September 19, 2024
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 6855

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 10972

ทรูบิสิเนส ผู้ให้บริการสื่อสารและดิจิทัลโซลูชันครบวงจรสำหรับลูกค้าธุรกิจชั้นนำ ร่วมกับ อินเทล ผู้นำด้านเทคโนโลยี  ทรานสฟอร์มอุตสาหกรรมสาธารณสุขไทยสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ ดึงพลังเครือข่ายทรู 5G ผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำของอินเทล เปิดตัว 7 โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Healthcare) ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยและรักษา ฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศไทย พลิกโฉมบริการสาธารณสุขไทยยุคใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ก้าวสู่ศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนของคนไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ นำไปสู่การพัฒนาโซลูชันด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางผ่านโซลูชันซอฟต์แวร์ของอินเทล เช่น OpenVino ซึ่งช่วยย่นระยะเวลาทั้งในการวินิจฉัยและการรักษา อาทิ โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส (Digital Patient Twin - Patient-Management-as-a-Service) ที่เพิ่มขีดความสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย โดยใช้เทคโนโลยี 5G และการประมวลผลบนอุปกรณ์ปลายทางอันทรงพลังด้วย Intel Edge AI บน Intel Core Ultra ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในการผลักดันของ Intel เพื่อการนำ AI ไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านหลากหลายผลิตภัณฑ์และแพลตฟอร์มของอินเทลที่ออกแบบมาเพื่อการนำ AI ไปใช้ด้วยความปลอดภัยและยั่งยืน ตลอดจนสามารถขยายขอบเขตและทำงานร่วมกันได้ เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน

โซลูชันด้านการดูแลสุขภาพอัจฉริยะเหล่านี้ ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพบนเครือข่ายทรู 5G ที่รองรับการรับ-ส่งข้อมูล ควบคุมและสั่งการได้แบบเรียลไทม์ จึงเอื้อต่อการพัฒนาระบบอัตโนมัติต่างๆ ในการดูแลผู้ป่วย ช่วยลดต้นทุนทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์และขั้นตอนการรักษา รวมถึงแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ยิ่งไปกว่านั้น โซลูชัน Smart Healthcare ยังมีการบันทึกข้อมูลการรักษาในระบบดิจิทัล เพื่อให้ AI นำไปวิเคราะห์เชิงลึก และทำงานร่วมกับการวินิจฉัยของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รวมถึงการรักษาอาการที่ซับซ้อนและเฉียบพลันมีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้ผลลัพธ์ดีขึ้น

นายพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทรูบิสิเนส เร่งพัฒนานวัตกรรมบริการ ควบคู่กับการนำ AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กร โดยการร่วมมือกับผู้นำระดับโลกอย่าง อินเทล ในครั้งนี้ เรามุ่งพัฒนาโซลูชันที่จับต้องได้และใช้งานได้จริง เพื่อสนับสนุนองค์กรธุรกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล เติมเต็มวิสัยทัศน์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ผู้นำโทรคมนาคม-เทคโนโลยี ที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย”

ความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งเน้นการผสมผสานและขับเคลื่อนการทำงานของโซลูชันอัจฉริยะด้านการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการวินิจฉัยรักษา การฟื้นฟูดูแล และการจัดการข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์และสาธารณสุขของไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้น อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ให้สามารถส่งมอบบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้ป่วยในทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง ตลอดจนได้รับประสบการณ์และผลลัพธ์ในการรักษาที่ดียิ่งขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นแบบยั่งยืนของคนไทย นอกจากนี้ ทรูบิสิเนส และ อินเทล ยังมุ่งส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเพิ่มประสิทธิผลของบริการด้านการดูแลสุขภาพบนพื้นฐานของการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม ปลอดภัย และโปร่งใส

โซลูชันอัจฉริยะด้านการวินิจฉัยและรักษา

· Telemedicine and Tele ICU บริการการแพทย์ทางไกลผ่านเครือข่ายทรู 5G ที่เชื่อมโยงชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ติดตั้งในท้องถิ่นต่างๆ กับระบบหลักของโรงพยาบาล โดยมีแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลและประวัติของผู้ป่วย บันทึกทุกการดำเนินการทางการแพทย์ เช่น การวินิจฉัยและรักษา การนัดพบแพทย์ การผ่าตัด พร้อมแสดงข้อมูลผ่านแดชบอร์ดเพื่อให้แพทย์สามารถให้คำปรึกษาและรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์จากระยะไกล ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศ ดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาล

