November 24, 2024

กุ้ยหลิน แบงก์ (Guilin Bank) ธนาคารท้องถิ่นในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน รุกดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อผลักดันความร่วมมือทางการเงินข้ามพรมแดนระหว่างจีนกับอาเซียน โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการช่วยให้กว่างซีก้าวขึ้นเป็นที่ราบสูงแห่งใหม่ของจีนที่รองรับการค้าและความร่วมมือกับอาเซียน

เป็นที่ทราบว่า กุ้ยหลิน แบงก์ มุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรในระดับสูง ตลอดจนเสริมสร้าง "ความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์" ที่แข็งแกร่ง และใช้ความคิดริเริ่มในการบูรณาการเข้ากับรูปแบบการพัฒนาใหม่ของภูมิภาค

ในปีที่ผ่านมา ทางธนาคารได้ดำเนินการวิเคราะห์และวิจัยเชิงคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตของความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างจีนกับอาเซียน และสร้างโครงสร้างองค์กรที่โดดเด่นซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาธุรกิจของอาเซียน

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ทางธนาคารได้ให้สินเชื่อมากกว่า 1.051 แสนล้านหยวนแก่โครงการสำคัญ ๆ ภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) โดยมีปริมาณรายได้และรายจ่ายข้ามพรมแดนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ ปริมาณการชำระบัญชีข้ามพรมแดนกับสมาชิกอาเซียนและสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 40% ของรายได้และรายจ่ายข้ามพรมแดนทั้งหมดของธนาคาร

คุณอู่ ตง (Wu Dong) ประธานของกุ้ยหลิน แบงก์ กล่าวว่า ทางธนาคารดำเนินมาตรการที่แข็งแกร่งมั่นคงเพื่อเร่งการลงทุนและอำนวยความสะดวกทางการเงิน ส่งเสริมการปฏิรูปอุตสาหกรรมเฉพาะทาง และเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการให้ความสำคัญกับการยกระดับช่องทาง นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาความร่วมมือ ท่ามกลางความพยายามที่กว้างขึ้นเพื่อรองรับความร่วมมือทางอุตสาหกรรมจีน-อาเซียนได้ดียิ่งขึ้น

ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 10 ปีของข้อเสนอในการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ตลอดจนครบรอบ 20 ปีของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (China-ASEAN Expo) และการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนจีน-อาเซียน (China-ASEAN Business and Investment Summit)

การเปิดกว้างได้กลายเป็น "ขุมพลัง" ที่สำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกว่างซี และทางธนาคารจะยกระดับการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กว่างซี เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาใหม่

คุณอู่ระบุว่า ในอนาคต กุ้ยหลิน แบงก์ จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมสำหรับความร่วมมือจีน-อาเซียน โดยเน้นไปที่ด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม การค้าข้ามพรมแดน การลงทุนและการเงินข้ามพรมแดน และการใช้เงินหยวนข้ามพรมแดน เป็นต้น

EXIM BANK ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate สำหรับลูกค้าทั่วไปและ SMEs เทียบเท่า MRR ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี เพื่อช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของผู้ประกอบการไทย สนองนโยบายรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการหดตัวของการส่งออกตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะกีดกันทางการค้า

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีภารกิจสนับสนุนธุรกิจการส่งออก การนำเข้า และการลงทุน ขานรับทิศทางการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้วยความเล็งเห็นถึงความจำเป็นของการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศในสภาวะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า จึงพร้อมช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนทางการเงินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจให้แก่ลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ซึ่งเทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ของธนาคารพาณิชย์ เหลือ 6.00% ต่อปี จากอัตราเดิม 6.125% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป

EXIM BANK พร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างไม่สะดุด แม้ในภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง” นายพิศิษฐ์กล่าว

 

