December 22, 2024

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว ไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19 และตอนนี้เราก็กำลังอยู่ในอีกหนึ่งช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญอีกครั้งของการปรับตัวกับการเข้ามาถึงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI โดย Google Cloud คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมต่างๆ จะพัฒนาไปพร้อมกับ Gen AI ดังนี้:

การขายปลีก

ผู้ค้าปลีกรู้ดีว่าแบรนด์จะดีได้ก็ต่อเมื่อบริการลูกค้านั้นเป็นที่พึงพอใจ ซึ่ง Gen AI ที่ทำงานดั่งตัวแทนเสมือน (Virtual Agent) สามารถช่วยแบ่งเบาภาระจากศูนย์ติดต่อลูกค้าของผู้ค้าปลีกได้ ผ่านการเปิดใช้งานแชทบอทที่ให้การปฏิสัมพันธ์เหมือนมนุษย์ได้ทันที เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อสามารถได้คำตอบที่ต้องการอย่างง่ายดาย เช่น การช่วยเหลือทางด้านความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ หรือการแลกเปลี่ยนคำสั่งซื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ Gen AI ยังสามารถขับเคลื่อนการค้าแบบสนทนาเพื่อช่วยให้ผู้ซื้อค้นพบสิ่งที่พวกเขากำลังมองหาและลดอัตราการละทิ้งตะกร้าสินค้า ลองนึกภาพการมีสไตลิสต์ส่วนตัวเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบกับผู้ซื้อและแนะนำสินค้าที่ปรับให้เหมาะกับคำถามหรือความชอบของผู้ซื้อแต่ละราย และลองจินตนาการถึงสิ่งนี้ในวงกว้าง แล้วคุณจะเข้าใจว่า Gen AI เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ค้าปลีกเพียงใด

ยิ่งไปกว่านั้น Gen AI ยังช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ผู้ค้า และช่วยเร่งการจัดการแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลานาน ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการค้าปลีกเนื่องจากผู้ขายต้องจัดการกับสินค้าคงคลังที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ด้วยการทำงานแบบอัตโนมัติผ่าน Gen AI ผู้ค้าปลีกสามารถอัปเดตสินค้าคงคลังที่แสดงปริมาณและรูปแบบอย่างแม่นยำแบบเรียลไทม์ พร้อมรับรูปภาพจากผู้ขาย จัดเรียงและจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ตามคำค้นหายอดนิยมและคำอธิบายที่เกี่ยวข้อง และเขียนคำอธิบายสินค้าที่ช่วยให้ค้นพบสินค้าได้ง่าย

นักการตลาดค้าปลีกที่มีความชำนาญสามารถใช้คำอธิบายสินค้าเหล่านี้สำหรับสร้างข้อความโฆษณาที่น่าสนใจออกมาได้หลายรูปแบบเพื่อให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ภาพกระเป๋าถือหนึ่งใบ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยข้อความโฆษณาที่แตกต่างกันไปยังนักช้อปประเภทต่างๆ อาทิ กลุ่มที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม กลุ่มคนมิลเลนเนียลที่รักในการเดินทาง และกลุ่มคุณแม่มือใหม่ จากนั้น นักการตลาดสามารถใช้ Gen AI เพื่อช่วยในการสร้างฉากหลังภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันสำหรับกระเป๋าใบนั้น และทำการทดสอบ A/B กับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน สิ่งนี้ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลาของผู้ค้าปลีก แต่ยังช่วยเพิ่มรายได้และเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคอีกด้วย

บริการทางการเงิน

อุตสาหกรรมบริการทางการเงินเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากที่สุดในโลก และ Gen AI สามารถช่วยให้สถาบันการเงินวิเคราะห์ข้อมูล สร้างข้อมูลเชิงลึก และตัดสินใจได้ดีขึ้น  บริการทางการเงินส่วนใหญ่มีคำศัพท์และบริบทที่เฉพาะเจาะจงเป็นของตัวเอง โดยผมมองว่าเราจะเห็นการเพิ่มขึ้นของ LLM ที่ได้รับการปรับแต่งอย่างละเอียด โดยเป็นโมเดลภาษาที่ได้รับการเทรนล่วงหน้า และเทรนเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดข้อมูลของข้อความและโค้ดที่มีขนาดเล็กลงและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งช่วยให้โมเดลเข้าใจและตอบสนองต่อพรอมต์และคำถามที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือโดเมนเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหรือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณภาพของเอาท์พุต Gen AI ยังได้รับการปรับปรุงโดยการการตรวจสอบความสมเหตุสมผล หรือ grounding โมเดล ที่เชื่อมโยงข้อความที่สร้างขึ้นกับข้อมูลและบริบทในโลกแห่งความเป็นจริง ซึ่งหมายความว่าทุกครั้งที่มีการตัดสินหรือการประเมิน โมเดลสามารถอ้างอิงเชิงอรรถหรือเชื่อมโยงกลับไปยังข้อมูลสนับสนุนได้โดยตรง ทั้งนี้ โมเดล Gen AI ที่อธิบายได้ดังกล่าว จะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถอธิบายกระบวนการตัดสินใจให้กับลูกค้าได้อย่างโปร่งใส และสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจในบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่พวกเขานำเสนอ เรียกได้ว่าทั้งหมดนี้จะทำโดยมีมนุษย์คอยดูแลและควบคุมระบบ AI ที่ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการเงินของลูกค้า ด้วยวิธีนี้ ธนาคารสามารถทำให้แน่ใจว่าโมเดล AI เป็นไปตามกฎระเบียบ ลดความเสี่ยง และรักษาความไว้วางใจของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 การดูแลสุขภาพ

