ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย

สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)

 

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน

(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)

ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล

พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต

(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)

 

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน

(Carbon Opportunities and Future Electrification)

 

ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน

กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน

(Investment-led Sustainability)

 

KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง

 

งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking

บ้านปู เน็กซ์ ผู้ให้บริการโซลูชันพลังงานสะอาดชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยเทรนด์สำคัญที่สะท้อนว่าองค์กรทั่วโลกต่างมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero อย่างจริงจังมากขึ้นโดยใช้นวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน ตั้งเป้าจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงเกินแก้ไขหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส โดยเทรนด์ดังกล่าวยังสอดรับกับบทสรุปของการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่เน้นย้ำบทบาทของภาคเอกชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงชูความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคพลังงานสะอาดอีกด้วย

การขับเคลื่อน Net-Zero ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเมื่อองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่างวางเป้าหมายในด้านดังกล่าวไว้อย่างเข้มข้น โดยรายงานของ Net-Zero Tracker หน่วยงานอิสระที่ติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกระบุว่า 1,475 องค์กรจากกว่า 4,000 รายทั่วโลกกำหนดเป้าหมาย Net-Zero เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ โดยธุรกิจต่างๆ จากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชกรรม อาหารและเครื่องดื่ม เกษตรกรรม การโรงแรม ภาคการผลิต วัสดุอุปกรณ์ ค้าปลีก คมนาคมขนส่ง และพลังงาน ต่างเห็นความจำเป็นเร่งด่วนของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยดำเนินกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาใช้วางเป้าหมายขององค์กร การชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิต รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีและการบริหารการดำเนินงานที่ยั่งยืน

สำหรับประเทศไทย ทั้งแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติจากแต่ละอุตสาหกรรมกำลังดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนภายใต้เป้าหมายที่จะสร้างเสริมโลกที่เป็นมิตรกับธรรมชาติมากยิ่งขึ้นและมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างเช่นนิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, บีทาเก้น, โครงการมิกซ์ยูสซัมเมอร์ ลาซาล, โรงเรียนนานาชาติรักบี้, ตลาดสามย่าน, เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท, เดอะ แพลทินัม แฟชั่น มอลล์, เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์, เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย), ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และ ล็อกซเล่ย์  เป็นตัวอย่างองค์กรและแบรนด์ชั้นนำที่หันมาขับเคลื่อนธุรกิจไปพร้อมกับการลดการปล่อย CO2 ปริมาณมหาศาลต่อปี

ท่ามกลางความตื่นตัวด้านความยั่งยืนที่เติบโตขึ้นทั่วโลก บ้านปู เน็กซ์ เชื่อว่านวัตกรรมพลังงานสะอาด อาทิ แหล่งพลังงานหมุนเวียน ระบบกักเก็บพลังงาน ระบบบริหารจัดการพลังงาน ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์คาร์บอน มีความจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายด้าน Net-Zero เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านี้มีบทบาทในการลดการปล่อยคาร์บอน จึงช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานหมุนเวียน และนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด โดยภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมอนาคตที่ดียิ่งขึ้นให้กับทุกคน บ้านปู เน็กซ์ เดินหน้าพัฒนาโซลูชันพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม และได้ช่วยให้คู่ค้าลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 4 แสนตัน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ประมาณ 29 ล้านต้นถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนสังคมไร้คาร์บอนพร้อมทั้งสนับสนุนประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี  พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2608

บ้านปู เน็กซ์ มุ่งมั่นเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน Net-Zero ให้กับองค์กรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงเดินหน้าขับเคลื่อน 5 ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจแบตเตอรี่ ธุรกิจซื้อขายไฟฟ้า ธุรกิจอี-โมบิลิตี้ และธุรกิจพัฒนาเมืองอัจฉริยะและจัดการพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรับมือกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทั่วโลก นอกจากนี้ บ้านปู เน็กซ์ ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการเป็นพันธมิตรกับองค์กรด้านเทคโนโลยีและพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบนิเวศธุรกิจโดยรวมอีกด้วย

โครงการที่สร้างผลกระทบสูงจะช่วยแก้ไขปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการปลูกป่าและการฟื้นฟูระบบนิเวศ

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัวโครงการ “เอส เอ็ม อี เอ็กซ์ ต้นทุนต่ำ นำรักษ์โลก”

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมแสดงศักยภาพผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรของประเทศไทยและของโลก ต้อนรับผู้มาเยือนจากนานาประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจ เชื่อมั่น เผยแพร่ภาพลักษณ์องค์กรมืออาชีพระดับโลกที่นานาชาติยอมรับ ตอกย้ำการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ช่วยโลกยั่งยืน ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิต หรือ CPF Smart Process เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดการปล่อยคาร์บอน ไปจนถึงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อผู้บริโภค

