November 22, 2024

งานสัมมนาด้านพลังงาน“DECARBONIZE THAILAND SYMPOSIUM 2022”

November 25, 2022 3004

ความร่วมมือรัฐและเอกชน  การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานแห่งอนาคตสู่การลดคาร์บอนในปี 2050

สัมมนาด้านพลังงาน “DECARBONIZE THAILAND SYMPOSIUM 2022”  หนึ่งในแสดงจุดยืนของร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วน ผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาและกูรูชั้นนำด้านพลังงานในโลก ร่วมหาโซลูชั่นขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น กลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2065 ตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมร่วมสร้างอุตสาหกรรมใหม่จากคาร์บอนเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (Thailand’s Zero Carbon Economy) โดยงานได้จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์ แกรนด์ ฮอลล์  

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ในปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสำคัญในการลดการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” และมีเป้าหมายรักษาระดับอุณหภูมิเฉลี่ยโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส สำหรับประเทศไทยหลังเข้าร่วม COP26 ได้ประกาศเป้าหมายสำคัญที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 โดยในปัจจุบันประเทศไทยและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายส่งเสริมทั้ง การปลูกต้นไม้ ป่าชายเลน เพิ่มพื้นที่สีเขียว และการประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันลดการปล่อยจากการใช้พลังงาน การขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร

ทั้งนี้การมุ่งไปสู่เป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน ต้องมีการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องเป็นผู้นำในการสนับสนุนองค์ความรู้ สร้างมาตรฐานในการวัดและประเมินผล ออกกฎหมายทั้งในเชิงส่งเสริมและจำกัดขอบเขต เพื่อให้ภาคเอกชนเกิดแรงจูงใจในการลงทุนกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง เพื่อสร้างโอกาสของธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน ทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนที่ต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ภาพรวมตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย ที่เป็นการซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ได้เข้าร่วมโครงการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (T-VER) มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการซื้อขายคาร์บอนเครดิตโครงการ “T-VER” ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2565 เติบโต 425% เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งปี 2564 และคิดเป็นเพียง 0.3% ของก๊าซเรือนกระจกจากประเทศไทยปล่อยทั้งหมดต่อปี ซึ่งมี

แนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในทุกปี สำหรับภาพรวมของตลาดคาร์บอนเครดิตโลกในช่วงที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท และประเมินว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.50 แสนล้านบาท ในปี 2573 ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการจัดงาน “DECARBONIZE THAILAND SYMPOSIUM 2022” จะร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ในระยะยาว

ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัด (True Digital Park) หรือ TDPK กล่าวว่า จากการจัดงาน “DECARBONIZE THAILAND SYMPOSIUM 2022” เป็นการร่วมสนับสนุนทำให้เกิดการสร้างสตาร์ทอัพต้นแบบด้านพลังงานในประเทศไทย และประเมินว่าจะมีสตาร์ทอัพด้านพลังเพิ่มขึ้นในทุกปี เนื่องจากความต้องการเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอย่างยั่งยืนจากภาคอุตสาหกรรมมีเพิ่มขึ้นในโลก และองค์กรมีแนวทางส่งเสริมสตาร์ทอัพจำนวนมากกว่าแสนรายในระยะยาว

ทั้งนี้งาน “DECARBONIZE THAILAND SYMPOSIUM 2022” เป็นความร่วมมือระหว่าง 8 บริษัทชั้นนำของประเทศไทย นำโดย บริษัท ทรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัด ร่วมกับ นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส และพันธมิตร กลุ่ม บี.กริม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ.ไออาร์พีซี, บมจ. ปตท., บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น, บจม. บ้านปู, บจ. เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่ลแนล เอเชีย และ บ. แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ โดยในงานมีไฮไลต์ทั้งการจัด Symposium ความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชนสู่การขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) กระทรวงพลังงาน และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) แนวโน้มทิศทางพลังงานในโลกและการส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านพลังงานในโลกกับ นิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) รวมถึงการหาโซลูชั่นของผู้บริหารชั้นนำในภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่ม บี.กริม, เครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ. ไออาร์พีซี บมจ. ปตท. และ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และ 8 สตาร์ทอัพในโครงการ “Decarbonize Thailand Sandbox” ตลอดจนการแสดงวิสัยทัศน์ และแผนร่วมเปลี่ยนแปลงเมืองและผู้คนในเมือง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ของกรุงเทพมหานคร

นายสแตนลี เอิง ผู้อำนวยการโครงการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรนิวเอนเนอร์จี้ เน็กซัส (ประเทศไทย) จำกัด (New Energy Nexus Thailand: NEX TH) กล่าวถึงบทสรุปของโครงการ “Decarbonize Thailand sandbox 2022” ในด้านสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่เหมาะสมในการทำงานตลอดโครงการ  ทั้งการเข้าร่วม Masterclass Workshops, การให้คำปรึกษา Corporate Mentor โดยมีสตาร์ทอัพ 8 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบ ซึ่งประกอบด้วย ANNEA, PAC Corporation, ETRAN, AltoTech, Thai Carbon, Krosslinker, ReJoule และ TIE-con ที่มีการนำเสนอผลงานนวัตกรรมและนำเสนอเคสที่ประสบความสำเร็จโครงการ Decarbonize Startup sandbox ภายในงานสัมมนาในครั้งนี้

นอกจากนี้ยังมีการจัด Workshop ภายใต้หัวข้อ Decarbonize Strategy และ Climate Tech เพื่อร่วมระดมสมองและแนวคิดที่สำคัญจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และภาคเอกชน ตลอดจนการจัด โชว์เคส (Showcase) จากStartup รวมกว่า 20 ทีม รวมถึงมีการจัดกิจกรรม Networking Reception การเปิดพื้นที่สังสรรค์ให้ทุกคนได้มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันอย่างใกล้ชิด นำไปสู่ความร่วมมือลดคาร์บอนในอนาคต  

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Friday, 25 November 2022 08:43
X

Right Click

No right click