January 09, 2025

หากกล่าวว่า “ไฟฟ้า” คือโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนชีวิต เมือง อุตสาหกรรม และการสัญจรบนท้องถนน “สายไฟฟ้า” ก็เปรียบเสมือน “กระดูกสันหลัง” ที่ค้ำยันให้โครงสร้างพื้นฐานทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในบ้าน ในอาคาร ในโรงงานขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงในทุกสภาพแวดล้อม สายไฟเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ถือเป็นหนึ่งในบริษัทคนไทยที่มีบทบาทขับเคลื่อน “กระดูกสันหลัง” ของโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน ตั้งแต่เจเนอเรชันที่ 1 ภายใต้บังเหียนของ “สมพงศ์ นครศรี” จนมาถึงเจเนอเรชันที่ 3 ที่มี “พงศภัค นครศรี” เข้ามาช่วยบริหาร ล่าสุด บางกอกเคเบิ้ล จัดงานฉลองใหญ่ครบรอบ 60 ปี ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ มีผู้บริหารระดับสูงในแวดวงพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าร่วมงานกว่า 1,200 คน ภายในงานมีนิทรรศการโชว์บทบาทของสายไฟในการพัฒนาเมือง พร้อมทั้งมีการประกาศเป้าหมายใหม่ในการร่วมเปลี่ยนผ่านพลังงานของไทยสู่โลกแห่งอนาคต

 

นายพงศภัค นครศรี กรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) ผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย กล่าวว่า บางกอกเคเบิ้ล ถือเป็นบริษัทคนไทยรายแรกที่บุกเบิกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ยุคเปลี่ยนผ่านจากการใช้ไฟฟ้าแบบ 110 โวลต์ เป็น 220 โวลต์ และเดินหน้าพัฒนาสายไฟฟ้าของบริษัทเรื่อยมาตลอด 6 ทศวรรษ เพื่อมีส่วนร่วมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาสายไฟฟ้าให้เป็นเสมือนเส้นเลือดที่ส่งพลังงานไปยังพื้นที่ต่างๆ เชื่อมโยงประเทศ ภูมิภาค ชุมชน และสังคมเมือง รวมถึงเชื่อมโยงมนุษย์กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เส้นทางคมนาคม สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้สอดคล้องกับทิศทางพัฒนาการของโลก

2.การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย เดินหน้าส่งมอบสายไฟฟ้าคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด สำหรับใช้ทั้งในครัวเรือนและในระดับประเทศ เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียที่เกิดจากอัคคีภัยและอุบัติเหตุทางไฟฟ้า พัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบทางไฟฟ้า (Lab) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทยเป็นของตัวเอง เดินหน้าพัฒนาโรงงานผลิตสายไฟสู่ Smart Factory และ 3.การเสริมสร้างภูมิทัศน์ของเมืองมหานคร ร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พัฒนา “ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับเมืองมหานคร” ร่วมเปลี่ยนกรุงเทพฯ และเมืองหลักต่างๆ ในประเทศไทยให้เป็น “มหานครไร้สาย” ด้วยการนำสายไฟลงดิน พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองให้ทันสมัยและยั่งยืน

“เราพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ทั้ง 3 ด้าน เรายังมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจและสังคมสีเขียว ด้วยสายไฟฟ้าที่รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ไปจนถึงสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เราจะไม่หยุดเพียงแค่การส่งผ่านพลังงาน แต่จะมุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านประเทศสู่พลังงานสะอาด เริ่มจากการตั้งเป้าให้องค์กรของเราเป็นองค์กร Net Zero ภายในปี ค.ศ.2045 โดยจะมี Big Move ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเร็วๆ นี้” นายพงศภัค ระบุ

 