โควิด-19 ทำให้เกิดแรงกดดันด้านต้นทุน การขาดแคลนบุคลากร เทคโนโลยีที่กระจัดกระจาย และความซับซ้อนด้านการบริหารที่อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพต้องเผชิญ แต่การเข้ามาของ Gen AI ในอีกสามปีต่อมานั้น สามารถช่วยบรรเทาความกดดันบางส่วนเหล่านี้ได้

ตัวอย่างเช่น Gen AI สามารถแบ่งเบาภาระงานด้านการบริหารและภาระทางปัญญาสำหรับแพทย์ที่มีเวลาจำกัด โดยการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องท่ามกลางชุดผลลัพธ์จำนวนมาก การแยกย่อยรายงานและไฟล์ขนาดยาวเพื่อการใช้งานที่รวดเร็วขึ้น และช่วยเหลือด้านเอกสารทางคลินิก โดย Gen AI ยังสามารถวิเคราะห์และกำหนดค่าข้อมูลที่มีอยู่ในบันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ และรายงานการวินิจฉัยนับล้านที่อธิบายสภาพของผู้ป่วยและโรงพยาบาล รวมถึงข้อมูลในโหมดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น การสแกนด้วยภาพ ผลการตรวจจากห้องห้องปฏิบัติการ และการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ทำให้แพทย์สามารถตอบคำถามทางการแพทย์ได้แม่นยำและปลอดภัยยิ่งขึ้น และยังสร้างข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับในด้านการเงิน มนุษย์ยังคงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Gen AI มอบให้คือเครื่องมือใหม่ที่ทรงพลังในการประมวลผลและทำงานที่น่าพึงพอใจมากขึ้น ที่สามารถช่วยลดความน่าเบื่อของกระบวนการงาน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันจำนวนพยาบาลมีประมาณ 28 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งถ้าเราสามารถช่วยพวกเขาได้เพียงห้านาทีต่อวัน นั่นเท่ากับเป็นเวลา 266 ปีที่จะมุ่งเน้นไปที่การดูแลผู้ป่วย

สรุปแล้ว Gen AI จะมาเปลี่ยนแปลงธุรกิจจึงเปิดกว้างแบบไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยความสามารถในการสแกนข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างจำนวนมหาศาล และโต้ตอบกับผู้คนในภาษาธรรมชาติ รวมถึงการระบุรูปแบบแพทเทิร์น เรียนรู้ และสร้างข้อความ รูปภาพ โค้ด และเนื้อหาอื่นๆ อีกมากมาย

ขณะที่ Gen AI เปลี่ยนแปลงจากช่วงทดลองสู่การใช้งานจริงในปี 2024 ผมตั้งตารอที่จะได้เห็นวิธีที่บริษัทต่างๆ ใช้งาน Gen AI เพื่อปลดล็อกประสิทธิภาพและโอกาสในการสร้างรายได้อย่างปลอดภัยและครอบคลุม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะขับเคลื่อนมาตรฐานใหม่ที่ดียิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไปอย่างแน่นอน

 

บทความ  : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Country Director, Google Cloud ประเทศไทย

ในปี 2024 นี้ Generative AI จะเติบโตขึ้นจนกลายเป็นส่วนสำคัญในการทำงานขององค์กรทุกระดับ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงทีมในบริษัทใหญ่และพนักงานทุกคน จึงทำให้เกิดคำถามว่า Gen AI จะเข้ามามีผลต่อการทำงานของเราต่อไปอย่างไร?

ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราได้เห็นผู้คนทำงานร่วมกับ Gen AI ผ่านเครื่องมือของเราอย่าง Gemini for Google Workspace เพื่อพัฒนาทักษะที่มีอยู่ เช่น เหล่านักเขียนทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้นด้วยเครื่องมือบรรณาธิการเสมือนจริง (Virtual Editor) หรือเหล่านักออกแบบมาร่วมกันรังสรรค์ไอเดียใหม่ ๆ หรือบางครั้งก็เป็นการเพิ่มทักษะต่าง ๆ ให้กับเครื่องมือการใช้งาน เช่น เหล่ามือใหม่ใน Spreadsheet หันมาใช้ AI เพื่อให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Spreadsheet ได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น

Gen AI เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมากมาย แต่สิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือพนักงานของธุรกิจขนาดเล็ก คือผลลัพธ์ที่ได้และวิธีที่ AI ช่วยลดเวลาทำงานได้อย่างมหาศาล ซึ่งช่วยให้พนักงานทำงานและยกระดับการพูดคุยโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราจะเห็นผลลัพธ์ผ่าน 3 ส่วนหลัก ดังนี้

