December 04, 2024

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านการพัฒนากำลังคนในสาขาสะเต็มสู่ตลาดแรงงานโลกในอนาคต ในงาน 4th Integrated STEM Leadership Summit in Asia ภายใต้หัวข้อ “Navigating the AI Revolution: Equipping Asia’s Workforce and Learners for the Future” จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) ร่วมกับภาคีภาคเอกชนและภาคการศึกษา เพื่อสานความร่วมมือระหว่างนักการศึกษา นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำในภาคอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) ที่มีต่อตลาดแรงงาน และกลยุทธ์ในการใช้ประโยชน์จาก AI ผนวกเข้ากับการศึกษาและการพัฒนาแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย นางสาวพอพิชญ์ พงษ์พานิช รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะตัวแทนบริษัทพลังงานชั้นนำ ได้แชร์กลยุทธ์ในการนำ AI และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะบุคลากร เพื่อตอบโจทย์การจัดหาพลังงาน ที่สะอาดขึ้น ปลอดภัย และเชื่อถือได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืน โดยในงานได้รับเกียรติจากผู้นำของหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านพลังงาน เทคโนโลยีทางการแพทย์ ความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงมีตัวแทนภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนเข้าร่วมงาน ณ โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซ่า กรุงเทพฯ  

งาน 4th Integrated STEM Leadership Summit in Asia ประกอบไปด้วยเวทีเสวนาในประเด็นการขับเคลื่อนการศึกษาสาขาสะเต็มในยุค AI เพื่อพูดคุยถึงแนวทางในการพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งนางสาวพอพิชญ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที  Future STEM Careers พร้อมพูดถึงการเปลี่ยนผ่านในยุค AI ที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับผู้บริหารจาก บริษัท ไซเบอร์ดายน์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, มูลนิธิ Pilipinas Shell และ Ateneo School of Government (ASoG)

“เชฟรอนเป็นบริษัทพลังงานที่ไม่เคยหยุดยั้งในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการจัดหาพลังงานที่เชื่อถือได้ มีราคาที่เหมาะสม และสะอาดขึ้น โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในภาคพลังงานเอง เรามองเห็นการเปลี่ยนผ่านอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือ Energy Transition หรือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เนื่องจากความต้องการทางพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจที่เติบโต การมีพลังงานจากแหล่งที่หลากหลายจึงมีความจำเป็น ทั้งพลังงานจากฟอสซิล หรือ Traditional Energy และพลังงานในรูปแบบใหม่ที่มีความสะอาดมากขึ้น ธุรกิจพลังงานจึงต้องพร้อมที่จะปรับตัวและปรับเปลี่ยน พนักงานอย่างวิศวกรนอกจากมีองค์ความรู้เดิม ยังต้องเรียนรู้ถึงแนวทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย เพื่อให้การจัดหาพลังงานมีความสะอาดมากขึ้น ส่วนที่สองคือ การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี องค์กรจะต้องเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับโอกาสทางธุรกิจ  และกล้าที่จะท้าทายในสิ่งที่เดิม โดยให้เริ่มต้นด้วยการมองถึงปัญหาทางธุรกิจที่เราต้องการแก้ไข แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่เชฟรอน เรามองหาโอกาสในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เสริมสร้างศักยภาพในการทำงานอยู่เสมอ โดยได้นำความสามารถของ AI  Data Science, และ Machine Learning มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทำงานมาเป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ และนำร่องใช้ Generative AI สำหรับงานที่มีความซับซ้อนมายิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น  นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพของพนักงาน ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีอยู่ตลอด” นางสาวพอพิชญ์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ให้สนับสนุนการขับเคลื่อนสะเต็มศึกษามาตลอด ตั้งแต่การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ไปจนถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและประกอบอาชีพสาขาสะเต็มให้กับเยาวชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันและนวัตกรรมของประเทศ ภายใต้โครงการต่างๆ มากมาย อาทิ โครงการ Chevron Enjoy Science ที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2558-2566 และได้ต่อยอดไปสู่โครงการ Southeast Asia Teacher Development Program เพื่อพัฒนาครูสาขาสะเต็มให้เท่าทันการ