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า สายไฟฟ้า นับเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการปรับเปลี่ยนทิศทางพลังงานของประเทศให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาป มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีสายไฟฟ้าคุณภาพสูง ประสิทธิภาพยอดเยี่ยม เพื่ออัปเกรดสายไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านที่จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับใหม่ ยังคงต้องสอดคล้องกับการนำพาประเทศไทยสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ให้ได้ภายในปี ค.ศ.2050 และ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2065 เรายังมีหลายเรื่องที่ต้องเดินหน้า ทั้งการพัฒนา Smart Grid ควบคู่กับการแก้ปัญหาอื่นๆ ด้านพลังงาน เรามองว่า บางกอกเคเบิ้ล ในฐานะบริษัทสายไฟของคนไทย ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน จะเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญที่มีส่วนช่วยเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน” นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ต่างให้ความสำคัญกับการลดอุบัติเหตุภายในโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นศูนย์ (Zero Accident) สายไฟฟ้าที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการออกแบบอย่างเหมาะสมให้รองรับต่อทุกสภาพแวดล้อม ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรงงานต่างๆ สามารถลดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า และลดความเสียหายต่อเครื่องจักร ตลอดจนทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลในโรงงาน สายไฟฟ้า จะยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ในการช่วยนำพาองค์กรธุรกิจและองค์กรในภาคอุตสาหกรรม เปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางความยั่งยืน

“วันนี้ ภาคธุรกิจจำนวนมาก ต่างทยอยประกาศทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งเร็วกว่าทิศทางของประเทศ นั่นหมายความว่า องค์กรเอง ก็ต้องทยอยเปลี่ยนผ่านมาใช้พลังงานสะอาด และลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เราเชื่อมั่นว่า บางกอกเคเบิ้ล จะเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่เส้นทาง Net Zero ได้อย่างแข็งแกร่ง” นายเกรียงไกร กล่าว

สำหรับ บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ Bangkok Cable (BCC) เป็นผู้นำด้านการผลิตและพัฒนาสายไฟฟ้าและสายเคเบิลชั้นนำของประเทศไทย ก่อตั้งในปี พ.ศ.2507 ให้บริการครอบคลุม 7 กลุ่มการใช้งาน ได้แก่

1.ระบบผลิตและส่งพลังงานไฟฟ้า (Transmission)

2.ระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution)

3.ระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักและอาคาร (Construction and Building)

4.ระบบขนส่งและคมนาคม (Transportation and Mobility)

5.ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และภาคอุตสาหกรรม (Industrial)

6.พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)

และ 7.ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ (Automotive) เพื่อสร้างความปลอดภัยและขับเคลื่อนเมืองสู่อนาคต

ปัจจุบัน มีลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ของทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนมากที่ใช้สายไฟฟ้าของบางกอกเคเบิ้ล อาทิ โครงการวัน แบงค็อก (One Bangkok) สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 โครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ เขื่อนอุบลรัตน์

แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมและวัฏจักรการผลิตของไทยในวันนี้กำลังเผชิญหน้าความท้าทายครั้งใหญ่ จากข้อมูลตัวเลขภาพรวมโรงงานที่ปิดตัวลง โดยเฉพาะส่วนต่างระหว่างการเปิดโรงงานที่มากกว่าปิด เฉลี่ยลดลงมาอยู่ไม่ถึง 100 โรงงานต่อเดือน อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติของขนาดโรงงานยังพบตัวเลขการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเปิดกิจการเพิ่มขึ้น 25.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเร่งให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมมือกันในการถอดบทเรียนและกำหนดทิศทางของภาคอุตสาหกรรมให้หยัดยืนต่อไปได้

นโยบายภาครัฐ: ตัวแปรตั้งต้นแห่งศักยภาพภาคโรงงานไทย

ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยปัจจัยกระทบเชิงลบรอบด้านอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในพื้นที่สำหรับประกอบการอุตสาหกรรมหลักของไทย ที่กำลังพิสูจน์ศักยภาพของประเทศในการเป็นฐานที่ตั้งโรงงานของเหล่าผู้ประกอบการจากทั่วโลก คือ พื้นที่ Free Zone หรือเขตปลอดอากร เพื่อการสนับสนุนธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

พื้นที่ Free Zone เป็นพื้นที่ภายใต้การดูแลของกรมศุลกากร ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางอากรศุลกากรในการประกอบอุตสาหกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยผู้ที่จะเข้ามาประกอบกิจกรรมในพื้นที่ Free Zone นี้ ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเพื่อดำเนินการ

ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการโครงการพื้นที่ Free Zone เบอร์ 1 ของประเทศ คือ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ (PD) ในเครือ บมจ.มั่นคงเคหะการ ผู้นำโครงการคลังสินค้าและโรงงานให้เช่า ภายใต้ชื่อ โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน (BFTZ) ซึ่งพบว่า แม้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นตัวดี กลับมีสัดส่วนผู้เช่าอาคารโรงงานเฉพาะบนพื้นที่ Free Zone รวมทุกโครงการสูงกว่า 70% ขณะที่อีก 30% เป็นผู้เช่าอาคารคลังสินค้าและบริการ ที่ดีมานด์ความต้องการเช่าไม่เคยลดลง เนื่องจากเป็นพื้นที่Free Zone ประเภทอุตสาหกรรม สามารถใช้ประกอบธุรกิจครอบคลุมในส่วนของการผลิต ขนส่ง จัดเก็บและกระจายสินค้า ได้อย่างครบวงจร

นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้พัฒนาและบริหาร ‘โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน’ กล่าวว่า “ภาพรวมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบชะลอตัว เป็นผลพวงจาก Long COVID ที่เกิดกับธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบการควรประเมินสถานการณ์ที่อาจส่งผลต่อธุรกิจอย่างใกล้ชิดกว่าที่เคยเป็นมา ส่งผลให้หลาย ๆ ธุรกิจอาจต้องพิจารณาลดจำนวนโรงงานภายใต้การดูแลลง แต่สำหรับโรงงานที่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นอากรจากภาครัฐ เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ Free Zone เราพบว่า ยังมีการขยายธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่า การสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ คือ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีส่วนตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฐานที่ตั้งโรงงานของเจ้าของธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลกในระยะยาว”

เครือข่ายผู้ประกอบการ: บันไดสู่การยกระดับขีดความสามารถโรงงานในประเทศไทย

เนื่องจากไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะเหมาะแก่การจัดตั้งบนเขตปลอดอากร ส่งผลให้ในอดีต ผู้ประกอบการโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ มองข้ามพื้นที่ Free Zone เพราะขาดความเข้าใจถึงสิทธิประโยชน์จากการตั้งโรงงานบนพื้นที่ดังกล่าว นำมาสู่คำถามสำคัญว่า แล้วพื้นที่ Free Zone จะตอบโจทย์กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องจัดตั้งโรงงานในประเทศไทยอย่างทั่วถึงได้อย่างไร

ด้วยเป้าหมายที่จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นำไปสู่การปรับโมเดลพัฒนาโครงการ BFTZ ให้มีพื้นที่เขตประกอบการทั่วไป หรือ General Zone เพื่อเป็นทางเลือกรองรับการใช้งานของหลากหลายประเภทธุรกิจและทุกขนาด โดยพรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ ใช้เวลากว่า 15 ปี ผลักดันพื้นที่ยุทธศาสตร์เชิงอุตสาหกรรมของประเทศไทย ไปพร้อมกับการสร้างความเข้าใจ จนปัจจุบันพบว่าผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างชาติ มีความเชื่อมั่นในการจัดตั้งโรงงานบนพื้นที่ Free Zone และวางแผนขยายธุรกิจในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

“สิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐมอบให้ธุรกิจผู้นำเข้า-ส่งออก ที่เข้ามาใช้พื้นที่ Free Zone นั้นเป็นกุญแจสู่การตัดสินใจจัดตั้งโรงงานในประเทศไทย แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการมองให้รอบว่าเรายังสามารถต่อยอดศักยภาพของพื้นที่ได้อย่างไร เพื่อเข้าไปสนับสนุนธุรกิจอื่น ๆ ที่ในวันนี้อาจยังไม่เข้าข่ายที่จะใช้พื้นที่ Free Zone สิ่งที่เราทำได้คือการดึงผู้ประกอบการจากทั่วโลกให้เข้ามาสนใจตั้งโรงงานในประเทศไทยก่อน และในอนาคตเขาก็อาจขยับขยายไปสู่พื้นที่ Free Zone ได้เช่นกัน” นางสาวรัชนี มหัตเดชกุล กล่าว

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าของ พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ สะท้อนมุมมองการร่วมผลักดันจุดแข็งของประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมนโยบายของภาครัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ความเข้าใจเชิงลึกที่มีต่อเหล่าผู้ประกอบการทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดบริการ ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโรงงานองค์รวม