· Future of Large Language Model (LLM) แพลตฟอร์มสำหรับตรวจสอบประวัติผู้ป่วยและวิเคราะห์อาการเบื้องต้น โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลส่วนบุคคลและอาการเจ็บป่วย ระบบ AI จะช่วยวิเคราะห์อาการร่วมกับข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัยล่าสุด พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ รวมถึงขั้นตอนถัดไปในการรักษา ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วมากขึ้น ลดขั้นตอนและเวลาในการพบแพทย์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

· Pathology as a Service แพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีสแกนชิ้นเนื้อเพื่อแปลงภาพพยาธิวิทยาเป็นดิจิทัล ซึ่ง AI สามารถวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้กระบวนการทดสอบตัวอย่างชิ้นเนื้อและเลือดมีความรวดเร็วมากขึ้น จึงช่วยให้นักพยาธิวิทยาทำงานได้เร็วขึ้น เพิ่มทั้งประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวินิจฉัย การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกจึงทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที เช่น การพยาธิวิทยาดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถตรวจพบมะเร็งได้ภายในไม่กี่นาที ซึ่งกระบวนการแบบดั้งเดิมอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และระบบเครือข่ายที่ปลอดภัยของทรู คอร์ปอเรชั่น ช่วยให้สถานพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศไทยสามารถนำบริการพยาธิวิทยา (Pathology-as-a-Service) ในระบบดิจิทัลไปใช้ได้อย่างราบรื่น ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัย ขณะเดียวกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต่อการตรวจพบโรค

· Ophthalmology as a Service แพลตฟอร์มที่ให้บริการสำหรับการวิเคราะห์และคัดกรองจักษุวิทยา เช่น จอประสาทตาเสื่อมจากอายุและเบาหวาน โดยใช้กล้องเรตินาที่ขับเคลื่อนด้วย AI และคอมพิวเตอร์วินิจฉัยแบบอัตโนมัติ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาทีในกระบวนการตรวจวิเคราะห์อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องใช้ยาหยอดขยายม่านตาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตา โดยชุดผลิตภัณฑ์ที่รองรับ AI ของอินเทล ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจพบโรค เช่น เบาหวานขึ้นตา ความหนาแน่นของกระดูกในโรคกระดูกพรุน และพยาธิวิทยาสำหรับมะเร็งเต้านมและมะเร็งไต

โซลูชันอัจฉริยะด้านการฟื้นฟูดูแล

· Digital Patient Twin (Patient Management as a Service - PMaaS) – โซลูชันสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและความปลอดภัยด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส โดยข้อมูลต่างๆ ของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คุณภาพการนอนหลับ และตำแหน่งของผู้ป่วยบนเตียง จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งอยู่บนเพดานห้องพักระดับเหนือเตียงผู้ป่วย พร้อมเชื่อมโยงไปยังศูนย์กลางเพื่อรวบรวมและแจ้งเตือนเมื่อพบความผิดปกติ จึงช่วยให้สามารถดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วยในการตรวจวัดค่าต่างๆ เป็นประจำ

· Residential Care Management แพลตฟอร์มสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้รับการดูแลจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ด้วยอุปกรณ์ Edge IoT และเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบนรถเข็น โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือแท็บเล็ต บันทึกข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ส่งผ่านเครือข่ายทรู 5G แบบเรียลไทม์ เพื่อรวบรวมบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมและความเสี่ยงด้านสุขภาพ เชื่อมโยงกับระบบของโรงพยาบาล และสามารถแจ้งเตือนทันทีเมื่อพบความเสี่ยงหรือสิ่งผิดปกติ

 

โซลูชันอัจฉริยะด้านการจัดการข้อมูลทางการแพทย์

· Transforming of PACS (Picture Archiving and Communication System) โซลูชันที่จะพลิกโฉมระบบจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสี ผ่านแพลตฟอร์ม AI และประยุกต์ใช้ AI ได้ทุกที่ แม้ในพื้นที่ห่างไกล โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ทุกรูปแบบ ลดข้อจำกัดและความยุ่งยากเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่ซับซ้อน

