November 24, 2024

ศึกษา-สื่อสาร-ส่งต่อ  ช่วยลดความขัดแย้ง เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน

พร้อมชี้โอกาสของนักลงทุนจากการเปลี่ยนแปลง จากงาน ‘RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand’ โดยธนาคารกสิกรไทย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง ร่วมกับลอมบาร์ด โอเดียร์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น จากการใช้พลังงาน การเกษตร การพัฒนาและขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า และการทำลายสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการดำรงชีพของมนุษย์ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ของธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต รวมถึงการก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมนุษย์ยังไม่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดและวิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตรวมถึงการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อนาคตอันน่าเศร้าของโลกคงหนีไม่พ้น ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าโอกาสในการลงทุนเพื่อความยั่งยืนด้วยเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 จะเกิดขึ้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันและเตรียมรับโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง และลอมบาร์ด โอเดียร์ ในฐานะสถาบันการเงินและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงมือทำ เพื่อพาประเทศไทยมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero จัดงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้หัวข้อ RETHINK SUSTAINABILITY : A CALL TO ACTION FOR THAILAND พร้อมความร่วมมือจากตัวแทนองค์กรใน 4 อุตสาหกรรมของไทย ครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาหารและการเกษตร ปิโตรเคมี และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงหน่วยงานระดับโลกอย่าง Systemiq และ The Alliance to End Plastic Waste ที่มาร่วมแบ่งปัน แลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ตลอดจนบทบาทและแนวทางปฏิบัติ เพื่อหารือร่วมกันในการขับเคลื่อนให้เกิดการลงมือทำ เพื่อปฏิวัติเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง CLIC® คือเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า (Lean) ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Inclusive) และเป็นธุรกิจที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด (Clean) พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนนี้ด้วย

สร้างอนาคตที่ยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

(Building Through a Sustainable Future in Tourism and Service Industry)

 

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้มหาศาล และมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจกันมากขึ้น กระแสของการท่องเที่ยวและการเดินทางอย่างยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลงทุนในเรื่องหลักๆ ที่ช่วยลดคาร์บอนฟุตพรินท์ส่วนเกินได้ เช่น อุตสาหกรรมการบิน การฟื้นฟูและปกป้องระบบนิเวศทางทะเล และการปรับปรุงระบบทำความร้อนและเย็นในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้ ความสำคัญของการลงมือทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงถึง มี 3 แกนหลัก ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Economic Impact) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Protect Environment) และ การรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของสังคมให้ยั่งยืน (Save Social) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่อยู่บนบรรทัดฐานของความยั่งยืนอย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำไปปรับใช้ โดยเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการด้านการจองที่พัก (Online Travel Agency: OTAs) ยักษ์ใหญ่บางเจ้า เริ่มจำแนกประเภทที่พักหรือบริการการเข้าพักแบบยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมทั้งรายเล็ก และใหญ่ต้องปรับตัว ในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็มีการริเริ่มจัดโครงการยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐาน การท่องเที่ยวยั่งยืน โดยการให้มาตรฐานดาวแห่งความยั่งยืน กับผู้ประกอบการ มากกว่า 10 ประเภทกิจการ ภายใต้ STGs (Sustainable Tourism Goals) หรือ STAR : (Sustainable Tourism Acceleration Rating) ที่ครอบคลุมทั้ง 17 เป้าหมายที่สะท้อนความยั่งยืน ซึ่งถอดมาจาก SDGs ของ UNWTO ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 555 แห่ง โดยผู้ประกอบการประเภทโรงแรมที่พักเข้าร่วมมากที่สุด โดยภาครัฐจะผลักดันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของการส่งเสริมเพื่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

อาหารแห่งอนาคต บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน

(New Food System that Feed the World and Nourish the Planet)

ปัจจุบันทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2593 จะมีจำนวนประชากรเพิ่มราว 1 หมื่นล้านคน นำไปสู่ความต้องการด้านอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 60-100 ฉะนั้นการปรับรูปแบบการผลิตอาหารโดยใช้แนวทางการเกษตรยั่งยืน อย่าง Regenerative Agriculture ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งช่วยกักเก็บคาร์บอน ยังช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง กำลังเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารและนำมาใช้ปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net zero เช่น เริ่มมีการพัฒนานวัตกรรมโดยเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ถาดกระดาษ (Paper Tray) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูและเนื้อไก่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดการใช้พลาสติกได้ถึง 80% ในขณะที่ยังคงรักษาความสด ความสะอาดของผลิตภัณฑ์ได้ นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกจากพึช (Plant-based protein) ซึ่งใช้ทรัพยากรน้อยกว่าการผลิตเนื้อสัตว์มาก ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดมลพิษทางน้ำ และลดการใช้พื้นที่ อีกทั้งมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดมาผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงานมากขึ้นซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนในธุรกิจอาหารที่พร้อมปรับตัวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน ตั้งแต่เรื่องของกระบวนการผลิต การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ อร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุสมผล

พลาสติกหมุนเวียน: อุตสาหกรรมเคมีแห่งอนาคต

(Plastic Circularity: Chemistry Shaping the Future)

 

ปัญหาขยะพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เร่งด่วนที่สุดของทุกประเทศรวมถึงในประเทศไทยซึ่งเกิดจากการจัดการที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหานี้ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มองหาคือการลงทุนในธุรกิจที่ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นแกนหลักในการจัดการช่วยให้พลาสติกถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น เน้นหลักการ 3Rs ได้แก่ Reduce Reuse Recycle ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากการจัดการขยะและออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การลงทุนในพลาสติกชีวภาพ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องที่ช่วยในการผลิตพลาสติกให้มีคุณภาพดีขึ้น ใช้ได้นานขึ้น รวมถึงการนำขวดพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแสวงหาโอกาส ลงทุนในเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้สามารถกักเก็บไว้ได้ใต้ดิน และนำออกมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ สอดคล้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

อนาคตพลังงานทางเลือกของประเทศไทยกับโอกาสในการลงทุนด้านพลังงาน

(Carbon Opportunities and Future Electrification)

 

ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 70 มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษและภาวะโลกเดือด ดังนั้น หากธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานดังกล่าวมาเป็นพลังงานไฟฟ้าจะมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมาก รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระดับโลกได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่งอย่างชัดเจน ในระดับการขนส่งสาธารณะก็ได้มีการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับรถบัส เรือโดยสาร รวมไปถึงรถไฟ นอกจากนี้ ในระดับบุคคลทั้งต่างประเทศและประเทศไทยได้เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์น้ำมัน มาเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เท่าตัว ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาของ ตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนต่อยอดในธุรกิจพลังงานทางเลือกของนักลงทุน

กลยุทธ์การลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน

(Investment-led Sustainability)

 

KBank Private Banking ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำการลงทุน เล็งเห็นว่านักลงทุนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืน จึงต้องการให้นักลงทุน ผู้ที่สนใจการลงทุน เตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะเกิดเม็ดเงินการลงทุนด้านความยั่งยืนมูลค่ามหาศาลถึง 34 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (หรือกว่า 1.2 พันล้านล้านบาท) ภายในปี พ.ศ. 2573 ในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero นักลงทุนจึงต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนการรับรู้ (Awareness) เป็นการลงมือทำ (Action) เน้นลงทุนในธุรกิจที่ยั่งยืน ไม่ว่าองค์กรเหล่านั้นจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอแนวทางและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้แล้ว (Solution Providers) หรือกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และ/หรือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero (Transition Candidates) ทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนได้ KBank Private Banking เชื่อมั่นในบทบาทของการลงทุน ว่าสามารถยกระดับองค์ความรู้และความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจที่พยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การลงทุนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทุกภาคส่วนได้จริง

 

งานเสวนา “RETHINK SUSTAINABILITY: A Call to Action for Thailand" เป็นงานเสวนาด้านความยั่งยืนแห่งปี ภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างธนาคารกสิกรไทย โดย เคแบงก์ ไพรเวทแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และลอมบาร์ด โอเดียร์ เพื่อร่วมกันผลักดันประเทศไทยให้เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแห่งความยั่งยืนในอนาคต สามารถติดตามรับชมวิดีโอย้อนหลังได้ที่ www.youtube.com/@KBankPrivateBanking

ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก เตรียมเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 4 รุ่น อายุ 1 ปี 6 เดือน ถึงอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยเบื้องต้นระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี โดยเสนอขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง และช่องทางทรู มันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566 เผยจุดเด่นหุ้นกู้ นอกจากจะออกและเสนอขายโดยบริษัทที่เป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคเอเชียแล้ว หุ้นกู้ยังได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากทริสเรทติ้ง สะท้อนความแข็งแกร่งของธุรกิจและผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างมีศักยภาพ โดยผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมกว่า 2.41 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ มีโอกาสเติบโต ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3

นางเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าส่งแม็คโครและประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจสายงานบัญชีและการเงิน บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) และธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริหารพื้นที่เช่าในศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมออกและเสนอขายหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย หุ้นกู้รุ่นอายุ 1 ปี 6 เดือน รุ่นอายุ 3 ปี รุ่นอายุ 5 ปี และรุ่นอายุ 7 ปี กำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 3.00-3.95% ต่อปี ซึ่งจะแจ้งอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอนอีกครั้ง โดยจะเสนอขายให้แก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารยูโอบี และ บล.เกียรตินาคินภัทร รวมถึงเสนอขายผ่านช่องทาง ทรูมันนี่ วอลเล็ต คาดว่าจะเสนอขายได้ในระหว่างวันที่ 8 และ 11-12 กันยายน 2566

ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ “A+” เช่นเดียวกับอันดับความน่าเชื่อถือองค์กรที่ระดับ “A+” แนวโน้ม “บวก” (Positive) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 สะท้อนสถานะของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทย่อยหลัก (Core Subsidiary) ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (CPALL) และการเป็นผู้นำในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ด้วยความแข็งแกร่งของผลการดำเนินงานที่ฐานรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน 2566) บริษัทฯ มีรายได้รวม 241,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,746 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 130,875 ล้านบาท และธุรกิจค้าปลีกโลตัส 110,959 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 3,682 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Core Net Profit) ที่ไม่รวมรายการพิเศษในครึ่งแรกของปี 2566 อยู่ที่ 3,781 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

“การเติบโตในครึ่งปีแรกของปี 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเดินหน้าขยายสาขาและเพิ่มประสิทธิภาพแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ รวมถึงการผสานช่องทางการขายออนไลน์และสาขาอย่างไร้รอยต่อ พร้อมกันนี้ บริษัทฯ

ยังมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งในระดับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) ภายใต้การดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งเชื่อว่าด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จะทำให้หุ้นกู้ของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ลงทุน และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ลงทุนที่แสวงหาหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจ ภายใต้ความเสี่ยงของหุ้นกู้เพียงระดับ 3 (ต่ำสุดอยู่ที่ระดับ 1 สูงสุดระดับ 8) และธุรกิจมีศักยภาพในการเติบโตสูง” นางเสาวลักษณ์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจของ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจค้าส่ง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” (Makro) ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการมืออาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ร้านค้าปลีกรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และจัดเลี้ยง (HoReCa) ตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและสถาบันต่างๆ ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าภายใต้ชื่อ “โลตัส” (Lotus’s) ในประเทศไทยและมาเลเซีย โดยบริษัทฯ มุ่งที่จะเป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งอาหารสดและสินค้าอุปโภคบริโภคในระดับภูมิภาคในเอเชีย และขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ (Omni channel) นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้า ต่อยอดธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับโฉมร้านค้าแบบไฮบริดซึ่งดึงจุดเด่นของ 2 กลุ่มธุรกิจค้าส่งค้าปลีกแบบไร้รอยต่อ เพื่อตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ บมจ. ซีพี แอ็กซ์ตร้า ยังได้รับคัดเลือกให้ติดอันดับบริษัทด้านความยั่งยืน โดยเข้าเป็นสมาชิกของดัชนี S&P Global The Sustainability Yearbook 2023 ในกลุ่ม Food & Staples Retailing ซึ่งเป็นดัชนีชั้นนำของโลกที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นบริษัทที่มุ่งสร้างการเติบโตไปพร้อมกับคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัท (IOD) ในระดับ 5 ดาวหรือ “ดีเลิศ” (Excellent CG Score) ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 อีกด้วย

ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนซึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจองซื้อหุ้นกู้ซีพี แอ็กซ์ตร้า สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sec.or.th หรือติดต่อผ่านผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ดังต่อไปนี้

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ยกเว้นสาขาไมโคร) โทร. 1333 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Bualuang mBanking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)* โทร. 02-888-8888 กด 819 หรือจองซื้อผ่านเว็บไซต์ K-My Invest (www.kasikornbank.com/kmyinvest) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungsri Mobile App (“KMA”) สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)** โทร. 02-777-6784 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น SCB EASY สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 02-111-1111 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Krungthai NEXT สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 02-285-1555

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร.02-626-7777 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น CIMB Thai Digital Banking สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)*** โทร. 02-165-5555 หรือจองซื้อผ่านแอปพลิเคชั่น Dime! สำหรับผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดา

* ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

** ซึ่งรวมถึง บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด ในฐานะหน่วยงานขายของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

***ซึ่งรวมถึงธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ในฐานะหน่วยงานขายของบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังสามารถจองซื้อหุ้นกู้ “ซีพี แอ็กซ์ตร้า” ผ่านแอปพลิเคชันทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้อีกด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดแอปฯ ทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ที่ App Store และ Play Store ดูรายละเอียดวิธีการสมัครแอปฯ และวิธีการจองซื้อได้ที่ www.truemoney.com หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร. 1240 กด 6

 

สิงหา 2566

Page 1 of 3
X

Right Click

No right click