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในงาน Thailand – U.S. Trade and Investment Conference 2024: Building on a Longstanding Partnership ที่จัดขึ้นเพื่อสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนจากประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา แลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างเครือข่ายสัมพันธ์และการลงทุน พร้อมหารือถึงโอกาส รวมถึงความท้าทายในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยนายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในฐานะตัวแทนบริษัทพลังงานชั้นนำของโลก ได้ร่วมชูกลยุทธ์ขับเคลื่อนพลังงาน ที่สะอาดขึ้น ปลอดภัย และเชื่อถือได้ สู่ความมั่นคงทางพลังงานของไทยในอนาคต โดยในงาน ได้รับเกียรติจากผู้นำของหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงตัวแทนภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมงาน ณ บีดีเอ็มเอส คอนเน็ค เซ็นเตอร์ โรงแรมเมอเวนพิค บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท

งาน Thailand – U.S. Trade and Investment Conference 2024: Building on a Longstanding Partnership ประกอบไปด้วยเวทีเสวนาในประเด็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อหารือแนวทางเสริมศักยภาพของประเทศในก้าวถัดไป ซึ่งนายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที Powering Progress: Securing Thailand’s Position in the New Energy Era ขับเคลื่อนความก้าวหน้า เปิดเส้นทางสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคตให้กับประเทศไทย ร่วมกับผู้บริหารจาก บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท Cheniere Energy, Inc.

เชฟรอนเชื่อว่าพลังงานแห่งอนาคต คือการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดหาพลังงานที่มั่นคงในราคาที่เข้าถึงได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ความต้องการใช้พลังงานจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงทำให้มีความต้องการใช้พลังงานจากแหล่งที่หลากหลายมากขึ้น และความต้องการใช้พลังงานฟอสซิล หรือ Traditional Energy จึงจะยังคงความสำคัญต่อไปอีกหลายทศวรรษ เชฟรอนในฐานะผู้นำธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมจึงจำเป็นต้องมีการปรับให้กระบวนการผลิตสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยหนึ่งในเทคโนโลยีที่เชฟรอนมองว่าจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ คือเทคโนโลยี CCS เพื่อดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เชฟรอนเองมีประสบการณ์ในการทำ CCS จากทั่วโลก อาทิ โครงการกอร์กอน ในประเทศออสเตรเลีย และโครงการเควสท์ ในแคนาดา และเรายังได้สนับสนุนการพัฒนาและนำ CCS มาใช้ในอ่าวไทย อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว รวมถึงการสร้างนโยบายและกรอบกฎหมายที่ชัดเจน จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ไทยสามารถนำเทคโนโลยี CCS เข้ามาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายชาทิตย์ กล่าว

ทั้งนี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ตั้งเป้าหมายสู่ Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 ของธุรกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเครือบริษัทเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ทั่วโลก ตอกย้ำการให้ความสำคัญกับกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อสร้างความมั่นคงของพลังงานไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ความเป็นมาของโครงการฯ

จากวิกฤตการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกในวงกว้างและกำลังขยายผลกระทบขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ “Net Zero” กลายเป็นหนึ่งในวาระระดับโลกที่หลายประเทศให้ความสำคัญ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด ในฐานะบริษัทพลังงานระดับโลกที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกมิติ ได้ตระหนักถึงความเร่งด่วนของปัญหา จึงเดินหน้าให้การสนับสนุนเป้าหมายการลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยคาร์บอนและเป้าหมาย “Net Zero” ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2608 (ค.ศ. 2065)

สำหรับในประเทศไทย จังหวัดระยอง ในภาคตะวันออก ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญ และเป็นจังหวัดที่มีป่าชายเลนแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งค่อนข้างมาก โดยป่าชายเลน ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญทั้งทางด้านนิเวศวิทยา เนื่องจากสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ และช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยสามารถดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละกว่า 9.4 ตันต่อไร่ (ข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: 2566) อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของชายฝั่งทะเลเนื่องจากเป็นแนวป้องกันชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะพังทลาย และกำบังคลื่นพายุอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนนั้นมีอัตราลดลง รวมถึงสภาพป่าชายเลนบางพื้นที่นั้นยังขาดความอุดมสมบูรณ์