โมเดล AI หลายรูปแบบจะปรับปรุงกระบวนการทำงานของธุรกิจ SMB

ในปี 2024 เราจะเริ่มเห็นพลังของ AI ในหลากหลายรูปแบบ เช่น AI ที่เข้าใจข้อมูลทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนองค์กรทุกขนาด รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยไม่เพียงแต่จะให้ผลลัพธ์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ AI ยังให้ความสามารถในการทำงานหลากหลายรูปแบบในคราวเดียว เช่น ผลลัพธ์ของการคำนวณ spreadsheet อาจอยู่ในเนื้อหาของอีเมล ซึ่งเขียนโดยอ้างอิงถึงการโต้ตอบของลูกค้าก่อนหน้านี้ และอาจมาพร้อมกับไดอะแกรมหรือภาพประกอบที่เหมาะสม เป็นต้น

นอกจากนี้ AI ยังมีประโยชน์สำหรับองค์กรทุกขนาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่บุคคลหนึ่งอาจต้องทำงานหลายหน้าที่ เช่น เจ้าของร้านจักรยานในท้องถิ่นอาจได้รับภาพถ่ายจากลูกค้าเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งโมเดล AI หลายรูปแบบจะสามารถเข้าใจภาพและอธิบายปัญหาได้

นี่คือตัวอย่างของการใช้ AI เพื่อเสริมความสามารถทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเรานำเสนอธุรกิจของตนและชิ้นงานต่าง ๆ ได้ดีที่สุดจากหลากหลายรูปแบบ และด้วยการโต้ตอบเชิงสนทนาของ AI ที่ปรับให้เข้ากับวิธีการทำงานของแต่ละบุคคล ผู้คนจึงสามารถพัฒนาการสื่อสารภายในและการสื่อสารกับลูกค้าให้สะดวก เข้าใจง่าย และมีความเป็นส่วนตัวยิ่งขึ้น

ธุรกิจ SMB จะต้องมุ่งไปที่การป้อนคำสั่ง AI

สองสิ่งที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับ Gen AI ในที่ทำงานคือวิธีที่คนทำงานร่วมกับ AI และวิธีที่ AI ทำงานร่วมกับคน

ในปี 2024 ธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ร้านขายของชำไปจนถึงองค์กรระดับโลก จะต้องให้ความสำคัญสูงสุดกับการป้อนคำสั่งข้อมูล หรือ prompts ที่ตรงจุดให้กับ AI เพื่อช่วยปรับปรุงการสื่อสารและการทำงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสร้างเนื้อหาสำหรับแคมเปญการตลาดผ่านอีเมล ไปจนถึงการร่างและปรับแต่งการตอบกลับลูกค้า

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กแล้ว การตั้ง prompts ให้กับ AI อาจนำไปใช้กับการสร้างอีเมลมอบข้อเสนอพิเศษให้แก่ลูกค้า พูดคุยเกี่ยวกับการซื้อครั้งก่อน และกระตุ้นให้เห็นความแตกต่างของการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการรายนี้ หรืออาจเป็นการร่างหรือปรับแต่งเนื้อหาหรือจดหมายข่าวรายเดือน หรือแม้แต่แนะนำการตอบกลับอีเมลที่ไม่ได้รับคำตอบจากผู้ขายก็ได้เช่นกัน

และหากคุณใช้ Gemini for Workspace อยู่แล้ว หรือสนใจที่จะทดลองใช้ เรามาเรียนรู้เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเขียน prompt เพื่อช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น

· ใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ

· ชัดเจนและกระชับ

· ให้บริบทหรือข้อมูลที่ชัดเจน

· ใช้คีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงและเกี่ยวข้อง

· แบ่งงานที่ซับซ้อนออกเป็นแต่ละ prompts

การร่วมมือกับ Gen AI จะกลายเป็นสิ่งสำคัญใหม่ที่ขาดไม่ได้ในที่ทำงาน

สิ่งที่โดดเด่นที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับ gen AI คือปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติ ผนวกกับการคำนวณที่ทรงพลังเป็นพิเศษ เพียงแค่คุณพูดหรือป้อนคำสั่งลงไป AI ก็จะค้นหาข้อมูลและมอบสิ่งที่คุณต้องการได้ภายในพริบตา โดยตามหลักการแล้ว เครื่องมือ gen AI จะได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และพร้อมทำงานร่วมกับผู้คนหรือข้อมูลอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพื่อช่วยสร้าง สื่อสาร และทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น

ปีนี้เราจะได้เห็นบทสนทนาที่ทรงพลังยิ่งขึ้นระหว่างผู้คนและ Gen AI เนื่องจากตัวแมชชีนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันผู้คนก็เริ่มคุ้นชินกับการทำงานร่วมกับ Gen AI รูปแบบใหม่นี้ด้วย ซึ่งต่างจากแอปพลิเคชันการเขียนและตัวช่วยการทำงานประเภทอื่น ๆ ทั่วไป เพราะการทำงานของ Gen AI จะเกิดขึ้นภายในขั้นตอนของการสร้างสรรค์งาน ที่อาจมีข้อเสนอแนะที่ช่วยเร่งการทำงานให้เร็วขึ้น หรือเปิดระบบการทำงานหรือกระบวนการใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องมือ

ในขณะเดียวกัน AI ก็ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการอ่านความต้องการตามสถานการณ์ของธุรกิจ ซึ่งจะสามารถแนะนำระบบการทำงานที่เหมาะที่สุดที่ควรนำมาใช้ในช่วงเวลาที่กำหนดได้ เช่นในการประชุมแต่ละครั้ง AI จะช่วยสรุปการสนทนาและส่งสรุปการประชุมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่งานส่วนตัวที่ AI ก็สามารถแนะนำเครื่องมือหรือรูปภาพที่เหมาะกับงานไปพร้อม ๆ กับช่วยออกแบบไอเดียใหม่ ๆ ได้ด้วย