พิสูจน์ผลลัพธ์ กับ 2 กรณีตัวอย่างจากการใช้งานจริง*

· การวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งได้เร็วขึ้นกว่าแบบดั้งเดิมถึง 2,000 เท่า

โดยเฉลี่ยนักพยาธิวิทยามักใช้เวลาในการวิเคราะห์เนื้อเยื่อเพื่อตรวจหาโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง นานถึง 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นหากโรงพยาบาลอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเสี่ยงต่อการลุกลามของโรค โซลูชัน Pathology as a Service นำแพลตฟอร์ม AI มาช่วยสำหรับวิเคราะห์ภาพถ่ายพยาธิวิทยา ช่วยประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีและเพิ่มความแม่นยำในการศึกษาวิจัย โดยนักพยาธิวิทยาสามารถแบ่งปันภาพพยาธิวิทยากับทีมงานทั่วโลกที่ทำงานจากระยะไกลในการวิเคราะห์สไลด์แบบดิจิทัล เอื้อต่อการร่วมวิเคราะห์และปรึกษาแนวทางการรักษาผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ จึงช่วยแก้ไขปัญหาความขาดแคลนของนักพยาธิวิทยาทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ Pathology as a Service ยังเป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนายาใหม่และความก้าวหน้าด้านพยาธิวิทยาอีกด้วย

· การดูแลผู้ป่วยหรือผู้พักฟื้นด้วยอุปกรณ์ไร้การสัมผัส เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยสูงขึ้น 30%

ยกระดับประสบการณ์การพักฟื้นของผู้ป่วยจากการได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องถูกรบกวนในช่วงเวลาการพักฟื้น และไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายๆอุปกรณ์ที่สัมผัสกับร่างกายเพื่อติดตามค่าต่างๆ จึงสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกัน แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยผ่าน โซลูชัน Digital Patient Twin โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าต่างๆ ของร่างกาย และตรวจจับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่นอนพักฟื้นบนเตียง ด้วยการดำเนินการทางคลินิกจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ส่งสัญญาณไลฟ์สตรีมและประมวลผลด้วยระบบอัจฉริยะ AI พร้อมแจ้งเตือนเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบนเตียง นำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที จึงช่วยแบ่งเบาภาระ ลดขั้นตอน และปริมาณการดำเนินงานในคลินิกหรือหอพักผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรการแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยได้มากถึง 10 คน จากเดิมที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่พยาบาลเฉลี่ย 3 คน ในการดูแลผู้ป่วย 10 คน

ณ งาน Mobile World Congress 2024 ลูกค้าและพันธมิตรชั้นนำของอินเทลกว่า 65 ราย ร่วมจัดแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันผ่านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการใหม่ ๆ เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตให้ทันสมัย

อินเทลเปิดตัวสถาปัตยกรรมใหม่สำหรับ ซีพียู คอร์ x86 สองรุ่น, ระบบ SoCs สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์สองรุ่น, GPU แบบแยกส่วนได้ และสถาปัตยกรรมไฮบริดแบบมัลติคอร์ที่ปฏิวัติวงการสำหรับกลุ่มลูกค้า

  อินเทลเปิดตัวแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ปรับแต่งมาอย่างเหมาะสมเพื่อมอบพลังรองรับเวิร์กโหลดที่หลากหลายในวงการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระบบคลาวด์ ระบบเครือข่าย ไปจนถึง Edge อัจฉริยะ โดยโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 (ภายใต้ชื่อรหัส “Ice Lake”) เป็นรากฐานของแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลของอินเทล ที่จะดึงขุมพลังจาก AI เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจต่างๆ ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน

 โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ส่งมอบประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า โดยได้ปรับปรุงประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 46% สำหรับเวิร์กโหลดต่างๆ ที่นิยมใช้งานในศูนย์ข้อมูล[i] นอกจากนี้ ตัวโปรเซสเซอร์ยังเพิ่มความสามารถของแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ดีขึ้น รวมถึง Intel SGX เพื่อการรักษาความปลอดภัยในตัว, และการเร่งความเร็ว AI ด้วย Intel Crypto Acceleration และ Intel DL Boost ซึ่งความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้ เมื่อรวมกับ Intel® Select Solutions และ Intel® Market Ready Solutions แล้ว จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเร่งการปรับใช้งานบนระบบคลาวด์, AI, องค์กรธุรกิจ, การประมวลผลประสิทธิภาพสูง, ระบบเครือข่าย, ความปลอดภัย และแอปพลิเคชัน Edge ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

