ทว่า เมื่อพินิจพิเคราะห์ให้ลึกลงไป แนวความคิดเรื่อง “ความกตัญญู” นับว่ามีมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือ “Economic Value” ที่เกื้อกูลต่อระบบเศรษฐกิจของสังคมและของโลกโดยรวม
ยิ่งในโลกสมัยใหม่ด้วยแล้ว “ความกตัญญู” เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการฟื้นฟู เน้นย้ำ และถูกให้น้ำหนักมาก ต่อการวางนโยบายเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะ หรือ Public Policy ของทุกประเทศ ตลอดจนในระดับกลยุทธ์ของกิจการ หรือ Business Strategy ของภาคธุรกิจสมัยใหม่ด้วย
ความกตัญญูจะช่วยลดปัญหาเรื่องการดูแลและเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ไม่ให้เป็นภาระของส่วนรวม ทั้งในเชิงต้นทุนค่าใช้จ่ายและในเชิงคุณภาพของการให้บริการ (หรือการดูแล)
มันจะช่วย Absorb ค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ ทางด้าน Welfare ให้จำกัดอยู่ในแวดวงของครอบครัวหรือลูกหลาน ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของส่วนรวมและรัฐบาลลงไปได้มาก
และลูกหลานที่มีความกตัญญูสูง ย่อมให้ความใส่ใจต่อความเป็นอยู่ของพ่อแม่และสมาชิกผู้สูงวัยของครอบครัว ให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ไม่ใช่สักแต่มีชีวิตไปวันๆ หากจะส่งไปให้ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุช่วยดูแลให้ ก็ต้องคัดเลือกเอาศูนย์ฯ ที่ได้มาตรฐาน สะอาด มีบุคลากรและเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ครบถ้วนและทรงประสิทธิภาพ หรือเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะเลือกสถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการดูแลฟื้นฟูผู้สูงอายุ เป็นต้น
หัวใจของความกตัญญูมีความหมายว่า เมื่อลูกหลานยังเล็ก ยังช่วยตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ (อาจรวมถึงพี่น้องและปู่ย่าตายายด้วย ในกรณีของ “ครอบครัวขยาย”) ได้ช่วยเลี้ยงดูลูกหลานเหล่านั้นจนเติบใหญ่มั่นคง ดังนั้นเมื่อพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายแก่ตัวลง ช่วยตัวเองลำบาก ลูกหลานก็มาช่วยเลี้ยงดู หรือดูแล ถือเป็นการทดแทนบุญคุณแบบหนึ่ง
แต่ไหนแต่ไรมา วัฒนธรรมตะวันออกได้ให้ความสำคัญกับ “ความกตัญญู” มาก ทั้งในคำสอนของศาสนาพุทธ พรามณ์ ฮินดู และขงจื้อ
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสังคมจีน ซึ่งมีประชากรจำนวนมากมาแต่โบราณและเพิ่มขึ้นมาตลอด โดยชนชั้นนำของจีน ได้ใช้แนวคิดแบบขงจื้อ ที่หัวใจคือเน้นความกตัญญู มาเป็นแนวคิดหลักในการจัดระเบียบสังคมจีน ช่วยให้การดูแลเด็กและผู้สูงอายุไม่เป็นภาระของสังคมมากจนเกินไป และระเบียบแบบแผนอันนั้นก็อยู่มายาวนานกว่าสองพันปี
สังคมตะวันตกสมัยนี้ ที่แนวคิดเรื่อง “ความกตัญญู” เลือนหายไปมากแล้ว กำลังมีปัญหาอย่างหนักในเรื่องค่าใช้จ่ายทางด้านประกันสังคมสำหรับผู้สูงอายุ (ทั้งในเชิง Healthcare และสวัสดิการอื่น) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและนับวันจะทับถมทวี จนส่อว่าถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับการปรับโครงสร้างอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดลงไป ภาษีที่คนวัยทำงานต้องจ่ายให้กับรัฐจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนคนวัยทำงานขาดแรงจูงใจและแบกรับภาระต่อไปไม่ไหว หรือไม่ก็รัฐบาลอาจล้มละลายได้ แม้แต่สหรัฐอเมริกา ประเทศเบอร์หนึ่งทางเศรษฐกิจของโลก ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาใหญ่หลวงที่รัฐบาลกลางกำลังเผชิญอยู่
โลกสมัยใหม่ เป็นโลกที่ผู้สูงอายุจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เพราะความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และการรักษาพยาบาล ตลอดจนความรู้ทางด้านโภชนาการที่ละเอียดลึกซึ้งแม่นยำกว่าแต่ก่อน
สังคมไทยเองก็กำลังเดินไปตามเทรนด์นี้เช่นกัน
ณ ปัจจุบัน จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย (นับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป) คิดสัดส่วนเป็นประมาณร้อยละ 13 ของโครงสร้างประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 20 ในปี 2573
นั่นหมายความว่า ในกลุ่มราษฎรไทยทุกๆ 5 คน จะมีราษฎรอาวุโส 1 คน อยู่ในกลุ่มนั้นด้วยเสมอ