“สำหรับอนาคตของโรงงานไทย เราต้องสร้างโอกาสใหม่ ด้วยการต่อยอดอีโคซิสเต็มให้แข็งแกร่ง ทั้งการส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐ เพิ่มทักษะแรงงาน ตลอดจนยกระดับการพัฒนาความร่วมมือของผู้ประกอบการในแวดวงอุตสาหกรรม ศักยภาพพื้นที่ Free Zone เขตปลอดอากร เป็นอีกหนึ่งแนวทางสนับสนุนธุรกิจที่มีการนำเข้า-ส่งออก ตั้งฐานการผลิตในระยะยาว มากไปกว่านั้น เราในฐานะผู้ให้บริการพื้นที่โรงงาน ก็ต้องพร้อมยกระดับบทบาทตัวเองเป็นมากกว่าผู้ให้บริการพื้นที่เช่า เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจได้รวดเร็ว ราบรื่นและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” ผู้บริหาร บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ผู้พัฒนาและบริหาร ‘โครงการบางกอกฟรีเทรดโซน’ กล่าว

ขุมพลังแห่งผู้ประกอบการโรงงาน: ไม่หยุดพัฒนา คว้าโอกาสที่ใช่ ได้ทำเลดี มีพันธมิตรระยะยาว

ปัจจุบัน พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ สนับสนุนพื้นที่เช่าให้แก่ผู้ประกอบการจากหลายประเทศกว่า 238 บริษัท 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย, จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา และยุโรป รูปแบบของพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าประกอบด้วย อาคารสำเร็จรูป Ready Built, อาคารสร้างตามความต้องการ Built-to-Suit และ Ready Built-to-Suit ซึ่งเป็นการพัฒนาอาคารเดิมที่ได้มาตรฐานอยู่แล้วให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแต่ละอุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะตัว

ตัวอย่างผู้ประกอบการโรงงาน ที่ยังคงมั่นใจปักหลักในประเทศไทย และเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง คือ บริษัท ไทย ฮาโซ จำกัด บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2555 จัดตั้งโรงงานเพื่อผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์แผ่นทำความสะอาดแบบเปียก แบบแห้ง, กางเกงชั้นในแบบใช้แล้วทิ้ง, แผ่นซึมซับหรือดูดซับของเหลว เพื่อสุขภาพและสุขอนามัย สำหรับเด็กทารก บุคคล โรงพยาบาล โดยมีลูกค้าหลัก อาทิ American P&G, American Frida Baby, Wacoal, ลูกค้าชาวญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน

(ซ้าย) นายโห ซิง กรรมการและผู้จัดการโรงงาน และ (ขวา) นายเสียง หลิง ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ไทย ฮาโซ จำกัด

นายโห ซิง กรรมการและผู้จัดการโรงงาน บริษัท ไทย ฮาโซ จำกัด เผยมุมมองการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ Free Zone ว่า “การตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทยเป็นเวลากว่า 12 ปี บริษัทผ่านหลากหลายสถานการณ์ที่สำคัญ และยังรักษาความแข็งแกร่งทางธุรกิจเอาไว้ได้ จากเดิมเช่าโรงงานในโครงการ BFTZ 1 บางนา-ตราด กม. 23 พื้นที่ประมาณ 6,000 ตร.ม. จนปัจจุบันอยู่ที่ 20,000 ตร.ม. และมีแผนที่จะขยายโรงงานเพิ่มเติมบนพื้นที่ Free Zone ในทำเลยุทธศาสตร์ของไทย ด้วยความที่บริษัทดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกเป็นหลัก ทำให้เราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในเขตปลอดอากร และใช้เวลาในการดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ผลิตภัณฑ์ของ ไทย ฮาโซ จะเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคที่มีดีมานด์สูง แต่เราไม่หยุดนิ่ง พัฒนาตัวเองให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไป ทำความเข้าใจตลาดและเจาะอินไซต์ของลูกค้าแล้วพัฒนาสินค้าคุณภาพที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายต่อไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้ายอดขายประจำปีอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ”