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า การที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเอเปค 2022 หรือ การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่งมีผู้นำจากนานาประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจของโลกเดินทางเข้ามา เป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะแสดงศักยภาพทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้โลก ภายใต้แนวคิดหลักของเอเปค 2565 “เปิดกว้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (Open. Connect. Balance.) เพื่อเพิ่มโอกาสด้านการค้าการลงทุนที่เชื่อมโยงกันในทุกมิติ และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green- Economy Model -BCG) เป็นพื้นฐาน

“ซีพีเอฟ เป็นผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารชั้นนำของไทยและของโลก มุ่งมั่นพัฒนาอาหารคุณภาพปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการบริหารจัดการองค์กรด้วย BCG และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงมีความพร้อมอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการโชว์ศักยภาพของประเทศไทยในงานระดับโลกนี้” นายประสิทธิ์ กล่าว

CPF ชูแนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ผ่าน CPF Smart Process ประกอบด้วย SMART SOURCING SMART PRODUCTION และ SMART CONSUMPTION

โดย SMART SOURCING  จะเป็นเรื่องการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้ง 100% จากแหล่งผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ช่วยปกป้องพื้นที่ป่าไม้ได้ถึง 2 ล้านไร่ และภายในปี 2030 วัตถุดิบหลักอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง จะมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดเช่นกัน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการ

SMART PRODUCTION เป็นการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และโรงงานแปรรูปอาหาร โดยนำนวัตกรรมด้านการผลิตและด้านพลังงานมาใช้ ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้พลังงานหมุนเวียน ถึงร้อยละ 27 ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งนับเป็น 1 ใน 5 องค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดของไทย ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 680,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบได้กับการปลูกต้นไม้จำนวน 73 ล้านต้น หรือการลดปริมาณรถบนท้องถนน 150,000 คัน ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย การยกเลิกใช้ถ่านหิน 100% ในปี 2022

สำหรับ SMART CONSUMPTION เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภคเป็นอีกหนึ่งมิติสำคัญของการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ ไม่เพียงแต่มุ่งมั่นผลิตอาหารที่ได้คุณภาพ มาตรฐานระดับโลก มีคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อนที่ได้รับการรับรองมากกว่า 790 รายการ ซึ่งนับเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินท์ที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย และตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมไม่ต่ำกว่า 40% ของผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมดของบริษัท นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน “100% Sustainable Packaging” โดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable), รีไซเคิล (Recycle) หรือย่อยสลายได้ (Compostable) ซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามเป้าหมายไปแล้ว 99.9%

นอกจากกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ที่มุ่งเน้นการลด - เลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ซีพีเอฟ ยังดำเนินโครงการปลูกป่าเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งป่าบกตามโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสักเขาพระยาเดินธง” และป่าชายเลนภายใต้โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการทั่วโลก รวมพื้นที่กว่า 10,900 ไร่ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 11,400 ตันต่อปี

ซีพีเอฟ เป็นครัวของโลกที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ทุกคน และยังมุ่งสร้างความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ด้วยการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลธรรมชาติป่าไม้ และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้คาร์บอนน้อยที่สุด และเราจะไม่หยุดพัฒนา พิถีพิถันในทุกขั้นตอน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนโลกใบนี้ไปสู่ Net-Zero เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน” นายประสิทธิ์กล่าวทิ้งท้าย

 ในการประชุมผู้นำภาคเอกชนของเอเปค หรือ APEC CEO Summit ซึ่งมีผู้นำภาคเอกชนจากหลายเขตเศรษฐกิจของโลก ร่วมการรับรองอาหารเย็นภายในงาน APEC CEO Summit Reception ณ ไอคอนสยาม ซีพีเอฟ ได้นำสองผลิตภัณฑ์ยั่งยืน ได้แก่ เนื้อจากพืช Meat Zero และ ไก่เบญจา แบรนด์ U FARM ซึ่งมีห่วงโซ่การผลิตภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลิ้มลอง ตอกย้ำคุณภาพอาหารที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีรสชาติความอร่อยเป็นเลิศระดับโลก การันตีรางวัล “สุดยอดรสชาติอาหารระดับโลก ประจำปี 2022” หรือ Superior Taste Award 2022 โดยสถาบันชั้นนำของโลก International Taste Institute ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ด้วยเมนูพิเศษ ได้แก่ ประเภทวีแกน อาทิ นักเก็ต เกี๊ยวซ่า โบโลน่า และ ข้าวตังมัสมั่น รวมถึง ส้มตำไก่ย่าง ข้าวซอยไก่ และข้าวตังหน้าไก่ นับเป็นอีกความภาคภูมิใจของคนไทยและบริษัทไทยที่ได้ร่วมแนะนำ Soft Power ด้านอาหาร ด้วยผลิตภัณฑ์ของไทยให้นานาชาติได้รู้จัก./

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click