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) ซึ่งเป็นโครงการจากความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  ร่วมกับ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) และบริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศของพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาในบริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เพิ่มพื้นที่สีเขียวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมส่งเสริมการอนุรักษ์ผ่านชุมชนสู่ความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงเศรษฐกิจในชุมชนตลอดการดำเนินงาน เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไปในอนาคต เหล่านี้เป็นการตอกย้ำเป้าหมายของเชฟรอน และ SPRC ในพันธกิจลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ในการดำเนินกิจการ หรือ Environmental Footprint (รอยเท้าทางนิเวศ) เพื่อสร้างผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนโดยรอบพื้นที่ในระยะยาว

 

ภาพรวมโครงการฯ

โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) เป็นโครงการระยะยาว ที่ริเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2566 ผ่านความร่วมมือของ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดระยอง พร้อมทั้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง  เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ สำนักงานประมงจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง  ประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานระยอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ ชุมชนเนินพระ วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ และกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง และมีที่ปรึกษาทางด้านวิชาการโดยสมาคมส่งเสริมพัฒนากำลังคนสเต็มเพื่ออนาคต (IAFSW) ในการดำเนินโครงการในพื้นที่ 100 ไร่ บริเวณป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่ได้รับการพัฒนาและมีสภาพแห้งแล้ง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมุ่งสนับสนุนการลดคาร์บอน และสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ ดังนี้

  1. ฟื้นฟูระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลน ผ่านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมเพิ่มที่อยู่อาศัยให้สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable Species) ไปจนถึงผลพลอยได้สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดระยองผ่านธรรมชาติที่สวยงามเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต
  2. สร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่งในชุมชน ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานในชุมชนอย่างใกล้ชิด อาทิ หน่วยงานภาครัฐจังหวัดระยอง โรงเรียน เยาวชน และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เพื่อสร้างการเชื่อมโยงกับชุมชน พร้อมให้ความรู้และเสริมทักษะของชุมชนและเยาวชนเกี่ยวกับการลดคาร์บอน ผ่านความร่วมมือกับโรงเรียนในพื้นที่ โดยจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างอาชีพในอนาคตเพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตแก่ชุมชน ทั้งในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
  3. ส่งเสริมด้านงานวิจัยผ่านการศึกษาและเรียนรู้จากธรรมชาติ (Nature-based learning) โดยติดตามและประเมินผลด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม พร้อมวางแผนดำเนินงาน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการเพื่อค้นคว้าวิจัย ศึกษา รวมถึงติดตามความคืบหน้าของโครงการผ่านข้อมูลที่พิสูจน์และเชื่อถือได้ อีกทั้งยังผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยี เช่น การใช้โดรน เพื่อวัดผลสำเร็จเคร่งครัด สู่การต่อยอดและขยายผลสู่ต้นแบบโครงการอื่นๆ ต่อไป โดยร่วมมือกับพันธมิตรวิชาการผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ได้แก่
    • คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการนำความเชี่ยวชาญด้านป่าไม้ และนิเวศวิทยา ประยุกต์ใช้ในการวางแผนดำเนินโครงการ รวมถึงประเมินพื้นที่ปลูกป่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและวัดผลได้จริง
    • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอุทกวิทยา เพื่อศึกษาและวางแผนโครงการฯ เกี่ยวกับการทำทางน้ำเพื่อลดพื้นที่แห้งแล้ง และแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาวสำหรับพื้นที่ป่าในเมือง
    • องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ให้บริการ ดูแล และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัด การรายงาน และการทวนสอบ และให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด และการชดเชยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการฯ ในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผล เพื่อพัฒนาโครงการฯ สู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตราวัดผลได้เชิงรูปธรรม
  1. ปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอาสาเพื่อส่งต่อจิตสำนึกด้านการตอบแทนสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ผู้คนรอบข้าง