มิเพียงเท่านั้น การพยากรณ์ยังให้ราษฏรอาวุโสเป็นสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตหลังจากปี 2573
แน่นอนว่า โครงสร้างประชากรใหม่แบบ New Normal นี้ ย่อมสร้าง Implications ให้กับสังคมแทบทุกด้าน ทั้งในเชิงการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และรูปแบบการค้าขายหรือการธุรกิจ
โดยเฉพาะด้านธุรกิจนั้น จะเกิดตลาดสินค้าบริการสำหรับผู้สูงอายุเป็นเฉพาะที่มีมูลค่ามหาศาล เพราะทั่วทั้งโลกจะมีผู้สูงอายุจำนวนมาก
ในสังคมอารยะที่เจริญแล้ว ผู้อาวุโสเอง ตลอดจนลูกหลานที่มีความกตัญญู ต้องการเห็นพ่อแม่และสมาชิกอาวุโสของครอบครัว ได้อุปโภคบริโภคของดีที่ละเมียดมีคุณภาพสูง ก็สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการที่ออกแบบมาสำหรับผู้อาวุโสโดยเฉพาะได้ นับเป็นการสร้างความอุดม (Enriched) ให้กับชีวิตฉากสุดท้ายของมนุษย์ผู้เป็นสมาชิกของสังคมที่เจริญแล้ว
HONOUR COLLECTION ของบริษัท PATRA PORCELAIN เป็นตัวอย่างในอุดมคติของสินค้าประเภทนี้ นั่นคือภาชนะสำหรับรับประทานอาหารระดับคุณภาพสูง ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงอายุใช้รับประทานอาหารโดยเฉพาะ
จานชามแก้วน้ำและจานรองในคอเล็กชั่นนี้ใช้วัสดุเป็น Porcelain ทั้งหมด เพื่อให้รักษาความสะอาดได้ง่ายและปราศจากสิ่งตกค้างแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ และออกแบบโดยคำนึงถึงหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ซึ่งทีมงานออกแบบใช้เวลาเก็บข้อมูล วิจัย และพัฒนา ถึง 4 ปีเต็ม
ยิ่งไปกว่านั้น การออกแบบยังคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นที่จะมีผลต่อการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (เช่นการเลือกใช้สีขาว เหลือง แดง ฟ้า แบบเรียบง่ายแต่โดดเด่น ทั้งเพื่อช่วยให้เกิดความอยากอาหาร และเป็นแบ็กกราวที่งามเมื่อตัดกับสีสันของอาหารทุกประเภท ช่วยการมองเห็น อีกทั้งยัง
ช่วยหนุนใจให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกว่าตัวเองแก่ เป็นต้น) ปัจจัยทางด้านความสะดวก (เช่นการออกแบบชามให้มี Scooping Curve เพื่อช่วยให้ตักอาหารได้ง่าย ออกแรงน้อย และ Anti-spill Rim เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารหก ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความอับอายได้ หรือแก้วน้ำที่มีหูจับแบบ Ergonomic Handle สามารถใช้มือสอดแล้วยกขึ้นดื่มได้ โดยง่าย เป็นต้น)
อีกทั้ง การมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ โรงพยาบาล ภัตตาคารและร้านอาหารทั่วไป การออกแบบจึงคำนึงถึงความสะดวกของผู้ให้บริการอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของชุดภาชนะที่คำนวณให้พอเหมาะกับถาดที่ใช้เสริฟอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล ภัตตาคาร และศูนย์ฯ การออกแบบให้สามารถวางภาชนะขนาดต่างๆ ซ้อนกันหลายชั้นแล้วลงล็อกกันได้อย่างมั่นคง ไม่คลอนแคลนเสี่ยงต่อการตกแตกเวลาเคลื่อนย้าย และการวางตำแหน่ง Ergonomic Handle เพื่อช่วยลดการออกแรงให้กับผู้ให้บริการเมื่อต้องยกภาชนะขึ้นลงเวลาให้บริการแก่ลูกค้า
ผู้อาวุโสนั้น ถือเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพวกท่านไม่ต้องทำงานแล้ว เวลาของท่านวันๆ หนึ่ง มักหมดไปกับเรื่องกิน นอน และพักผ่อน และโดยที่พวกท่านไม่ได้ทำงานตามเวลา พวกท่านจึงไม่ถูกจำกัดโดยเวลาพัก/เวลาทำงาน ไม่จำเป็นต้องกินข้าวเช้าก่อนไปทำงาน กินข้าวเที่ยงตอนพักเที่ยง และมื้อเย็นเวลากลับบ้านแล้ว ต้องกิน 3 มื้อเพื่อความสะดวกของการจัดระเบียบสังคมแบบเดิมอีกต่อไป ท่านอาจรับประทานอาหารมื้อละน้อย แต่ซอยย่อยออกเป็นหลายๆมื้อในหนึ่งวัน (ซึ่งในทางการแพทย์ถือว่าเป็นรูปแบบการกินที่มีคุณภาพกว่า)
พวกท่านใช้เวลาในช่วงท้ายของชีวิตไปกับอาหารและการรับประทานอาหารมากกว่าคนที่ยังอยู่ในวัยทำงานหรือวัยเรียน
การช่วยให้ท่านมีความสุขและมีศักดิ์ศรีในระหว่างรับประทาน ย่อมเป็นการตอบแทนบุญคุณแบบหนึ่ง ที่คนรุ่นหลังสามารถทำให้กับคนรุ่นก่อนได้ ในหมู่มนุษย์ผู้ศิวิไลซ์แล้ว
หมายเหตุ: คอลเลคชั่น Honour จะเริ่มวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ในเดือนมีนาคม 2565