Gen AI ได้รับพลังจากข้อมูล ดังนั้นการแสดงออกที่ทรงพลังที่สุดจึงมาจากบริการบนคลาวด์ที่มีความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในตัวเอง ซึ่งเมื่อเทียบกับแอปพลิเคชันรุ่นเก่าที่จัดเก็บข้อมูลบนแล็ปท็อปพร้อมไฟล์ที่แชร์เป็นไฟล์แนบโดยไม่มีการควบคุมการเข้าถึง ระบบบนคลาวด์จึงมีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลกการทำงานด้วยคำแนะนำที่เป็นส่วนตัวและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากบริบทของงาน เช่น อีเมลหรือไฟล์ที่จัดเก็บไว้บนคลาวด์ในรูปแบบที่ให้ความเป็นส่วนตัวที่สุด

อย่างไรก็ตาม บทสนทนาที่แท้จริงคือการพูดคุยระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงาน กับบริษัท และกับลูกค้า ผมรู้สึกตื่นเต้นกับทุกสิ่งที่เราเตรียมไว้ให้สำหรับลูกค้าของเรา รวมถึงผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จาก Gen AI ในปี 2024 และต่อไปในอนาคต

 

บทความ  :  อรรณพ  ศิริติกุล  Country Director , Google Cloud ประเทศไทย 

 

 SAP SE (NYSE: SAP) และ Google Cloud ได้ประกาศการขยายความร่วมมืออย่างกว้างขวาง โดยการเปิดตัวข้อเสนอข้อมูลแบบเปิดที่ครอบคลุม ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของภูมิทัศน์ข้อมูลและปลดปล่อยพลังของข้อมูลธุรกิจ ข้อเสนอนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างระบบคลาวด์ดาต้าแบบ end-to-end ที่ข้อมูลถูกดึงมาใช้ได้จากทั่วทั้งองค์กร โดยใช้โซลูชัน SAP® Datasphere ร่วมกับระบบคลาวด์ดาต้าของ Google ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ สามารถตรวจดูพื้นที่ข้อมูลทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ และเพิ่มประสิทธิภาพได้สูงสุดจากการลงทุนในซอฟต์แวร์ Google Cloud และ SAP ของพวกเขา

ข้อมูลเป็นรากฐานที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการสร้างศูนย์รวมรวมข้อมูลที่ซับซ้อน เครื่องมือวิเคราะห์แบบกำหนดได้เอง รวมถึง Generative AI และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มตระหนักถึงความคุ้มค่าจากการลงทุนด้านข้อมูลเหล่านั้น ในขณะที่ข้อมูลที่มาจาก ระบบ SAP โดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร และสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างข้อมูลด้านซัพพลายเชน การพยากรณ์ทางการเงิน การบันทึกทรัพยากรบุคคล ข้อมูลระบบ Omnichannel Retail และอื่น ๆ ได้ โดย SAP Datasphere จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อภารกิจเหล่านี้ เข้ากับข้อมูลทั่วทั้งองค์กร จากหลากหลายแหล่งที่มา ซึ่งความสามารถในการรวมข้อมูลทั้งจากซอฟต์แวร์ SAP และที่ไม่ใช่มาจาก SAP (มาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) ไว้บน Google Cloud ได้อย่างง่ายดายนั้น ย่อมหมายความว่าองค์กรต่างๆ สามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็วด้วยรากฐานข้อมูลที่กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ และยังคงรักษาบริบททางธุรกิจที่ครบถ้วนไว้ได้

 

Christian Klein ซีอีโอและคณะกรรมการบริหารของ SAP SE

Christian Klein ซีอีโอและคณะกรรมการบริหารของ SAP SE กล่าวว่า "การนำระบบและข้อมูลของ SAP มารวมกับข้อมูลในคลาวด์ของ Google ได้นำเสนอโอกาสใหม่สำหรับองค์กรต่างๆ ให้ได้รับคุณค่าที่มากขึ้นจากดาต้าฟุตปริ้นท์ทั้งหมด โดย SAP และ Google Cloud มีความมุ่งมั่นร่วมกันต่อข้อมูลแบบเปิด และการเป็นพันธมิตรของเราก็ได้ขยายออกไปเพื่อช่วยทลายกำแพงกั้นระหว่างข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในระบบ ฐานข้อมูล และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ลูกค้าของเราไม่เพียงแต่ได้รับประโยชน์จาก AI ของธุรกิจที่สร้างไว้ในระบบของเราเท่านั้น แต่ยังได้รับประโยชน์จากรากฐานข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวด้วย"

 