นายเสียง หลิง ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ไทย ฮาโซ จำกัด เสริมว่า “โรงงานผลิตของเราเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ มีพนักงานกว่า 470 คนในไลน์การผลิตและสำนักงาน 99% ของพนักงานเป็นคนไทย สถานการณ์การแข่งขันที่มีผู้เล่นในตลาดมากมาย โฟกัสหลักของบริษัทจึงมุ่งขยายขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ อาทิ การเพิ่มทักษะแรงงาน การร่วมมือกันระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรม ไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างไม่ลดละ ผ่านการวางงบประมาณด้าน R&D สูงถึง 10% ของยอดขาย ประกอบกับแนวทางการจัดการลดต้นทุนด้านการขนส่ง ทำให้เราสามารถคว้าส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือนได้มากขึ้น ในปี 2568 เราวางแผนที่จะขยายประเภทผลิตภัณฑ์และเพิ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทต้องมีการจดสิทธิบัตรเพื่อรับรองนวัตกรรม”

ด้าน บริษัท ฟานุคคี แดรี่ จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตภัณฑ์นม (Dairy Product) เป็นผู้นำการผลิตชีสคุณภาพสูงจากประเทศอิตาลี มีจุดเริ่มต้นจากครอบครัว ‘ฟานุคคี’ ที่มีประสบการณ์ในวงการนี้มายาวนานกว่า 1 ศตวรรษ ผสานองค์ความรู้และเทคนิคที่ถ่ายทอดมาจนถึงรุ่นที่ 4 ด้วยความมุ่งมั่นในการส่งมอบชีสคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคชาวไทย ภายใต้วิสัยทัศน์หลัก คือการต่อยอดกลุ่มผลิตภัณฑ์นมโดยใช้วัตถุดิบชั้นเลิศ ร่วมกับการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ และพัฒนาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจในตลาด ผลิตภัณฑ์หลักของแบรนด์ ฟานุคคี แดรี่ ได้แก่ มอสซาเรลลาชีสสด, มอสซาเรลลา ฟอร์พิซซ่า, มอสซาเรลลาชีสแท่ง และ ขนมชีสอบกรอบ แบรนด์ YUMMY BITES

นายนิโคลา ฟานุคคี กรรมการ บริษัท ฟานุคคี แดรี่ จำกัด กล่าวว่า “เราเลือกดำเนินธุรกิจและตั้งโรงงานที่ประเทศไทย เพราะมีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ บริษัทเห็นโอกาสจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและมีผู้ผลิตชีสในประเทศไม่มากนัก ขณะที่การตัดสินใจเลือกโครงการเพื่อเช่าโรงงาน เรามองหาสิทธิประโยชน์ของพื้นที่ Free Zone เป็นอันดับแรก เนื่องจากธุรกิจของ ฟานุคคี แดรี่ มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาเพื่อผลิตและจำหน่ายชีสในประเทศไทยเป็นหลัก ส่งออกบางส่วนไปยังกัมพูชาและเวียดนาม โดยมุ่งเน้นลูกค้ากลุ่ม B2B การได้รับประโยชน์ตรงส่วนนี้จึงช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน อีกทั้งที่ตั้งของโครงการ BFTZ 1 บริเวณ บางนา-ตราด ยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และท่าเรือที่สำคัญ”

แม้ในอนาคตอันใกล้อาจพบเจอกับความท้าทาย ทั้งการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นจากผู้ผลิตรายใหม่ และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบ ในภาพรวมประเทศไทยยังคงเป็นตลาดแห่งโอกาสที่สำคัญซึ่งมีแนวโน้มแห่งการเติบโต โดยเฉพาะตลาดชีสในไทย สะท้อนจากเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปิดกว้างขึ้นเรื่อย ๆ และมักมีชีสเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร

“ด้วยบริการและการสนับสนุนที่ดีจากทีมงานของเจ้าของโครงการ ทำให้เราเข้าถึงการส่งเสริมจากภาครัฐของไทยได้อย่างราบรื่น ขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์ควบคู่ไปกับการขอใบอนุญาตเป็นไปอย่างรวดเร็ว เราเช่าอาคารแบบ Stand Alone หรือโรงงานที่มีรั้วรอบขอบชิด เหมาะในการประกอบธุรกิจอาหาร ในมุมมองของชาวต่างชาติที่มาทำธุรกิจในไทย เมื่อมีพาร์ตเนอร์ที่เข้าใจ ให้คำแนะนำและดูแลรอบด้าน เราก็สามารถเดินหน้าสร้างการเติบโตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้เต็มประสิทธิภาพ” นายนิโคลา กล่าวปิดท้าย

