January 22, 2025
×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 813

Coursera Inc. (NYSE: COUR) แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชั้นนำ ประกาศเปิดตัวเส้นทางการศึกษาระดับปริญญาแบบใหม่, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ 8 หลักสูตร, ใบรับรองความรู้ด้าน GenAI 20 หลักสูตร รวมไปถึงความเชี่ยวชาญพิเศษและเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในงาน Coursera Connect ประจำปี 2024 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพฯ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2568 การพัฒนาในครั้งนี้สนับสนุนนโยบายเกี่ยวกับ AI ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ของประเทศไทย โดยส่งเสริม 'การศึกษา 6.0' ผลักดันให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ บูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงและถ่ายทอดทักษะที่สำคัญ เพื่อเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับความต้องการของยุคดิจิทัล

Coursera ยังได้ต้อนรับพันธมิตรมหาวิทยาลัยชื่อดัง 4 รายอย่างเป็นทางการ อาทิ Saïd Business School - มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ IMD Business School รวมไปถึงบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรม 5 บริษัท ได้แก่ Airbus Beyond, Amazon และ Xbox การร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ผู้เรียนในไทยสามารถเข้าถึงเนื้อหาคุณภาพสูงที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

 

คุณรากาฟ กุปตา กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Coursera กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น มุ่งเน้นไปที่การสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลและปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต Coursera มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นี้โดยมอบทักษะที่จำเป็น เครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI ประกาศนียบัตรและใบรับรองที่เป็นที่ยอมรับระดับโลกซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตในตลาดงานที่มีการแข่งขันสูงให้แก่ผู้เรียนและสถาบันต่าง ๆ โดยเป้าหมายของเราคือการส่งเสริมบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อร่วมพัฒนาและกำหนดทิศทางอนาคตด้านดิจิทัลของประเทศไทย”

โดยประกาศใหม่จาก Coursera ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย:

● เส้นทางการเรียนปริญญาหลักสูตรใหม่จาก University of London (UoL): โปรแกรม International Foundation Programme (IFP) ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะช่วยมอบทักษะพื้นฐานในวิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และการเขียนโปรแกรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะมีประสบการณ์การศึกษาหรือการทำงานมาก่อนหรือไม่ก็ตาม และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีแบบออนไลน์ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of London ได้โดยตรง

● ประกาศนียบัตรวิชาชีพใหม่ 8 หลักสูตร ที่จะช่วยให้ผู้เรียนชาวไทยเรียนรู้หรือต่อยอดในสายอาชีพที่มีความต้องการสูง: ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักวิเคราะห์ค่าตอบแทนและสวัสดิการ จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้าน Payroll จาก ADP ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับจูเนียร์ จาก Amazon ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านวิศวกรรมข้อมูล จาก DeepLearning.AI และ AWS ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพด้านการออกแบบเกม จาก Epic Games ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ iOS และ Android จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับ Program Manager จาก IBM ○ ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับเริ่มต้นสำหรับนักประชาสัมพันธ์และการสื่อสาร จาก Microsoft ● ใบรับรองวิชาชีพระดับเริ่มต้น 6 หลักสูตรจาก Google ได้แก่ Google Cybersecurity, Google Data Analytics, Google Digital Marketing & E-commerce, Google IT Support, Google Project Management และ Google UX Design โดยหลักสูตรทั้งหมดได้รับการพัฒนาด้วยการอัปเดตจาก GenAI พร้อมมอบการฝึกอบรมด้าน AI ที่สามารถนำไปใช้ได้ได้จริงจากผู้เชี่ยวชาญของ Google

● หลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะทางแบบใหม่จาก IBM และ Microsoft มอบทักษะ GenAI ที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละอาชีพ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำ AI มาใช้ในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้:

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของ IBM ครอบคลุมอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นักวิเคราะห์ BI, ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักวิทยาศาสตร์ทางข้อมูล, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยจะเน้นที่การใช้ศักยภาพของ GenAI ในหน้าที่งานต่าง ๆ

○ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน Copilot ของ Microsoft ที่จะสอนการผสมผสาน AI ให้เข้ากับงานประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักสูตรต่างๆ เช่น Microsoft Copilot สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล, การตลาด, การขาย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ● การพัฒนาของ Coursera Coach ที่ใช้ AI เพื่อมอบประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นส่วนตัวและโต้ตอบได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ดียิ่งกว่าเดิม:

○ ระหว่างนักเรียนและครูในประเทศไทย โดย Coach จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสมือน โดยให้คำแนะนำส่วนบุคคล คำตอบ และสรุปวิดีโอบรรยายเป็นภาษาท้องถิ่น

○ Coach for career guidance: ภายในสิ้นปี Coach จะช่วยให้ผู้เรียนสำรวจเส้นทางอาชีพและระบุทักษะที่สามารถถ่ายทอดได้ไปยังเส้นทางการเรียนรู้หรืออาชีพอื่นได้ พร้อมทั้งแนะนำเส้นทางการเรียนรู้ที่ปรับแต่งตามประสบการณ์และเป้าหมายของผู้เรียน

○ Coach for interactive instruction: ปัจจุบันผู้สอนสามารถใช้ Coach เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่สมจริง โดยเริ่มจากบทสนทนาแบบ Socratic หรือการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามด้วยการโต้ตอบแบบข้อความ ผู้สอนสามารถระบุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ สไตล์การสอน และเกณฑ์การประเมินได้ ผ่านการใช้แนวทางการสอนและเนื้อหาหลักสูตรที่ดีที่สุดของ Coursera โดยมี Google Gemini เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ตัวแรกที่ขับเคลื่อนฟีเจอร์นี้\

● เพิ่มหลักสูตรเนื้อหาภาษาไทยถึงสองเท่า: ปัจจุบันมีหลักสูตรที่แปลเป็นภาษาไทยกว่า 4,700 หลักสูตร สำหรับผู้เรียนรายบุคคลและภายในองค์กร โดยจำนวนหลักสูตรภาษาไทยเพิ่มขึ้นจาก 2,000 หลักสูตรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

● ความร่วมมือใหม่ครั้งใหม่กับ PWC ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ธนาคารกสิกรไทย, บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ และเซ็นทรัล รีเทล

คุณวรวัจน์ สุวคนธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนา “ทักษะการเรียนรู้” สำหรับทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับทักษะของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ผ่านแพลตฟอร์ม Coursera ตั้งแต่ปี 2561 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Coursera เพื่อสร้างหลักสูตรภาษาไทย ขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กว้างไกลออกไปนอกแพลตฟอร์ม และยกระดับการศึกษาในประเทศไทยผ่านโครงการ CSR ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียนกว่า 4,000 คน และเร็วๆ นี้ SCB Academy จะเปิดตัวโปรแกรมการเรียนรู้แบบครอบคลุมทั่วประเทศ โดยผสมผสานเวิร์กช็อปแบบโต้ตอบและจัดกิจกรรมในสถานที่จริงตามหลักสูตร “Learning How to Learn” ของ Coursera ซึ่งมุ่งเน้นการเสริมทักษะที่จำเป็นให้กับผู้สอน นอกจากนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังมีแผนที่จะร่วมมือกับดร. บาร์บารา โอ๊คลีย์ เพื่อแปลหลักสูตร “Accelerate Your Learning with ChatGPT” เป็นภาษาไทยภายในปี 2568 โดยใช้ประโยชน์จาก AI เชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการศึกษาของไทย

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ภายในปี 2568 ประมาณ 30% ขององค์กรธุรกิจข้ามชาติจะประสบกับการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์หรือการดำเนินการทางด้านกฎหมาย อันเกิดจากความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) ที่ไม่ได้รับการจัดการ

ไบรอัน เพรนติส รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ช่วง 30 ปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจข้ามชาติบริหารธุรกิจโดยประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศที่เข้ามาเปิดกิจการ แต่ปัจจุบันองค์กรเหล่านี้จำเป็นต้องขยายความเสี่ยงด้านอธิปไตย (หรือ Sovereign Risk) ให้ครอบคลุมด้านดิจิทัลเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากการใช้งานดิจิทัลแบบต่างคนต่างใช้และกระจัดกระจายมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค”

การ์ทเนอร์ระบุว่าอธิปไตยทางดิจิทัล (หรือ Digital Sovereignty) คือ ความสามารถรัฐบาลในการตระหนักถึงนโยบายที่ไม่เป็นอุปสรรคอันเกิดจากกฎระเบียบดิจิทัลของรัฐบาลต่างประเทศที่มีผลโดยตรงต่อพลเมืองและธุรกิจที่มีภูมิลำเนาอยู่ รวมถึงนโยบายที่ดำเนินการผ่านบริษัทดิจิทัลรายใหญ่ภายใต้การควบคุมของกฎระเบียบ

