Spacely AI สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่นำ Generative AI มาช่วยในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในที่ได้รับการลงทุนระดับ Pre-Seed จาก SCB 10X บริษัทภายใต้กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ซึ่งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายของ Spacely AI ที่ต้องการสร้างโอกาสในการออกแบบให้กับทุกคน และมุ่งหวังเป็นแพลตฟอร์มหลักในอุตสาหกรรมการออกแบบเชิงพื้นที่ สอดรับกับยุทธศาสตร์ของกลุ่ม SCBX ในการมุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาด้านเทคโนโลยี AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
นางมุขยา (ใต้) พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และ Chief Venture and Investment Officer บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) กล่าวว่า "SCB 10X มีความภูมิใจที่ได้สนับสนุน Spacely AI เพื่อปลดล็อกความสามารถในการออกแบบด้วยความก้าวหน้าของ visual-based generative AI และเพื่อต่อยอดความคิดสร้างสรรค์แก่นักออกแบบให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของเทคโนโลยีนี้ โดย SCB 10X ร่วมสนับสนุน Spacely AI ทั้งด้านกลยุทธ์และการพัฒนาให้แก่แพลตฟอร์ม รวมถึงความพยายามในการผลักดัน Spacely AI ไปสู่วงการการออกแบบทั่วโลก"
นายพารวย อันอดิเรกกุล Chief Executive Officer Spacely AI กล่าวว่า "การสนับสนุนจาก SCB 10X ไม่ได้เป็นเพียงแค่การลงทุนทางธุรกิจ แต่เป็นความร่วมมือที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเราในการพัฒนาวงการการออกแบบเชิงพื้นที่ และยังเน้นย้ำถึงความเชื่อร่วมกันในศักยภาพของ Generative AI ในการเปลี่ยนแแปลงมาตรฐานของการออกแบบระดับโลก"
Spacely AI กำลังขยายฐานผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 170 ประเทศทั่วโลก และยังได้รับการยอมรับจากสตาร์ทอัพคอมมูนิตี้ระดับสากล จากการชนะรางวัลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากรายการ “LabLab Stable Diffusion Hackathon 2023” ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 2,600+ ทีมทั่วโลก และได้รางวัลรองอันดับ 2 จากรายการ “Tech in Asia 2023 Regional Startup Competition” ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 200 ทีม
Spacely AI ได้สร้างผลงานด้วยระบบ AI ไปแล้วมากกว่า 1,000,000 รูป มีผู้ใช้กว่า 120,000 คนทั่วโลก และยังมีการพัฒนาฟีเจอร์การใช้งานอย่างต่อเนื่องกว่า 12 รายการ มีธีมห้องให้ผู้ใช้เลือกใช้กว่า 100 สไตล์ พร้อมรูปแบบห้องและพื้นที่มากกว่า 100 ประเภท ตั้งแต่ภายในไปจนถึงภายนอกอาคาร เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการออกแบบเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน Spacely AI มีการร่วมมือกับบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงด้านการตกแต่งบ้านและอสังหาริมทรัพย์อย่าง Index Living Mall และ Proud Real Estate ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของ Spacely AI
ด้าน นายเอกลักษณ์ ปัทมสัตยาสนธิ Senior Vice President Business Development YOUNIQUE & The Walk Line ผู้ค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดเผยว่า "ในการเลือกใช้เทคโนโลยีของ Spacely AI ทาง Index Living Mall มุ่งหวังที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพิ่มความสามารถในการทำงานให้แก่นักออกแบบ และยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Spacely AI สามารถลดเวลาในกระบวนการออกแบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของดีไซน์เนอร์ นี่จะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในความมุ่งมั่นของเราที่จะเป็นเลิศในด้านการบริการและการเติบโตทางธุรกิจ"
“ความร่วมมือระหว่าง Spacely AI ถือเป็นส่วนช่วยในการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ พร้อมสะท้อนความพิเศษที่มากกว่าของแบรนด์และโครงการของพราวได้เป็นอย่างดี โดยตลอด Customer Journey ลูกค้าจะสามารถต่อยอดไอเดียการออกแบบบนพื้นที่ภายในโครงการให้เป็นพื้นที่เสมือนจริงของตัวเองได้ด้วย AI” กล่าวโดย นายพสุ ลิปตพัลลภ Director Proud Real Estate ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในประเทศไทย
Spacely AI เปิดตัว Enterprise API ตัวใหม่สำหรับองค์กรและ SME ในอุตสาหกรรมการออกแบบ และที่อยู่อาศัย:
Enterprise API ช่วยส่งเสริมประสบการณ์การขาย และสร้างผลตอบรับให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพใน 4 ด้าน:
นายพารวย อันอดิเรกกุล Chief Executive Officer Spacely AI กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเปิดตัว Enterprise API เป็นก้าวที่สำคัญสู่อุตสาหกรรมการออกแบบและเฟอร์นิเจอร์ แต่สิ่งนี้เป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น Spacely AI มุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสามารถของ Generative AI เพื่อให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ทุกปัญหาของการออกแบบเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งผลักดันขอบเขตของความคิดสร้างสรรค์ในโลกแห่งการออกแบบต่อไป”
มาเป็นส่วนหนึ่งกับ Spacely AI ในการยกระดับอุตสาหกรรมการออกแบบและค้นพบศักยภาพสูงสุดของ Generative AI ในการเปลี่ยนแปลงโลก และยกระดับมาตรฐานของการออกแบบ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรและเสริมความเป็นผู้นำในวงการธุรกิจของคุณ สามารถใช้ Spacely AI ได้แล้ววันนี้ที่ www.spacely.ai
บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (WP Energy) กลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจรและผู้จัดจำหน่ายก๊าซ LPG ภายใต้แบรนด์ เวิลด์แก๊ส ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับ Hato Hub ระบบจัดการร้านอาหารและดูแลลูกค้าอย่างครบวงจร ด้วยระบบ CRM, ระบบสั่งอาหาร รวมถึงการเดลิเวอร์ลี่ เพื่อเตรียมลงทุนด้วยการเข้าซื้อหุ้น บริษัท อินดี้ ดิช จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ Hato Hub รวมทั้งร่วมมือกันพัฒนา New Business model ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เป็นการขยายฐานลูกค้า และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
นางสาวชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ มุ่งมั่นขยายความเป็นไปได้ของธุรกิจเราให้เติบโตไปในหลายช่องทาง เราริเริ่ม และก้าวเดินไปกับพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจมากมายในหลายแวดวงอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ด้านการแพทย์ การศึกษา และล่าสุดกับแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อร้านอาหารที่มีระบบ CRM ครบวงจรอย่าง ‘Hato Hub’ โดยดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จะร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ Hato Hub เพื่อรองรับการขยายฐานลูกค้าในอนาคต รวมถึงนำเสนอแก๊สหุงต้มราคาพิเศษให้กับร้านค้าที่ใช้บริการ Hato Hub เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ อันนำไปสู่การร่วมทุนในโปรเจ็กต์อื่นๆ สำหรับอนาคตด้วย”
ด้านคุณดาริน สุทธพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินดี้ ดิช จำกัด ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ Hato Hub เผยว่า “Hato Hub คือ ระบบซอฟแวร์ที่จะเชื่อมต่อและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลาง เราเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2020 ภายใต้แนวคิดที่ว่า ต้องการช่วยร้านอาหารให้เติบโตและต้องการเป็นเครื่องมือให้ร้านอาหารได้สร้างความเข้มแข็งทางการตลาดด้วยตัวเองโดยการใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การมีพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งอย่างดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จึงช่วยเติมเต็มจุดประสงค์ดังกล่าวได้ นอกจากจะมีการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลลูกค้าแล้ว เราจะนำซอฟต์แวร์ของ Hato Hub ไปเสนอให้ลูกค้ากลุ่มร้านอาหารของดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ เป็นการขยายช่องทางการตลาด เพิ่มการรับรู้ให้ Hato Hub ได้ในวงกว้างขึ้น ทั้งยังเป็นการนำร่องก่อนไปสู่ความร่วมมือในโอกาสต่อไประหว่างเราทั้งสองฝ่ายอีกด้วย”
ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ให้ความสำคัญกั
เริ่มปีใหม่แล้ว กิจกรรมหนึ่งที่นิยมทำกันก็คือทำความสะอาดปัดกวาดสถานที่ เพื่อต้อนรับสิ่งดีที่จะเข้ามาในปีใหม่ หลายคนคงเคยสงสัยว่าแล้วระบบไอที มันต้องมีการปัดกวาดเช็ดถูกันบ้างไหมหลังผ่านการใช้งานมาเป็นปี