 นายนาวิน เชนอย รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ Data Platforms Group ของอินเทล กล่าวว่า “แพลตฟอร์ม Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ของเรา เป็นแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดในประวัติศาสตร์ของอินเทล ซึ่งได้รับการออกแบบเพื่อจัดการกับเวิร์กโหลดที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบคลาวด์ ระบบเครือข่าย ไปจนถึง Edge เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเราก้าวนำการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมระดับโลกที่กำลังเร่งอัตราเร็วยิ่งขึ้น และสามารถทำงานเพื่อเสริมสร้างชีวิตผู้คนบนโลกใบนี้ได้เคียงข้างกันไปกับอินเทล โดยอินเทลอยู่ในจุดที่ไม่เหมือนใคร ด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และการผลิตเพื่อส่งมอบซิลิคอนอัจฉริยะและโซลูชันอันหลากหลายตรงตามความต้องการของลูกค้าของเรา”

 โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3

ด้วยการใช้เทคโนโลยีขนาด 10 นาโนเมตร (nanometer: nm) ของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ใหม่ล่าสุด ที่มอบจำนวนคอร์สูงสุด 40 คอร์ต่อโปรเซสเซอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยเฉลี่ยสูงสุดถึง 2.65 เท่า เมื่อเทียบกับระบบเก่าที่มีอายุ 5 ปี[ii] แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถรองรับหน่วยความจำระบบได้สูงสุดถึง 6 เทราไบต์ต่อซ็อกเก็ต, หน่วยความจำ DDR4-3200 สูงสุด 8 แชนเนลต่อ
ซ็อกเก็ต, และ PCIe Gen4 สูงสุด 64 เลนต่อซ็อกเก็ต

นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ได้ปรับแต่งอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับการรันเวิร์กโหลดสมัยใหม่ทั้งในสภาพแวดล้อมแบบในสถานที่ (On-premise) และบนมัลติคลาวด์แบบกระจายตัว โดยตัวโปรเซสเซอร์ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานผ่านสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่น รวมถึงความสามารถด้านความปลอดภัยขั้นสูงในตัว โดยใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมต่างๆ ที่มีมายาวนานหลายทศวรรษ

  • การเร่งความเร็ว AI ในตัว: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ใหม่ล่าสุด ที่พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพด้าน AI ประสิทธิภาพด้านการทำงาน และความเรียบง่าย ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถปลดล็อกข้อมูลเชิงลึกที่ทรงคุณค่าได้มากขึ้น ซึ่งโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่เหล่านี้เป็น CPU ศูนย์ข้อมูลเพียงรุ่นเดียวที่มาพร้อมการเร่งความเร็ว AI ในตัว การปรับแต่งประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุม และโซลูชันแบบพร้อมใช้งานทันที ทำให้การผนวก AI เข้ากับทุกๆ แอปพลิเคชันเป็นจริงได้ ตั้งแต่จาก Edge ไปยังระบบเครือข่าย จนถึงระบบคลาวด์ ทั้งนี้ การปรับแต่งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ล่าสุดยังส่งมอบประสิทธิภาพ AI ที่เร็วขึ้นถึง 74% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพได้สูงสุดถึง 1.5 เท่าสำหรับเวิร์กโหลด AI ยอดนิยมที่หลากหลายถึง 20 ประเภท เมื่อเทียบกับ AMD EPYC 7763 เจนเนอเรชั่น 3 และสูงสุดถึง 1.3 เท่า เมื่อเทียบกับ Nvidia A100 GPU[iii]
  • การรักษาความปลอดภัยในตัว: ด้วยผลการศึกษาวิจัยหลายร้อยชิ้น การปรับการผลิตหลายร้อยครั้ง และความสามารถที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Intel SGX ปกป้องโค้ดและข้อมูลที่ละเอียดอ่อน โดยทำให้พื้นที่ที่อาจถูกโจมตีได้มีขนาดเล็กลงที่สุดภายในระบบ โดย Intel SGX สามารถใช้งานได้บนโปรเซสเซอร์ Xeon Scalable แบบ 2 ซ็อกเก็ต ซึ่งมาพร้อม Enclave ต่างๆ ที่สามารถแยกและประมวลผลโค้ดและข้อมูลได้สูงสุดถึง 1 เทราไบต์ เพื่อรองรับความต้องการของเวิร์กโหลดหลัก เมื่อรวมกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้แก่ Intel® Total Memory Encryption และ Intel® Platform Firmware Resilience แล้ว ทำให้โปรเซสเซอร์ Xeon Scalable รุ่นล่าสุดสามารถตอบโจทย์ข้อกังวลต่างๆ ด้านการปกป้องข้อมูลที่เร่งด่วนที่สุดในปัจจุบัน
  • การเร่งความเร็วคริปโตในตัว: Intel Crypto Acceleration มอบประสิทธิภาพสุดล้ำของอัลกอริธึมการเข้ารหัสลับ (Cryptographic algorithm) ที่สำคัญๆ อย่างทั่วถึง โดยธุรกิจที่ต้องจัดการกับเวิร์กโหลดที่มีการเข้ารหัสอย่างเข้มข้น เช่น ผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่มีการประมวลผลธุรกรรมของลูกค้าหลายล้านรายการต่อวัน สามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถดังกล่าวเพื่อปกป้องข้อมูลของลูกค้า โดยไม่มีผลกระทบด้านเวลาที่ใช้ในการตอบสนองต่อผู้ใช้งาน หรือต่อประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ

นอกจากนี้ เพื่อเร่งเวิร์กโหลดบนแพลตฟอร์ม Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถปรับแต่งแอปพลิเคชันของตนได้ด้วยเครื่องมือเขียนโปรแกรมข้ามสถาปัตยกรรมแบบเปิด oneAPI ซึ่งมอบอิสระจากข้อจำกัดทางเทคนิคและต้นทุนของโมเดลที่มีกรรมสิทธิ์ต่างๆ ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือ Intel® oneAPI ช่วยให้สามารถนำประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์, AI, และการเข้ารหัส ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ผ่านเครื่องมือขั้นสูงทั้งคอมไพเลอร์, ไลบรารี, และเครื่องมือการวิเคราะห์และดีบัก

โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 รองรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ Intel® IoT Market Ready Solutions ที่พร้อมใช้งานทันทีมากกว่า 500 รายการ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Intel Select Solutions ที่ช่วยเร่งการปรับใช้งานตามความต้องการของลูกค้า โดยในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Intel Select Solutions ของเราจะทยอยปรับปรุงใหม่มากถึง 80% ภายในสิ้นปีนี้

แพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลชั้นนำของอุตสาหกรรม

แพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลของอินเทล ถือเป็นแพลตฟอร์มที่แพร่หลายมากที่สุดในตลาด พร้อมความสามารถที่เหนือกว่าใครในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล แพลตฟอร์ม Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ใหม่ล่าสุด ประกอบด้วยหน่วยความจำ Intel Optane 200 series, Intel Optane Solid State Drive (SSD) P5800X, และ Intel® SSD D5-P5316 NAND SSD รวมถึงอะแดปเตอร์เครือข่าย Intel Ethernet 800 series และอุปกรณ์ Intel® Agilex FPGA รุ่นล่าสุด 

แพลตฟอร์ม Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ล่าสุด ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มตลาดที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบคลาวด์ ไปจนถึง Edge อัจฉริยะ