Thomas Kurian, ซีอีโอของ Google Cloud

Thomas Kurian, ซีอีโอของ Google Cloud กล่าวว่า "ตอนนี้ SAP และ Google Cloud นำเสนอระบบคลาวด์ข้อมูลแบบเปิดที่ครอบคลุมอย่างเหลือเชื่อ ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับอนาคต AI ขององค์กร. แหล่งทรัพยากรเพียงบางแห่งอาจสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลพอ ๆ กับข้อมูล แต่ด้วยการผสานรวมข้อมูลและระบบ SAP เข้ากับคลาวด์ข้อมูลของเราอย่างลึกซึ้ง ลูกค้าจะสามารถใช้งานความสามารถในการวิเคราะห์ของเราได้เช่นเดียวกับเครื่องมือ AI ขั้นสูงและ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึกใหม่จากข้อมูลของพวกเขา" องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Blue Bird Group, JB Cocoa, Kopi Kenangan, Link Net, NTUC Enterprise, Ocean Network Express, Siam Cement Group (SCG) และ Vingroup เป็นต้น ได้ใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของ Google Cloud และ SAP เสนอเพื่อช่วยให้พวกเขาดำเนินธุรกิจอย่างชาญฉลาดและยั่งยืนมากขึ้น และบรรลุผลลัพธ์ที่มีผลกระทบ ข้อเสนอข้อมูลแบบเปิด ใหม่จาก SAP และ Google Cloud ช่วยส่งเสริมโซลูชัน RISE with SAP และจะช่วยให้ลูกค้าสามารถ: · เข้าถึงข้อมูลสำคัญทางธุรกิจแบบเรียลไทม์: การผสานรวมระหว่าง SAP Datasphere และ Google Cloud BigQuery ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้อย่างง่ายดายแบบเรียลไทม์โดยไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน ข้อเสนอร่วมนี้สามารถรวมข้อมูลจาก ระบบซอฟต์แวร์ SAP เช่น SAP S/4HANA® และ SAP HANA® Cloud ทำให้องค์กรต่างๆ มีมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญที่สุดของตนบนคลาวด์ดาต้าของ Google

· ลดความซับซ้อนของภูมิทัศน์ข้อมูล: SAP และ Google Cloud ได้ร่วมกันสร้างวิศวกรรมการจำลองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีการรวมศูนย์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถรวมข้อมูลจากซอฟต์แวร์ SAP เข้ากับ สภาพแวดล้อม BigQuery ได้อย่างง่ายดาย และใช้ประโยชน์จากความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นนำของ SAP และ Google Cloud ปัจจุบันนี้ ลูกค้าสามารถรวมข้อความค้นหาระหว่าง SAP Datasphere และ BigQuery เพื่อผสมผสานข้อมูลจาก ซอฟต์แวร์ SAP และ ที่ไม่ใช่ของ SAP ซึ่งช่วยขจัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วไปจากแหล่งที่มาที่ครอบคลุมทั้งด้านการตลาด การขาย การเงิน ห่วงโซ่อุปทาน และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าที่ทำธุรกิจค้าส่ง สามารถเห็นผลิตภัณฑ์ของตนได้อย่างสมบูรณ์ขณะที่พวกเขากำลังดำเนินการจำหน่ายสินค้าและเข้าถึงลูกค้า

· สร้างข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้ด้วย โมเดล AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ขั้นสูงของ Google Cloud: ธุรกิจต่างๆ จะสามารถใช้ บริการ AI และ ML ของ Google Cloud เพื่อฝึกโมเดลบนข้อมูลทั้งจาก ระบบ SAP และ ไม่ได้มาจาก SAP · ทำการวิเคราะห์ขั้นสูง: องค์กรสามารถใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ของโซลูชัน SAP Analytics Cloud ใน Google Cloud เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ทางการเงินและธุรกิจ พร้อมปรับปรุงความแม่นยำของโมเดล ด้วยการผสานรวมกับข้อมูลใน BigQuery ด้วย SAP Datasphere ลูกค้าสามารถวางแผนด้วยมุมมองเดียวที่ครอบคลุมธุรกิจของตน

· ใช้โซลูชันร่วมกันเพื่อความยั่งยืน: SAP และ Google Cloud กำลังค้นหาแนวทางที่จะรวม SAP Datasphere เข้ากับ ชุดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ที่กว้างขึ้น รวมถึงข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนโดย Google Cloud เพื่อเร่งการเดินทางสู่ความยั่งยืนด้วยข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง

· ใช้ SAP Business Technology Platform (SAP BTP) บนระบบ Google Cloud ทั่วโลก: SAP จะพัฒนาข้อเสนอมัลติคลาวด์โดยขยายการรองรับ SAP BTP และ SAP HANA Cloud บน Google Cloud ระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการสนับสนุน SAP Analytics Cloud และ SAP Datasphere SAP และ Google Cloud ตั้งใจที่จะเปิดตัว SAP BTP ใน 5 ภูมิภาคใหม่ในปีนี้ รวมถึงจะเพิ่มการรองรับเป็น 8 ภูมิภาคภายในปี 2568

ทั้งสองบริษัทยังวางแผนเป็นพันธมิตรกันในการริเริ่มเข้าสู่ตลาดสำหรับโครงการข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดขององค์กร ทำให้ลูกค้าสามารถนำผลิตภัณฑ์ข้อมูลจากทั้ง SAP และ Google Cloud มาใช้ได้

TrueMoney Mastercard (หรือเดิมเรียกว่า WeCard) เพื่อชำระเงิน ณ ร้านค้าชั้นนำที่มีเครื่องหมายแตะจ่ายง่ายๆ แบบไร้สัมผัสผ่าน Google Pay ได้แล้ววันนี้

นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร ผู้อำนวยการฝ่ายการเติบโตของวอลเล็ทแพลตฟอร์ม บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบัน ผู้ใช้ TrueMoney Mastercard หรือเดิมที่เราเรียกว่า WeCard มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดย TrueMoney Mastercard เป็น Virtual Prepaid Mastercard หรือบัตรที่เชื่อมต่อเงินในบัญชีทรูมันนี่ ที่ช่วยให้ผู้ใช้นำเงินจากบัญชีทรูมันนี่ไปใช้ใช้ซื้อของได้ตามร้านค้าต่างๆ ที่รับบัตรเครดิตได้ โดยผู้ใช้งานส่วนใหญ่ชื่นชอบ TrueMoney Mastercard เนื่องจากเปิดใช้ง่ายผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ และความคล่องตัวในการนำไปใช้จ่ายออนไลน์ได้แม้ไม่มีบัตรเครดิต นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังรู้สึกมั่นใจ เพราะ TrueMoney Mastercard จะเชื่อมตัดเงินจำกัดเฉพาะที่เติมไว้ในบัญชีทรูมันนี่เท่านั้น ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และยังเลือกเปิด-ปิดการใช้งานได้ทำให้รู้สึกปลอดภัย โดยล่าสุด ทรูมันนี่ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้จับมือกับ มาสเตอร์การ์ด ร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกอย่าง Google ในการเปิดให้ผู้ใช้ Google Wallet สามารถเพิ่ม TrueMoney Mastercard เพื่อใช้จ่ายผ่าน Google Pay ทั้งการแตะเพื่อจ่ายที่ร้านค้าและการใช้จ่ายออนไลน์บนเว็บไซต์ชั้นนำทั่วโลกได้”

นางสาวณัชสิชา วรพฤกษ์พิสุทธิ์ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายการพัฒนาตลาด มาสเตอร์การ์ด กล่าวว่า “ผู้บริโภคทั่วโลกต้องการความยืดหยุ่นและทางเลือกในการชำระเงินมากขึ้น โดยการสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคด้านวิธีการชำระเงินทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกประจำปี 2022 ของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard New Payments Index) ระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งความร่วมมือกับ TrueMoney และ Google ในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของมาสเตอร์การ์ดในการเพิ่มทางเลือกการชําระเงินเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการทําธุรกรรมของลูกค้าชาวไทยในยุคดิจิทัล โดยมาสเตอร์การ์ดยังคงมุ่งมั่นนำเสนอทางเลือกการชำระเงินในโลกไร้เงินสดที่สะดวกสบาย ไม่ว่าจะด้วยบัตรหรืออุปกรณ์สมาร์ตโฟน”

 

นายอดิทิพ ภาณุพงศ์ Head of Industry, Strategic Partnerships, Google Thailand กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่ผู้ใช้ TrueMoney Mastercard สามารถเพิ่มบัตรลงใน Google Wallet เพื่อใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสได้อย่างปลอดภัยทั้งบนแอปพลิเคชันและร้านค้าออนไลน์ โดยทาง Google หวังว่าจะได้ร่วมมือกับพันธมิตรมากขึ้นเพื่อผลักดันให้ Google Wallet เป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยเลือกใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายผ่านบัตร หรือการทำรายการทางดิจิทัลต่างๆ เช่น บัตรสะสมคะแนนและตั๋วโดยสาร”

ปัจจุบัน มีผู้ใช้บริการ Google Pay มากกว่า 150 ล้านคน จาก 40 ประเทศทั่วโลก ด้วยความสะดวกสบายในการใช้งาน ที่ช่วยให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์สามารถชำระค่าสินค้าและบริการจากร้านค้าชั้นนำทั่วโลกได้ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ ครอบคลุมร้านค้าชั้นนำระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น ร้านอาหาร ร้านขายยา เสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ไปจนถึงร้านค้าปลีกจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยให้เป็นไปอย่างราบรื่น และไร้พรมแดน

นอกจากนี้ยังมี Paymentology พาร์ทเนอร์ที่มีบทบาทสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังการออกบัตรและประมวลผลบัตรเสมือน โดยใช้แพลตฟอร์มระบบคลาวด์ในการช่วยประสานระหว่างทรูมันนี่มาสเตอร์การ์ด และ Google Wallet เข้าไว้ด้วยกัน พร้อมนำเสนอการประมวลผลแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสประสบการณ์การใช้งานที่ที่มีความลื่นไหลและยืดหยุ่นที่สุด

นายเอมเร่ ดุรุสสุต ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของ Paymentology กล่าวว่า "เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับความไว้วางใจ และได้เป็นพันธมิตรผู้ดำเนินการการออกบัตรให้กับ TrueMoney และเราตื่นเต้นที่จะได้ร่วมฉลองความสำเร็จครั้งนี้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ TrueMoney ในฐานะผู้บุกเบิกด้านการชำระเงินทางดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย จาก Paymentology และความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมอย่าง Mastercard และ Google เราภูมิใจที่มีส่วนร่วมทำให้ TrueMoney ได้เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกในการนำ Google Pay มาสู่ประเทศไทย"