การยกระดับศักยภาพ ปรับตัวให้พร้อมรับกับทุกการเปลี่ยนแปลงและจับมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เป็นหนทางในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า เผชิญทุกแรงต้านอย่างมั่นคง แนวคิดดังกล่าวคือภาพสะท้อนจากเส้นทางแห่งพัฒนาการของเหล่าผู้ประกอบการโรงงานในพื้นที่ Free Zone สู่การสร้างอนาคตที่แข็งแกร่งแก่ภาคอุตสาหกรรมของไทยในระยะยาว

 

ดีลอยท์ ประเทศไทย

การที่ยักษ์ใหญ่ในวงการยานยนต์มุ่งนำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) และเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) อาจดูเป็นศึกครั้งสำคัญในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่การแข่งขันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ในสนามที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก เรากำลังพูดถึงปัญหาที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบดั้งเดิม และรถยนต์ไฟฟ้า BEV และ HICEV อาจเป็นทางออกที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตการคมนาคมที่ยั่งยืน

ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกได้ให้พันธสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 90% ภายในปี 2593 เมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซที่ปล่อยในปี 2563 โดยมีเป้าหมายไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emissions) แต่การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้นั้น การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่ช่วยลดการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)

จากรายงานของดีลอยท์เรื่อง "Pathway to net-zero: Mastering the twofold goal of Decarbonization and Profitability" เน้นย้ำถึงประเด็นข้างต้นเช่นกัน โดยกล่าวถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีที่สะอาดยิ่งขึ้น จำเป็นต้องอาศัยการลงทุนอย่างมากในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการสร้างศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งสำหรับแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว

สำหรับทิศทางของการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) การสร้างความมั่นคงด้านห่วงโซ่อุปทานของแบตเตอรี่กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด สถาบันเฟราน์โฮเฟอร์ ด้านระบบและวิจัยนวัตกรรม (Fraunhofer Institute for Systems and Innovation Research ISI) รายงานว่า ประเทศจีนเกือบจะผูกขาดกำลังการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน ฟอสเฟต (LFP) โดยครองส่วนแบ่งตลาดถึง 99% ทั่วโลกในปี 2565 แม้จะมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนที่จีนครองตลาดจะ

ลดลงเหลือ 69% ในปี 2573 แต่จีนก็ยังคงเป็นผู้นำในตลาดเช่นเดิม ประเด็นการผูกขาดตลาดนี้ทำให้เกิดความท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแบตเตอรี่ คิดเป็นประมาณ 40% ของต้นทุนรวมรถยนต์ไฟฟ้า BEV

ทั้งนี้จากการศึกษาของดีลอยท์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมดังกล่าวต้องปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตแบตเตอรี่ ตั้งแต่การสกัด การแปรรูป การผลิต การรีไซเคิล จนถึงการกำจัดแบตเตอรี่

ในทางตรงกันข้าม การส่งเสริมรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปภายในเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (HICEV) และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานีเติมไฮโดรเจน แต่ประเด็นนี้กลับเต็มไปด้วยความท้าทาย เนื่องจากการสร้างสถานีไฮโดรเจนแต่ละแห่งล้วนมีต้นทุนที่สูงกว่าสถานีบริการน้ำมันแบบดั้งเดิมอย่างมาก

นอกจากนี้ กรีนไฮโดรเจน (Green Hydrogen) จะต้องอาศัยไฟฟ้าในกระบวนการผลิตที่เรียกว่า กระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) ผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง(FCV) ยังมีความท้าทายในการเข้าถึงเครือข่ายการจำหน่ายและสถานีบริการสำหรับเติมก๊าซไฮโดรเจนที่ไม่สามารถให้บริการได้อย่างแพร่หลาย