TMB Analytics ประเมินว่าในปี 2562 ธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งจะเติบโต 5% โดยธุรกิจค้าส่งคาดว่าเติบโตในระดับต่ำ ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะพอเติบโตได้ แต่การเติบโตกระจุกตัวอยู่ในช่องทางผ่านร้านโมเดิร์นเทรดและช่องทางออนไลน์ แนะหากต้องการอยู่รอดอย่างยั่งยืน ต้องเร่งปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้

ทุกวันนี้ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มีสัดส่วนถึง 16% ของจีดีพี โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2551-2561) เติบโตเฉลี่ยกว่า 6.8% ต่อปี และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยในช่วง 15 ปีหลังจากมีการใช้อินเทอร์เน็ตในภาคธุรกิจ ทำให้การแข่งขันทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากโมเดลการค้าแบบดั้งเดิมเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เกิดช่องทางการตลาดที่ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้การเชื่อมต่อผู้ผลิตไปยังผู้บริโภครายย่อยได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการค้าผ่านระบบ E-Commerce ซึ่งผู้บริโภคสามารถชำระค่าสินค้าผ่านระบบ E-Payment ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ผู้ผลิตและผู้ค้ายังสามารถส่งสินค้าไปยังลูกค้ารายย่อยได้รวดเร็วและตรงเวลาผ่านการใช้บริการของบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ เทรนด์นี้ก่อให้เกิดการเติบโตของจำนวนร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ไม่มีหน้าร้านมากขึ้น นอกจากนี้ในตัวธุรกิจเองก็มีการแข่งขันที่สูงพิจารณาจากจำนวนสาขาของร้านโมเดิร์นเทรดประเภทต่างๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่าปี 2562 จีดีพีการค้าปลีกและการค้าส่งจะขยายตัว 5% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 8.5% โดยยอดขายธุรกิจค้าส่งจะเติบโตได้ต่ำ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง สินค้าที่เติบได้ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าไม่คงทนเป็นหลักได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ ในขณะยอดขายธุรกิจค้าปลีกคาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3-5% โดยช่องทางค้าปลีกที่เติบโตจะอยู่ในร้านค้าโมเดิร์นเทรด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งมีจุดเด่นเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าประเภทต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้จับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ ร้านค้าปลีกออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เติบโตและเป็นที่นิยมสูงจากผู้บริโภคในยุคนี้

สำหรับร้านค้าปลีกที่คาดว่าจะไม่สามารถเติบโตได้อย่างในอดีตคือ ร้านค้าปลีกดั้งเดิม รวมไปถึงร้านค้าปลีกสินค้าเฉพาะอย่าง อาทิเช่น ร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ในครัวเรือน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป นิยมซื้อของผ่านร้านโมเดิร์นเทรด หรือซื้อผ่านร้านค้าออนไลน์มากขึ้น

โดยรวมแล้ว แม้ปีนี้แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกและการค้าส่งภาพรวมจะพอขยายตัวได้บ้าง แต่หากแยกตามประเภทของผู้ค้าพบว่า แนวโน้มผู้ค้าส่งดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ข้อบ่งชี้ที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ การรุกทำตลาดของผู้ผลิตที่เริ่มใช้กลยุทธ์ลดสัดส่วนการขายผ่านผู้ค้าส่งหันไปขายผ่านร้านค้าปลีกรายย่อยแทน รวมไปถึงใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อเชื่อมกับผู้บริโภคออนไลน์เพิ่มขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือ ยอดขายผ่านการค้าส่งลดลงต่อเนื่อง และหากมองในแง่ของระดับการทำกำไรใน 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ในระดับทรงตัวอยู่ที่ 3.4-3.9% ในขณะที่ผู้ค้าปลีกก็มีกำไรสุทธิทรงตัวเช่นกันอยู่ที่ 4.7-4.8% แต่ยอดขายผู้ค้าปลีกยังขยายตัวได้อยู่

ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินผลกระทบจากเทรนด์ดังกล่าว “ผู้ค้าส่งจะเป็นกลุ่มที่ได้รับกระทบสูงที่สุด” เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มมองการปรับกลยุทธ์ขายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกมากขึ้น ด้าน “ผู้ค้าปลีกมีแนวโน้มที่จะถูกแข่งขันจากร้านค้าปลีกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก” ฉะนั้นโจทย์สำคัญของผู้ค้าปลีกและค้าส่ง คือ “จะทำอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้าและการบริการและเพิ่มช่องการขายออนไลน์มากขึ้นภายใต้ต้นทุนที่แข่งขันได้” เรามองว่ากลุ่มผู้ค้าส่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วงที่สุด ต้องเร่งปรับตัวด้วยการอาศัยจุดแข็งความได้เปรียบด้านสถานที่ตั้ง มีสถานที่เก็บสินค้าของตนเอง และมีความเชี่ยวชาญในระบบขนส่งสินค้า ซึ่งสามารถต่อยอดด้วยการนำเทคโนโลยีระบบการจัดการสินค้าคงคลังมาใช้เพื่อบริหารจัดการปริมาณสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้ค้าส่งอาจต้องพิจารณาเพิ่มช่องทางการขายปลีกของตนเองเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดมากขึ้น จะเห็นว่าธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ในวันนี้และพรุ่งนี้ “เป็นธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และจำเป็นต้องเร่งปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้”

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา (ขวา) กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พบปะหารือนายจอห์น รัทเทอร์ฟอร์ด (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายตลาดเงินภาครัฐ ธนาคาร แบงโค บิลเบา วิซคาญ่า อาร์เจนตาเรีย เอส.เอ. (บีบีวีเอ) หนึ่งในธนาคารระดับโลกที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศสเปน เกี่ยวกับแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองธนาคาร รวมทั้งการแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ในงานสัมมนาสำหรับนักลงทุนและผู้ออกตราสารหนี้ภาครัฐ ครั้งที่ 8 จัดโดยบีบีวีเอ ณ เมืองปอร์โต โปรตุเกส เมื่อเร็วๆ นี้

เคทีซี ร่วมกับ ยูเนี่ยนเพย์ สร้างประสบการณ์สุดประทับใจกับทุกการใช้จ่ายในจีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ยุโรป และทั่วโลก เปิดตัวบัตรเครดิต “เคทีซี ยูเนี่ยนเพย์” ครั้งแรกกับ 3 ประเภทบัตร: แพลทินัม / ไดมอนด์ และเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ คุ้มค่าด้วยสิทธิประโยชน์คะแนน KTC FOREVER สูงสุด 3 เท่า และรองรับการชำระเงินแบบ Contactless ที่ร้านค้าเครือข่ายยูเนี่ยนเพย์ทั่วโลก สมาชิกสมัครบัตรง่าย ไม่เสียค่าธรรมเนียม คาดสิ้นปีมีจำนวนสมาชิกไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เคทีซียึดแนวทางการทำธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับเรื่อง Customer Experience เป็นหลัก โดยระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่ใช้จ่ายผ่านบัตรในจีน ฮ่องกง  มาเก๊า และไต้หวัน ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เคทีซีก็ได้รับทราบถึงความไม่สะดวกสบายในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตในกลุ่มประเทศจีน จึงเป็นที่มาของการจับมือกันระหว่างเคทีซี และยูเนี่ยนเพย์ ผู้นำด้านเครือข่ายการชำระเงินระดับโลก  เปิดตัว “บัตรเครดิตเคทีซี     ยูเนี่ยนเพย์” เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สุดประทับใจให้กับสมาชิกเคทีซีที่เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศจีน ยุโรป และทั่วโลก ด้วย 3 ประเภทบัตรเครดิต ประกอบด้วย บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม (สำหรับผู้ที่มีรายได้ 15,000 บาทขึ้นไป) บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ (รายได้ 50,000 บาทขึ้นไป) และบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ (ได้รับเชิญเท่านั้น) โดยหน้าบัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทได้รับการออกแบบให้มีความแตกต่างบนพื้นฐานของความเป็นจีนสากลที่งดงาม

สำหรับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ จะได้รับสิทธิพิเศษสูงสุด x3 คะแนน KTC FOREVER ตามรายละเอียดดังนี้

