ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อทางการเงิน เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียวให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ธนาคารพร้อมสนับสนุนสินเชื่อทางการเงินภายใต้กรอบแนวคิดเพื่อความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรมในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission)

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ได้เข้าร่วมงาน ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) และ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์จี เอเชีย” (Future Energy Asia) ประจำปี 2566 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและนำเสนอโซลูชันทางการเงินของธนาคาร ที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืนให้แก่ภูมิภาค ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมงานในปีนี้

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ ธนาคารยูโอบียึดมั่นในแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมผนึกความร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการเพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น ยูโอบีในฐานะธนาคารที่ตอบโจทย์ครบในหนึ่งเดียวเพื่อเข้าถึงโอกาสเติบโตทางธุรกิจทั่วอาเซียน ยืนยันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินที่พร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ยั่งยืน และเพื่อสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคม ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับพวกเราทุกคน ธนาคารพร้อมนำเสนอกรอบแนวคิดและโซลูชันทางการเงินเพื่อความยั่งยืนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้แก่บริษัทในทุกภาคอุตสาหกรรมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนร่วมกัน”

รายงานการศึกษาขององค์การสหประชาชาติพบว่าภาคธุรกิจพลังงานเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 3 ใน 4 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก1 ธุรกิจพลังงานจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนในแหล่งพลังงานหมุนเวียนทดแทนเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้พลังงานจากก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ยูโอบีย้ำถึงบทบาทของธนาคารในการจัดสรรเงินในการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานสะอาดให้มากขึ้น ซึ่งรายงานการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency: IRENA) พบว่าต้องมีการจัดสรรเงินลงทุนรวมกว่า 57 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐให้แก่ธุรกิจพลังงานไปจนถึงปี 2573 เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)2 โดยเงินลงทุนประมาณร้อยละ 57 มาจากการปล่อยกู้และการระดมทุนโดยสถาบันการเงิน อีกร้อยละ 25 มาจากเงินลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ (private equity markets) และส่วนที่เหลือมาจากเงินลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาต่างๆ และเงินลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (public equity markets)

สำหรับภาคขนส่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 20 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมยานยนต์พลังงานสะอาดในอนาคตเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ ยูโอบีมองว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะเติบโตถึงร้อยละ 18 ภายในปี 2566 และจะมากถึงร้อยละ 35 ภายในปี 2573 โดยเฉพาะในอาเซียนที่ยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในหลายประเทศมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 จากนโยบายของรัฐบาลที่เกื้อหนุนต่ออุตสาหกรรมและโมเดลรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในประเทศไทย และประเทศอินโดนิเซียที่รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นนโยบายเศรษฐกิจหลักเพื่อส่งเสริมให้ค่ายผู้ผลิตให้ย้ายฐานการผลิต

ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนโซลูชันทางเงินแบบครบวงจรภายใต้โครงการยู-ไดรฟ์ (U-drive) เพื่อเชื่อมต่อไปยังทุกภาคส่วนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ บริษัทผลิตรถยนต์ บริษัทผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEMs) ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ผู้ประกอบการสถานีชาร์จแบตเตอรี่ ไปจนถึงผู้บริโภค ให้สามารถนำระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ตลอดจนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ล้ำสมัยให้ตอบสนองต่อความต้องการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดของภูมิภาค เช่น สินเชื่อทางการเงินเพื่ออนุรักษ์พลังงานสำหรับอาคารและที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร หรือส่งเสริมความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) โซลูชันทางการเงินแบบครบวงจรที่สนับสนุนทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ความสำเร็จของโครงการในประเทศไทย สิงค์โปร์ อินโดนิเซีย และมาเลเซียช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเร่งให้การพัฒนาด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในอาเซียนเป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน โครงการยู-โซลาร์ของสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 186,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (tCO2e) ทั่วภูมิภาคอาเซียน

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เชิญชวนศิลปินมืออาชีพและศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566

เวทีการประกวดงานจิตรกรรมเพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ต่อยอดสู่การประกวดระดับภูมิภาค โดยมุ่งสนับสนุนชุมชนศิลปินและศิลปินรุ่นเยาว์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับภูมิภาค และปีนี้ยูโอบีได้ขยายการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเวทีการประกวดจิตรกรรมที่ทรงเกียรติที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่เวียดนามเป็นประเทศที่ห้า

สำหรับงานเปิดตัวในวันนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้จัดให้มีการเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของศิลปินไทยในการมุ่งสู่เส้นทางการเป็นศิลปินในเวทีศิลปะระดับสากล พร้อมบอกเล่าปัจจัยสำคัญที่เอื้อประโยชน์แก่ศิลปินในการเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปินระดับโลก อันได้แก่ การสร้าง อัตลักษณ์ทางศิลปะ เทคนิค ความหลงใหล และความมุ่งมั่นอันแรงกล้า นอกจากนี้ งานเสวนายังแบ่งปันวิธีที่ศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะเรียนรู้จากข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ของศิลปินอาชีพและผู้เชี่ยวชาญในวงการศิลปะ ซึ่งจะช่วยชี้แนะให้ประสบความสำเร็จในวงการศิลปะที่แข่งขันสูง การเสวนาครั้งนี้นำโดย อาจารย์ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) ปี 2563 และรองอธิบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานคณะกรรมการตัดสิน การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประเทศไทย คุณชมรวี สุขโสม ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 และ คุณนริศรา เพียรวิมังสา ศิลปินชื่อก้องผู้สร้างสรรค์ผลงานสีอะคริลิกและผ้า ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักในประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอเมริกา

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14

การออกแบบโลโก้การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2566 ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงาน ดิสโทเปีย ของคุณชมรวี สุขโสม ศิลปินไทยผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำปี 2565 รูปทรงกลมที่กำลังเปลี่ยนแปลงรูปร่างสื่อถึงโลกของเราที่พัฒนาและปรับเปลี่ยนตลอดเวลา ตามวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับคำมั่นสัญญาในระยะยาวของธนาคารที่จะไม่หยุดพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและอยู่เคียงข้างชุมชน

นางสาวธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ในปีนี้ ยูโอบีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ขยายการจัดการประกวดจิตรกรรมยูโอบีนี้ไปสู่ประเทศเวียดนาม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นได้ค้นพบความหลงใหลที่มีต่องานศิลปะ เพราะเราเชื่อว่าศิลปะช่วยยกระดับจิตใจและเชื่อมโยงชุมชนต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยทางธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ประสบความสำเร็จในการเฟ้นหา ฟูมฟัก และสนับสนุนศิลปินผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์และความสามารถในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า 1 ทศวรรษ ผ่านการประกวดจิตรกรรมยูโอบีประจำปีและโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้เห็นศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความสามารถและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแต่ละคน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่เพื่อนศิลปิน และเพื่อให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายของธนาคารในการสร้างอนาคตของอาเซียน”

เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 พร้อมเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นที่เพิ่มขึ้น

ในฐานะผู้อุปถัมภ์ศิลปะชั้นนำในเอเชีย การประกวดจิตรกรรมยูโอบีประสบความสำเร็จในการเฟ้นหาศิลปินอาชีพและศิลปะใหม่หรือสมัครเล่นจากประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาค การประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 เปิดรับผลงานศิลปะของผู้มีสัญชาติไทยและผู้มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศไทยผ่านระบบดิจิทัล www.uob.co.th/poy ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ถึง 15 สิงหาคม 2566

พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ผลงานชนะเลิศจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิเข้าแข่งขันในระดับภูมิภาคร่วมกับผลงานชนะเลิศจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม เพื่อชิงเงินรางวัลอีก 13,000 เหรียญสิงคโปร์ นอกเหนือจากเงินรางวัลระดับประเทศ นอกจากนี้ ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับประเทศยังมีโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินในพำนัก ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 1 เดือนอีกด้วย พิธีประกาศและมอบรางวัลการประกวดจิตรกรรมยูโอบีระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะจัดขึ้นที่โรงละครวิคตอเรีย ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นในภูมิภาคในการไล่ตามความฝันในแวดวงศิลปะ ยูโอบีจึงเพิ่มเงินรางวัลสำหรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่นจะได้รับเงินรางวัลเพิ่มเป็น 125,000 บาท

ส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นเยาว์

เพื่อส่งเสริมให้ศิลปินไทยเติบโตและประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมศิลปะสู่ชุมชนต่างๆ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ได้เตรียมจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อให้ความรู้ โดยมีศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบี อาทิ คุณปานพรรณ ยอดมณี คุณธิดารัตน์ จันทเชื้อ และคุณชมรวี สุขโสม มาร่วมแบ่งปันเทคนิค กระบวนการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และทัศนคติที่จำเป็นในการผลักดันผลงานให้เป็นที่รู้จักในเวทีศิลปะระดับสากล ผู้สนใจสามารถชมวิดีโอแบ่งปันความรู้ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ผ่าน www.facebook.com/uob.th และ www.uob.co.th/uobandart

