หัวเว่ยและสมาคมปัญญาประดิษฐ์ ร่วมปิดโครงการ Super AI Engineer Season 2 อย่างจัดเต็ม

November 10, 2022 1243

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ร่วมจับมือกันในโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” รอบตัดสิน

พร้อมประกาศผู้ชนะจากโครงการ ส่งมอบรางวัลเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาท และต่อยอดความร่วมมือสู่ปีที่ 3 เพื่อความต่อเนื่องของแนวคิดการส่งเสริมอีโคซิสเต็มของนักพัฒนาไทย เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และรองรับการก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของประเทศไทย

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงพิธีประกาศผู้ชนะในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล “Super AI Engineer Season 2” ครั้งนี้ว่า “ในนามของบริษัทหัวเว่ย ผมต้องขอขอบคุณพาร์ทเนอร์จากภาคการศึกษา รวมถึงสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย ที่ได้ให้เกียรติหัวเว่ยในการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย โดยหัวเว่ยได้สนับสนุนใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับโลก เพื่อช่วยยกระดับความสามารถและให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้แก่บุคลากรไทย อีกด้านคือเราได้สนับสนุนบริการหัวเว่ยคลาวด์ของเราให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโครงการฝึกอบรม เนื่องจากเทคโนโลยีคลาวด์มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้พัฒนา AI และคลาวด์ของหัวเว่ยก็มีประสิทธิภาพสูงและมีมาตรฐานระดับโลก สามารถใช้ทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยค่าความหน่วง

เขากล่าวเสริมว่าการพัฒนาเทคโนโลยี AI เปรียบเสมือนการทดลองสร้างไอเดีย โดยเทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีค่า OPEX (ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแล้วจ่ายเลยในครั้งเดียว) ที่ต่ำ ช่วยให้การทดลองสร้าง AI ในแต่ละครั้งมีต้นทุนต่ำ หากการทดลองประสบความสำเร็จก็จะสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่หากไอเดียดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ไม่สามารถไป ต่อได้ ต้นทุนที่เสียไปในการทดลองก็ค่อนข้างน้อย โดยทุกวันนี้ เทคโนโลยีถือเป็นพื้นฐานในทุกๆ ด้าน เทคโนโลยีคลาวด์ และ AI มีความพร้อมเป็นอย่างยิ่งที่จะรองรับการนำไปพัฒนาต่อยอด โดยในแต่ละปี หัวเว่ยจัดงบประมาณการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเอาไว้เป็นจำนวนมาก โดยมีมูลค่าสูงถึง 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาบุคลากร โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อนของประเทศไทยผ่านการสนับสนุนบุคลากรไทยให้นำไอเดียเหล่านี้มาต่อยอด เพื่อสร้างให้เกิดตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ถือเป็นหนึ่งในพลังสำคัญและตรงกับพันธกิจของหัวเว่ยที่ต้องการผลักดันประเทศไทยให้ก้าวขึ้นเป็นดิจิทัลฮับแห่งภูมิภาค

นายเทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการ Super AI Engineer Season 2 ว่า “ในฐานะตัวแทนของสมาคม ผมต้องขอขอบคุณทางหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนคลาวด์เซอร์วิสให้ผู้เข้าอบรมในการใช้ทำโจทย์ของโครงการทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับโครงการฝึกอบรมด้าน AI เพราะการประมวลผล AI ใช้ทรัพยากรมหาศาล จำเป็นต้องพึ่งการทำงานบนคลาวด์ เพื่อให้น้องๆ ในโครงการทำงานได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยยังใช้งานง่าย ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้เร็วมาก ทั้งยังมีค่าความหน่วง (Latency) ต่ำ ซึ่งถือว่าจำเป็นอย่างมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานในภาคสาธารณสุขและภาคอุตสาหกรรมการผลิต นอกจากนี้ การสนับสนุนหัวเว่ยเครดิตของบริการหัวเว่ย คลาวด์ มูลค่า 2.2 ล้านบาทให้แก่โครงการ และรางวัลแก่ผู้ชนะเป็นคลาวด์เครดิตมูลค่า 150,000 บาทยังช่วยทำให้พวกเขาสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจได้ทันที และช่วยประหยัดต้นทุนได้

ทั้งนี้  อุปนายก สมาคมปัญญาประดิษฐ์ ฯ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าทางสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการหารือกับหัวเว่ยเพื่อต่อยอดความร่วมมือสำหรับโครงการฝึกอบรม Super AI Engineer ปีที่ 3 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าฝึกอบรมในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งทางสมาคมจะต่อยอดการสนับสนุนทางด้านบุคลากรและองค์ความรู้จากหัวเว่ย เพื่อให้ช่วยฝึกอบรมด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในระดับโลกให้แก่บุคลากรด้านไอทีในประเทศไทย โดยปัจจุบัน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ในประเทศไทยยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แม้จะมีการเติบโตในกลุ่มสาขา Data Science ในอุตสาหกรรมการเงิน ด้าน Image Processing และด้าน NLP สำหรับการพัฒนาแชทบอท แต่บุคลากรด้านนี้ก็ยังถือว่ามีจำนวนน้อย

สำหรับผู้ชนะเลิศในโครงการ Super AI Engineer Season 2 ได้แก่นายพรระติชัย ไวโรจนะพุทธะ ซีอีโอของสตาร์ทอัพ Indezy โดยโครงการที่ชนะการประกวดคือการออกแบบระบบ AI ของหุ่นยนต์ส่งสินค้าสำหรับคอยเติมสินค้าที่ขาด บนชั้นวางจำหน่ายสินค้าในร้าน True Shop โดยเขายังให้ข้อมูลว่าเทคโนโลยีคลาวด์ของหัวเว่ยมีจุดแข็งในด้านความเร็วและ ความง่ายในการใช้งานที่เหนือกว่าบริการคลาวด์ของแบรนด์อื่นๆ เขายังกล่าวขอบคุณหัวเว่ยที่ช่วยสนับสนุนให้คอมมูนิตี้

เทคโนโลยี Machine learning และ AI ในประเทศไทยให้ก้าวไปได้ไกลขึ้น ทำให้อีโคซิสเต็มของคอมมูนิตี้แข็งแกร่งขึ้น และทำให้นักพัฒนาในไทยมีแรงบันดาลใจที่จะออกมาตามหาความฝันต่อไป

โครงการฝึกอบรม Super AI Engineer มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมเป็นจำนวน 2,500 คนในปีแรก และในปีนี้ (ซีซั่น 2) มีจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมและแข่งขันทั้งหมด 5,700 คน ซึ่งหลังจากการประกาศรับสมัคร ผู้เข้าร่วมโครงการจะถูกคัดเลือกเหลือเพียง 200 คน จากนั้นจะเหลือ 10 คนเพื่อแข่งขันแบบเรียลลิตี้ และค้นหาผู้ชนะการแข่งขัน 1 คนสุดท้าย โดยค่ายการอบรมแรกเป็นการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ค่ายที่สองเป็นการฝึกอบรมนอกสถานที่ซึ่งจะมีโจทย์มาให้ทำไม่ซ้ำกันทุกสัปดาห์ จากทางสมาคมและบริษัทเอกชน ส่วนค่ายการฝึกอบรมที่สามจะเป็นการส่งตัวแทนเข้าไปปฏิบัติงานในบริษัทเอกชนเพื่อ สั่งสมประสบการณ์การทำงานในสถานการณ์จริง

X

Right Click

No right click