ขณะที่หลากหลายประเทศดำเนินกลยุทธ์ Sovereign Digital มากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือภาระผูกพันด้านกฎระเบียบข้ามเขตอำนาจศาล ข้อจำกัดด้านภาษี การห้ามนำเข้า/ส่งออก มาตรการทางเทคโนโลยีเฉพาะระดับประเทศและข้อกำหนดด้านเนื้อหาของท้องถิ่นที่ซับซ้อน เนื่องจากดิจิทัลมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล (Digital Sovereign Risk) และผลกระทบต่อเงื่อนไขทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์ชูประเด็นสำคัญ 3 ประการที่ได้รับผลกระทบมาจาก Digital Sovereign Risk ซึ่งต้องจัดการเพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ ความเสียหายต่อแบรนด์ หรือการดำเนินการทางกฎหมาย ไว้ดังนี้

1. ความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลที่ส่งผลต่อลูกค้าองค์กรข้ามชาติของผู้ให้บริการเทคโนโลยี

การหยุดชะงักส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกลยุทธ์ Sovereign Digital ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของผู้ให้บริการเทคโนโลยี โดยการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกำลังส่งผลกระทบต่อภาคเทคโนโลยีและผู้ให้บริการเฉพาะ อาทิ ด้านข้อจำกัดของซัพพลายเออร์ 5G อย่าง Huawei หรือ Nokia ซึ่งอาจเป็นผลมาจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้น เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับชาติ หรือรับมือต่อเหตุการณ์ฉับพลันทางภูมิรัฐศาสตร์

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่าวิธีการที่ผู้ให้บริการเทคโนโลยีรับมือกับความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัลจะสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจข้ามชาติ โดยองค์กรต้องพิจารณาผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่สำคัญไว้เป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่กว้างขึ้น และประเมินแบบเชิงรุกพร้อมลดความเสี่ยงอธิปไตยทางดิจิทัล

2. การสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกขัดขวางหากไม่ได้รับการปรับให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อความมุ่งมั่นสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ความพยายามในการผลิตเทคโนโลยี/นวัตกรรมดิจิทัลจะผลักดันองค์กรต่าง ๆ ไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ดิจิทัลแบบแยกส่วน ซึ่งตลาดที่เผชิญกับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเหล่านี้บ่อยครั้งจะมีผลกำไรและขาดทุน (Profit & Loss) เป็นของตนเอง หากพบตลาดที่อื่น ๆ นอกเหนือจากประเทศต้นทางขององค์กร การ์ทเนอร์ขอแนะนำให้ใช้ขั้นตอนจัดการ Digital Sovereign Risk ที่เกี่ยวกับแต่ละผลิตภัณฑ์ดิจิทัล

จำเป็นต้องปรับแต่งผลิตภัณฑ์เป็นท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องและปรับให้เข้ากับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ ควบคู่ไปกับด้านวัฒนธรรมและภาษาของลูกค้าในตลาดเฉพาะ เป็นไปในทิศทางที่ต่างกันตามมาตรฐานเทคโนโลยีในระดับประเทศ ระเบียบการที่รัฐสนับสนุน และกรอบการทำงานที่ภาครัฐฯ ส่งเสริม ซึ่งล้วนเพิ่มน้ำหนักการตัดสินใจที่จำเป็นในการผลิตผลิตภัณฑ์ดิจิทัลที่จะให้บริการในตลาดหลายแห่ง

3. ธุรกิจดิจิทัลจะอยู่ในสถานการณ์ลำบากท่ามกลางการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล

ขณะที่องค์กรขยายเป้าหมายดิจิทัลและกลายเป็นธุรกิจดิจิทัล องค์กรจะต้องรับมือกับข้อขัดแย้งของตลาดเสรีดิจิทัลในวงกว้าง เช่นเดียวกับผู้ให้บริการเทคโนโลยี ทำให้อยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ดิจิทัล ซึ่งกระทบต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ

การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารระดับสูงด้านความเสี่ยง (Chief Risk Officers หรือ CRO) ทำความเข้าใจกับเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่เช่นนั้นจะประสบปัญหาในการขยายขอบเขต วัตถุประสงค์ และผลกระทบการดำเนินงานจากปัจจัยต่าง ๆ ของ Digital Sovereign Risk ที่มีต่อองค์กร