นอกจากนี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จะจัดเดินสายกิจกรรม “โรดโชว์ศิลปะ” ไปตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 20 แห่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเฟ้นหาศิลปินไทยรุ่นใหม่จากทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนศิลปะท้องถิ่นและนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านศิลปะและรับแรงบันดาลใจจากศิลปินอาชีพและศิลปินรุ่นพี่ผู้ชนะการประกวดจิตรกรรมยูโอบีที่ประสบความสำเร็จในแวดวงศิลปะต่างประเทศ

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงานวิจัยล่าสุดวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) สามารถเติบโตถึงร้อยละ 3.7 ในปีนี้

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ ดังนั้นสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส"

นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้ง หลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้ายทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง

โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆโดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ”สถานการณ์เศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้ว ทำให้ในปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้มูลค่าการอุบโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น

อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลงตั้งแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และ กระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3  ค่าเงินบาททีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆเช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย

รายงาน Quarterly Global Outlook ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ของธนาคารยูโอบี เผย 10 ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศในอาเซียนสามารถรับมือความผันผวนของตลาดในอนาคต

ปี 2565 ถูกรุมเร้าด้วยผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 ความขัดแย้งทางทหารระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน การหยุดชะงักของอุปทานในกลุ่มพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ อัตราเงินเฟ้อสูงในรอบหลายทศวรรษทั่วโลก การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยโดยเฟดและธนาคารกลางอื่นๆ และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565ไว้ได้

รายงานของยูโอบี ได้สรุป 10 ปัจจัยสำคัญที่สะท้อนความยืดหยุ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับความผันผวนของตลาดตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการรับมือกับความผันผวนของตลาดในอนาคตด้วยเช่นกัน

1. เศรษฐกิจของประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 2-3 ของปี 2565 จากการส่งออกและอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยมาเลเซียมีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในไตรมาส 3 ปี 2565

2. ผลผลิตของประเทศในอาเซียน (ยกเว้นประเทศไทย) กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิดแล้ว จากอุปสงค์การส่งออกและการเปิดเศรษฐกิจใหม่ที่กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ

3. การค้าในอาเซียนยังแข็งแกร่ง โดยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ผู้ส่งออกและภาคการผลิตในอาเซียนเป็นผู้ได้ประโยชน์หลัก แต่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปสงค์ทั่วโลกคาดว่าจะอ่อนตัวลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายและกิจกรรมทางธุรกิจ

4. การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว การยกเลิกข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และการเปิดเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ในอาเซียนอีกครั้งตั้งแต่กลางปี 2565 ทำให้อาเซียนฟื้นตัวเร็วขึ้นจากกระแสนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นและตลาดภาคบริการที่ดีดตัวขึ้น ปัจจัยเหล่านี้คาดว่าจะเป็นเสาหลักสำหรับเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2566 และเมื่อจีนผ่อนคลายนโยบายปลอดโควิดและเปิดพรมแดนอีกครั้งจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนให้การท่องเที่ยวในอาเซียนฟื้นตัว

5. อัตราเงินเฟ้อในอาเซียนโดยทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วในปี 2565 ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

6. การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน สัดส่วนการนำเข้าของสหรัฐฯ จากอาเซียนโดยเฉพาะเวียดนามเพิ่มขึ้น ในขณะที่การนำเข้าของสหรัฐฯ จากจีนลดลงหลังจากปี 2559 ซึ่งโดยรวมจะส่งผลดีต่ออาเซียนในฐานะศูนย์กลางการผลิตและการส่งออก

7. จากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานส่งผลให้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนเพิ่มขึ้น 44% ในปี 2564 ทำสถิติสูงสุดที่ 175.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอาเซียนมี FDI ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน

8. ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่สะสมเพิ่มขึ้นตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ทำให้มีเกราะป้องกันมากขึ้นจากความผันผวนของตลาดการเงิน

9. ความสามารถในการชำระค่านำเข้าเป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนความแข็งแกร่ง โดยประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีเงินสำรองเพียงพอสำหรับการชำระค่านำเข้า 3 เดือน

10. ประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่มีหนี้ต่างประเทศระยะสั้นค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเงินสำรอง

เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงในปี 2566

นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารยูโอบี สิงคโปร์ เผยว่า “แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้นช่วยให้ตลาดอาเซียนสามารถต้านทานความผันผวนของตลาดการเงินในปี 2565 ได้ แต่คาดว่าปีหน้าจะเป็นปีที่ท้าทายและมีความไม่แน่นอนจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ภาวะการเงินที่ตึงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนที่ตึงเครียดมากขึ้น และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงปัจจัยเสริมอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจของอาเซียนมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลักตลอดจนเป็นแหล่งรองรับเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เราจึงไม่สามารถเพิกเฉยต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้”