  • สำหรับคลาวด์ โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ได้รับการออกแบบและปรับแต่งให้เหมาะสมต่อความต้องการขั้นสูงของเวิร์กโหลดบนคลาวด์ และรองรับสภาพแวดล้อมการให้บริการที่หลากหลาย ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ทั่วโลกกว่า 800 ราย ใช้งานโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable และผู้ให้บริการระบบคลาวด์รายใหญ่ที่สุดทุกรายวางแผนที่จะนำเสนอบริการบนคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ในปี พ.ศ. 2564 นี้
  • สำหรับเครือข่าย: โปรเซสเซอร์ SKU “N” ที่ปรับแต่งมาสำหรับระบบเครือข่าย ออกแบบมาเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมเครือข่ายอันหลากหลาย และปรับแต่งให้เหมาะสมกับเวิร์กโหลกที่หลากหลายและระดับประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 มอบประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 62% โดยเฉลี่ย บนระบบเครือข่ายที่เปิดใช้งานในวงกว้างและเวิร์กโหลดของเครือข่าย 5G เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้า[iv] ด้วยการทำงานร่วมกับระบบที่หลากหลายของสมาชิก Intel® Network Builders กว่า 400 ราย อินเทลได้ส่งมอบแบบแผนโซลูชันที่ใช้ SKU “N” ของโปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 ซึ่งทำให้การรับรองคุณสมบัติทำได้อย่างรวดเร็ว และลดระยะเวลาในการปรับใช้งานของ vRAN, NFVI, Virtual CDN และอื่นๆ อีกมาก
  • สำหรับ Edge อัจฉริยะ: โปรเซสเซอร์ Intel Xeon Scalable เจนเนอเรชั่น 3 มอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการควบคุมการปฏิบัติงานที่จำเป็นสำหรับ AI ที่ทรงพลัง, การวิเคราะห์ภาพหรือวิดีโอที่ซับซ้อน, และปริมาณเวิร์กโหลดที่รวมเข้าด้วยกันที่ Edge อัจฉริยะ โดยแพลตฟอร์มนี้สามารถมอบประสิทธิภาพการอนุมานของ AI ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 1.56 เท่า สำหรับการจำแนกภาพเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ หน้า[v]

 

 รายงานดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ Dell Technologies Digital Transformation Index (the DT Index) จัดทำโดยเดลล์เทคโนโลยีส์ ร่วมกับอินเทล สำรวจความก้าวหน้าในการปรับตัวสู่ดิจิทัลขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ทั่วโลกกว่า 4,000 แห่ง โดยมอบหมายให้ Vanson Bourne บริษัทวิจัยอิสระสำรวจผู้นำธุรกิจ 100 รายในประเทศไทยเพื่อประเมินกลยุทธ์ด้านไอที ความริเริ่มในการปฏิรูปของคนทำงาน และความสามารถที่รับรู้ได้โดยเทียบจากคุณลักษณะสำคัญที่ธุรกิจดิจิทัลต้องมี พร้อมประเมินความคาดหวังและมุมมองของผู้บริหารในเรื่องดิจิทัล

โดยปีนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่เดลล์ เทคโนโลยีส์ และอินเทลทำการสำรวจนี้ โดยได้ขยายกลุ่มขอบเขตงานวิจัยจาก 16 ประเทศเป็น 42 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยที่มีการสำรวจครั้งแรก

โดยผลสำรวจในส่วนของประเทศไทยที่น่าสนใจมีดังนี้

  

การเปรียบเทียบเพื่อแบ่งกลุ่ม

รายละเอียด

การวิเคราะห์ ระดับประเทศในปี 2018

(ประเทศไทย)

ผู้นำด้านดิจิทัล

(Digital Leaders)

มีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ในหลากหลายรูปแบบ และถูกปลูกฝังอยู่ในดีเอ็นเอของธุรกิจ

7%

ผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล

(Digital Adopters)

มีแผนงานด้านดิจิทัลที่เป็นจริงเป็นจัง มีการลงทุนและมีนวัตกรรมในองค์กร

40%

ผู้ที่กำลังประเมินดิจิทัล

(Digital Evaluators)

ตอบรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป มีการวางแผนและลงทุนสำหรับอนาคต

 

25%

ผู้ตามในเรื่องดิจิทัล

(Digital Followers)

 

ลงทุนด้านดิจิทัลน้อยมาก เพิ่งเริ่มต้นวางแผนคร่าวๆ สำหรับอนาคต

23%

ผู้ที่ถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลังดิจิทัล

(Digital Laggards)

ไม่มีแผนงานด้านดิจิทัล มีการลงทุนและความริเริ่มที่จำกัดในองค์กร

5%

นพดล ปัญญาธิปัตย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ อีเอ็มซี ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ตามดัชนี DT Index พบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในไทย อยู่ในกลุ่มของผู้ที่เริ่มก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Adopters) โดยบริษัทเหล่านี้ มีแผนงานและนวัตกรรมที่ล้ำหน้าในองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนไปสู่การปฏิรูปองค์กร (transformation) อย่างไรก็ตาม ผลการรายงานยังเผยให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 4 ของบริษัทยังอยู่ใน 2 กลุ่มหลัง ซึ่งหมายความว่าบริษัทเหล่านี้ กำลังก้าวไปอย่างช้าๆ หรือไม่ก็ยังไม่มีแผนงานด้านดิจิทัลเลย