จากเป้าหมายดังกล่าว ทางโครงการฯ ได้มุ่งทำงานและสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ได้รับผลประโยชน์หลายภาคส่วน อาทิ ชุมชนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ กรมเจ้าท่า กรมประมง ชุมชนเนินพระ กลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำระยองและป่าชายเลนจังหวัดระยอง วิสาหกิจชุมชนประมงเรือเล็กเก้ายอด วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลปากน้ำ เยาวชนในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยว

สำหรับการดำเนินโครงการในระยะแรก มุ่งเน้นการศึกษาพื้นที่ในโครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ไปจนถึงหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อวางแผนฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างเป็นรูปธรรมและเน้นความยั่งยืน เช่น ศึกษาการนำเอาพืชพื้นถิ่นเข้ามาปลูก ศึกษาพื้นที่ทางน้ำและกระแสน้ำ รวมถึงวิเคราะห์คุณภาพดิน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์และฟื้นฟูตามความเหมาะสมที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ศึกษาตัวชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ จากแผนงานที่วางไว้

 

สำหรับการวางแผนในระยะถัดมา ทางโครงการฯ วางแผนยกระดับสร้างการรับรู้ในวงกว้างขึ้น พร้อมร่วมมือกับสถานศึกษาในระดับต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนเข้าไปในหลักสูตร อีกทั้งวางแผนจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลนเพื่อให้ผู้ที่สนใจ คนในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยว ได้ร่วมทำกิจกรรม และร่วมเสวนาในประเด็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าในเมือง ตลอดจนจัดทำสื่อการศึกษาเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของป่าชายเลนและการอนุรักษ์ระบบนิเวศจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ ในด้านการศึกษาติดตามความคืบหน้า เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทางโครงการฯ ได้มุ่งวัดผลเชิงลึกเพื่อประเมินเป้าหมายของปริมาณการดูดซับคาร์บอนสำหรับป่าชายเลนในพื้นที่ และประเมินการเปลี่ยนแปลงในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการผสานเทคโนโลยีมาช่วยวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้โดรนเพื่อวัดความสูงของต้นไม้และวัดอัตราการเติบโตในแต่ละปี ไปจนถึงการเปรียบเทียบจำนวนพื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นมาคำนวณปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อชดเชย โดยข้อมูลดังกล่าวถือเป็นองค์ความรู้สำคัญเพื่อการต่อยอดขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมด้านการจัดการคาร์บอนเครดิต ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนในอนาคต

พร้อมกันนี้ โครงการฯ ยังมีแผนสำหรับการนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพัฒนากิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้ภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน พนักงานเชฟรอน และพนักงานบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPRC) เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมปลูกป่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างทางน้ำ ทำคอนโดปู ไปจนถึงจัดทำบอร์ดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน และยกระดับการรับรู้เกี่ยวกับโครงการในวงกว้างผ่านการจัดเสวนาวิชาการ หรือสื่อสารผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับโครงการฯ และความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรเทาผลกระทบสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

 

ความยั่งยืนของโครงการฯ

เช่นเดียวกับหลากหลายโครงการเพื่อสังคมของทั้ง 3 องค์กร โครงการ “เติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย” (Foster Future Forests) มุ่งดำเนินการในระยะยาวร่วมกับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีและวิธีการศึกษา วิจัย และวัดผลเชิงวิชาการมาใช้ เพื่อให้สามารถวางแผนการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถวัดผลสำเร็จได้จริง พร้อมมุ่งทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อเสริมแกร่งเครือข่ายชุมชน และปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในพื้นที่สามารถต่อยอดผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว รวมถึงสามารถดูแลอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนต่อไปในอนาคตหลังจากส่งมอบพื้นที่เมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เผยว่า ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา

“สิ่งที่ทำให้ครูตัดสินใจทุ่มเทแรงกายแรงใจช่วยเหลือเด็กพิเศษกลุ่มนี้ก็คือ ครูมองเห็นความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวของพวกเขา หากเรามีวิธีการสอนด้วยความเข้าใจและมอบโอกาสที่พวกเขาสมควรได้

X

Right Click

No right click