โดยการร่วมมือกันของสี่พันธมิตรใหญ่ในครั้งนี้ นับเป็นการส่งเสริมเทรนด์การใช้จ่ายแบบไร้สัมผัสที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัย Mastercard New Payments Index 2022 ที่พบว่าผู้บริโภคชาวไทยกว่า 94% เคยใช้ระบบดิจิทัลเพื่อชำระค่าบริการต่างๆ มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 88% โดยรูปแบบการชำระเงินที่มีการใช้งานมากที่สุดก็คือดิจิทัลวอลเล็ท ตามมาด้วยการชำระผ่านการโอนเข้าบัญชี และ QR code

ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ หรือสมาร์ตวอตซ์ Wear OS ที่มี NFC ติดตั้งบนตัวเครื่อง สามารถใช้บริการ Google Pay ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Google Wallet โดยดาวน์โหลดแอปฯ Google Wallet จาก Google Play Store

โดยการเพิ่มบัตรเสมือน TrueMoney Mastercard ลงใน Google Wallet สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงเปิดแอปฯ Google Wallet จากนั้นให้เลือกเมนู “Add to wallet” เพื่อเพิ่ม TrueMoney Mastercard โดยการใส่ข้อมูลบัตร และยืนยันตัวตนตามขั้นตอน เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ TrueMoney Mastercard ก็สามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการ ณ ร้านค้าทั่วโลกที่มีเครื่องหมายแตะจ่ายง่ายๆ แบบไร้สัมผัสผ่าน Google Pay ได้ทันที ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.truemoney.com/google-pay/

Google Cloud ได้เผยผลสำรวจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยติด 1 ในตลาด 3 แห่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) เป็นอันดับ 1

โดยตลาดอีกสองแห่งคือสิงคโปร์และเยอรมนี แม้ว่าจะมีปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามาเป็นอุปสรรคในการดำเนินงานก็ตาม ทั้งนี้ผลสำรวจระดับโลกยังแสดงให้เห็นว่าได้มีการลดความสำคัญของความพยายามด้าน ESG ในประเทศต่างๆ จากอันดับ 1 ในปี 2022 มาเป็นอันดับ 3 ในปี 2023

ความยั่งยืนถือเป็นปัญหาหลักขององค์กร ได้แก่ ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและคุณภาพของอากาศ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นต้น แบบสำรวจความยั่งยืนประจำปีครั้งที่ 2 ของ CXO ได้รับมอบหมายโดย Google Cloud และจัดทำโดย The Harris Poll มีการสำรวจผู้บริหารระดับสูงกว่า 1,476 คนจากตลาด 16 แห่ง ประกอบด้วยตลาด 4 แห่งในเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และประเทศไทย การสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนที่ผู้บริหารต้องดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น ส่งผลให้การทำงานหยุดชะงักและเกิดความล้มเหลวในการดำเนินงาน

ผลประกอบการทางการเงินและการปฎิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่ใช่สิ่งที่สูญเปล่า

ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ในประเทศไทย (85%) ตระหนักดีว่าลูกค้ามีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและทำธุรกิจกับแบรนด์ที่ตระหนักถึงความยั่งยืน และ 84% เชื่อว่าการยืดเวลาออกไปหรือลดระดับความสำคัญของเป้าหมายด้านความยั่งยืนจะส่งผลเสียต่อมูลค่าขององค์กร อย่างไรก็ตาม 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าการดำเนินงานของผู้นำองค์กรไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างเต็มที่ เงื่อนไขทางเศษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ 76% ของผู้บริหารเหล่านี้เผชิญความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทในขณะที่ดำเนินธุรกิจด้วยงบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิม

ผู้บริหารชี้ว่าการขาดการปรับแนวทางของผู้นำและภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาค เป็นสาเหตุของการถดถอยในความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กร โดยเหล่าผู้บริหารถูกกดดันในเรื่องการให้ความสำคัญกับการเพิ่มรายได้และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

เอพริล ศรีวิกรม์, ผู้อำนวยการ Google Cloud ประจำประเทศไทย กล่าว “ครื่องมืออัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลอย่าง Active Assist ที่องค์กรสามารถใช้เพิ่มประสิทธิภาพในค่าใช้จ่ายด้าน IT, ปรับปรุงความปลอดภัย และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ในเวลาเดียวกัน โดยทาง Google Cloud นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้ผู้บริหารธุรกิจเห็นว่าผลประกอบการทางการเงินและการปฏิบัติตามความรับผิดชอบด้าน ESG นั้นไม่สูญเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเกือบ 4 ใน 10 ของลูกค้าท้องถิ่นเผยว่าตนเต็มใจที่จะจ่ายมากขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีแนวคิดความยั่งยืน องค์กรสามารถปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืนลงในการปฏิบัติการและรูปแบบธุรกิจ รวมถึงสามารถวัดมูลค่าและผลตอบแทนจากการลงทุนได้

 