  1. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม เป็นสกุลเงินท้องถิ่นที่จีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (CNY/HKD/MOP/TWD)
  2. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก
  3. รับ x2 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ เอเชีย      เพรสทีจ ไดมอนด์ เป็นเงินสกุลต่างประเทศทั่วโลก และรับ x3 คะแนน KTC FOREVER เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรที่ประเทศไทยในหมวดร้านอาหาร ช้อปปิ้ง และ/หรือท่องเที่ยวครบทุก 600,000 บาท
  • ส่วนลด และสิทธิพิเศษจากร้านอาหารชื่อดังกว่า 100 ร้านค้าทั่วประเทศไทย เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นเซน (Zen) ระหว่างวันที่1 มิถุนายน 2562 – 30 กันยายน 2562 /  ร้านไมเซน (Maisen) / ร้านอาหารเอส แอนด์ พี (S&P) และร้านวานิลลา (Vanilla Restaurant) เป็นต้น ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 พฤศจิกายน 2562

นายเหวินฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไป ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับยูเนี่ยนเพย์ เรามุ่งมั่นที่จะมอบสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับลูกค้าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของแคมเปญการตลาด การเป็นสปอนเซอร์กิจกรรมที่น่าสนใจ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การร่วมมือกับเคทีซีในครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ ยูเนี่ยนเพย์ เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ยูเนี่ยนเพย์เปิดตัวบัตรเครดิต 3 ประเภทพร้อมกันในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น บัตรเครดิตเคทีซี ยูเนี่ยนเพย์ ยังรองรับวิธีการชำระเงินที่ครอบคลุมตั้งแต่การชำระเงินออนไลน์ไปจนถึงการชำระเงินแบบ Contactless ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำความตั้งใจของเราในการสร้างความผูกพันกับกลุ่มผู้บริโภคไทยที่กว้างยิ่งขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย”

“การเปิดตัวครั้งนี้ยังนับเป็นครั้งแรกที่ผู้บริโภคไทยจะได้สัมผัสกับสิทธิประโยชน์เหนือระดับของ 2 ประเภทบัตรระดับพรีเมี่ยมของยูเนี่ยนเพย์ คือ บัตรเอเชีย เพรสทีจ ไดมอนด์ และบัตรไดมอนด์ โดยสมาชิกสามารถรับสิทธิพิเศษของยูเนี่ยนเพย์กว่า 1,000 รายการทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง U Collection ซึ่งรวบรวมสิทธิประโยชน์และส่วนลดบริการไลฟ์สไตล์สุดเอ็กซ์คลูซีฟทั่วโลก ครอบคลุมทั้งโรงแรมระดับ 5 ดาว ร้านค้าแบรนด์เนมชื่อดัง และร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ นอกจากนี้ บัตรเครดิตทั้ง 3 ประเภทยังจะช่วยให้ผู้บริโภคไทยสามารถใช้จ่ายอย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยได้ที่ร้านค้ากว่า 55 ล้านแห่งในเครือข่ายของยูเนี่ยนเพย์ รวมถึงการทำธุรกรรมที่ตู้เอทีเอ็ม 3 ล้านเครื่อง ใน 174 ประเทศและเขตการปกครองอีกด้วย”

“ยูเนี่ยนเพย์ มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่นการชำระเงินที่ทันสมัย และร่วมมือกับพันธมิตรที่มีความเข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาด เราเชื่อว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนสำคัญในการขยายฐานผู้ถือบัตรเครดิต และยอดการใช้จ่ายของลูกค้าไทย”

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC PHONE 02 123 5000 เว็บไซต์ www.ktc.co.th หรือสมัครบัตรเครดิตได้ที่ศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือคลิกลิงค์เพื่อสมัครบัตรเครดิตได้ที่นี่: http://bit.ly/2FnvYSj #สุขไม่จำกัด กับบัตรเคทีซี

Page 1 of 7
X

Right Click

No right click