 อุปสรรคที่กีดขวางการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล

 

  • 53% การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • 49% วัฒนธรรมด้านดิจิทัลที่ยังไม่แข็งแรงพอ ขาดความสอดคล้อง และการประสานความร่วมมือภายในบริษัท
  • 48% ขาดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลที่สอดคล้องกัน
  • 45% ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานให้ทันต่อธุรกิจ
  • 43% ขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร
  • 96% บอกว่าพบอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
  • 90% เชื่อว่าการปฏิรูปสู่ดิจิทัลควรแพร่หลายและครอบคลุมทั่วทั้งองค์กรได้มากกว่านี้
  • 71% กังวลว่าองค์กรของตนเองจะต้องพยายามอีกมากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
  • 33% กังวลว่าองค์กรจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังไม่สามารถตามความเปลี่ยนแปลงได้ทัน
  • 61% เชื่อว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก่อนที่จะถูก disrupt

 การก้าวข้ามอุปสรรค

 งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรธุรกิจกำลังเดินหน้าเพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับการคุกคามในการที่จะถูกเอาชนะจากผู้เล่นที่ไวกว่าและมีนวัตกรรมเหนือกว่า โดยเห็นได้จากประเด็นต่อไปนี้

  • 69 % ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช่วยเร่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
  • 68 % สร้างระบบรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไว้ในทุกอุปกรณ์ แอปพลิเคชัน และอัลกอริธึมทั้งหลาย
  • 65 % กำลังพยายามอย่างมากในการพัฒนาทักษะรวมถึงความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในองค์กร เช่นการสอนให้พนักงานเรียนรู้วิธีการเขียนโค้ด รวมถึงระดับบริหารที่ควรจะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • 52 %แบ่งปันความรู้ในทุกฟังก์ชันงาน ด้วยการเตรียมพร้อมให้ผู้นำด้านไอที มีทักษะทางธุรกิจ และให้ผู้นำธุรกิจมีทักษะไอทีในขณะเดียวกัน
  • 45 % มีรูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันที่เหมาะกับการนำไปใช้แล้วปรับแก้อย่างรวดเร็ว

  ในส่วนของแผนการลงทุนที่วางไว้ภายใน 1 ถึง 3 ปีข้างหน้า

  • 73 % ตั้งใจที่จะลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์
  • 63 % ตั้งใจว่าจะลงทุนด้านมัลติ-คลาวด์
  • 61 % ตั้งใจว่าจะลงทุนด้านการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้แนวทางมุ่งเน้นที่การประมวลผลเป็นหลัก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล รวมถึงศักยภาพและการดำเนินการที่เหมาะสมและคุ้มค่าในเรื่องของเวิร์กโหลด
  • 56 % ตั้งใจว่าจะลงทุนเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • 55 % ตั้งใจว่าจะลงทุนในเทคโนโลยี IoT
  • 55 % กำลังจะลงทุนด้าน blockchain
  • 44 % จะลงทุนในระบบที่มีกระบวนการรับรู้ได้เอง (cognitive systems)
  • 40 % จะลงทุนใน Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)

นพดลมองว่า องค์กรที่วางเทคโนโลยีเป็นศูนย์กลาง จะได้รับประโยชน์จากโมเดลธุรกิจดิจิทัล รวมถึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อจัดการทุกสิ่งได้ในแบบอัตโนมัติและทำให้ลูกค้าพึงพอใจ นี่คือสาเหตุที่การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

เมื่อถามว่าเดลล์มีวิธีให้คำแนะนำกับผู้ที่กำลังมองหาเทคโนโลยีและสร้างวัฒนธรรมดิจิทัลในองค์กรเขาตอบว่า จะใช้วิธีแนะนำให้ดูตัวอย่างจากองค์กรที่สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองรองรับโลกดิจิทัลได้ ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาหนทางเปลี่ยนแปลงองค์กรของตนให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

X

Right Click

No right click