ทุกอุตสาหกรรม ถูกเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้น เช่นเดียวกับวงการโฆษณา ที่มี ดร.ศุภชัย ปาจริยานนท์ หรือ หมอคิด ผู้บริหารหนุ่มที่เป็นคลื่นลูกใหม่มากด้วยประสบการณ์ความรู้ และความสามารถอันน่าติดตามถึงวิสัยทัศน์ และแนวคิดที่โดดเด่นทำให้ก้าวสู่บทบาทผู้นำได้อย่างรวดเร็ว

จากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับโลกจิทัลของหมวกใบแรก คือ การบริหารธุรกิจบริษัทดิจิทัลเอเจนซี ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ MCFiva Thailand จำกัด และหมวกอีกใบ ในตำแหน่งนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล จึงได้นำมาแบ่งปัน มุมมองการเป็นผู้บริหารในอุตสาหกรรมโฆษณาดิจิทัล ที่ต้องมีการปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงให้นิตยสาร MBA ว่า โจทย์สำคัญของการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ที่เป็นหัวใจซึ่งผู้นำธุรกิจในวันนี้ต้องมี คือ ตอบให้ได้ว่า “จะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเรามีความเชื่อมโยง หรือ relevance กับโลกดิจิทัล”

เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนไปอย่างมาก ให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น เฟสบุ๊ค หรือทวิตเตอร์  มีจุดเด่นที่ทำให้สามารถติดตามเรื่องราวของเพื่อนได้ เมื่อใช้จะรู้สึกได้ว่ามีความสัมพันธ์กัน นั่นคือมีความเชื่อมโยง ยิ่งพฤติกรรมผู้คนในปัจจุบันมีลักษณะ On the go กดโทรศัพท์ ต้องมีการอัพเดทรับรู้ข่าวสารตลอดเวลาว่ามีเหตุการณ์อะไรจะต้องปรับตัวอย่างไร

 ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องย้อนกลับไปมองว่า ธุรกิจของเรามีความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับโลกดิจิตอลหรือไม่

กรณีอย่างเช่น แอพพลิเคชั่น GRAB หรือ UBER ก็มีความความเชื่อมโยง เพราะเป็นระบบการให้บริการเรียกรถแท็กซี่ผ่านสมาร์ทโฟน เช่นเดียวกับการปรับตัวของธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ที่วันนี้เมื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น คนเดินเข้าร้านหนังสือมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด แม้ในกรณีสื่อโทรทัศน์ก็ได้รับผลกระทบด้วย เพราะจากในอดีตที่แอร์ไทม์เป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ทุกคนต้องแย่งกัน เมื่อวันนี้เป็นการเปิดเสรีจาก 5 ช่องมีถึง 24 ช่อง ทลายข้อจำกัดเดิม จึงเป็นความท้าทายใหม่ในการสร้าง การเชื่อมโยงของช่องกับผู้บริโภคอีกเช่นกัน

 

 

การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเอเจนซี

นับว่ากระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโทรทัศน์นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาโดยตรงและอย่างรุนแรง

หมอคิด เล่าถึงธุรกิจเอเยนซีโฆษณาว่า ในอดีตบางบริษัทฯ จะกำหนดบทบาทเน้นเรื่องของครีเอทีฟ ทำหนังโฆษณา ซึ่งเป็นที่นิยมมาก แต่ปัจจุบันเมื่อเจ้าของแบรนด์ลดปริมาณการทำหนังโฆษณาลง เพราะผู้บริโภคดูโทรทัศน์น้อยลง จากหลายทางเลือกของสื่อโฆษณาอื่นและการดู on demand จากสมาร์ทโฟน  ซึ่งนอกจากจะเป็นความท้าทายของช่องเพื่อสร้าง relevance กับคนยุคใหม่แล้วนั้น การลดจำนวนหนังโฆษณา ก็ถือเป็นความท้าทายให้กับครีเอทีฟเอเจนซี่  

ฝั่งของมีเดียเอเจนซี จากในอดีตที่สื่อมีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีคนกลางในการติดต่อประสานงาน แต่วันนี้ภาพเปลี่ยนไป การติดต่อกับมีเดียที่เป็นดิจิทัลสามารถทำได้ในคลิกเดียว มีเดียเอเจนซีจึงต้องทำให้ตนเองมีบทบาทมากขึ้นกับลูกค้า การค้นหา relevancy จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในทุกธุรกิจ

“ แบรนด์ยักษ์ใหญ่เล็งเห็นเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจโทรคมนาคม ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน ใน 5 ปีที่ผ่านมาคือรายได้ของบริการ Voice เติบโตช้าลงจากที่คาดการณ์ ในขณะที่บริการ Non voice การใช้ Data มีอัตราการขยายอย่างต่อเนื่อง โอเปอร์เรเตอร์จึงต้องหันมามองว่า จะขับเคลื่อนอย่างไรให้ Non voice เติบโต มีการทำคอนเทนต์ให้คนเข้าไปเสพ มีแอพพลิเคชั่นเพิ่มมากขึ้น”

เห็นได้ชัดว่ามีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นอย่างมากมายในวงการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมแรกๆ  ที่โอเปอร์เรเตอร์ทุกรายหันมาทำ เมื่อมีคอนเทนต์มากขึ้น คนก็บริโภคข้อมูล (Data) มากขึ้น นั่นคือหนทางรอด จากนั้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมที่มองเห็นวิกฤติ และมีการปรับตัวคืออุตสาหกรรมไฟแนนซ์และแบงก์กิ้ง ทำให้เราได้รู้จัก FinTech ที่วันนี้ทุกธนาคารหันมาทำ เพื่อสร้าง ความเชื่อมโยงกับโลกดิจิทัล

“ ต้องทำความเข้าใจว่าเมื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนมากขึ้น ตัวกลางที่ไม่มี Value จะถูกกำจัดออกไปจาก Ecosystem ซึ่งธนาคารมองเห็นถึงภาพนี้ จึงต้องมีการปรับตัว”

 

ชี้ชัด “ความเปลี่ยนแปลง” มากขึ้นแบบคงที่

แนวโน้มที่จะขึ้นหลังจากนี้ไปนั้น หมอคิด กล่าวว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะเข้ามาแบบถาโถม ไม่ต่างจากในปัจจุบัน ทั้งข้อมูลต่างๆที่มีมหาศาล แอพพลิเคชั่น และคอนเทนต์ ซึ่งจำนวนจะทวีคูณไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ เรื่องใหม่ๆจะเกิดขึ้นมาทุกวัน และไม่รู้จบ จึงไม่ควรต้องแปลกใจอีกต่อไป

ในบทบาทผู้นำองค์กร ต้องมีการปรับตัว โดยเริ่มตั้งแต่ในระดับองค์กร คือ วัฒนธรรมองค์กร (Culture) ต้องมีการปรับให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างจากวัฒนธรรมองค์กรของเฟสบุ๊คคือ “Move Fast and Break things”  ซึ่งเป็นนิยามที่ชัดเจน เพราะเมื่อเราเคลื่อนตัวเร็ว จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดความเสียหายไปบ้าง  แต่ต้องเข้าใจถึงความจำเป็น เพราะปัจจุบันไม่ใช่ยุคของ Economy of Scale หรือปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่เป็นยุคของ Economy of Speed คือปลาเร็วกินปลาช้า  

 

 

วิธีคิดของผู้บริหารในยุคใหม่

การเปลี่ยนวัฒนธรรม (Culture) ขององค์กร ต้องเริ่มจากการเปลี่ยนกระบวนการทางความคิด หรือ Mindset ของผู้บริหาร สิ่งที่ผู้บริหารยุคปัจจุบันควรจะเป็น คือ Prefer Risk over safety กล่าวง่ายก้าวอย่างระมัดระวัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องปรับมุมคิดอย่างมาก ระบบการตรวจสอบแบบเดิมที่องค์กรใหญ่ต้องมีนั้นเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน Audit, Due Diligence (การสอบทานธุรกิจ) , Compliance (ดูแลการปฏิบัติงาน) แต่ต้องมองถึงวิธีการที่จะทำให้รวดเร็วมากขึ้น ไม่ติดกับระบบกึ่งราชการแบบเดิมๆ (Bureaucracy )

ปัจจุบันต้นทุนของนวัตกรรมลดลงอย่างรวดเร็วมาก หากผู้บริหารยังมี Mindset แบบเดิม จะทำให้ทั้งองค์กรช้าและไม่ทันอุตสาหกรรม  นอกจากนี้โดยปกติผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดในองค์กรมักจะเป็นผู้ตัดสินใจ (HIPPO – Highest paid person’s opinion) ซึ่งในยุคนี้ไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง

แต่ยุคนี้เป็นยุคของการใช้ข้อมูล เพื่อเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ โดยผู้บริหารปรับบทบาทเป็นพี่เลี้ยง (Facilitator) และคนในทีมช่วยกันกำหนดทิศทางโดยใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์

