January 22, 2025

มุ่งแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ตอบโจทย์นโยบายนายกฯ เศรษฐา เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน

AIS ผู้นำเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทยและหัวเว่ย ได้ทำการทดสอบระบบโครงข่าย 5G ในรูปแบบ RedCap เชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ซึ่งผลการทดสอบสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยเป็นการทดสอบบนเครือข่ายพาณิชย์บนคลื่นความถี่ 700MHz และ 2600MHz และใช้อุปกรณ์เทอร์มินัลของ RedCap หลากหลายประเภท รวมถึงเครื่อง DTU (อุปกรณ์ส่งข้อมูล) และกล้องต่าง ๆ โดยมีการทดสอบการทำงานทั้งในด้านความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดและอัปโหลด ประสิทธิภาพการทำงานขณะการเคลื่อนที่ การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ RedCap กับอุปกรณ์ eMBB ซึ่งผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าทั้งเครือข่าย 5G ของ AIS และอุปกรณ์เทอร์มินัลของ RedCap สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่คาดการณ์ไว้ ถือเป็นก้าวสําคัญในการนำเทคโนโลยี RedCap ไปใช้งานในเชิงพาณิชย์

5G RedCap นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานกับแอปพลิเคชันประเภท IoT ทั้งการใช้งานในความเร็วระดับกลางและความเร็วสูง เช่น เซ็นเซอร์ในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และกล้องวงจรปิด โดยเป็นการลดความซับซ้อนของระบบเครือข่ายแบบ Baseband อุปกรณ์ส่งสัญญาณ และเสาอากาศ โดยเทคโนโลยี RedCap นี้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและใช้พลังงานน้อยกว่าอุปกรณ์ 5G ประเภท eMBB เป็นอย่างมาก ซึ่งหากนำไปเทียบกับระบบ 4G แบบ CAT4 UEs แล้ว เทคโนโลยี RedCap ยังสามารถรักษาคุณสมบัติพื้นฐานของเทคโนโลยี 5G เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการส่งข้อมูลจำนวนมาก และค่าความหน่วงที่ต่ำ นอกจากนี้ RedCap ยังสนับสนุนคุณสมบัติหลัก ๆ สำหรับภาคธุรกิจด้วย เช่น เทคโนโลยี Network Slicing และการระบุตําแหน่ง

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฎิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS กล่าวว่า “นอกจากการพัฒนาด้านการบริการเพื่อคุณภาพที่ดีที่สุด เรายังพร้อมนำนวัตกรรมใหม่ล่าสุดเข้ามายกระดับเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของเราที่ต้องการช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตอย่างยั่งยืน และนี่เองที่ทำให้เราเดินหน้าผสานความร่วมมือทำงานกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกอย่างหัวเว่ย ในการยกระดับโครงข่าย 5G ของประเทศไทยให้มีมาตรฐานระดับโลก และเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของเราในการก้าวไปสู่ Cognitive Tech-Co (การเพิ่มความอัจฉริยะลงไปในบริการหรือลงไปในโซลูชัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า)"

เราประสบความเร็จในการทดสอบความสามารถของเทคโนโลยี 5G ในหลากหลายรูปแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทั้งคลื่นความถี่ 2600MHz และ 700MHz ของ AIS นั้นสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานเหนือระดับให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี และ AIS ยังคงตั้งเป้าหมายพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีรวมถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพของภาคการผลิต เทคโนโลยี RedCap นั้นถือเป็นก้าวสำคัญของเทคโนโลยี 5G ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากอุปกรณ์ของ 5G ได้ถึงร้อยละ 70 รวมถึงจะช่วยเร่งให้เกิดการนำ 5G ไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมให้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย โดย AIS จะยังคงเดินหน้าร่วมมือกับหัวเว่ย และพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันหาวิธีที่จะนำเทคโนโลยี RedCap มาใช้ในการควบคุมการทำงานในภาคอุตสาหกรรม การใช้งานในภาคการผลิตพลังงาน สมาร์ทซิตี้ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ และด้านอื่น ๆ ในอนาคต

ซึ่งหัวเว่ยกล่าวว่า “RedCap เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพให้กับเครือข่าย 5G และยังสามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ โดยหัวเว่ยจะเดินหน้าร่วมมือกับ AIS ในการร่วมกันสร้างเครือข่าย 5G คุณภาพสูง ผ่านความร่วมมือทางด้านนวัตกรรม ร่วมสร้างแอปพลิเคชันด้าน 5G ใหม่ ๆ กับพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรม และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยต่อไป”

 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือเอไอเอส (AIS) สนับสนุนการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทย ไร้ E-Waste’ กับ AIS เพื่อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste บริเวณเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น LG

 

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ซึ่งเป็นโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี สอดรับกับพันธกิจหลัก ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือชุมชนใกล้เคียง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ มาทิ้ง ได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ นอกจากนั้นเรายังได้จัดวางถังแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้รับความสะดวก และง่ายต่อการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งขยะที่ผ่านการคัดแยกจะเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ ตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยจัดสรรให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ มากที่สุด”

 

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศแล้ว เรายังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ที่วันนี้ AIS เดินหน้าสร้าง Ecosystem ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย โดยครั้งนี้เราได้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครือข่าย ด้าน Green Partnerships โดยมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือมาเข้าร่วมงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์ต่างๆ สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อจะได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป”

 

เพราะความยั่งยืนคือพันธกิจหลัก ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จึงให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบอาคาร ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประหยัดพลังงาน การควบคุมมลพิษ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเชื่อมโยงอาคารเข้ากับพื้นที่สีเขียวของสวนเบญจกิติ และการจัดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ การร่วมมือ ในโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของศูนย์ฯ สิริกิติ์ อย่างแท้จริง”

นายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซ้าย) เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือ นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส (ขวา) เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

มุ่งเป้ายกระดับทักษะบุคลากรเอไอเอส ให้เติมศักยภาพ พร้อมก้าวสู่ Cognitive Tech-Co

ตอกย้ำความคุ้มค่า เพิ่มความคุ้มครอง ตอบโจทย์ประกันสุขภาพที่ครอบคลุมจนถึงอายุ 80 ปี

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click