เอาชนะการฟอกเขียว (Greenwashing) ขององค์กรด้วยข้อมูลและการประมาณอย่างแม่นยำ

การฟอกเขียว (Greenwashing) และการสร้างภาพว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นปัญหาที่แพร่หลายในหมู่ผู้บริหารในประเทศไทย โดยเกือบ 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย (69%) กล่าวว่าองค์กรของตนกล่าวเกินจริงหรือนำเสนออย่างไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืน ผู้บริหารส่วนใหญ่ (83%) เชื่อว่าการฟอกเขียวเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น (เช่น เมื่อบริษัทไม่สามารถวัดผลลัพธ์หรือความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มักจะกล่าวเกินจริงถึงความพยายามด้านความยั่งยืนของตน) ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงวิธีการใช้ความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืน ที่จะสามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และวัดความก้าวหน้าได้อย่างถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้บริหารในประเทศไทยกว่า 63% มีโปรแกรมการวัดผลสำหรับความพยายามด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดจากตลาดทั้งหมดที่ได้สำรวจเมื่อเทียบกับผู้ร่วมแบบสำรวจทั่วโลกที่ 37% โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ (67%) เทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลก (47%) เชื่อว่าการเข้าถึงเครื่องมือวัดผลขั้นสูงจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนขององค์กรให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายในองค์กร

นอกเหนือจากการวัดผลที่แม่นยำแล้ว องค์กรจำเป็นต้องทบทวนโครงสร้างและโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะที่มีอยู่ใหม่เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกเหนือจากการปรับแนวทางที่จำเป็นสำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่จะช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนขององค์กร ผู้บริหารในประเทศไทยยังต้องมีวิธีการที่คล่องตัวและการสร้างความสามารถภายใน ซึ่งอาจเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับความสำเร็จ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่า 9 ใน 10 ในประเทศไทย (96%) เชื่อว่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดขึ้นได้หากบริษัทนำแนวทางการทำงานข้ามสายงานมาปรับใช้ แทนการมีทีมงานด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากมองหาความรู้ที่เกี่ยวข้อง (61%) และเข้าถึงบุคลากรที่มีความสามารถที่เหมาะสม (45%) เพื่อพัฒนาความพยายามด้านความยั่งยืนของบริษัท

“องค์กรต่างๆ สามารถระดมทีมบุคลากรที่มีความสามารถที่มีอยู่เพื่อออกแบบและดำเนินการริเริ่มด้านเทคโนโลยีและความยั่งยืน โดยนำทักษะอื่นๆ หรือทักษะข้ามสายงานที่พนักงานเหล่านี้มีอยู่แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรมคลาวด์, การวิเคราะห์ข้อมูล, AI และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เป็นต้น Google Cloud สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลภายในองค์กรผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Google Cloud Skills Boost นอกจากนี้ เรายังนำเสนอแลปเชิงปฏิบัติที่ช่วยให้ทีมวิศวกรทำความคุ้นเคยกับคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ในเครื่องมือ Google Cloud ที่ใช้อยู่แล้ว รวมถึงหลักสูตรการฝึกอบรมที่ปรับให้เหมาะกับผู้เรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการทำความเข้าใจและจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนที่องค์กรต้องเผชิญ” คุณเอพริล ศรีวิกรม์ กล่าว

 

เทคโนโลยี: หนทางสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

Google Cloud สนับสนุนองค์กรในประเทศไทยด้วยการใช้งานระบบคลาวด์ที่สะอาดที่สุดในอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ เช่น ยิ้ม แพลตฟอร์ม (Yim Platform) ของ Central Retail, โรบินฮุ้ด (Purple Ventures: Robinhood) ของ SCBX Group และ EVme ของกลุ่มบริษัท ปตท. ได้เลือก Google Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์หลัก โดยช่วยให้องค์กรเหล่านั้นดำเนินการลดคาร์บอนของโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชันดิจิทัล และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนตามคำมั่นขององค์กรได้อย่างสูงสุด

ในปี 2017 ทาง Google เป็นบริษัทแห่งแรกที่มีการใช้ไฟฟ้าประจำปีด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% เมื่อเทียบกับขนาดขององค์กร และยังคงบรรลุเป้าหมายนี้ทุกปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อย้ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและแอปพลิเคชันไปยัง Google Cloud องค์กรต่างๆ จะได้รับความเป็นกลางทางคาร์บอนของ Google และปรับปรุงโปรไฟล์ด้านความยั่งยืนในทันที

เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพอัจฉริยะและคุณลักษณะด้านความยั่งยืนที่ฝังอยู่ใน Google Cloud เพิ่มโอกาสให้องค์กรต่างๆ สามารถลดการปล่อยคาร์บอนในวงกว้างได้ง่ายขึ้น ดังนี้:

· Carbon Footprint จะแสดงภาพของการปล่อยก๊าซแบบครบวงจรในสโคป 1, 2 และ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Google Cloud ขององค์กร ซึ่งทำให้สามารถแยกย่อยข้อมูลตามโครงการ บริการ หรือภูมิภาค และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้และทำให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืนมากขึ้น · Active Assist ใช้ AI เพื่อให้คำแนะนำแก่องค์กรในการทำความสะอาดสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ เพื่อทำการใช้จ่ายด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงปรับปรุงความปลอดภัยและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย · Google Earth Engine ใช้แคตตาล็อกภาพถ่ายดาวเทียมและชุดข้อมูลเชิงพื้นที่หลายเพตะไบต์ของ Google Cloud และการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมระดับโลก เพื่อแสดงข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสม แม่นยำ มีความละเอียดสูง และ

เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่และระบบนิเวศของโลก ซึ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถมองเห็นห่วงโซ่อุปทานของตนและเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดเอกสารข้อมูลแบบสำรวจความยั่งยืนของ CXO หรือเยี่ยมชมบล็อกและเว็บไซต์ความยั่งยืนของ Google Cloud

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click