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเหล่านี้อาจถูกลดทอนลงบ้างจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของกิจกรรมภายในประเทศ การผ่อนคลายข้อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการเปิดการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนอีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม การเดินทาง ที่พัก และอื่นๆ ภายในประเทศ และเมื่อจีนเปิดพรมแดนอีกครั้งจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม

“โดยรวมแล้วเราคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกจะลดลงในปี 2566 โดยตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และอังกฤษ มีอัตราการเติบโตที่ลดลงทั้งปี ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจหลักในอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และ เวียดนาม) คาดว่าการเติบโตจะชะลอตัวลงต่ำกว่า 5% ในปี 2566 จากที่สูงกว่า 6% ในปี 2565” นายเอ็นริโก้ กล่าวปิดท้าย

 

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เปิดตัว “ยูโอบี พลาซา กรุงเทพ” สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นระยะยาวในการให้บริการลูกค้า พนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ และชุมชนในประเทศไทย

สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ ยูโอบี ประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจบนถนนสุขุมวิท โดยเป็นอาคาร 30 ชั้น ที่มีพื้นที่มากกว่า 27,000 ตารางเมตร เป็นสำนักงานที่มีพนักงานประมาณ 2,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นอาคารสีเขียวที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยซึ่งช่วยลดผลกระทบโดยรวมต่อสิ่งแวดล้อม ยูโอบี ประเทศไทย เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเครือของกลุ่มธนาคาร ยูโอบี และเป็นธนาคารต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย โดยมีพนักงานเกือบ 10,000 คนในประเทศ

นาย วี อี เชียง ประธานกรรมการ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และรองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากสำหรับยูโอบี ตั้งแต่ปี 2542 เราได้ช่วยเหลือเพิ่มความมั่งคั่งกับให้ลูกค้าและช่วยให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยขยายการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”

วันนี้เรายังเป็นธนาคารเดียวจากสิงคโปร์ที่มีการดำเนินธุรกิจด้านการธนาคารอย่างเต็มรูปแบบในประเทศ การลงทุนใน “ยูโอบี พลาซา กรุงเทพ” ถือเป็นตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อประเทศไทย จากการผสมผสานความเชี่ยวชาญของเราทั้งในระดับภูมิภาคและในตลาดท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของยูโอบี เราพร้อมที่จะสนับสนุนลูกค้าในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในระดับภูมิภาค ตลอดจนขยายธุรกิจของพวกเขาในภูมิภาคอาเซียนที่เปี่ยมไปด้วยพลวัตนี้

ภายในงานเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของ ยูโอบี  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทย นายกัน กิมหยง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ และนายเควิน ชุก เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมีลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจมากกว่า 200 รายเข้าร่วมงานเลี้ยงต้อนรับ

นายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ปีนี้นับเป็นก้าวสำคัญของยูโอบีที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาแล้ว 23 ปี และเรากำลังขยายธุรกิจให้เติบโตผ่านการลงทุนต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อกิจการธนาคารลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปในประเทศไทยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วตามกฎหมายในวันที่ 1 พฤศจิกายน และการเปิดตัว ยูโอบี พลาซา กรุงเทพฯ

“ในขณะที่เรากำลังวางรากฐานทางธุรกิจใหม่พร้อมๆไปกับการเสริมความแข็งแกร่งของฐานธุรกิจในประเทศไทย ยูโอบี ตอกย้ำจุดยืนของเราในฐานะธนาคารชั้นนำในประเทศไทยที่พร้อมนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการของลูกค้า และด้านความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ด้วยความเชี่ยวชาญและเครือข่ายที่แข็งแกร่งของธนาคาร เราพร้อมแล้วที่จะช่วยลูกค้าของเราเชื่อมต่อและขยายโอกาสทางธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน”

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เป็นธนาคารจากสิงคโปร์ที่ดำเนินการด้านการธนาคารเต็มรูปแบบในประเทศไทย นอกเหนือไปจากนั้น นับตั้งแต่ปี 2542 ธนาคารยังได้จัดกิจกรรมเพื่อคืนสู่สังคมมากมาย รวมถึงงานประกวดจิตรกรรมยูโอบี หรือ UOB Painting of the Year เพื่อส่งเสริมศิลปินไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับภูมิภาคมาต่อเนื่องทุกปี ซึ่งในปีนี้ศิลปินจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

Page 2 of 3
X

Right Click

No right click