นอกเหนือจากเทคโนโลยีเฉพาะทางแล้ว อีกปัจจัยหลักที่สำคัญคือ การบูรณาการแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนในทุกด้านของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งการลดการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิต ส่งเสริมการรีไซเคิลวัสดุอย่างมีความรับผิดชอบ และการใช้วิธีการแยกชิ้นส่วนรถยนต์เมื่อหมดอายุการใช้งานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การเปิดรับเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีความท้าทาย เช่น ข้อกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรระยะสั้นจากการลงทุนล่วงหน้าในเทคโนโลยีที่สะอาดและโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ในระยะยาวมีความสำคัญมกว่าอุปสรรคในช่วงเริ่มต้น เมื่อองค์กรในอุตสาหกรรมกำหนดความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ก็จะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และรวมไปถึงการประหยัดต้นทุนผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ความยั่งยืนล้วนมีแนวทางอื่นนอกเหนือจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การลงทุนเพื่อยกระดับฝีมือแรงงานก็มีความสำคัญเช่นกัน การยกระดับและเสริมทักษะให้กับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง การส่งเสริมความหลากหลายและการมีส่วนร่วมในกลุ่มพนักงานจะนำมาซึ่งมุมมองและประสบการณ์ที่กว้างขึ้น และเปิดทางไปสู่นวัตกรรมที่ยั่งยืนมากขึ้นในที่สุด

สำหรับประเทศไทย มีการออกมาตรการอุดหนุนผู้ประกอบการยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ที่ให้การสนับสนุนด้านราคาเพื่อเร่งให้นำรถไฟฟ้ามาใช้งาน และดึงดูดการลงุทนจากต่างชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็น

ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับภูมิภาค ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังทำการศึกษาการใช้ไฮโดรเจนเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคม

ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ไฮโดรเจนถือเป็นส่วนหนึ่งของ“เชื้อเพลิงทางเลือก” โดยมีเป้าหมายในการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานเทียบเท่ากับน้ำมัน (KTOE) 10 กิโลตัน ภายในปี 2579 เป้าหมายดังกล่าวได้รับการส่งเสริมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นจากการโครงการนำร่อง ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนแห่งแรกของประเทศไทยด้วย โครงการต่างๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวทางที่หลากหลายเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการคมนาคมในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นต้องมีแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ การสร้างความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนผ่านจะราบรื่นสำหรับทุกภาคส่วน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามเป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ท้ายที่สุด อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดต้องปรับเปลี่ยนกุลยุทธ์นอกเหนือจากการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะ และดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางแบบองค์รวม โดยบูรณาการส่งเสริมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมในกิจการทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเดินหน้าสู่อนาคตที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้แม้จะเผชิญกับความท้าทาย แต่จะสร้างคุณค่ามหาศาลในอนาคต ทั้งสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และการประหยัดต้นทุนในระยะยาว ด้วยเลือกแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมความยั่งยืนในทุกๆ ด้าน อุตสาหกรรมสามารถมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับพวกเราทุกคน

 

บทความ :  มงคล  สมผล  Aotomotive Sector Leader

                ดร  โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการ  clients& Market

พญ.พิมพ์สิริ เทียมศักดิ์ (ขวา) กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ไทยประเสริฐโฆษณา จำกัด หรือ ไทยประเสริฐ กรุ๊ป หนึ่งในผู้นำธุรกิจป้ายโฆษณาแบบครบวงจร รวมทั้ง ดำเนินธุรกิจรับเหมาตกแต่งภายใน และรับเหมาก่อสร้าง ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 55 ปี ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับ นายรองเพชร บุญช่วยดี (ซ้าย) รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ในโอกาสเข้าร่วมโครงการทดสอบแพลตฟอร์มคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อมุ่งสู่ Net Zoro ณ ห้องราชพฤกษ์บอลรูม สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของสภาวะโลกร้อนและมีการจัดทำ Carbon footprint ที่ได้รับการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก TGO ตั้งแต่ปี 2564 ครั้งนี้บริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 45 องค์กรนำร่องที่ใช้ Carbon footprint platform นำมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อตั้งเป้าหมาย Net zero

 

จับมือชุมชนขยายผลฟื้นน้ำ สร้างป่า ลดฝุ่น PM 2.5 ลดเหลื่อมล้ำสร้างอาชีพ เติบโตยั่งยืนร่วมกัน

Page 1 of 6
X

Right Click

No right click