January 22, 2025

SCGP เสริมธุรกิจด้วยกลยุทธ์ ESG เพื่อขับเคลื่อนองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Megatrends) ชูการรับรองคาร์บอนฟุตพรินท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) การพัฒนา Private declaration Label เพื่อระบุปริมาณ CFP บนผลิตภัณฑ์ พร้อม “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ช่วยคำนวณปริมาณปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างรวดเร็ว เสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 ของลูกค้า เพิ่มโอกาสธุรกิจและเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทย ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027 

 

นายวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ เทคโนโลยี รวมถึงสภาพภูมิอากาศ  SCGP ได้ทรานส์ฟอร์มธุรกิจในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง ไปพร้อมกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การพัฒนาพนักงานให้พร้อมรับทุกสถานการณ์ การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการตรงใจลูกค้า และอีกหนึ่งการทรานส์ฟอร์มที่ SCGP ให้ความสำคัญ คือ “Sustainability Transformation” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยแนวคิด Inclusive Green Growth ที่เพิ่มการมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ผ่านการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  

SCGP ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีแผนการลดก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการต่าง ๆ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน การพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการสนับสนุนคู่ค้าและลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งห่วงโซ่คุณค่า เพื่อร่วมลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

SCGP ยังเล็งเห็นว่า การผลิตบรรจุภัณฑ์ของบริษัทถือเป็น Scope 3 ของลูกค้าซึ่งเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงได้ทุ่มเทความพยายามและร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ในการพัฒนาแนวทางและวิธีการ เพื่อขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมศักยภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้า ทำให้ล่าสุด SCGP ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผลสำเร็จ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำนวน 128 ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกระบวนการพิมพ์และการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าบรรจุภัณฑ์กระดาษ  

นอกจากนี้ SCGP ยังได้พัฒนา ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label) เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ ที่แม่นยำ ง่าย และรวดเร็ว เพื่อเป็นโซลูชันให้กับลูกค้า สามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย พร้อมกับเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารอ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย 

“SCGP เดินหน้าการดำเนินธุรกิจตามกรอบแนวคิด ESG มุ่งพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับผู้ที่อยู่ในห่วงโซ่คุณค่าเติบโตไปพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Inclusive Green Growth) รวมถึงการศึกษาและติดตามสถานการณ์ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับมาตรการใหม่ (New Regulations) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนานวัตกรรมและโซลูชันที่จะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน” นายวิชาญ กล่าว 

เผยในฐานะ Green University เตรียมตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา-รับรองด้านก๊าซเรือนกระจก พร้อมให้คำปรึกษาฟรี! ปี 67

งานวิจัยโดย The Circulate Initiative ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหามลพิษจากพลาสติกในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ได้เผยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการกำจัดขยะพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

รายงานเรื่อง "ประโยชน์ในด้านสภาพภูมิอากาศจากการกำจัดขยะในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" รายงานถึงศักยภาพของการลงทุนเพื่อกำจัดและรีไซเคิลขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพใน 6 ประเทศของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอ้างอิงข้อมูลล่าสุดจากเครื่องมือคำนวณวงจรชีวิตพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (PLACES) ฉบับล่าสุดที่จัดทำโดย The Circulate Initiative ซึ่งเป็นการคำนวณเพื่อติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนปริมาณพลังงานและน้ำที่ใช้สำหรับการจัดการและรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเครื่องมือคำนวณซึ่งเป็นเครื่องมือแรกที่เปิดให้สาธารณชนเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

การที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาด้านมลพิษพลาสติกมากที่สุดนั้นเป็นผลมาจากการขาดโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะ ด้วยเหตุนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกต้องจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อจัดการกับปัญหามลพิษพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นสำคัญ ประกอบไปด้วย

● หากสามารถรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องในประเทศไทยได้ทั้งหมดภายในปี 2573 จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 27.9 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการลดจำนวนรถยนต์กว่า 6.2 ล้านคันจากท้องถนนในหนึ่งปี

● 85% ของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในประเทศไทยเกิดจากการเผาขยะในที่โล่งและในโรงเผาขยะ หากเปลี่ยนการกำจัดขยะจำนวน 1 ตันจากจากการเผาในที่โล่ง ไปสู่การคัดแยกขยะและรีไซเคิลอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 3 ตัน

● หากประเทศไทยยังคงกำจัดขยะพลาสติกด้วยการเผาขยะและการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน จะทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 3.3 ล้านตันภายในปี 2573 ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้โดยการใช้โซลูชันการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล

นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยว่า การรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ถูกกำจัดอย่างไม่ถูกต้องในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม รวมกันจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 229 ล้านตันภายในปี 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 61 แห่งเป็นเวลาหนึ่งปี

เครื่องมือ PLACES ได้รับความร่วมมือในการพัฒนากับหน่วยงาน Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) ในสิงคโปร์เพื่อดำเนินโครงการในอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อีกทั้งยังมีข้อมูลที่อัปเดตสำหรับการดำเนินงานในอินเดียและอินโดนีเซีย ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตแห่งสิงคโปร์ (SIMTech) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ A*STAR ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยด้านการศึกษาและประเมินปริมาณของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ขั้นตอนการเดินทางของขยะพลาสติกที่สิ้นอายุการใช้งานแล้ว

นับตั้งแต่เปิดใช้งานในปี 2564 เครื่องมือ PLACES ได้รับความไว้วางใจจากบริษัทต่าง ๆ นักลงทุน นักรีไซเคิล ผู้ให้บริการกำจัดขยะ และนักวางผังเมือง ในการผลิตข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเชิงลึกเพื่อนำไปใช้ในการวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการกำจัดและรีไซเคิลขยะ

นายอุเมช มาดาวาน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ The Circulate Initiative กล่าวว่า “การเจรจาเพื่อบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับมลพิษจากพลาสติกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทุกฝ่ายเล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น โดยผลการวิจัยของเราสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการลงทุนในการกำจัดและรีไซเคิลขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหามลพิษพลาสติกและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ไปพร้อม ๆ กัน”

“การนำเครื่องมือ PLACES มาใช้ให้ครอบคลุมจำนวนประเทศเพิ่มขึ้นจะช่วยสนับสนุนให้นักลงทุนหลากหลายประเภท รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่น และองค์กรธุรกิจในภูมิภาคสามารถประเมินโอกาสด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนของพลาสติกที่ขึ้นอยู่กับปริมาณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” นายอุเมช กล่าวสรุป

ยูโอบีประกาศคำมั่นที่ท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 หรือปีพ.ศ. 2593

กลุ่มอลิอันซ์ บริษัทผู้ถือหุ้นหลักของ อลิอันซ์ อยุธยา เร่งดำเนินกลยุทธ์รับมือปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก (climate Change)

Page 1 of 2
X

Right Click

No right click