ประการสุดท้ายคือผู้บริหารต้องเป็นผู้ริเริ่มและลงมือทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การทำให้เกิดขึ้นจริง จะทำให้ทุกคนในองค์กรรับรู้ได้ ไม่ใช่เพียงแต่ประชุม และสั่งการลงไป

 

Partner บน Goal เดียวกัน

เช่นเดียวกับในองค์กรของ หมอคิด กล่าวว่าได้คุยกับคนในองค์กรถึงการมอง ธุรกิจของเรามีความเชื่อมโยงกับโลกดิจิทัลอย่างไรในสถานการณ์วันนี้ ด้วยธุรกิจหลักที่เป็นเอเจนซี และแม้จะมีความโดดเด่นทางด้านดิจิทัล แต่การจะทำให้ดีได้นั้น อยู่ที่คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า และเป็นสิ่งที่ทำให้อยู่รอดได้ เมื่อมามองถึง relevance กับลูกค้า ก็ได้เปลี่ยนมุมมองจาก “ผู้ให้บริการ”  มาเป็น  พันธมิตรทางธุรกิจ หรือ Partner กับลูกค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน 

“ การใช้คำว่า Partner อาจฟังดูง่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป แต่ถ้าจะมองอย่างจริงจัง เอเจนซีที่กล่าวว่าเป็น Partner กับลูกค้า อาจไม่มี Goal เดียวกันเสมอไป เพราะเป้าหมายของทั้งสองฝ่ายคือทำกำไรสูงสุด ซึ่งขัดกันเองตั้งแต่ต้น จึงต้องเปลี่ยนภาพและ Business Model ว่าจะทำอย่างไรที่จะมีกำไร บนเป้าหมายเดียวกัน ”

กรณีผลงานใน 2560  ที่ได้เริ่มก่อตั้ง “RISE สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรและสตาร์ทอัพ ซึ่งมีจุดเด่น คือ สามารถสร้าง Relevance กับลูกค้าได้ด้วยนวัตกรรม และลูกค้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์ก็สามารถส่งมอบนวัตกรรมไปยังผู้บริโภค เพื่อสร้างความสัมพันธ์ได้ โดยได้เริ่มดำเนินการกับ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ตั้งศูนย์เร่งสปีดนวัตกรรม FinTech เป็นแห่งแรกในประเทศ ชื่อโครงการ "Krungsri RISE Fintech Accelerator"  มีการรับสมัคร Start up มาจำนวนประมาณ  15 บริษัท เพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจของธนาคาร มองหาว่าส่วนที่สามารถเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้ธนาคาร และสตาร์ทอัพทำให้เกิด Win-Win-Win บริษัทฯ win ที่สามารถจับคู่เข้าด้วยกันได้ ธนาคาร Win เพราะได้ธุรกิจใหม่ และยังเพิ่มรายได้ให้ สตาร์ทอัพมีลูกค้าในกลุ่ม Corporate รอดจากจุดตายของสตาร์ทอัพที่มักจะไม่ผ่านช่วงแรก เนื่องจากไม่มีลูกค้า หรือไม่มีทุนไปต่อ

หมอคิด ทิ้งท้ายถึงปรัชญาการทำงาน โดยกล่าวว่าพยายามทำเป็นตัวอย่างมากที่สุด คือ พยายามสร้าง Impact ทำอย่างไรให้เราเอง relevance กับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน ในฐานะที่เราอยู่ในสังคมนี้ จะทำอย่างไรให้เกิด Impact กับสังคม และประเทศที่เราอยู่ ซึ่งในที่สุดแล้ว มีความเชื่อว่าจะนำไปสู่ win-win เช่นกัน

 ถ้าเรามองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเราสามารถขับเคลื่อนให้สิ่งที่เราทำอยู่นั้นเกิด Impact กับสังคมได้นั้น เรียกว่าเป็น Inspire ที่ดีทีเดียว”  และที่สำคัญเมื่อคิดได้แล้วต้องทำ ลงมือทำ และไม่ต้องกลัวการล้มเหลว เพราะวันนี้โลกเปลี่ยนเป็น Fail Fast เราสามารถรู้ได้ในเวลาอันสั้นว่า สิ่งที่ทำมันเวิร์คหรือไม่ ถ้าไม่เวิร์คก็ลองใหม่

X

Right Click

No right click