST Innovates Thailand program และ Krungsri Upcelerator]